×

มาร่วมปลุกความกล้า เปล่งเสียง และปล่อยความคิดเห็น เพื่อ #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา

โดย THE STANDARD TEAM
28.06.2021
  • LOADING...
ไซเบอร์บูลลี่

HIGHLIGHTS

  • จากสถิติของกรมสุขภาพจิตพบว่า พฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกกัน หรือบูลลี่ (Bully) ของเด็กไทยติดอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่นเลย ทำให้นี่เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องเร่งแก้ไข การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ หรือ ไซเบอร์บูลลี่ (Cyberbullying) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาสังคมที่ไม่ควรถูกมองเป็นเรื่องเล็กๆ ด้วยสามารถก่อตัวจนอาจนำไปสู่ผลกระทบและความรุนแรงตามมาอีกมากมาย
  • จริงอยู่ที่วันนี้สังคมไทยจะเริ่มตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว แต่ในความเป็นจริงยังคงเป็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ดังนั้นจะดีแค่ไหนหากเรามีพื้นที่สำหรับส่งเสียงเพื่อให้ #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา จึงเป็นที่มาของเว็บไซต์ safeinternetlab.com/brave สำหรับเปิดรับความคิดเห็นของเยาวชนทั่วประเทศ ต่อประเด็นปัญหาไซเบอร์บูลลี่ที่เกิดขึ้นมากในปัจจุบัน
  • โดยหนึ่งเสียงของคนรุ่นใหม่ บนพื้นที่ของคนรุ่นใหม่ เพื่อคนรุ่นใหม่ จะถูกนำมาออกแบบข้อตกลงร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาไซเบอร์บูลลี่ ซึ่งทุกความคิดเห็นจะรวบรวมและนำไปเขียนเป็น ‘ข้อตกลงร่วมกัน (Playbook)’ เพื่อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปแก้ไขปัญหาต่อไป

รู้หรือไม่ว่า จากสถิติของกรมสุขภาพจิตพบว่า พฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกกัน หรือบูลลี่ (Bully) ของเด็กไทยติดอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่นเลยทีเดียว 

 

ขณะที่เครือข่ายนักกฎหมายเพื่อเด็กและเยาวชนได้ลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นเรื่อง ‘บูลลี่ กลั่นแกล้ง ความรุนแรง ในสถานศึกษา’ ในกลุ่มเด็ก อายุ10-15 ปี จาก 15 โรงเรียน จำนวน 1,500 คน พบว่า 91.79% เคยถูกบูลลี่ ส่วนวิธีที่ใช้บูลลี่คือ การตบหัว 62.07% รองลงมา ล้อบุพการี 43.57% พูดจาเหยียดหยาม 41.78% และอื่นๆ เช่น นินทา ด่าทอ ชกต่อย ล้อปมด้อย พูดเชิงให้ร้าย เสียดสี กลั่นแกล้งในสื่อออนไลน์  

 

นอกจากนี้ 1 ใน 3 หรือ 35.33% ระบุว่า เคยถูกกลั่นแกล้งประมาณเทอมละ 2 ครั้ง ที่น่าห่วงคือ 1 ใน 4 หรือ 24.86% ถูกกลั่นแกล้งมากถึงสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ส่วนคนที่แกล้งคือ เพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้อง นอกจากนี้ เด็กๆ 68.93% มองว่า การบูลลี่ถือเป็นความรุนแรงอย่างหนึ่ง และผลกระทบที่เห็นได้ชัดคือ 42.86% คิดจะโต้ตอบเอาคืน 26.33% มีความเครียด 18.2% ไม่มีสมาธิกับการเรียน 15.73% ไม่อยากไปโรงเรียน 15.6% เก็บตัว และ 13.4% ซึมเศร้า

 

จากผลวิจัยนี้ชี้ให้เราเห็นว่า ‘พฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกกัน’ คือปัญหาเร่งด่วนที่ต้องเร่งแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่โลกของอินเทอร์เน็ตเฟื่องฟู ใครๆ ก็เข้าถึงโลกออนไลน์ได้ ทำให้ปัญหาการบูลลี่มีเพิ่มมากขึ้นไปอีก ผ่านการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ หรือ ไซเบอร์บูลลี่ (Cyberbullying) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาสังคมที่ไม่ควรถูกมองเป็นเรื่องเล็กๆ ด้วยสามารถก่อตัวจนอาจนำไปสู่ผลกระทบและความรุนแรงตามมาอีกมากมาย

 

จริงอยู่ที่วันนี้สังคมไทยจะเริ่มตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว แต่ในความเป็นจริงยังคงเป็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ดังนั้นจะดีแค่ไหนหากเรามีพื้นที่สำหรับส่งเสียงเพื่อให้ #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา

 

safeinternetlab

 

แคมเปญ #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา จึงเป็นแคมเปญที่ตั้งใจทำขึ้นมาเพื่อเปิดพื้นที่เพื่อรับฟังความคิดเห็นของเยาวชนทั่วประเทศ ต่อประเด็นปัญหาไซเบอร์บูลลี่ที่เกิดขึ้นมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะเยาวชนในช่วงวัยรุ่นหรือ Generation Z ที่เกิดขึ้นกว่า 48% เพราะมองว่าในปัจจุบันเมื่อเกิดปัญหาแล้วไม่มีวิธีการรับมือหรือข้อตกลงร่วมกันในเชิงบรรทัดฐานทางสังคม ที่จะแก้ปัญหานี้อย่างจริงใจและเป็นรูปธรรม แต่กลับผลักปัญหานี้ให้กับผู้ที่โดนบูลลี่ไปเผชิญชะตากรรมด้วยตนเอง

 

ดังนั้นเราจึงอยากชวนคนรุ่นใหม่มาร่วมให้ความเห็นผ่าน www.safeinternetlab.com/brave ใน 3 ประเด็นที่มีการไซเบอร์บูลลี่มากและรุนแรงที่สุดในไทย ได้แก่

 

Body Shaming การวิจารณ์รูปร่างผู้อื่น ซึ่งเป็นประเด็นที่มีการไซเบอร์บูลลี่มากที่สุด โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ที่เกิดง่ายและรุนแรงกว่าในชีวิตจริง ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องวิจารณ์คนรู้จัก แต่เป็นใครก็ได้พร้อมซ้ำเติมด้วยการกดแชร์ ชวนเพื่อมารุม Reply ทำให้ผู้นั้นเหมือนโดนบูลลี่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

 

Gender Inequality ความไม่เท่าเทียมทางเพศ จากข้อมูลพบว่า เยาวชน LGBTQ+ กว่า 87% เคยถูกบูลลี่ด้วยการเหยียดและดูหมิ่น ความไม่ปกติของการกระทำนี้ถูกทำให้เป็นเรื่องปกติได้ง่ายและรวดเร็ว ผ่านการไซเบอร์บูลลี่ในโลกออนไลน์ซ้ำๆ การกด Like กด Share ยิ่งทำให้การบูลลี่กระจายไปไกลจนลืมไปว่าผู้ถูกกระทำไม่ได้ตลกกับการเลือกปฏิบัติและการใช้ความรุนแรง

 

Sexual Harassment การคุกคามทางเพศ โดยการคุกคามทางเพศที่เกิดในโลกออกไลน์น่ากลัวกว่าโลกจริง เพราะมีคนเข้ามาเกี่ยวข้องจำนวนมาก หาตัวคนผิดยาก ด้วยวิธีการคุกคามทางเพศที่หลากหลาย ทั้งการใช้ถ้อยคำ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือแม้แต่การกด Reaction ด้วย Emoji ต่างๆ ก็ทำให้ผู้ที่โดนบูลลี่มีบาดแผลบอบช้ำในใจไม่ต่างกัน

 

หนึ่งเสียงของคนรุ่นใหม่ บนพื้นที่ของคนรุ่นใหม่ เพื่อคนรุ่นใหม่ จะถูกนำมาออกแบบข้อตกลงร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาไซเบอร์บูลลี่ ซึ่งทุกความคิดเห็น dtac และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ศึกษาวิจัยจะร่วมสรุปประเด็น รวบรวมและนำไปเขียนเป็น ‘ข้อตกลงร่วมกัน (Playbook)’ เพื่อยื่นต่อหน่วยงานภาครัฐในการกำหนดเป็นกฎหมายในลำดับถัดไป

 

safeinternetlab

 

ในอนาคตเราอาจจะได้เห็นการแก้ปัญหาไซเบอร์บูลลี่อย่างจริงจังในบ้านเราเหมือนอย่างประเทศอื่นๆ เช่น

 

  • ฟิลิปปินส์ มีนโยบายต่อการการกลั่นแกล้งที่พัฒนาในโรงเรียน เพื่อคุ้มครองเด็กจากการถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ โดยมีกฎหมายเฉพาะที่กำหนดให้ทุกโรงเรียนใช้โปรแกรมการป้องกันการกลั่นแกล้งทั้งในชีวิตจริงและโลกไซเบอร์
  • ญี่ปุ่น มีกฎหมายที่กำหนดให้โรงเรียนต้องจัดการกับการกลั่นแกล้ง รวมถึงการกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ โดยโรงเรียนจะต้องดำเนินการเพื่อป้องกันเหตุการณ์รังแก และรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
  • สิงคโปร์ พัฒนากฎหมายเพื่อป้องกันการข่มเหงรังแกโดยเฉพาะ คือ The Protection from Harassment Act 2019 ส่งผลให้การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ การกลั่นแกล้งเด็ก การล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน และการสะกดรอย ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้กฎหมายยังให้ทางเลือกแก่ผู้เสียหายจากการเยียวยาทางแพ่งด้วย
  • สวีเดน ใช้กฎหมาย Anti-Bullying Law โดยโรงเรียนที่ไม่สามารถแสดงให้เห็นว่า พวกเขาทำงานเชิงรุกในการจัดการกับการกลั่นแกล้งเด็ก สามารถถูกฟ้องร้องต่อศาล และอาจต้องรับผิดชอบต่อความเสียดายใดๆ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลและทรัพย์สิน
  • สหราชอาณาจักร ให้ทุกโรงเรียนกำหนดให้มีนโยบายกลั่นแกล้งในโรงเรียน ทั้งนี้ มีกฎหมายจำนวนมากที่สามารถนำไปใช้สำหรับการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ เช่น พระราชบัญญัติการปกป้องจากการคุกคาม (The Protection from Harassment Act) เป็นต้น

 

สำหรับพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มาส่งเสียงเพื่อ #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา  ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ Safe Internet โดย dtac ซึ่งดำเนินโครงการนี้มาตั้งแต่ปี 2557 โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อสร้างทักษะและภูมิคุ้มกันแก่เด็กและเยาวชน ให้สามารถท่องโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย เหมาะสม และสร้างสรรค์ ผ่านการสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นแก่ตัวเด็กและบุคคลที่อยู่ใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็น ครู พ่อแม่ หรือผู้ปกครอง

 

แล้วอย่าลืมมาร่วมปลุกความกล้า เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมบนโลกออนไลน์ และ #ให้ไซเบอร์บูลูลี่จบที่รุ่นเรา สามารถระดมความเห็นได้ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน เวลา 20.00 น. ถึงวันที่ 28 มิถุนายน เวลา 20.00 น. ได้ที่ www.safeinternetlab.com/brave

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง:

FYI

กว่าจะมาเป็นพื้นที่ JAM Ideation เพื่อหยุดไซเบอร์บูลลี่

 

โครงการดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 

 

  1. การทำวิจัยเพื่อเก็บข้อมูลตั้งต้นจากเยาวชนและงานวิจัยต่างประเทศ รวมไปถึงการใช้ insight ที่น่าสนใจจากตัวแทนกลุ่มวัยรุ่นในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ  นำมาพัฒนาเป็นกรอบการระดมความคิดเห็นผ่านแพลตฟอร์ม
  2. การระดมความเห็นบนแพลตฟอร์มแบบมาราธอน 72 ชั่วโมงตั้งแต่วันที่ 25 – 28 มิถุนายน 
  3. การสรุปความคิดเห็น เพื่อพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติในการหยุดปัญหาการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ โดยจะมีการต่อยอดกับกูรูหลากหลายวงการ อาธิ นักวิชาการ นักการตลาด เป็นต้น ในช่วงวันที่ 3 – 5 กรกฎาคม และจะมีการสรุปผลพร้อมเผยเผยสู่สาธารณชนในเดือนกันยายน 2564 

 

การระดมความคิดเห็นขนาดใหญ่ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์หรือ Jam ideation เป็นกระบวนการระดมความคิดเห็นในระยะเวลาที่จำกัด ให้พื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมและเป็นกลางต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง วิธีการนี้จะต่างจากการระดมความเห็นในรูปแบบเดิมที่มีข้อจำกัดเชิงปริมาณและอคติที่เกิดจากสภาพแวดล้อม ซึ่งนี่ถือเป็นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาแก้ไขปัญหาสังคม สะท้อนความต้องการและแก้ไขปัญหาของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ Dtac กล่าว 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X