×

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับ SET ESG Experts Pool จัดงาน SET ESG Professionals Forum 2023 ระดมความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจและประเทศไทยอย่างยั่งยืน [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
06.12.2023
  • LOADING...
SET ESG Professionals Forum 2023

SET ESG PROFESSIONALS FORUM 2023: TOGETHER FOR CHANGE ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดำเนินการโดย SET ESG Academy ร่วมกับสมาชิก SET ESG Experts Pool เครือข่ายบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน จัด SET ESG Professionals Forum 2023: TOGETHER FOR CHANGE เพื่อร่วมสร้าง New ESG Professionals และขับเคลื่อนตลาดทุนไทยสู่ความยั่งยืน

 

หัวใจของ ESG

 

SET ESG Professionals Forum 2023

 

ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวเปิดการสัมมนาในครั้งนี้ว่า การสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ ถือเป็นเรื่องที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ความสำคัญไม่แพ้การสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในขณะที่โลกกำลังเผชิญความท้าทายที่หลากหลาย เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สิ่งที่เราต้องการคือการเผยแพร่ความรู้ออกไปในวงกว้าง ผู้ที่มีประสบการณ์จากการลงมือทำจริง จึงเป็นเครือข่ายที่สำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ความรู้ถูกขยายออกไปในวงกว้าง และทำให้ทุกภาคส่วนเท่าทันกับความเปลี่ยนแปลง

 

“หวังว่าเวทีนี้จะเป็นเวทีที่แชร์ความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ จุดประกายไอเดีย ให้ทุกท่านได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับความยั่งยืน เพราะ ESG เป็นเรื่องของทุกคน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกคนต้องร่วมมือในการขับเคลื่อน และสร้างให้เกิด Meaningful Impact กับสังคมและประเทศ”

 

SET ESG Professionals Forum 2023

 

ศ. (พิเศษ) ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์​ ประธานอนุกรรมการบรรษัทภิบาลและความยั่งยืน อนุกรรมการตรวจสอบและอนุกรรมการกฎหมายตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ Moving the Mountains for Sustainable Impact, Yes, We Can! ระบุว่า 

 

ในรอบปีที่ผ่านมา โลกและประเทศไทยเผชิญความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน จากโลกร้อนกลายเป็นโลกเดือด เราเคยพูดกันในทฤษฎีว่า เมื่อโลกร้อนแล้วจะเกิดอะไรขึ้น หลายคนพูดถึงวิกฤตสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพที่หายไป การเกิดโรคอุบัติใหม่ ซึ่งจากทฤษฎีที่พูดกัน วันนี้เราได้เห็นของจริงแล้ว นอกจากนี้ยังมีวิกฤตซ้อนวิกฤตจากความขัดแย้งในหลายภูมิภาค ขณะที่มาตรการ CBAM หรือภาษีนำเข้าคาร์บอนของสหภาพยุโรปเริ่มบังคับใช้แล้ว ซึ่งส่งผลโดยตรงกับภาคธุรกิจต่างๆ  แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงก็ยังมีเรื่องดีๆ เกิดขึ้น เราเห็นการรวมตัวกันของทุกคนในที่นี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้ประกอบการต้องการจะปรับตัว และไม่ว่าจะเกิดวิกฤตกี่ครั้ง ภาคส่วนที่ปรับตัวได้ดีที่สุดก็ยังเป็นภาคธุรกิจ ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นมากมายถึงการพลิกวิกฤตเป็นโอกาส ผู้ประกอบการหลายรายสามารถพัฒนาธุรกิจใหม่ เปิดตลาดใหม่จากโลกที่เปลี่ยนไป และสร้างรายได้ที่มากกว่าเดิม 

 

“สิ่งที่เราพบคือ ศักยภาพและความตื่นตัวของบริษัทไม่เท่ากัน มีทั้งที่ทำมากทำน้อย ทำเร็วทำช้า ทำผิดทำถูก คำถามคือ ตลาดทุนไทย และภาคธุรกิจไทยโดยรวม จะสามารถรับมือและพลิกสถานการณ์นี้เป็นโอกาสได้ทันเวลา แล้วเดินหน้าต่อไปได้หรือไม่”

 

นอกจากนี้ ศ. (พิเศษ) ดร.กิตติพงษ์ ตั้งข้อสังเกตใน 3 ประเด็นใหญ่ พร้อมด้วย 1 โจทย์ท้าทาย ดังนี้ 

 

3 ประเด็นใหญ่ และหนึ่งความท้าทายสำคัญของความยั่งยืน

 

หนึ่ง ประเด็น ESG ที่หลายบริษัทยังมองเรื่องนี้แยกส่วน และเน้น E เป็นหลัก แต่ในความเป็นจริง ESG เป็น Framework ในการที่ผู้เชี่ยวชาญจะมาประเมินบริษัทเรา ซึ่งทั้ง 3 สิ่งจำเป็นต้องมองให้เห็นภาพรวม เพราะการที่เราปฏิบัติต่อคน สังคม และชุมชนอย่างดี ก็จะมีความมั่นคงในการขับเคลื่อนเรื่องยากๆ ต่อไป ทำให้ชื่อเสียงของบริษัทเราที่ดูแลสังคมนำมาสู่ผลกำไรที่ดีขึ้นในระยะยาว การทำดีต่อสังคมไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ แต่เป็นสิ่งที่ดึงดูดให้เกิดโอกาส โดยเฉพาะเรื่อง Governance สำคัญมาก ถ้าเราไม่มีกระบวนการที่โปร่งใส การดูแลผู้ถือหุ้นไม่เหมาะสม ไม่มีการคำนึงถึงความเสี่ยงที่เหมาะสม ความพยายามของบริษัทไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ในการจัดการปัญหายากๆ ในเรื่องที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงกรอบงานของเราให้สอดคล้องกับสิ่งใหม่ๆ ของโลก ที่เป็นเรื่องความยั่งยืนก็คงไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งเรื่องนี้เป็นเหมือนเส้นผมบังภูเขา ที่เหมือนไม่จำเป็นต้องพูด แต่ในทางปฏิบัติมีความสำคัญ พวกเราเองที่เป็นคนอยู่ในภาคธุรกิจก็อาจต้องไปทำให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจเห็นความสำคัญของการมองแบบองค์รวมของ Framework ที่เกี่ยวกับเรื่อง E, S และ G มากขึ้น

 

สอง พวกเราในฐานะภาคธุรกิจ จริงๆ แล้วเรามีความคาดหวังสูง ภาคธุรกิจของไทยเป็นผู้ที่กอบกู้ประเทศตลอดมา เราอาจต้องมองภาพจากมุมสูงมากขึ้น มองให้เห็นกว้าง เห็นไกลมากขึ้น จะมองแค่กรอบของ Value Chain ของเราไม่ได้ แต่ต้องมองให้กว้างกว่านั้นด้วย ต้องเปิดกว้างเพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของบริษัทกับสังคมโดยรวม เพราะเป็นโอกาสสำคัญ สมัยก่อนเราแยกเรื่อง Philanthropy ออกมาชัดเจนว่า มันไม่ได้เกี่ยวกับธุรกิจ แต่ตอนนี้มันเข้ามาร่วมกัน สำหรับปัญหาที่เรากำลังจะเผชิญ โดยเฉพาะปัญหาในประเทศไทย เราต้องพยายามรวมสองเรื่องนี้เข้าด้วยกัน เพื่อทำให้เรื่องเหล่านี้เข้าไปอยู่ใน Agenda ของบริษัท เช่น เรื่อง PM2.5 ที่ไม่ได้เกิดขึ้นใน กทม. แต่ 2 ใน 3 เกิดขึ้นนอกประเทศ เพราะฉะนั้นอะไรที่มันเชื่อมโยงกันแบบนี้ เราอาจต้องมองไปกว้างกว่าแค่ Value Chain ของเรา หรือเรื่องโครงสร้างความเหลื่อมล้ำของไทย หรือโครงสร้างการบริหารจัดการของไทย ที่ทำให้คนต้องเข้ามาเมืองใหญ่ และทิ้งให้ลูกหลานอยู่ต่างจังหวัด ทำให้เด็กรุ่นใหม่เติบโตแบบไม่มี EQ ที่พร้อม ถ้าเรามองแคบอาจเป็นเรื่องปัญหาแรงงานในอนาคต แต่ถ้าเรามองกว้างกว่านั้นที่มันเชื่อมโยงกัน ก็อาจเห็นปัญหาความมั่นคงของประเทศ หรือสภาพสังคมในอนาคตด้วย ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น และเชื่อในศักยภาพของภาคธุรกิจ คือถ้าเรามีมุมมองเรื่องนี้ก็น่าจะเป็นประโยชน์มากๆ

 

SET ESG Professionals Forum 2023

 

สาม เราจำเป็นต้องลดกำแพง หรือก้าวข้ามอคติเดิมๆ แล้วเรียนรู้ที่จะทำงานแบบบูรณาการอย่างจริงจัง เอาแค่ในบริษัทของเรา การที่จะไปบอกว่าความยั่งยืนสำคัญ มันไม่ใช่แค่เรื่อง Charity มันเหนื่อยมาก กว่าจะไปถึงจุดที่ทุกคนมองว่าเป็นเรื่อง ‘Must’ ไม่ใช่เรื่องแค่ ‘Should’ หรือจนกระทั่งมีการกดดันมาจากภายนอก เพราะฉะนั้นในบริษัทไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือเล็ก ถ้าเราตั้งเป้าประเด็นนี้ด้วยการพยายามที่จะทำให้เรื่องนี้เป็นมุมมองที่ Holistic โดยดึงคนที่เกี่ยวข้องเข้ามารับรู้แต่ต้น และโยงให้เห็นภาพใหญ่ของความพยายาม นอกเหนือจากการที่ถูกสั่ง หรือตีกรอบมาโดยแหล่งทุน อาจต้องให้เห็นถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ สังคม และโลกด้วย และให้องค์กรทั้งองค์กรก้าวเดินไปด้วยกัน ซึ่งวิธีการที่จะนำไปสู่เรื่องของ Integration และ Holistic จะนำไปสู่ความร่วมไม้ร่วมมือและเห็นเป้าหมายร่วมกัน ถ้าเราตั้งโจทย์ไว้แต่ต้นจะช่วยได้

 

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ ศ. (พิเศษ) ดร.กิตติพงษ์ ชวนคิดต่อ ซึ่งอาจเป็นโจทย์ของปัจจุบันและอนาคต โดยระบุว่า

 

“สิ่งที่เราทำในช่วงที่ผ่านมา เราก็ทำได้ดีมากในเรื่องการร่วมมือระหว่างกัน เพื่อนำไปสู่โอกาสและการแชร์ประสบการณ์ ทำให้พวกเราใน SET ESG Experts Pool มีโอกาสในการทำธุรกิจใหม่ๆ หรือให้องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ขยายไปไกลขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากถ้าอยู่ในห้วงปกติ แต่ถ้าเรามองสิ่งที่เป็นโจทย์ท้าทายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งความท้าทายระดับโลก ซึ่งเป็นยุคของ Global Boiling จะเห็นว่าปัญหาไม่คอยเราแล้ว รวมทั้งรูปธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอย่างเรื่อง Emission Baseline ซึ่งต้องเข้าใจว่าเป็นความจำเป็นที่เราจะต้องรู้ว่าองค์กรเราปล่อย Emission ไปเท่าไร เพราะถูกกดดันมาจากองค์กรกำกับ องค์กรกำกับก็ถูกกดดันมาจากองค์กรกำกับที่สูงกว่า โลกทั้งโลกไม่มีรัฐบาลไหนที่จะปลอดภัยไปจาก Global Boiling แล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่เป็นความท้าทายคือความเข้าใจเรื่องนี้ ซึ่งมันก้าวไปเร็วมาก อย่างขณะนี้เรื่องการเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกลายเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุดที่ธุรกิจในโลกใบเดิมต้องทำ เมื่อรู้ Baseline แล้วก็ต้องสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ ตั้งเป้าหมาย มียุทธศาสตร์ และแผนการที่จะลดให้ได้อย่างจริงจังมากขึ้น แล้วเราก็จะถูกประเมินจากการลดของเรา ซึ่งในตลาดหลักทรัพย์ฯ ขณะนี้มีแค่ประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่มีการคำนวณและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่ต้องนับใน Supply Chain ที่เป็น SMEs ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่รู้เรื่องนี้เลย ขณะที่ผลลัพธ์กลับทำให้เห็นว่าความพยายามที่ผ่านมาเห็นผลน้อยมาก ก็จะกดดันมากยิ่งขึ้นไปอีก มันไม่มีถอยหลังแล้ว มีแต่จะก้าวหน้าที่จะไปสู่จุดที่ต้องมีการกดดันสู่ภาคธุรกิจมากขึ้น เพราะฉะนั้นความเป็นจริงไปไกลมาก แต่สิ่งที่เราทำอยู่ ผมขอตั้งโจทย์ว่าเราจะบูรณาการและนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพของเราได้อย่างไร

 

“คีย์เวิร์ดที่ผมอยากจะใช้สองคำ เพื่อฝากท่านช่วยคิดด้วย คือคำว่า Collaboration และ Innovation

 

“ผมว่าเรื่อง Collaboration เป็นเรื่องใหญ่มาก เราจะทำงานร่วมกันอย่างไร เราไปคนเดียวไม่ได้ เพราะเราไม่ได้แข่งขันกันระหว่างบริษัทในประเทศไทย ประเทศไทยก็กำลังแข่งขันกับประเทศอื่น และข้อจำกัดของบ้านเราจากการบริหารจัดการภาครัฐ จากสิ่งต่างๆ ไม่ใช่ข้อแก้ตัวที่เราจะบอกว่าไม่ใช่หน้าที่ของเรา เพราะในที่สุดแล้วโลกร้อนมันไม่ได้รอเรา และการแข่งขันธุรกิจของเราก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีรัฐบาลไหนมารับผิดชอบแทนเรา เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ต้องรอใคร ต้องคิดว่าเราจะร่วมมือกันอย่างไรที่จะทำให้เราสามารถเรียนรู้ระหว่างกัน และนำไปสู่การสร้างแพลตฟอร์มที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงจริงๆ ได้

 

“เรื่อง Innovation ผมคิดว่าสำคัญ เพราะผมได้เห็นเครื่องมือใหม่ๆ Innovation ไม่จำเป็นต้องเป็นเทคโนโลยีอย่างเดียว ความคิดที่สร้างสรรค์ก็เป็น Innovation ด้วย เพราะฉะนั้นการคิดนอกกรอบ การใช้เครื่องมือใหม่ๆ อย่าง Future Thinking ให้เห็น Future Scenario ร่วมกัน เข้าใจเรื่อง System ว่าเรากำลังมีปัญหาอะไรที่เราต้องตอบโจทย์ร่วมกัน”

 

โดย ศ. (พิเศษ) ดร.กิตติพงษ์ กล่าวในช่วงท้ายของปาฐกถาว่า นอกเหนือจากการที่เราเข้ามาเพื่อปรับบริษัทของเราเพื่อ Comply กับสิ่งที่เราถูกกดดันมาจากข้างบน เราอาจต้องถอยออกมา และมองให้ไกล มองให้กว้าง นำไปสู่การที่เราจะใช้โอกาส ซึ่งไม่มีที่ไหนดีกว่าที่นี่ มีคนที่สนใจเรื่องนี้จริงจัง มีความมุ่งมั่นตั้งใจ ที่สำคัญมีสถาบันการศึกษาที่เข้ามาเป็นตัวคูณ และทำให้เรื่องนี้เป็นที่รับรู้กันมากๆ และนำไปสู่การขยับ ตื่นตัว ปรับไปสู่ความพยายามที่จะทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง 

 

หลังจากนั้นยังมีการแชร์มุมมองที่หลากหลายของสมาชิก SET ESG Experts Pool แบ่งเป็น 5 หัวข้อ ดังนี้ 

 

SET ESG Professionals Forum 2023

 

1. Building Sustainable Partnerships for Resilient Value Chains ซึ่งภาพรวมของหัวข้อนี้ กล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันที่การดำเนินธุรกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น จากเดิมที่ภาคธุรกิจจะมีการบริหารจัดการ Supply Chain โดยคำนึงถึงคุณภาพของการดำเนินงาน เช่น มาตรฐาน ISO 9001 เป็นหลัก แต่วันนี้ความต้องการของลูกค้ามีการยกระดับเพิ่มขึ้น เพราะต้องการทั้งคุณภาพ ควบคู่ไปกับการดำเนินงานด้าน ESG เช่น ลูกค้ามีการกำหนดให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ต้องการเส้นทางการขนส่งที่ไม่สร้างผลกระทบกับชุมชน หรือเป็นการเปิดเผยข้อมูลการจ่ายค่าจ้างที่เป็นธรรม โดยทั้งหมดนี้สามารถทำได้ หากธุรกิจเข้าใจการเปลี่ยนผ่านจาก Supply Chain ไปสู่การสร้าง Resilient Value Chains ที่ต้องอาศัยทักษะ องค์ความรู้ รวมถึงการสร้างพาร์ตเนอร์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องร่วมมือกัน 

 

2. Seizing the Climate Opportunity: Uniting for GHG Reduction Across the Value Chain ซึ่งเป็นการตั้งคำถามว่า ภาคธุรกิจจะเริ่มต้นแก้ไขปัญหาโลกเดือดได้ทันทีอย่างไร? เพราะในปัจจุบันปัญหาเรื่องภาวะโลกร้อนจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่เป็นกิจกรรมหลักทางเศรษฐกิจในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โลกของเราจึงเกิดมาตรฐานการค้าใหม่อย่าง CBAM และ USCAM ที่จะสามารถสร้างต้นทุนส่วนเพิ่มให้กับธุรกิจได้อย่างมหาศาล ในวันนี้องค์กรจึงต้องเริ่มที่จะสำรวจตัวเองว่า ภายใต้กรอบการปล่อยคาร์บอนทั้ง 3 Scope โจทย์ในการก้าวไปสู่องค์กรที่ดำเนินธุรกิจด้วยความยั่งยืนของแต่ละองค์กรนั้นคืออะไร เพื่อที่จะได้วางกลยุทธ์ และแก้ไขปัญหาให้ได้ทั้ง Value Chain 

 

3. Decoding Taxonomy for Collaborative and Sustainable Transformation โดยหัวข้อนี้ระบุว่า Taxonomy คือมาตรฐานในการกำหนดว่ากิจกรรมใดเป็นกิจกรรมสีเขียว การมี Taxonomy จะทำให้ผู้ระดมทุน (ผู้ประกอบการ) และผู้ลงทุนใช้มาตรวัดเดียวกัน ในการประเมิน Green Project ปัจจุบันนี้ ผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะดำเนินธุรกิจที่ส่งเสริมด้าน ESG เพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกันกับผู้ลงทุนที่มีความสำคัญกับการใส่เงินลงทุนในโครงการ หรือธุรกิจที่มีการสนับสนุนด้าน ESG จนทำให้คำว่า Greenium ขึ้นมา ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความยินดีที่จะลงทุนในธุรกิจ หรือโครงการที่ใส่ใจด้าน ESG ที่แท้จริง ในราคาพรีเมียม 

 

สถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทย ทั้งองค์กรขนาดใหญ่ ตลอดจนภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เริ่มมีความตระหนักกับประเด็นด้าน Taxonomy กันมากขึ้น เช่นเดียวกันกับฝั่งผู้ลงทุนหรือภาคธนาคารที่เป็นผู้สนับสนุนด้านสินเชื่อ เนื่องจาก Taxonomy ช่วยเพิ่มโอกาสให้กับภาคเอกชนในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนทางการเงินต่ำลง และเปิดโอกาสให้ได้เจอแหล่งระดมทุนใหม่ๆ ฉะนั้น จึงเป็นโอกาสดีที่จะช่วยกันผลักดัน และสนับสนุนให้ภาคธุรกิจของไทยสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจ หรือโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยแท้จริง 

 

4. The Universe of Sustainability Disclosure Standards and Data User Expectations โดยหัวข้อนี้ให้มุมมองว่า การดำเนินการด้าน ESG ไม่ได้เป็นเรื่องขององค์กรเท่านั้น แต่ผู้บริโภคเองก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ไม่น้อยไปกว่ากัน สะท้อนได้จากปรากฏการณ์ Buying is Voting ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อใจของผู้บริโภค ที่มีต่อผู้ประกอบการหรือผู้ให้บริการต่างๆ การเลือกซื้อหรือเลือกบริโภค เท่ากับเชื่อใจว่ากิจการนั้นๆ ดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG ที่แท้จริง ดังนั้น ความท้าทายหลักๆ ของผู้ประกอบการในเวลานี้ ก็คือการพิสูจน์ให้ผู้บริโภคเชื่อใจว่าธุรกิจของเราดำเนินการตามหลัก ESG โดยวิธีการสร้างความเชื่อใจที่ง่ายที่สุดก็คือการเปิดเผยข้อมูล โดยผู้ประกอบการควรเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ที่มีประโยชน์ ชัดเจน ตรวจสอบได้ และมีความครอบคลุม


 

นอกจากนี้ การเปิดเผยข้อมูลยังสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้ เนื่องจากข้อมูล ESG ที่เปิดเผยออกมาอย่างถูกต้อง เป็นประโยชน์ ตรวจสอบได้ ทำให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดสามารถคุยกันได้ด้วยภาษาเดียวกันคือ ภาษา ESG อีกทั้งยังทำให้บริษัทได้รับการประเมินมูลค่าที่แท้จริงได้จากเลนส์ของนักวิเคราะห์หรือนักลงทุนได้อีกด้วย 

 

ทั้งนี้ ในมุมมองของการวิเคราะห์นั้น การเปิดเผยข้อมูลของ บจ. ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับงบการเงิน แต่ข้อมูลด้าน ESG ยังขาดอยู่ แม้ระยะหลังจะมีเพิ่มขึ้น ก็ยังไม่เพียงพอ และแม้ประเทศไทยจะมีเวลาอีกราว 2-3 ปีในการเตรียมตัวเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะในต่างประเทศเริ่มบังคับให้เปิดเผยข้อมูลในต้นปี 2024 ซึ่งต้องเปิดเผยทั้ง Supply Chain หาก บจ.ไทยอยู่ใน Supply Chain ด้วย ก็ปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลไม่ได้

 

5. Unleashing Potential: Bridging the Gap between Academic Institutes and the Capital Market โดยหัวข้อนี้เป็นการเปิดมุมมองของภาคการศึกษา ที่มีหน้าที่ผลิตบุคลากรและองค์ความรู้ ขณะที่ภาคธุรกิจก็จำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แม้ทั้งสองภาคส่วนจะมีเป้าหมายเดียวกัน แต่กลับมีเส้นขนานที่ทำให้ไม่เกิดความร่วมมือ

 

ดังนั้นความร่วมมือกันระหว่างภาคการศึกษาและภาคเอกชนจึงเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งการเปิดพื้นที่ตรงกลางเพื่อให้แต่ละฝ่ายได้แชร์ประสบการณ์ ข้อมูล ความรู้ และเปิดพื้นที่สำหรับการทดลองแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งจะนำไปสู่การต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ๆ และยังสามารถผลิตบุคลากรใหม่ๆ ที่จะมาทำงานด้านความยั่งยืน ท่ามกลางสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วด้วย 

 

การขับเคลื่อนความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม

 

SET ESG Professionals Forum 2023

 

และปิดท้ายด้วยการสนทนาในหัวข้อ Sustainability Champions: C-Suite Insights on Driving Sustainable Change โดย พิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล ประธานผู้บริหารทรัพยากรบุคคลเครือเจริญโภคภัณฑ์ และ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร, ณัฐพรรษ ตันบุญเอก ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น และ ดร.กรินทร์ บุญเลิศวณิชย์ รองกรรมการผู้จัดการสายงาน Corporate Strategy and Innovation Division ธนาคารกสิกรไทย จำกัด มหาชน ดำเนินการสนทนาโดย นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และบรรณาธิการบริหาร THE STANDARD

 

โดยทุกท่านเห็นตรงกันว่า ทักษะด้าน ESG ไม่ได้เป็นเพียงทักษะสำหรับคนใดคนหนึ่ง ทว่าเป็นทักษะที่คนทั้งองค์กรต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น Chief Finance Officer จากเดิมที่เป็นผู้บริหารที่ต้องพิจารณาสถานะทางการเงิน การลงทุน สภาพคล่องขององค์กร วันนี้ต้องพิจารณาทั้งหมดควบคู่ไปกับการดำเนินงานด้าน ESG หรือเป็น Chief Strategy Officer ที่วันนี้นำประเด็นด้าน ESG ฝังลงในการกำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กร รวมไปถึง Chief People Officer ที่วันนี้ต้องมีการสร้างคนให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกแก่สังคมและโลก

 

ณัฐพรรษ ตันบุญเอก ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ทุกวันนี้บทบาทของคนทำหน้าที่การเงินต้องเป็น ‘เอ๊ะแมน’ คือคนที่คอยพิจารณาการลงทุนร่วมกับปัจจัยด้าน ESG ซึ่งปัจจุบันปัจจัยด้านความยั่งยืนมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก การจะเป็น ‘เอ๊ะแมน’ ที่ดีต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และเรื่องความยั่งยืนนั้นรอไม่ได้ ต้องทำตั้งแต่วันนี้

 

“ผมจำไม่ได้ว่าใครพูด แต่เขาบอกว่าทุกวิกฤตมีโอกาส แต่ Climate Action คุณรอวิกฤตไม่ได้ที่จะคว้าโอกาส เพราะความเสียหายของวิกฤตนี้จะมากเกินไป เพราะฉะนั้นอะไรทำได้ต้องทำเลย” ณัฐพรรษกล่าว

 

อย่างไรก็ตาม ดร.กรินทร์ บุญเลิศวณิชย์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงาน Corporate Strategy and Innovation Division บมจ.ธนาคารกสิกรไทย กล่าวถึงความท้าทายของการขับเคลื่อนประเด็น ESG ที่วันนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่ลูกค้าของธนาคารอีกจำนวนมากยังไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนผ่านได้ และต้องการให้ธนาคารเป็นข้อต่อที่คอยให้องค์ความรู้เรื่องสินเชื่อสีเขียว รวมไปถึงการเชื่อมต่อกับพาร์ตเนอร์ที่จำเป็น ซึ่งทำให้ธนาคารต้องปรับวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ใหม่ โดยผู้บริหารคือกุญแจสำคัญที่จะขับเคลื่อนสิ่งนี้ 

 

“ผู้บริหารทุกคนมีสองหน้าที่ หนึ่งคือ Perform สองคือ Transform

 

“ถ้าธนาคารจะ Perform อย่างเดียว แล้วลูกค้าต้องการ Brown Loan ธนาคารก็จะปล่อยสินเชื่อ

 

“ฉะนั้นมันต้องคุยกันทุกระดับชั้นว่าหน้าที่ผู้บริหารคือสองสิ่งนี้” ดร.กรินทร์กล่าว

 

ท้ายที่สุดในการสร้างคนมาขับเคลื่อนประเด็น ESG ให้เกิด Impact พิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล ประธานผู้บริหารทรัพยากรบุคคล เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร กล่าวว่า หัวใจหลักคือการใช้ 3P คือ People, Process และ Platform ที่ต้องเลือกคนที่เข้าใจ DNA ขององค์กรจริงๆ ตั้งแต่วันแรกที่รับคนเข้ามา รวมถึงมีการกำหนดตัวชี้วัดที่มีการฝังประเด็นด้าน ESG ลงไป ซึ่งในการติดตามผลการดำเนินงาน การให้ Incentive เพื่อสร้างการ Transform หรือจะเป็นการกำหนดบทลงโทษนั้น สามารถทำได้ง่ายด้วยการใช้ Platform เข้ามาในการจัดการทรัพยากรบุคคล

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X