แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะเริ่มคลี่คลายลงไปบ้างแล้ว ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มในแต่ละวันเหลือเพียงหลักหน่วย มีการผ่อนปรนกิจการต่างๆ มาแล้ว 2 ระยะ ภายใต้มาตรการต่างๆ อย่างเข้มข้น
แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในอดีตเมื่อปี 2540 ในวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ครั้งนั้นเราได้รู้จักกับคำว่า ‘เปิดท้าย’ เป็นครั้งแรก ที่มีต้นกำเนิดจากกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจครั้งนั้นมาเปิดท้ายรถ เอาของเก่ามาวางขาย
ครั้งนี้ประเทศไทยและทั่วโลกเจอวิกฤตโรคระบาดที่หนักหน่วงอีกครั้ง ทำให้เราได้เห็นปรากฏการณ์ ‘เปิดท้าย’ อีกครั้ง ที่หลายๆ คนได้รับผลกระทบที่เกิดจากการระบาดของโรคโควิด-19 ในครั้งนี้ ที่เริ่มมาขายของเพื่อดิ้นรนหารายได้จุนเจือเลี้ยงดูครอบครัวให้อยู่รอดต่อไป เพราะอาชีพเดิมที่ทำอยู่ไม่สามารถสร้างรายได้อีกต่อไป
THE STANDARD ลงพื้นที่ถนนพรานนก-กาญจนาภิเษก ที่มีรถสัญจรไปมาอย่างหนาแน่นตลอดทั้งวัน เราพบกับพ่อค้าแม่ค้าที่เรียงรายสองข้างทาง จอดรถขายสินค้าหลากหลายชนิด โดยเฉพาะของกินและผลไม้ยอดนิยม เราจึงเข้าไปพูดคุยถามไถ่
เดินมาเรื่อยๆ เราเห็นรถเก๋งมาจอดข้างทาง แต่ภาพที่เราเห็นไม่ใช่ลูกค้า แต่คือ พี่กาญจนา แจ้งเจริญ อายุ 38 ปี ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นเจ้าของร้านขายเครื่องสำอางย่านอโศก แต่ต้องปิดร้านเนื่องจากกลุ่มลูกค้าประจำไม่มีกำลังซื้อ บวกกับภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับ จึงได้ผันตัวมาเป็นแม่ค้าขายผลไม้ โดยรับผลไม้จากตลาดไท ใส่รถเก๋งของตนเองที่มีอยู่แล้ว มาตั้งขายอยู่บริเวณริมถนนกาญจนาภิเษก
พี่กาญจนายอมรับว่า ช่วงแรกๆ ค่อนข้างอาย เพราะเคยแต่ทำงานในห้าง อยู่ในห้องแอร์ และที่สำคัญคือ ไม่มีประสบการณ์ในการคัดเลือกผลไม้ จึงทำให้ช่วงแรกขาดทุน อีกทั้งรถเก๋งก็สามารถบรรทุกผลไม้ได้ค่อนข้างน้อย ไปรับแต่ละครั้งไม่เกิน 100 กิโลกรัม
สะดุดตากว่ารถเก๋งก็คือ รถตู้ของ พี่จินตนา สมสาย อายุ 42 ปี ซึ่งเป็นอดีตเจ้าของกิจการรถตู้ ทำทัวร์ให้กับต่างชาติที่มาเที่ยวในประเทศไทย โดยมีรถฝาก 10 คันในบริษัท
หลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ จึงนำรถตู้มาถอดเบาะหลัง แล้วนำสินค้าเกษตร เช่น ไข่และมะนาว มาขายบริเวณถนนสี่แยกไฟฉาย
พี่จินตนาบอกกับเราว่า ปัญหาที่เขาเจอคือ ถูกเจ้าหน้าที่กดดันไม่ให้ขายเลียบทางเท้า เนื่องจากเป็นเส้นทางสัญจร ตนเองจึงอยากให้ภาครัฐจัดสรรพื้นที่ในการค้าขาย หาวิธีให้คนทำมาหากินดีกว่าแจกเงิน และหากยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ก็จะสามารถวิ่งรับส่งชาวต่างชาติได้เหมือนเดิม ตนเองก็จะไม่มาขายตรงนี้แล้ว แต่ขณะนี้นี่เป็นทางออกเดียวที่ทำให้ตนและลูกน้องสามารถเลี้ยงปากเลี้ยงท้องและใช้ชีวิตไปได้วันต่อวัน
รถตู้ที่ถูกดัดแปลงถอดเบาะที่นั่งออกแล้วนำสินค้ามาใส่จำหน่ายแทน
กลิ่นหอมๆ ที่โชยมาพร้อมควันอ่อนๆ ที่เห็นมาแต่ไกลนั่นคือ ร้านขายหมึกย่างของ คุณลุงเฉลิม พุทน้อย อายุ 54 ปี อดีตคนขับแท็กซี่ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้โดยสารน้อยลงมาก รายได้หดหายจนแทบจะไม่มี ภรรยาจึงชักชวนมาขายหมึกย่าง ซึ่งถือว่ามีรายได้พอเลี้ยงปากท้องและเพียงพอต่อภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ เพราะว่าบริเวณดังกล่าวร้านอาหารปิดให้บริการแทบทั้งหมด จึงทำให้สามารถขายปลาหมึกได้ปริมาณมากในแต่ละวัน
รถตู้ที่ถูกดัดแปลงถอดเบาะที่นั่งออกแล้วนำสินค้ามาใส่จำหน่ายแทน
สินค้าที่ขายแบบไวๆ จ่ายเงินหิ้วกลับได้เลยของ พี่โชคชัย เขม้นงาน อายุ 48 ปี อดีตเจ้าของกิจการขายอาหารเสริมและเครื่องสำอางออนไลน์ แต่การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดน้อยลง ยอดขายลดลงเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นต้องผันตัวมาทำอาชีพอื่น โดยเลือกขายผลไม้กระป๋อง เพราะว่าละแวกเดียวกันที่ขายของ ไม่มีใครขายสินค้าประเภทเดียวกัน และเป็นสินค้าซื้อง่ายขายคล่อง
ภัสสร สุวรรณพันธ์ อายุ 29 ปี เป็นอดีตผู้ส่งออกใบโหระพา แต่ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถส่งออกได้เหมือนเดิม จึงต้องปรับตัวรับทุเรียนและมังคุดมาขายข้างถนน แต่ก็พบอุปสรรคสำคัญของการขายผลไม้คือ หากขายไม่หมด ก็จะอยู่ได้ไม่เกิน 3 วัน ผลไม้ก็จะเริ่มเน่าเสีย
กลิ่นหอมๆ ที่โชยมาพร้อมควันอ่อนๆ ที่เห็นมาแต่ไกลนั่นคือ ร้านขายหมึกย่างของ คุณลุงเฉลิม พุทน้อย อายุ 54 ปี อดีตคนขับแท็กซี่ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้โดยสารน้อยลงมาก รายได้หดหายจนแทบจะไม่มี ภรรยาจึงชักชวนมาขายหมึกย่าง ซึ่งถือว่ามีรายได้พอเลี้ยงปากท้องและเพียงพอต่อภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ เพราะว่าบริเวณดังกล่าวร้านอาหารปิดให้บริการแทบทั้งหมด จึงทำให้สามารถขายปลาหมึกได้ปริมาณมากในแต่ละวัน
พี่กาญจนา แจ้งเจริญ อายุ 38 ปี ก่อนหน้านี้เป็นเจ้าของร้านขายเครื่องสำอางย่านอโศก แต่ก็ปิดไปเพราะกลุ่มลูกค้าประจำไม่มีกำลังซื้อ บวกกับภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับ จึงได้ผันตัวมาเป็นแม่ค้าขายผลไม้ โดยรับผลไม้จากตลาดไท ใส่รถเก๋งของตนเองที่มีอยู่ มาตั้งขายบริเวณริมถนนกาญจนาภิเษก พี่กาญจนายอมรับว่า ช่วงแรกๆ ค่อนข้างอาย เพราะเคยแต่ทำงานในห้าง อยู่ในห้องแอร์ และที่สำคัญคือไม่มีประสบการณ์ในการคัดเลือกผลไม้ จึงทำให้ช่วงแรกขาดทุน อีกทั้งรถเก๋งก็สามารถบรรทุกผลไม้ได้ค่อนข้างน้อย ไปรับครั้งหนึ่งก็ไม่เกิน 100 กิโลกรัม
รถเก๋งที่ถูกดัดแปลงมาขายผลไม้
ห้ามพลาด! ฟอรัมที่เจาะลึก New Normal ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย จากวิทยากรระดับประเทศ 40 คน ซื้อบัตรงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM ได้ที่ https://www.eventpop.me/e/8705-economic-forum