×

5 วิธีดูแลถังเก็บน้ำในที่พักอาศัย

โดย THE STANDARD TEAM
12.07.2024
  • LOADING...

น้ำเป็นสิ่งที่ต้องใช้โดยตรงกับร่างกาย หากมีการจัดการน้ำที่ไม่ถูกวิธี มีสารเคมีหรือการปนเปื้อน อาจทำให้เกิดอันตรายได้

 

โดยเฉพาะในที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียม, หอพัก, อพาร์ตเมนต์ และอาคารสำนักงาน ซึ่งส่วนมากจะใช้น้ำประปาที่อาจมาจากการประปานครหลวง, การประปาส่วนภูมิภาค, ประปาของเทศบาล หรือประปาองค์การบริหารส่วนตำบล

 

แม้คุณภาพน้ำจากระบบผลิตส่วนใหญ่จะได้มาตรฐานทั้งด้านกายภาพ, เคมี, แบคทีเรีย และมีคลอรีนอิสระ (ประสิทธิภาพที่สามารถฆ่าแบคทีเรียและจุลินทรีย์ในน้ำ) อยู่ 0.2-0.5 ppm แล้ว

 

แต่เมื่อนำน้ำมาใส่ถังเก็บน้ำหรือถังพักน้ำ คลอรีนอิสระในน้ำก็จะสลายหายไปจนไม่มีเหลือเลย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลถังเก็บน้ำหรือถังพักน้ำให้ถูกต้อง

 

THE STANDARD สรุปวิธีการดูแลถังเก็บน้ำหรือถังพักน้ำในที่พักอาศัย 5 ข้อ ดังนี้

 

 

ภาพประกอบ: แพรวา บำรุงภักดิ์

 


 

  1. สำรวจที่ตั้ง
  • ขอบเขตชัดเจน มีหลังคาคลุม
  • สะอาด ไม่รก
  • ตั้งสูงจากพื้นประมาณ 15 เซนติเมตร
  • มีแสงสว่างให้มองเห็นสิ่งผิดปกติในถัง

 

  1. ตัวถังน้ำ 
  • ทำจากวัสดุที่ปลอดภัย (เกรดบรรจุอาหาร) เช่น สเตนเลส, ไฟเบอร์กลาส หรือพลาสติก
  • ไม่ชำรุด แตก หรือร้าว
  • ถังน้ำบนดินมีช่องระบายน้ำทิ้งด้านล่าง
  • ล้างถังทุก 6 เดือน (ขัดถูผนังด้านในด้วยแปรง ล้างด้วยน้ำสะอาด 2 ครั้ง ใช้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคเข้มข้น 50 ppm แช่ถังไว้ประมาณ 30 นาที แล้วปล่อยทิ้งก่อนใส่น้ำประปา)

 

  1. เช็กปริมาณคลอรีนคงเหลือ
  • มีคลอรีนอิสระคงเหลือไม่ต่ำกว่า 0.2 ppm 

 

  1. ผู้ดูแลควรได้รับการอบรมความรู้ด้านการจัดการคุณภาพน้ำ เช่น วิธีเติมคลอรีน การล้างถัง และการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำด้วยเครื่องมือหรือชุดทดสอบ

 

  1. ป้องกันสัตว์นำโรค เช่น นกและหนู เข้าไปทำรัง

 

อ้างอิง:

  • กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
FYI
  • ปรสิตในแหล่งน้ำจืด, น้ำกร่อย, น้ำทะเล และน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะได้รับเชื้อโดยบังเอิญ หากมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจจะทำให้ปอดอักเสบ และการติดเชื้อทางบาดแผลจะทำให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง
  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X