×

แค่อสังหาฯ ไม่พอ ‘สิงห์ เอสเตท’ ลั่นกลองรบบุกน่านน้ำใหม่ เดินหน้าองค์กรด้วย ‘4 กลุ่มธุรกิจ’ ตั้งเป้ารายได้ทะยาน 3 เท่าใน 3 ปี [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
02.03.2021
  • LOADING...
แค่อสังหาฯ ไม่พอ ‘สิงห์ เอสเตท’ ลั่นกลองรบบุกน่านน้ำใหม่ เดินหน้าองค์กรด้วย ‘4 กลุ่มธุรกิจ’ ตั้งเป้ารายได้ทะยาน 3 เท่าใน 3 ปี

HIGHLIGHTS

4 mins. read
  • ปัจจุบันโครงการอสังหาฯ เชิงพาณิชย์, โรงแรม, รีสอร์ต และโครงการที่พักอาศัย คือ 3 กลุ่มธุรกิจหลักที่สร้างรายได้ให้กับ สิงห์ เอสเตท รวมมากกว่า 96% 
  • สิงห์ เอสเตท ได้ประกาศรุกกลุ่มธุรกิจใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ 4 จะประกอบด้วย โครงการนิคมอุตสาหกรรม, ธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้า, ธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรม และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้พอร์ตโฟลิโอบริษัท
  • ภายใต้ 4 ธุรกิจนี้ พวกเขาตั้งเป้าว่าจะต้องเพิ่มการเติบโตของรายได้ให้บริษัทได้มากถึง 3 เท่าตัวภายใน 3 ปีต่อจากนี้ มองไปถึงการ Synergy สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในอนาคต และยังเล็งขยายการทำงานในรูปแบบความร่วมมือใหม่ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เป็นที่รู้กันว่า ‘สิงห์ เอสเตท’ หรือ บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) คือบริษัทผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์และการลงทุนสัญชาติไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักจากการที่พวกเขาได้พัฒนา ‘โครงการอสังหาฯ เชิงพาณิชย์’ อาคารสำนักงานที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นตามทำเลสำคัญทั่วกรุงเทพมหานคร รวมไปถึง ‘โรงแรม รีสอร์ต’ หรือ ‘โครงการที่พักอาศัย’ ทั้งแนวราบและแนวสูง

 

ซึ่งถ้าไปพลิกดูข้อมูล สิงห์ เอสเตท ในรายละเอียดก็จะพบว่า ในปี 2563 ที่ผ่านมา พวกเขาสร้างรายได้จากท้ัง 3 กลุ่มดังกล่าวได้ดังนี้ (อื่นๆ อีก 4%)

 

  1. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ – พื้นที่อาคารสำนักงานและค้าปลีกรวม 140,000 ตรม. > สร้างรายได้ให้บริษัทรวม 15%
  2. ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ต – 39 แห่งใน 5 ประเทศ รวม 4,647 ห้อง > สร้างรายได้ให้บริษัทรวม 24%
  3. ธุรกิจโครงการที่พักอาศัย – 23 โครงการ ทั้งที่อยู่อาศัยแนวราบและคอนโดมิเนียม (แนวสูง) เช่น แบรนด์สันติบุรี The ESSE และแบรนด์อื่นๆ > สร้างรายได้ให้บริษัทรวม 57%

 

อย่างไรก็ตาม พวกเขาดูจะไม่ได้นิ่งนอนใจกับภาวะการแข่งขันของตลาด เรื่อยไปจนถึงปัจจัยภายนอกอย่างโรคระบาดโควิด-19 ที่ทำให้เราไม่สามารถประเมินสถานการณ์และผลกระทบต่างๆ โดยรอบได้อย่างชัดเจนเหมือนเดิมอีกต่อไป

 

อาคารสำนักงาน Singha Complex หัวมุมถนนอโศก

 

นั่นจึงทำให้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2654 สิงห์ เอสเตท ได้ออกมาประกาศแผนการดำเนินธุรกิจที่สำคัญของบริษัทด้วยการรุกธุรกิจใหม่ เพื่อเสริมความแข็งแกร่ง ติดอาวุธที่หลากหลายให้กับพอร์ตโฟลิโอธุรกิจบริษัท เดินหน้าสู่การเติบโตของรายได้และผลกำไรแบบก้าวกระโดด ยั่งยืน และกระจายความเสี่ยงจากการดำเนินงานที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

 

โดยกลุ่ม ‘ธุรกิจใหม่’ ที่ทาง สิงห์ เอสเตท มองไว้ประกอบไปด้วย โครงการนิคมอุตสาหกรรม ธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้า ธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรม และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ

 

และภายใต้การผสมผสาน 4 กลุ่มธุรกิจ สิงห์ เอสเตท ตั้งเป้ามาตรวัดและเป้าหมายที่จะต้องจับต้องได้ คือการที่พวกเขาจะต้องดันรายได้ของบริษัทในอนาคตให้เติบโตได้ถึง 3 เท่าตัว ภายในระยะเวลา 3 ปีต่อจากนี้ หรือกลายเป็นรายได้ราว 20,000 บาทต่อปี เท่านั้นยังไม่พอ การมีกลุ่มธุรกิจใหม่ๆ เข้ามาเติมแกร่งเสริมความหลากหลายให้ สิงห์ เอสเตท เช่นนี้ ยังทำให้พวกเขาคาดการณ์อีกด้วยว่ามูลค่าสินทรัพย์บริษัทจะต้องเพิ่มขึ้น จาก 65,000 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2563 ไปเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าสินทรัพย์ 80,000 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2566

 

จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานกรรมการ บมจ. สิงห์ เอสเตท เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานรุกน่านน้ำใหม่ของบริษัทว่า “ปีนี้เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่เรากำลังเข้าสู่เฟสต่อไปของการพัฒนาธุรกิจของสิงห์ เอสเตท เราจะเดินหน้าเข้าสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องและธุรกิจสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่จะมาต่อยอดและเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อนำ สิงห์ เอสเตท ก้าวไปสู่การเป็นหนึ่งใน ‘ธุรกิจแถวหน้าของประเทศไทย’ ที่ผนึกกำลังธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้า และธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่อง สร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด และสร้างผลตอบแทนที่ดี

 

“ที่ผ่านมาเราให้ความสำคัญกับการนำบริษัทเดินทางจากจุดเริ่มต้นในฐานะบริษัทของครอบครัว ที่บริหารจัดการสินทรัพย์และดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของตระกูลมาสู่การเป็นบริษัทมหาชนที่มีการบริหารงานอย่างมืออาชีพ มีสินทรัพย์อยู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่หลากหลาย กระจายอยู่ในหลายภูมิภาค 

 

“สำหรับตอนนี้เมื่อเรามองไปที่เส้นทางข้างหน้า เราเชื่อมั่นในอนาคตของประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานที่มั่นทางธุรกิจของสิงห์ เอสเตท ในขณะเดียวกันเรายังเดินหน้ามองหาโอกาสที่จะสร้างการเติบโตใหม่ๆ ในระดับโลกไปพร้อมกันด้วย”

 

ด้าน ฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. สิงห์ เอสเตท ได้กล่าวถึงแผนการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นไว้ว่า สิงห์ เอสเตท จะเดินหน้าบูรณาการยกระดับธุรกิจต่างๆ ของบริษัทให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ผสมผสานกับการทำงานร่วมกับกลุ่มธุรกิจเดิมอย่าง ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจที่พักอาศัย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงธุรกิจและศักยภาพในการคว้าโอกาสทางธุรกิจใหญ่ๆ ที่จะเข้ามา

 

ฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. สิงห์ เอสเตท

 

“การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งยืนยันการตัดสินใจที่ถูกต้องของบริษัทในการวางโครงสร้างธุรกิจเป็น 4 กลุ่มธุรกิจที่เชื่อมโยงกัน เพื่อจะทำให้บริษัทสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้อย่างสม่ำเสมอ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ยากจะคาดเดาทั้งในประเทศและทั่วโลก

 

“เราหวังว่าจากนี้เป็นต้นไป กลุ่มธุรกิจที่ 4 จะเป็นธุรกิจใหม่ที่เข้ามาเติมเต็มและต่อยอดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นแกนหลักมาแต่เดิม และจะสร้างรายได้ให้กับบริษัทได้อย่างมากมาย เพราะด้วยแนวทางการเดินหน้า 4 กลุ่มธุรกิจของสิงห์ เอสเตท ก็จะทำให้เรามีจุดโดดเด่นที่แตกต่าง และทำให้เราเพิ่มโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่เกี่ยวเนื่องได้มากกว่า นอกจากนี้ยังจะช่วยให้เรามีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น จากการเติมเต็มซึ่งกันและกันของกลุ่มธุรกิจต่างๆ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน และการบูรณาการธุรกิจ และจะช่วยให้เรามีความมั่นคงมากยิ่งขึ้นจากการที่ธุรกิจในเครือมีวงจรทางธุรกิจที่แตกต่างกัน มีรูปแบบความเสี่ยงไม่เหมือนกัน และเพิ่มความสามารถในการสร้างรายได้ประจำและสม่ำเสมอ”

โครงการคอนโดมิเนียม The ESSE Sukhumvit 36

 

ไม่เพียงเท่านี้ สิงห์ เอสเตท ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ของการดำเนินงานเพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ตของบริษัท และเพิ่มศักยภาพของธุรกิจให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้เป็นอย่างดีในทุกสถานการณ์ (Resilient Business) 

 

ทั้งยังมีเป้าหมายแสวงหาความร่วมมือทั้งภายในประเทศและระดับโลก เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญที่มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเสริมความแข็งแกร่งความสามารถในการแข่งขัน และช่วยขยายฐานธุรกิจในต่างประเทศให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นในอนาคตอีกด้วย

 

ทั้งหมดนี้คือการประกาศศักดาของ สิงห์ เอสเตท ในการมุ่งมั่นที่จะรุกกลุ่มธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างความแกร่ง โอกาส และการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับบริษัท สะท้อนให้เห็นถึงแรงกระหายของบริษัทที่หวังเดินหน้าต่อ ‘จิ๊กซอว์’ ชิ้นสำคัญๆ กับพอร์ตธุรกิจของพวกเขาที่ไม่เคยหยุดนิ่งมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

 


 

โอกาสของเศรษฐกิจโลกอยู่ตรงไหน ไทยตกขบวนการฟื้นตัวหรือไม่? บิตคอยน์คือ สินทรัพย์ทางเลือก หรือฟองสบู่ที่รอวันแตก? เราควรปรับพอร์ตอย่างไรเพื่อเติบโตท่ามกลางความตกต่ำ

 

ร่วมกันค้นหาคำตอบใน THE STANDARD WEALTH FORUM: Catch the Next Curve

 

สิทธิพิเศษ! ลงทะเบียนรับรหัสจำนวนจำกัด เพื่อเข้าชมถ่ายทอดสดได้ที่ thestandard.co/events

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising