ตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อทุกประเทศทั่วโลกรวมถึงไทย ที่สำคัญผลกระทบนี้ยังคงต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันที่เกิดการระบาดระลอกสาม ส่งผลให้ประชาชนและภาคธุรกิจที่เจอผลกระทบเดิมยิ่งเจ็บหนักขึ้น
ดังนั้นภายใต้ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ยังยืดเยื้อและมีความไม่แน่นอนสูง ทำให้ทุกภาคส่วนเร่งระดมความช่วยเหลือในหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจ SMEs ที่เป็นส่วนสำคัญต่อการจ้างงานและรากฐานของเศรษฐกิจไทย
ฝั่งผู้กำกับธุรกิจธนาคารและสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจไทยอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงเร่งออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2563 โดยเฉพาะมาตรการ Soft Loan หรือสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือกลุ่ม SMEs
และล่าสุดมีการปรับมาสู่แพ็กเกจใหม่ ‘มาตรการฟื้นฟูฯ’ ทั้งสินเชื่อฟื้นฟู และ พักทรัพย์ พักหนี้ นำสู่ภาคธุรกิจหลักของประเทศอย่างธนาคาร เร่งมือออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้า
อภิพันธ์ เจริญอนุสรณ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ทางธนาคารไทยพาณิชย์ตอบรับนโยบายการปล่อย Soft Loan เพื่อช่วยผู้ประกอบการอย่างเร่งด่วน
สำหรับมาตรการ Soft Loan ครั้งนี้ ทางธนาคารไทยพาณิชย์ยังเปิดกว้างให้ SMEs ทั้งลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าใหม่สามารถเข้ามาขอสินเชื่อได้อย่างสะดวกขึ้น โดยมีคุณสมบัติดังนี้
- ลูกค้า SMEs ปัจจุบันที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารอยู่ไม่เกิน 500 ล้านบาท สามารถขอวงเงิน Soft Loan สูงสุด 30% ของวงเงินสินเชื่อเดิม โดยรวมวงเงิน Soft Loan ในปี 2563 สูงสุด 150 ล้านบาท
- ลูกค้า SMEs รายใหม่ที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารทุกแห่ง สามารถขอสินเชื่อได้สูงสุด 20 ล้านบาท (นับรวมทุกวงเงินในทุกสถาบันการเงิน)
มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูหรือ Soft Loan นี้มีระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดถึง 10 ปี และได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการขอสินเชื่อ Front End Fee โดยอัตราดอกเบี้ยช่วง 2 ปีแรกของสัญญาเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2% ต่อปี พร้อมได้รับการยกเว้นดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรกจากการสนับสนุนของกระทรวงการคลัง และช่วง 5 ปีแรกของสัญญาเฉลี่ยไม่เกิน 5% ต่อปี
ทั้งนี้ ยังมีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เข้ามาช่วยค้ำประกัน โดยมีค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสูงสุด 1.75% ต่อปี ซึ่งรัฐบาลจะชดเชยค่าธรรมเนียมดังกล่าวสูงสุด 3.5% ตลอดอายุสัญญา
“ธนาคารไทยพาณิชย์พร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านความช่วยเหลือต่างๆ และหวังว่าจะช่วยประคองให้ธุรกิจของลูกค้าสามารถเดินหน้าต่อได้อย่างเต็มศักยภาพ ธนาคารไทยพาณิชย์จะยังคงยืนหยัดเคียงข้าง SMEs ไทยให้ก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกันในที่สุด”
สุดท้ายนี้ผู้ประกอบการ SMEs ที่สนใจสามารถขอเข้าร่วมมาตรการฟื้นฟูฯ ได้ที่สาขาธนาคารไทยพาณิชย์ทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ SCB Business Call Center โทร. 0 2722 2222 หรือที่ https://scbsme.scb.co.th/
พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์