×

ตลาดหลักทรัพย์เปิดเฮียริ่ง ‘การปรับวิธีคำนวณดัชนี’ ถึง 2 เมษายนนี้ เบื้องต้นประเดิมใช้กับ 3 ดัชนีหลัก คาดเริ่มไตรมาส 3 ปีนี้

19.03.2021
  • LOADING...
ตลาดหลักทรัพย์เปิดเฮียริ่ง ‘การปรับวิธีคำนวณดัชนี’ ถึง 2 เมษายนนี้ เบื้องต้นประเดิมใช้กับ 3 ดัชนีหลัก คาดเริ่มไตรมาส 3 ปีนี้

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดรับฟังความคิดเห็นเรื่อง การปรับหลักเกณฑ์การคำนวณดัชนี ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม ถึง 2 เมษายน 2564 

 

ทั้งนี้เพื่อให้ดัชนีที่ตลาดหลักทรัพย์จัดทำขึ้นนั้นสามารถสะท้อนความสามารถในการลงทุนของหลักทรัพย์ (Investable) และสอดคล้องกับแนวทางการคำนวณดัชนีของสากล รวมถึงความต้องการของผู้ใช้ดัชนี ตลาดหลักทรัพย์ได้มีการศึกษาหลักเกณฑ์การคำนวณน้ำหนักของหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนี ของผู้จัดทำในต่างประเทศ พบว่าส่วนมากมีการใช้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่ปรับด้วยสัดส่วนผู้ถือหลักทรัพย์รายย่อยในการคำนวณดัชนี (Free Float Adjusted Market Capitalization) และมักจะปรับสัดส่วนผู้ถือหลักทรัพย์รายย่อย (Free Float) ที่ใช้ในการคำนวณดัชนีในรอบการคัดเลือกหลักทรัพย์ในดัชนี และอาจมีการปรับสัดส่วนผู้ถือหลักทรัพย์รายย่อย (Free Float) เพิ่มเติมหาก สัดส่วนผู้ถือหลักทรัพย์รายย่อย (Free Float) มีการเปลี่ยนแปลงเกินระดับที่มีนัยสำคัญ

 

ตลาดหลักทรัพย์จึงมีแนวคิดที่จะปรับหลักเกณฑ์ในการคำนวณดัชนีให้สะท้อนวัตถุประสงค์ดังกล่าว รวมถึงแนวทางในการดำเนินงานในการเปลี่ยนผ่าน (Transition) เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง โดยแนวทางการปรับปรุงการคำนวณดัชนีมีสาระสำคัญ ดังนี้

 

  1. ปรับปรุงวิธีการคำนวณน้ำหนักของหุ้นในองค์ประกอบของดัชนี จากเดิมที่ใช้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดในการคำนวณดัชนี (Full Market Capitalization) เป็นการใช้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่ปรับด้วยสัดส่วนผู้ถือหลักทรัพย์รายย่อยในการคำนวณดัชนี (Free Float Adjusted Market Capitalization)

 

  1. ปรับปรุงข้อมูลสัดส่วนผู้ถือหลักทรัพย์รายย่อย (Free Float) ที่ใช้ในการคำนวณดัชนีดังนี้

 

  • ปรับสัดส่วนผู้ถือหลักทรัพย์รายย่อย (Free Float) ที่ใช้ในการคำนวณดัชนีพร้อมรอบการเปลี่ยนแปลงรายชื่อหลักทรัพย์ในดัชนี SET 50, SET 100, SETCLMV, SETHD, SETTHSI และ SETWB ในเดือนมิถุนายนและธันวาคมของทุกปี

 

  • ปรับสัดส่วนผู้ถือหลักทรัพย์รายย่อย (Free Float) ที่ใช้ในการคำนวณดัชนีหากสัดส่วนผู้ถือหลักทรัพย์รายย่อย (Free Float) เปลี่ยนแปลงจากค่าเดิมอย่างน้อยร้อยละ 5 ขึ้นไปในเดือนมีนาคม และกันยายนของทุกปี

 

  • สัดส่วนผู้ถือหลักทรัพย์รายย่อย (Free Float) ที่ใช้ในการคำนวณดัชนีจะปรับเป็นจำนวนเต็ม 1%

 

และเนื่องด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณดังกล่าวข้างต้น จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของทุกหลักทรัพย์เป็นองค์ประกอบของดัชนี อันส่งผลให้ผู้ลงทุนที่มีผลิตภัณฑ์ที่อ้างอิงการเคลื่อนไหวของดัชนี บริหารความเสี่ยงหรือมีฐานะในอนุพันธ์ที่เชื่อมโยงกับดัชนี อาจต้องมีการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีเพื่อ Rebalance หรือปรับสถานะตามไปด้วยในจำนวนมาก (Index Turnover สูง) และอาจส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์

 

เพื่อทำให้การเปลี่ยนผ่านมีความราบรื่น และลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ตลาดหลักทรัพย์ได้มีการศึกษาแนวทางการดำเนินการในต่างประเทศ ในกรณีที่ผู้จัดทำดัชนีมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การคำนวณดัชนีที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อน้ำหนักของหลักทรัพย์ในดัชนีจำนวนมาก โดยพบว่าผู้จัดทำดัชนีในต่างประเทศ (MSCI ปี 2543 S&P ปี 2547) นั้นจะแบ่งการปรับน้ำหนักหลักทรัพย์ในดัชนีออกเป็น 2 ครั้งทุก 6 เดือนโดยมีผลทีละครึ่งหนึ่ง

 

ดังนั้นเพื่อลดผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนการคำนวณดัชนีของตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์จึงจะใช้แนวทางเดียวกับต่างประเทศในการดำเนินการ โดยการทยอยปรับน้ำหนักเป็น 2 ครั้งมีผลทีละครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้ในการดำเนินการปรับการคำนวณมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่ปรับด้วยสัดส่วนผู้ถือหลักทรัพย์ รายย่อย (Free Float Adjusted Market Capitalization) นั้นจะดำเนินการดังนี้

 

1. Key Tradable Index ปรับวิธีการคำนวณดัชนี SET 50, SET 100 และ SETHD ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 เป็นต้นไป

 

2. ดัชนีอื่นๆ ซึ่งเป็น Composite Index, Industry/Sector Index และ Thematic Index จะทยอยดำเนินการในช่วงปี 2565-2566

 

  • Composite และIndustry/Sector index ได้แก่ ดัชนี SET, SET Industry Group, SET Sector, mai, mai Industry Group, mai Sector
  • Thematic Index ได้แก่ SET, SETCLMV, SETTHSI และ SETWB

 

โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาปรับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการคำนวณดัชนีของตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ตอนนี้ถึงวันที่ 2 เมษายน 2564 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X