×

พลังงานที่ยั่งยืน สวนโซลาร์ลอยน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดใน SEA จากนวัตกรรมเม็ดพลาสติก HDPE ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
05.10.2020
  • LOADING...
พลังงานที่ยั่งยืน สวนโซลาร์ลอยน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดใน SEA จากนวัตกรรมเม็ดพลาสติก HDPE ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม SolarCell

HIGHLIGHTS

4 mins read
  • รู้กันไหมว่า ‘สวนโซลาร์ลอยน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้’ นั้นอยู่ในเมืองไทยที่จังหวัดระยองของเรานี่เอง โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นโซลาร์ลอยนํ้า (Floating Solar) ของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นับเป็นนวัตกรรมพลังงานสะอาดที่ก้าวหน้าของคนไทย และเป็นต้นแบบที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานของชาติ สร้างคุณูปการทั้งในแง่สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน  

จากปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบให้เกิดวิกฤตสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงในหลายพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งทุกคนเองก็น่าจะพอทราบข่าวและเริ่มสัมผัสกันได้แล้วจากอุณหภูมิโลกและภัยธรรมชาติที่แปรปรวนขึ้น ทำให้ทั่วโลกรวมถึงทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของไทยหันมาให้ความสำคัญกับพลังงานสะอาด (Green Energy) ใช้พลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น และหากพูดถึงแหล่งพลังงานทางเลือกที่มีอยู่ในธรรมชาติ และเป็นแหล่งพลังงานสะอาดแล้วล่ะก็ อะไรที่จะเทียบได้กับ พลังงานอันยิ่งใหญ่จากแสงอาทิตย์ ที่สาดส่องมายังโลกของเราตั้งแต่ครั้งบรรพกาล แสงอาทิตย์นับเป็นพลังงานบริสุทธิ์ที่มอบชีวิตให้กับบรรดาสิ่งมีชีวิตต่างๆ รวมถึงมีคุณูปการต่อมนุษยชาติเสมอมา 

 

เป็นระยะเวลานานเกือบสองศตวรรษที่นักวิทยาศาสตร์พยายามไขความลับคิดค้นวิธีการนำแสงอาทิตย์ที่มีพลังงานมหาศาลไม่สิ้นสุดมาใช้ประโยชน์ เพื่อให้เป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่ยั่งยืนสำหรับเผ่าพันธุ์มนุษย์ของเรา ความพยายามอย่างไม่ลดละดังกล่าวเป็นบ่อเกิดของ โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้ชีวิตของมนุษย์ก้าวกระโดดเข้าสู่โลกที่ปราศจากมลภาวะ และเป็นความหวังอย่างหนึ่งของมนุษยชาติในยามนี้ เราลองมาดูกันดีกว่าว่าประเทศไทยของเราก้าวหน้าไปถึงไหนกันแล้วกับนวัตกรรมดังกล่าว 

 

ประเทศไทยกับนวัตกรรม ‘โซลาร์เซลล์’

 

สวนโซลาร์ลอยน้ำของ IRPC จังหวัดระยอง มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สวนโซลาร์ลอยน้ำของ IRPC จังหวัดระยอง มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

ถ้าจะให้พูดกันจริงๆ แล้ว ประเทศไทยของเรานั้นเหมาะมากสำหรับการผลิตพลังงานโซลาร์เซลล์ ด้วยสาเหตุสำคัญคือ ‘ที่ตั้ง’ ซึ่งอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน ทำให้สามารถรับปริมาณของรังสีจากดวงอาทิตย์ได้อย่างเต็มที่ตลอดทั้งปี แต่ความเข้าใจที่เป็นภาพจำของคนส่วนใหญ่คือมักจะมองว่าโซลาร์เซลล์นั้นต้องติดตั้งอยู่บนหลังคา (Solar Rooftop) หรืออาจจะติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farm) แต่ลืมมองไปว่า ประเทศไทยเรามีพื้นที่ผิวนํ้าประมาณ 14,600 ล้านตารางเมตร หรือประมาณ 9 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 3 ของพื้นที่ประเทศ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้เองที่ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่ขึ้นชื่อด้านความอุดมสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตาม การจัดการทรัพยากรในเขตพื้นที่นํ้าก็ยังไม่ได้รับการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ จึงเกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่า “ทำอย่างไรเราจึงจะใช้พื้นที่เหล่านี้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด” ซึ่งในภาคธุรกิจพลังงานนั้นเราสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าว เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าให้ใช้ได้อย่างเพียงพอ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม นี่จึงเป็นสาเหตุที่จุดประกายให้บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ‘ครบวงจรแห่งแรก’ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ริเริ่มโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นโซลาร์ลอยนํ้า (Floating Solar) โดยได้ติดตั้งทุ่นโซลาร์ลอยน้ำในบ่อน้ำดิบสำรองของบริษัทฯ บนพื้นที่กว่า 200 ไร่ เพื่อนำมาใช้ในเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี จังหวัดระยอง มีกำลังการผลิตไฟฟ้าขนาด 12.5 เมกะวัตต์ (MW) ซึ่งนับได้ว่าเป็นโซลาร์ลอยนํ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลยทีเดียว

 

‘โซลาร์ลอยนํ้า’ ไม่เพียงให้พลังงานสะอาด แต่ยังออกแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ความน่าทึ่งของทุ่นโซลาร์ลอยนํ้าดังกล่าวไม่ได้อยู่แค่เพียงที่ขนาดซึ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในขณะที่ IRPC ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างทุ่นโซลาร์ลอยนํ้า เพื่อใช้พื้นที่ว่างเปล่าบนผืนนํ้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็ยังคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้นำเอาความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมเม็ดพลาสติกมาพัฒนาเป็นเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง หรือ High Density Polyethylene (HDPE) เกรดพิเศษสีเทา ที่มีความแข็งแรงทนทานสูง นำมาใช้ผลิตทุ่นโซลาร์ลอยน้ำ สำหรับรองรับแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบผลิตกระแสไฟฟ้า เพราะสีเทาช่วยลดอุณหภูมิความร้อนใต้แผงโซลาร์เซลล์ได้ถึง 5-8 องศาเซลเซียส มีความแข็งแรงทนทานต่อทุกๆ สภาพแวดล้อมและสามารถนำไปรีไซเคิลได้ รวมทั้งมีความปลอดภัยต่อระบบนิเวศใต้นํ้า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังได้มาตรฐานรับรองว่าวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ชนิดนี้จะไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ ผ่านการทดสอบ Food Grade ขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (US FDA) โดยการันตีอายุการใช้งานของวัสดุที่ใช้ทำทุ่นลอยน้ำทั้งหมด 25 ปี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในความทนทานของวัสดุและอายุการใช้งาน นอกจากนี้ยังสามารถต่อเป็นรูปแบบที่แตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับพื้นที่และความเหมาะสมอีกด้วย

 

ตัวทุ่นผลิตจากเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง หรือ High Density Polyethylene (HDPE) เกรดพิเศษสีเทา ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ตัวทุ่นผลิตจากเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง หรือ High Density Polyethylene (HDPE) เกรดพิเศษสีเทาที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

สามารถผลิตพลังงานสะอาดและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึงกว่า 10,510 ตันต่อปี หรือเทียบเท่าการปลูกป่าราว 10,000 ต้นต่อปี

สามารถผลิตพลังงานสะอาดและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึงกว่า 10,510 ตันต่อปี หรือเทียบเท่าการปลูกป่าราว 10,000 ต้นต่อปี 

 

การติดตั้งทุ่นโซลาร์ลอยนํ้านั้นสามารถทำได้ทั้งง่ายและเร็ว โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือที่ซับซ้อน ทั้งยังดูแลรักษาได้ง่าย และตัวทุ่นนี้ก็ยังออกแบบลายกันลื่น เพื่อช่วยให้เดินได้อย่างปลอดภัย ปัจจุบันนอกจากจะผลิตพลังงานสะอาดได้แล้ว ที่นี่ยังเป็นแหล่งสันทนาการ ซึ่งเปิดให้ประชาชนมาวิ่งออกกำลังกาย ขี่จักรยาน และจะพัฒนาเป็นสถานที่พักผ่อนเพื่อให้พี่น้องชาวจังหวัดระยองได้ใช้ต่อไป  

 

นอกจากผลิตพลังงานสะอาดแล้ว ยังเป็นแหล่งสันทนาการของประชาชนในพื้นที่อีกด้วย อนาคตประเทศไทยสดใสด้วยนวัตกรรมทุ่นโซลาร์ลอยน้ำ

นอกจากผลิตพลังงานสะอาดแล้ว ยังเป็นแหล่งสันทนาการของประชาชนในพื้นที่อีกด้วย

 

อนาคตประเทศไทยสดใสด้วยนวัตกรรมทุ่นโซลาร์ลอยน้ำ 

ไม่เพียงแค่พลังงานสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ผลิตได้เท่านั้น แต่สวนโซลาร์ลอยนํ้า IRPC ยังเป็นต้นแบบเพื่อการพัฒนาต่อยอดให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย ในประเด็นนี้ นพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า 

 

“นวัตกรรรมเม็ดพลาสติก ​HDPE เป็นเกรดพิเศษสีเทา สำหรับทุ่นโซลาร์ลอยน้ำเหมาะสมอย่างยิ่งกับสภาวะแวดล้อมและภูมิอากาศของประเทศไทย​ IRPC ​จึงพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ทุ่นลอยน้ำที่จะเพิ่มขึ้น​ ตามแนวโน้มที่ทางภาครัฐและเอกชน​สนับสนุนนโยบายการใช้พลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึงกว่า 10,510 ตันต่อปี เทียบเท่าการปลูกป่าราว 10,000 ต้นต่อปี นอกจากนี้สวนโซลาร์ลอยน้ำแห่งนี้ยังมีประโยชน์ในแง่ของการเป็นพื้นที่รับน้ำ หรือ ‘แก้มลิง’ ช่วยบริหารจัดการน้ำท่วมน้ำแล้งในอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ทั้งยังเป็นโครงการต้นแบบที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการพัฒนาธุรกิจพลังงานของประเทศไทย ด้วยการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ผิวน้ำ ซึ่งในอนาคตหากมีโครงการโซลาร์ลอยนํ้าเพิ่มขึ้น เชื่อแน่ว่าจะสามารถผลิตพลังงานสะอาดเป็นทางเลือกให้กับประเทศและประชาชน ย่อมจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศเราได้อีกมากเป็นแน่” 

 

นพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)

นพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) 

 

ด้วยคุณสมบัติที่ดีของผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก HDPE เกรดพิเศษเฉพาะทุ่นโซลาร์ลอยน้ำ ซึ่งผลิตภายในประเทศ สามารถช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าได้เป็นจำนวนมาก โครงการนี้จึงเป็นต้นแบบที่สำคัญสำหรับการพัฒนาโครงการด้านพลังงานทดแทนของประเทศ เพราะปัจจุบันพื้นที่ผิวน้ำในประเทศไทยคิดเป็นร้อยละ 3 ของพื้นที่ประเทศ (ประมาณ 9 ล้านไร่) ดังนั้นหากเรานำพื้นที่เหล่านี้มาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพก็จะได้รับประโยชน์จากพลังงานทดแทนมากขึ้น

  

นอกจากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นโครงการต้นแบบด้านพลังงานสะอาดที่ควรนำไปต่อยอด

นอกจากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นโครงการต้นแบบด้านพลังงานสะอาดที่ควรนำไปต่อยอด

 

โครงการทุ่นโซลาร์ลอยนํ้าของ IRPC ที่การออกแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงนับเป็นนวัตกรรมที่จะช่วยในเรื่องของพลังงานสะอาด และสร้างผลดีต่อเศรษฐกิจของชาติ นับเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าในแวดวงพลังงานของไทย และเป็นโปรเจกต์ที่น่ายกย่องของ IRPC ซึ่งจะทำให้เกิดความยั่งยืนขึ้นกับประเทศไทยของเราในหลายๆ ด้าน 

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X