×

ล็อกกระแสเงินสดที่มั่นคงท่ามกลางความเสี่ยงท่วมโลก ด้วยตราสารหนี้คุณภาพดี จากบริษัทชั้นนำทั่วโลก

20.06.2023
  • LOADING...
UOB Privilege Banking

เราผ่านปี 2023 กันมาแล้วเกือบครึ่งปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โลกของการลงทุนเต็มไปด้วยความเสี่ยง ทั้งจากต่างประเทศและในประเทศไทยเอง โดยในภาพใหญ่อย่างตัวเลข GDP โลก ถูกหั่นคาดการณ์ลงจากสำนักวิจัยหลายสำนัก รวมถึงกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ซึ่งเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) เมื่อเดือนเมษายน ซึ่งระบุว่า การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะร่วงลงมาอยู่ที่เพียง 2.8% ลดลงจากการคาดการณ์ในเดือนมกราคมที่ 2.9% ขณะที่การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วง 5 ปีข้างหน้าที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 3% ส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ และช่วง 5 ปีข้างหน้า ทำสถิติเป็นตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะกลางที่ต่ำสุดในรอบกว่า 30 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 1990 

 

IMF ระบุในรายงานว่า สาเหตุหลักที่ทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวลดลง คือการที่เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพื่อสกัดเงินเฟ้อของธนาคารกลางต่างๆ บวกกับปัญหาเสถียรภาพในภาคการเงิน การชะลอตัวของตลาดแรงงาน และปัจจัยความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งรวมถึงการที่รัสเซียบุกโจมตียูเครน และการแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)

 

ทั้งนี้ IMF อธิบายว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อโลกในปี 2022 ได้แก่ มาตรการทางการเงินที่ตึงตัวของธนาคารกลางเพื่อบรรเทาภาวะเงินเฟ้อ การจัดเตรียมกันชน หรือบัฟเฟอร์ทางการคลังเพื่อดูดซับแรงกระแทกท่ามกลางระดับหนี้ที่สูงเป็นประวัติการณ์ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น และการกระจายตัวทางภูมิเศรษฐกิจจากสงครามของรัสเซียในยูเครน และการเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งของจีน ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้มีแนวโน้มจะดำเนินต่อไปในปี 2023 และจะทวีความเลวร้ายขึ้นอีกเมื่อได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องใหม่ในด้านเสถียรภาพทางการเงิน

 

อีกทั้งเมื่อเร็วๆ นี้ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ลงนามในกฎหมายขยายเพดานหนี้ ซึ่งกฎหมายฉบับดังกล่าวระงับเพดานการก่อหนี้ไว้จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2025 และทำให้กระทรวงการคลังสหรัฐฯ สามารถเพิ่มเงินสดขึ้นมาใหม่ให้อยู่ในระดับปกติได้มากขึ้นผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งมีการคาดการณ์กันไว้ว่า กฎหมายนี้จะทำให้เกิดสึนามิ ‘การออกพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ’ รอบใหม่ โดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ คาดว่าจะกู้ยืมเงินเพิ่มอีก 1 ล้านล้านดอลลาร์หรือมากกว่านั้น

 

จะเห็นได้ว่าปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ล้วนส่งผลกระทบต่อ ‘โลกของการลงทุน’ และจะกระทบไปถึงสินทรัพย์ทุกประเภทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงตลาดตราสารหนี้ อย่างไรก็ตาม ในทุกวิกฤตล้วนมีโอกาส ดังนั้น ผู้ลงทุนที่มีการบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนอย่างเป็นประจำ สม่ำเสมอ จะสามารถจับจังหวะเช่นนี้เพื่อเฟ้นหาสินทรัพย์ที่น่าลงทุนที่จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับพอร์ตและเพิ่มพูนผลตอบแทนได้ 

 

สินทรัพย์หลักที่ UOB Privilege Banking แนะนำให้ลงทุนเพื่อกระจายหรือลดความเสี่ยง คือตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับเป็น Investment Grade 

 

ทำไม ‘Investment Grade’ จึงสำคัญ? 

 

การลงทุนในตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับเป็น Investment Grade มีความสำคัญสูง และช่วยเพิ่มเสถียรภาพให้กับพอร์ตผู้ลงทุนได้ ดังนี้ 

 

  1. ความน่าเชื่อถือ: การได้รับการจัดอันดับเป็น Investment Grade หมายความว่าหน่วยงานที่ออกตราสารหนี้เหล่านั้นมีความน่าเชื่อถือสูง และมีเสถียรภาพทางการเงินที่ดี สำหรับผู้ลงทุน การลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับผลตอบแทนที่สม่ำเสมอและเสี่ยงน้อยกว่า

 

  1. ต้นทุนกำไรที่ต่ำ: บริษัทหรือหน่วยงานที่ได้รับการจัดอันดับเป็น Investment Grade สามารถออกตราสารหนี้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า นั่นหมายความว่าพวกเขาสามารถกู้ยืมเงินจากตลาดทุนในราคาที่ถูกกว่า และชำระหนี้ในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น นั่นอาจลดต้นทุนการกู้ยืมและเพิ่มกำไรสุทธิให้กับบริษัทหรือหน่วยงานนั้น

 

  1. การขยายองค์กร: การได้รับการจัดอันดับเป็น Investment Grade สามารถช่วยให้บริษัทหรือหน่วยงานเติบโตและขยายกิจการได้ง่ายขึ้น หากมีความน่าเชื่อถือในตลาด พวกเขาสามารถออกตราสารหนี้ในปริมาณมากขึ้นเพื่อเรียกเงินทุนเพิ่มเติม และนำไปลงทุนในโครงการหรือกิจการใหม่ได้

 

  1. ลูกค้าและคู่ค้า: การได้รับการจัดอันดับเป็น Investment Grade ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและคู่ค้า ซึ่งอาจส่งผลให้ได้รับเครดิตที่ดีกว่า และเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างธนาคารพาณิชย์หรือตลาดทุนได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างฐานลูกค้าที่แข็งแรง และสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าในการทำธุรกิจร่วมกัน

 

  1. การประเมินความเสี่ยง: สำหรับผู้ลงทุน ตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับเป็น Investment Grade มักจะถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า นั่นหมายความว่าการลงทุนในตราสารหนี้เหล่านี้อาจมีโอกาสเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับ หรือที่ได้รับการจัดอันดับต่ำกว่า

 

ดังนั้น การได้รับการจัดอันดับเป็น Investment Grade เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ลงทุน ลดต้นทุนการกู้ยืม ช่วยในการขยายกิจการ และเพิ่มโอกาสในการเจริญเติบโตของบริษัทหรือหน่วยงาน ทั้งนี้ ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่ำลงในการลงทุนในตราสารหนี้ดังกล่าว

 

5 ตราสารหนี้เด่นปั้นพอร์ตผู้ชนะ 

 

โดย UOB Privilege Banking แนะนำลงทุนในตราสารหนี้ระดับ Investment Grade ดังนี้ 

 

1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (Bond Name: BBLTB 4.3 06/15/27) 

ธนาคารกรุงเทพ หรือ BBL เป็นผู้ให้บริการทางการเงินรวมถึงการค้า, สินเชื่อเพื่อผู้บริโภค, บัตรเครดิต, การจำนอง, บริการทางการเงินระหว่างประเทศ วาณิชธนกิจ และหลักทรัพย์

 

2. Citigroup Inc. (Bond Name: C 4.45 09/29/27) 

Citigroup Inc. เป็นผู้ให้บริการทางการเงินที่หลากหลาย ครอบคลุมตั้งแต่บริการด้านสินเชื่อจนถึงวาณิชธนกิจ และบริการจัดการเงินสดให้แก่ลูกค้า ผู้บริโภค และลูกค้าองค์กรทั่วโลก

 

3. Bank of America Corporation (Bond Name: BAC 4.183 11/25/27)

Bank of America Corporation เป็น Holding Company ที่ส่งมอบบริการทางการเงินที่ครบครันให้กับลูกค้าทั่วโลก ครอบคลุมตั้งแต่บริการบัญชีออมทรัพย์ เงินฝาก สินเชื่อที่อยู่อาศัยและการก่อสร้าง บริหารเงินสดและความมั่งคั่ง บัตรเงินฝาก เงินลงทุน สินเชื่อและบัตรเดบิต ประกัน โทรศัพท์มือถือ และธนาคารออนไลน์

 

4. Amazon.com Inc. (Bond Name: AMZN 3 04/13/25)

Amazon เป็นผู้ค้าปลีกออนไลน์ที่ให้บริการหลากหลาย สินค้าของบริษัท ได้แก่ หนังสือ ดนตรี คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย โดย Amazon เสนอบริการช้อปปิ้งส่วนบุคคลบนเว็บไซต์ ชำระเงินด้วยบัตรเครดิตและจัดส่งตรงถึงมือลูกค้า นอกจากนี้ Amazon ยังให้บริการแพลตฟอร์มคลาวด์ทั่วโลก

 

5. Apple Inc. (Bond Name: AAPL 3.2 05/13/25)

Apple เป็นบริษัทที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก ให้บริการออกแบบ ผลิต และจำหน่ายสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แท็บเล็ต อุปกรณ์สวมใส่ รวมถึงจำหน่ายอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังให้บริการการชำระเงิน Digital Content คลาวด์ และการโฆษณา โดยลูกค้าของ Apple ส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง การศึกษา องค์กร และตลาดของรัฐบาลทั่วโลก

 

ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดต่อที่ปรึกษาทางการเงิน (Client Advisor) ของ UOB Privilege Banking โทร. 0 2081 0999 หรือคลิก www.uob.co.th/privilegebanking

 

อ้างอิง:

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X