×

ย้อนอ่านคำวินิจฉัยส่วนตัว ‘อุดม’ ตุลาการเสียงข้างน้อย หนึ่งเดียว ชี้ #ม็อบ10สิงหา ไม่ล้มล้างการปกครอง

16.12.2021
  • LOADING...
อุดม

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยตามมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 เสียง ว่า 3 แกนนำผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎร ซึ่งประกอบด้วย อานนท์ นำภา, ภาณุพงศ์ จาดนอก และ ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ทั้ง 3 คนรวมทั้งกลุ่มองค์กรเครือข่ายเลิกกระทำการที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

 

ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ ‘ความเห็นส่วนตนของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 19/2564 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 เรื่อง การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่’

 

‘อุดม สิทธิวิรัชธรรม’ คือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างน้อย 1 เสียงจากตุลาการทั้งหมด 9 เสียง 

 

อุดมเขียนคำวินิจฉัยความเห็นส่วนตน ใจความสำคัญมีว่า 

 

  • เมื่อพิจารณาจากคำกล่าวของผู้ถูกร้องทั้งสามแล้ว ข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ที่ผู้ถูกร้องที่ 3 (ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล) กล่าวนั้น จะเห็นได้ว่ามีแผนเป็นขั้นเป็นตอน…ข้อเรียกร้องทั้ง 10 ข้อดังกล่าว หากมีผลสำเร็จจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ เพราะการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ การจะแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา หรือกฎหมายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องดังกล่าว ที่จะต้องผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติของรัฐสภาให้ถูกต้องยังไม่ปรากฏชัดแต่อย่างใด 
  • พฤติการณ์การกระทำที่กล่าวถึงข้อเรียกร้องดังกล่าวและต่อเนื่องในการชุมนุมครั้งอื่นต่อมาอีก จึงไม่ใช่การกระทำโดยกระบวนการที่ถูกต้องทางนิติบัญญัติโดยแท้จริงในขณะนี้ 
  • แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงประการอื่นว่าจะมีการกระทำอย่างอื่นให้สำเร็จดังกล่าวอย่างฉับพลันทันทีในขณะนั้นโดยอำนาจประการอื่นที่ไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ 

 

สรุป 

 

ข้อเท็จจริงตามคำร้องของผู้ร้องจึงยังไม่พอฟังได้ว่า การกระทำขณะเกิดเหตุเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง

 

ส่วนการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสามจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นใดหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก 

 

แต่ห้ามมิให้มีการกระทำในลักษณะที่กล่าวถึงข้อเรียกร้องดังกล่าวอีกต่อไป เพราะหากมีการกระทำเช่นนั้นอีกหลายครั้งต่อเนื่องกันไปเป็นระยะ จะเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง  

 

จึงมีความเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสามขณะเกิดเหตุไม่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่ง แต่ห้ามมิให้มีการกระทำในลักษณะที่กล่าวถึงข้อเรียกร้องดังกล่าวอีกต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 74

 

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง 9 ประกอบด้วย

 

  1. วรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ

 

  1. ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 

 

  1. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 

 

  1. ปัญญา อุดชาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 

 

  1. อุดม สิทธิวิรัชธรรม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 

 

  1. วิรุฬห์ แสงเทียน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 

 

  1. จิรนิติ หะวานนท์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 

 

  1. นภดล เทพพิทักษ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 

 

  1. บรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 

 

ผู้ร้อง 

ณฐพร โตประยูร ผู้ร้อง 

 

ผู้ถูกร้อง 

 

  1. อานนท์ นำภา ผู้ถูกร้องที่ 1 

 

  1. ภาณุพงศ์ จาดนอก ผู้ถูกร้องที่ 2

 

  1. ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ผู้ถูกร้องที่ 3

 

  1. พริษฐ์ ชิวารักษ์ ผู้ถูกร้องที่ 4 

 

  1. จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ผู้ถูกร้องที่ 5

 

  1. สิริพัชระ จึงธีรพานิช ผู้ถูกร้องที่ 6   

 

  1. สมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ถูกร้องที่ 7 

 

  1. อาทิตยา พรพรม ผู้ถูกร้องที่ 8  

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising