×

รู้จัก ‘RISC by MQDC’ ศูนย์วิจัยที่มุ่งสร้าง ‘ความเป็นอยู่ที่ดี’ ให้กับทุกชีวิตอย่างยั่งยืนผ่านงานวิจัย 5 ด้าน [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
01.03.2023
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

5 min read
  • MQDC เชื่อว่าทุกชีวิตบนโลกที่ไม่ใช่แค่มนุษย์ แต่หมายรวมถึงทุกชีวิตบนโลก (For All Well-being) สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขอย่างยั่งยืน
  • จึงจัดตั้ง RISC ศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาที่เน้นนวัตกรรมด้านคุณภาพชีวิตแห่งแรกของเอเชีย มุ่งสร้างความสุข ส่งเสริมความยั่งยืน และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมด้วยวิจัยและนวัตกรรม เพื่อรวบรวมนักวิจัยและนวัตกรเข้ามาสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ และทำวิจัยลงลึกไปใน 5 ด้าน (RISC’s 5 Research Hubs) ที่จะช่วยเปลี่ยนโลกไปสู่ความยั่งยืน

หากมอง ‘โลก’ เป็นบ้านหลังใหญ่ที่รวมสรรพสิ่งเอาไว้ด้วยกัน หากหนึ่งในสรรพสิ่งในบ้านเกิดการเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลกระทบต่อสรรพสิ่งอื่นๆ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่นเดียวกับโลกใบนี้ สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมส่งผลต่อมลพิษทางธรรมชาติ เมื่อคุณภาพน้ำแย่ อากาศเป็นพิษ สุขภาพของคนก็ย่ำแย่ตามไปด้วย ดังนั้นหากจะปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับทุกสรรพสิ่งบนโลก จึงต้องมองตั้งแต่ภาพกว้างและลงรายละเอียดไปในมิติต่างๆ ที่มีความเชื่อมโยงกัน

 

 

บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ MQDC เชื่อว่าสรรพสิ่งบนโลกที่ไม่ใช่แค่มนุษย์ แต่หมายรวมถึงทุกชีวิตบนโลก (For All Well-being) สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขอย่างยั่งยืน จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง RISC by MQDC หรือศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center: RISC) ศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาที่เน้นนวัตกรรมด้านคุณภาพชีวิตแห่งแรกของเอเชีย มุ่งสร้างความสุข ส่งเสริมความยั่งยืน และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมด้วยวิจัยและนวัตกรรม

 

RISC ทำงานวิจัยลงลึกใน 5 ด้าน ‘RISC’s 5 Research Hubs for Well-being’ ครอบคลุมทุกแกนของความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อทุกชีวิต โดยมีเป้าหมายที่จะบูรณาการงานวิจัยจากหลากหลายศาสตร์ประยุกต์ในการพัฒนาโครงการ พร้อมสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสร้าง ‘ความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being)’ ให้กับทุกชีวิตบนโลกทั้งในวันนี้และอนาคต

 

ตลอดกว่า 10 ปีของการค้นคว้า ได้เหล่าบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาในหลากหลายสาขาวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ สถาปนิก วิศวกร ออกแบบ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และนิเวศวิทยา ส่งผลให้งานวิจัยของ RISC มีความหลากหลาย

 

อีกทั้งผลวิจัยที่ได้ยังนำไปประยุกต์ใช้จริงในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ตลอดกระบวนการ ทั้งในระดับอาคาร ระดับชุมชน และระดับเมือง นอกจากนั้นยังนำองค์ความรู้นี้ต่อยอดเปิดพื้นที่ให้กับบุคคลภายนอกที่สนใจด้านการพัฒนาและก่อสร้างอย่างยั่งยืนเข้ามาเรียนรู้ได้

 

 

เรียนรู้และลงลึกกับ ‘RISC’s 5 Hubs Research’ งานวิจัย 5 ด้านที่ช่วยเปลี่ยนโลกไปสู่ความยั่งยืน

 

ด้านที่ 1 ความหลากหลายทางชีวภาพ (Plants & Biodiversity)

 

กลุ่มงานวิจัยที่ศึกษาสัตว์ ต้นไม้ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ให้ส่งเสริมและเกื้อกูลกัน สร้างคุณภาพชีวิตให้กับทุกสิ่งมีชีวิต สร้างระบบนิเวศที่ดีและยั่งยืน รวมถึงดึงศักยภาพของต้นไม้มาสร้างประโยชน์ได้อย่างคาดไม่ถึง

  

งานวิจัยด้านแรกเกิดขึ้นจากโจทย์ที่ว่าทำอย่างไรมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ จะสามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้และส่งเสริมเกื้อกูลกัน จึงลงลึกไปกับทุกชีวิตเพื่อทำความเข้าใจความหลากหลายทางชีวิตจนเกิดเป็น Biodiversity Standard สำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์แห่งแรกของโลก เพื่อที่จะนำไปประยุกต์ใช้และสร้างระบบนิเวศที่ดีในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ควบคู่ไปกับการรักษาและเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมหาวิธีส่งเสริมศักยภาพของพืชพันธุ์ในด้านต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย

 

มีการนำทฤษฎี ‘Miyawaki Method’ ของ ดร.อาคิระ มิยาวากิ มาศึกษาและทดลองปลูกป่า นอกจากนั้นยังมีการนำพืชชนิดต่างๆ มาปลูกภายในอาคาร ผ่านแนวคิดการออกแบบที่เรียกว่า Biophilic Design หรือการนำองค์ประกอบบางส่วนของความเป็นธรรมชาติมาปรับใช้หรือประยุกต์ในงานออกแบบ โดยปัจจุบันถูกนำมาเป็นมาตรฐานในการออกแบบเพื่อสุขภาวะ ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อกำหนดของ WELL Building Standard

 

หรือการวิจัยเรื่องการกำจัดยุงโดยชีววิธี ปราศจากการใช้สารเคมีที่จะส่งผลต่อระบบนิเวศในระยะยาว และมีการใช้ผู้ล่าตามธรรมชาติของยุง เช่น แมลงปอ ปลาชนิดต่างๆ หรือแม้แต่จิ้งจกและตุ๊กแก เข้ามาเป็นผู้ควบคุมจำนวนยุง

 

 

ด้านที่ 2 คุณภาพอากาศ (Air Quality)

 

กลุ่มงานวิจัยที่ศึกษาและพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพอากาศที่ดีทั้งภายในและภายนอกอาคาร เพื่อผู้อยู่อาศัยในอาคารโดยตรงและส่งเสริมคุณภาพอากาศที่ดียิ่งขึ้น

 

เริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบให้มีการระบายอากาศที่ดี การเลือกวัสดุที่ปลอดสารพิษ ระบบเครื่องกล ตลอดจนกระบวนการก่อสร้างที่ช่วยควบคุมคุณภาพอากาศให้ดีทั้งภายในและภายนอกอาคาร ตัวอย่างงานวิจัยที่ RISC ได้ลงมือทำ เช่น การจำลองพฤติกรรมการไหลเวียนของลม โดยใช้ CFD Simulation Model มาศึกษาและจำลองการระบายอากาศ ทั้งการไหลเวียนและพฤติกรรมของลม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการไหลของอากาศ ส่งเสริมคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น ช่วยลดการสะสมความชื้น ลดการเกิดเชื้อรา ลดแนวโน้มความเจ็บป่วยและการเกิดภูมิแพ้​ รวมถึงการพัฒนามาตรฐานตลอดกระบวนการพัฒนาโครงการ เช่น การกำหนดวัสดุประกอบอาคารที่ไม่ส่งผลต่อสุขภาวะ เช่น Non-Toxic Material, Low VOC Material

 

ด้านนวัตกรรมที่สร้างคุณภาพอากาศที่ดีภายในอาคารก็มีให้เห็นหลากหลาย เช่น Ventilation Door ประตูที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มการระบายอากาศในห้องพักแบบคอนโดที่มีปัญหาลมไหลเข้าออกไม่ได้ จึงคิดค้นพัดลมระบายอากาศขนาดเล็กพร้อมแผ่นกรองชนิดพิเศษที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาด PM2.5 ได้มากกว่า 99.97% สามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในห้องให้อยู่ในระดับมาตรฐานการอยู่อาศัยได้ในระยะเวลา 15 นาที

 

หรือ MQDC Chiller Façade System ระบบ Façade ที่ใช้ประโยชน์จากระบบทำความเย็นด้วยน้ำ โดยวางแนวท่อทำความเย็นตามกรอบอาคาร ช่วยลดอุณหภูมิภายนอกอาคาร สามารถป้องกันรังสีจากดวงอาทิตย์ และนำอากาศเย็นเข้าสู่ภายในอาคาร​ เป็นต้น

 

 

ด้านที่ 3 ศาสตร์แห่งความสุขเชิงวิทยาศาสตร์ (Happiness Science)


กลุ่มงานวิจัยเพื่อศึกษาการสร้างความสุขให้กับมนุษย์ ผ่านการศึกษาพฤติกรรมและจิตวิทยาของคนทุกวัย รวมไปถึงการเรียนรู้สัญญาณสมองจากปัจจัยที่มีความแตกต่างกันในสภาพแวดล้อมรอบตัว ด้วยการเก็บข้อมูลจริงพร้อมทั้งนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยส่งเสริมให้เกิดผลลัพธ์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

 

ตัวอย่างงานวิจัยที่มีผลต่อความรู้สึกเช่น การใช้หลอดไฟที่มีค่าอุณหภูมิแสงต่ำ ทำให้รู้สึกอบอุ่นและเย็นมากขึ้น หรือการใช้หลอดไฟที่ปรับค่า CCT ได้ โดยไล่จากแสงสีโทนส้มเข้มไปยังเหลืองเข้มเหลืองอ่อน ค่อยๆ ลดระดับลง (โทนสีใกล้เคียงพระอาทิตย์ขึ้น) เช่น ก่อนนอนควรปรับอุณหภูมิให้มีค่า CCT ต่ำกว่า 2,700 K เพื่อให้สมองรับรู้ ส่งผลให้ร่างกายผ่อนคลาย ส่วนห้องทำงานการใช้แสง 4,000 K 750 lux จะช่วยให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น

งานวิจัยเรื่องสีห้องนอน อย่างสีแดงและส้มจะมีผลต่อความอยากอาหาร ในขณะที่สีฟ้าทำให้ความอยากอาหารลดลง ส่วนสีสำหรับห้องนอนที่เหมาะที่สุดคือสีฟ้า ซึ่งจะช่วยสร้างความผ่อนคลายได้ดี

 

การสร้างสภาพแวดล้อมด้วยขนาดห้อง ความสูงของฝ้าเพดาน พื้นที่สีเขียว ล้วนส่งผลต่อการรับรู้ การออกแบบห้องที่มองเห็นพื้นที่สีเขียวในอาคารแนวสูงจะช่วยปรับปรุงสุขภาพจิตให้ดีขึ้น ช่วยลดความเครียด ความดันโลหิต และลดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือแม้แต่ความสูงของเพดาน คนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์เหมาะกับฝ้าเพดานสูง ส่วนฝ้าเพดานต่ำเหมาะกับงานที่ต้องการสมาธิและการแก้ไขปัญหา

 

ทุกงานวิจัยจะถูกวัดค่าโดยเครื่องมือที่มีความแม่นยำ เช่น EEG (Electroencephalogram) หรือการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง เพื่อศึกษากิจกรรมทางสมองที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีตัวกระตุ้น เช่น การตรวจจับความเครียด​, Eye Tracking System ระบบตรวจจับกิจกรรมทางสายตา ที่ใช้ในการศึกษาว่าเวลาเรามองไปในห้องหรือมองภาพใน VR ตาของเราจ้องมองไปที่จุดไหนก่อนตามลำดับ เพื่อดูว่าสิ่งแรกสุดที่เรามองหรือให้ความสนใจคืออะไร หรือ Galvanic Skin Response (GSR) ระบบตรวจจับการตอบสนองของระบบกล้ามเนื้อ เป็นการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าบนผิวหนังของเรา เพื่อดูว่าเวลาที่เราขนลุกหรือตื่นเต้น จะมีค่าความต่างศักย์เป็นอย่างไร และเกิดจากกิจกรรมหรือสิ่งเร้าอะไรบ้าง

 

ปัจจุบัน RISC นำความรู้ด้านประสาทวิทยามาประยุกต์ใช้ในการออกแบบสร้างสภาพแวดล้อมจำลองที่มีตัวแปรแตกต่างกัน มาศึกษาการรับรู้และการทำงานของสมองของอาสาสมัคร โดยมีการวัดจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแสง สี วัสดุ วิวทิวทัศน์ ขนาดของพื้นที่ รูปทรง ไปจนถึงการแบ่งสัดส่วนของห้อง เพื่อดูว่าแต่ละตัวแปรมีผลต่อการรับรู้อย่างไร

 

นอกจากนี้ทาง RISC มีความมุ่งมั่นในการจัดตั้ง Rehabilitation Center For All เพื่อนำองค์ความรู้จากการศึกษาและวิจัยมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลทุกกลุ่มในสังคมอีกด้วย

 

 

ด้านที่ 4 วัสดุและการใช้ทรัพยากร (Materials & Resources)

 

กลุ่มงานวิจัยที่ศึกษาและวิจัยวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอาคาร รวมถึงการใช้วัสดุทดแทนเพื่อลดการใช้ทรัพยากรโลกในรูปแบบต่างๆ และการลดคาร์บอนของโลกด้วยเทคโนโลยีอนาคต

 

โดยมุ่งเน้นการทำงานวิจัยเรื่องวัสดุใน 3 ด้าน ได้แก่

 

  • Testing for MQDC Standard: ทดสอบคุณสมบัติวัสดุ เพื่อทดสอบตามมาตรฐานในด้านต่างๆ ให้เกิดความมั่นใจก่อนนำไปใช้ในโครงการ MQDC เช่น มาตรฐานรับรองการออกแบบโครงการ 30 ปี การทดสอบปริมาณสารระเหย วัสดุดูดซับแรงกระแทก (Shock Absorption) การทดสอบการกันลื่น (Slip Resistance Testing)​
  • Innovation Well-being Material: ศึกษาและวิจัยวัสดุใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมการทำงานของ RISC Research Hubs ต่างๆ เช่น Upcycled Materials, Bio-Based Materials, Carbon Negative Materials เป็นต้น
  • Future Trend: ศึกษาเทรนด์ของวัสดุในอนาคตที่ช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ลดการใช้ทรัพยากร และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับวงการอุตสาหกรรม​

 

ทั้งนี้ งานวิจัยด้านวัสดุที่ RISC กำลังทดลองและนำไปประยุกต์ใช้งานจริงในโครงการ เช่น การนำขยะมาเพิ่มมูลค่าให้กลายเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีประโยชน์มากขึ้น ตามแนวทางการพัฒนา Upcycled Materials อย่างการนำเปลือกไข่มาทำ Solid Surface หรือพรมที่ทำมาจากเส้นใยขวดพลาสติก หรือการนำเศษพลาสติกมาผสมกับยางมะตอยเพื่อทำถนนใช้ในโครงการจริงอย่าง The Forestias และ 101 True Digital Park​

 

Materials & Resources Hub ยังให้ความสำคัญกับวัสดุที่จะเข้ามาช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากภาวะโลกรวน (Climate Change) จึงทำให้เกิดการพัฒนาวัสดุก่อสร้างที่จะสามารถช่วยลดผลกระทบจากการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ โดยวัสดุตัวอย่างของ Low Carbon Material หรือวัสดุก่อสร้างที่มีการปล่อย Embodied Carbon สู่ชั้นบรรยากาศน้อย

 

 

ด้านที่ 5 ศาสตร์ความพร้อมรับมือ (Resilience)

 

กลุ่มงานวิจัยที่ศึกษาแนวทางการรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามาเปลี่ยนเมืองและโลกของเรา ทั้งปัญหามลภาวะทางอากาศ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โรคระบาด การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมคน สังคม ตลอดจนภัยพิบัติต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกรวน เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมจนนำไปสู่การพัฒนาเมืองที่ตอบโจทย์ในอนาคต ลดผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

 

ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) และวางแผนการสร้างอาคารและเมือง เพื่อรับมือกับทุกสถานการณ์ ทั้งการเตรียมตัวก่อนเกิดเหตุการณ์ การจัดการขณะที่เกิดเหตุการณ์ และการฟื้นฟูภายหลังเหตุการณ์

 

Resilience Hub มีการพัฒนา Resilience Framework เพื่อจำแนกประเภท Shock & Stresses ที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ Nature & Environment การรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติในอนาคตจากภาวะโลกรวน, Living & Infrastructure การรับมือกับปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทั้งการบริการและสาธารณูปโภค ปัญหาการจราจร เหตุเพลิงไหม้ แก๊สรั่ว สารเคมีรั่วไหล ไฟดับ รวมทั้งปัญหาสุขภาพจิต ​และ Society & Economy การรับมือกับปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและความปลอดภัย การสร้างระบบการศึกษาที่เข้าถึงทุกคน การสร้างโอกาสในการทำงาน การวางระบบ Cyber Security

 

ดังนั้นการพัฒนาพื้นที่โครงการอสังหาริมทรัพย์จึงต้องนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) มาใช้วิเคราะห์ ซึ่งจะช่วยให้คาดการณ์ได้ว่าพื้นที่ที่เราจะพัฒนามีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น นอกจากนั้น GIS ยังสามารถดึงข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมมาวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของโลก เช่น อุณหภูมิพื้นผิวโลก พื้นที่สีเขียว โดยใช้ระบบตรวจจับอุณหภูมิที่ผิวโลก

 

RISC ได้นำ GIS มาใช้วิเคราะห์เชิงพื้นที่ที่จะพัฒนาโครงการของ MQDC เช่น Site Survey ทำการสำรวจพื้นที่และตรวจวัดตัวแปรต่างๆ โดยวิเคราะห์สภาพภูมิอากาศ ทั้งอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ทิศทางและความเร็วลม รวมไปถึงมลพิษทางอากาศและคาร์บอนไดออกไซด์​ หรือ Site Analysis ที่ศึกษาว่าในแต่ละพื้นที่มีตัวแปรและความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติอย่างไร โดยวิเคราะห์จากระดับน้ำทะเล การเกิดน้ำท่วมซ้ำ อุทกวิทยา ภัยแล้ง และสารเคมีรั่วไหล

 

 

นอกจากนั้นงานวิจัยทั้ง 5 ด้านยังมีแผนขยายขอบเขตงานวิจัยให้ครอบคลุมยิ่งขึ้นในอนาคต เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับทุกชีวิต โดยปัจจุบันงานวิจัย 5 ด้านนี้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals) มากถึง 13 ข้อ จากทั้งหมด 17 เป้าหมาย

 

ผู้ที่สนใจองค์ความรู้งานวิจัย 5 ด้านเพิ่มเติม สามารถดูงานเสวนา ‘RISC Talk 2022’ ย้อนหลังได้ที่ https://bit.ly/3SSXbjo หรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ RISC ได้ที่เว็บไซต์ https://risc.in.th/th/eco-material-library

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising