×

อ่านมุมมอง ดิษทัต ปันยารชุน เมื่อโลกยิ่งผันผวน ธุรกิจพลังงานจะเติบโตยั่งยืนอย่างไร [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
21.09.2020
  • LOADING...

ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงทั่วโลก สร้างความผันผวนต่อราคาสินทรัพย์ต่างๆ เช่น ทองคำ รวมถึง​พลังงานอย่าง ‘น้ำมัน’ แต่ภาคธุรกิจยังต้องฝ่ามรสุมเหล่านี้ให้ได้ 

 

ดิษทัต ปันยารชุน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ หรือหน่วยธุรกิจ Trading ของบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) เล่าว่า ภารกิจหลักของหน่วยธุรกิจ Trading คือ การจัดหาพลังงานอย่างเพียงพอด้วยคุณภาพและราคาที่แข่งขันได้ เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ และอีกบทบาทคือการเป็นหัวหอกในการสร้างการเติบโตในธุรกิจการค้าสากลและเป็นแอมบาสเดอร์ที่สร้างชื่อเสียงในเวทีโลกกลุ่ม ปตท. 

 

“จากประสบการณ์การค้าระหว่างประเทศกว่า 30 ปี เราทราบดีว่าความเสี่ยงเกิดได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะความผันผวนของราคา หรือเศรษฐกิจที่ชะลอตัว หน่วย Trading เลยเป็นเหมือนเรือใหญ่ที่แล่นไปในตลาดพลังงานทั้งในไทยและต่างประเทศ จึงต้องพร้อมตั้งรับทั้งพายุและมรสุมไม่ว่าจะเข้ามาในรูปแบบใดก็ตาม โดยอาศัยหลักการทำงานที่ผู้บริหารและพนักงานยึดถือปฏิบัติกันมาอย่างเข้มงวด”

 

 

หลักการแรกที่ใช้รับมือกับความผันผวนของราคาคือ Real-Time Reaction to Market เพราะธุรกิจ Trading ต้องบริหารความเสี่ยงราคาหลายรูปแบบ ทั้งสูตรราคาซื้อ-ขาย เวลาของการซื้อ-ขายที่แตกต่างกัน การดูปริมาณน้ำมันคงคลังที่เก็บสำรอง ทำให้หน่วย Trading ต้องทันต่อข้อมูล ข่าวสารและวิเคราะห์แนวโน้มของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา เพื่อปรับ Trading Position ตามตลาดและตามระดับความเสี่ยงที่จำกัดไว้ 

 

หลักการถัดมาคือ Trader ทุกคนต้องมี Hedging Discipline หรือวินัยในการบริหารความเสี่ยงราคา ไม่ว่าราคาจะปรับตัวไปในทิศทางใด ต้องมีวินัยที่จะปิดความเสี่ยง เช่น การ Cut Loss ให้อยู่ภายในกรอบที่บริษัทเรารับได้

 

และสิ่งที่สำคัญมากคือ หน่วย Trading มีหน่วยงานเฉพาะที่ทำหน้าที่ควบคุมความเสี่ยงทั้งด้านราคา ด้านสินเชื่อ และด้านสัญญา เสมือนเป็นกองหลังชั้นดีที่ช่วยสนับสนุนให้กองหน้าอย่าง Trader สามารถโฟกัสในการทำการค้าได้อย่างมั่นใจ  

 

นอกจากนี้หน่วยธุรกิจ Trading ยังมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาพัฒนาระบบงานอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเปิด ‘T Space@8’ ที่เป็น Smart Intelligence Center เป็นเสมือนเป็น War Room ที่จะรวบรวมองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่างประเทศของ ปตท. รวมคลังข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลกในการติดตามสถานการณ์พลังงานแบบเรียลไทม์ เพื่อวางกลยุทธ์ตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

 

 

“ทั้งหมดนี้คือ Strong Trading Foundation ที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์และความเข้าใจในตลาดเป็นอย่างดี ผมไม่ได้บอกว่าเราเก่ง แต่ผมเน้นว่าเราไม่ยืนขาตายและยอมให้ความผันผวนรูปแบบต่างๆ มาทำให้เราล้ม เราสู้และเรียนรู้จนเข้าใจเข้าถึง Thrive not just survive วิธีการตั้งรับของเราเป็นแบบยั่งยืน ไม่ใช่แค่เพื่ออยู่รอด”

 

โลกเปลี่ยน ธุรกิจยิ่งต้องมีพันธมิตรที่ดี 

ภายใต้สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไป เราจะเห็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติยักษ์ใหญ่หลายแห่งที่ไม่เคยออกสู่ตลาดด้วยตนเอง หันมาทำ Joint Venture (กิจกรรมร่วมค้า) กับ Trading House โดยตั้งสำนักงานในต่างประเทศ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินทรัพย์ขององค์กรที่มีอยู่ 

 

บริษัทแฟลกชิปที่เป็นโรงกลั่นและโรงปิโตรเคมีในกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลายของกลุ่ม ปตท. ซึ่งมีสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามหาศาล ส่วนหน่วยธุรกิจ Trading ก็มีจุดแข็งคือ ความเข้าใจใน Trade Flow, ความเชี่ยวชาญในการบริหารความเสี่ยง, การมี Overseas Offices ในต่างประเทศ และมีคู่ค้ามากกว่า 1,200 บริษัท ในกว่า 70 ประเทศ ผ่าน Synergy Project ที่จะเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในเวทีโลก และเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน

 

 

เมื่ออนาคตกระแสหลักของโลกกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานที่สะอาดมากขึ้น ยิ่งทำให้พลังงานด้านอื่นๆ ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 

“ผมคิดว่า LNG (Liquefied Natural Gas) เป็นพลังงานที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีแนวโน้มเติบโตในระยะยาว และมีบทบาทสำคัญในตลาดพลังงานโลกมากขึ้นเรื่อยๆ เราจึงเล็งเห็นโอกาสที่จะเพิ่มพอร์ตโฟลิโอในส่วนของการค้า LNG ให้มากขึ้น”

 

ขณะนี้กลุ่ม ปตท. กำลังจัดทัพเพื่อทำธุรกิจ LNG อย่างครบวงจร โดยกลุ่ม ปตท. มีความพร้อมทั้งในแง่ของโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงมีความเข้าใจในอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของตลาด ซึ่งหน่วยธุรกิจ Trading จะมีบทบาทสำคัญในการเป็น Optimizer โดยใช้ความชำนาญในการบริหารจัดการถังเก็บผลิตภัณฑ์ การบริหารความเสี่ยงราคาและจัดหาเรือขนส่ง รวมถึงแพลตฟอร์มในการควบคุมความเสี่ยงด้านต่างๆ ที่มี มาสร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุดตลอดทั้ง Value Chain ของกลุ่ม ปตท. และประเทศได้

 

Trading ปักธงสร้างออฟฟิในสหรัฐฯ เชื่อมโยงโลกทุกภูมิภาค 

เมื่อความเสี่ยงและความผันผวนราคาเกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้หน่วยธุรกิจ Trading สร้างเครือข่ายผ่านการจัดตั้ง Overseas Offices ในต่างประเทศ โดยเฉพาะใน Global Trading Hub ตั้งแต่ Singapore Office ที่รับผิดชอบภูมิภาค Far East, Shanghai Office ดูแลตลาดจีน, UAE Office จะดูแลภูมิภาคตะวันออกกลาง, London Office ดูแลภูมิภาคยุโรป และแอฟริกา

 

ขณะที่จิ๊กซอว์สำคัญที่จะเชื่อมทุกภูมิภาคในโลกคือ การจัดตั้งออฟฟิศในสหรัฐฯ ที่จะดูแลฝั่งอเมริกา เรียกว่าเราจะครอบคลุมทุกภูมิภาค ทุก Time Zone และทุก Pricing Hub ที่สำคัญของโลก ซึ่งสำนักงานทั้งหมดจะทำงานร่วมกัน โดยสำนักงานที่กรุงเทพฯ เป็น Command Tower 

 

“U.S. Office จะทำให้เราสามารถติดตามสถานการณ์ได้ตลอด ‘24/7’ ซึ่งจะช่วยให้กลุ่ม ปตท. ขยายธุรกิจในต่างประเทศได้อย่างต่อเนื่อง และเติบโตได้อย่างยั่งยืน”

 

อีกจุดเปลี่ยนสำคัญคือ การทำแพลตฟอร์มให้ทำงานร่วมกันระหว่างแต่ละออฟฟิศทั่วโลก รวมถึงบริษัทแฟลกชิปในกลุ่ม ปตท. เพื่อใช้ทรัพยากรทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครื่องมือที่ครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการแชร์ข้อมูล การวิเคราะห์ การควบคุมความเสี่ยง ฯลฯ โดยเราเรียกกลยุทธ์นี้ว่า ‘ONE Global Book, ONE Global Control, ONE Global Information’ ซึ่งช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และรับมือกับวิกฤตได้ดีที่สุด

 

จับตาความเสี่ยง Demand น้ำมันทรุด-ความเสี่ยงการเมืองสหรัฐฯ

เมื่อธุรกิจพลังงานไทยยังต้องอยู่บนโลกที่มีความเสี่ยง และกระแสหลักที่ต้องจับตาคือ อุปสงค์การใช้น้ำมัน (Demand) ที่อาจต่ำลง ทั้งจากผลกระทบของโควิด-19 ที่อาจจะทำให้ความต้องการใช้น้ำมันปี 2563 ต่ำลงอีก เศรษฐกิจที่ชะลอตัว และการฟื้นตัวของธุรกิจการบิน ที่ปัจจุบันมีการใช้น้ำมันเครื่องบินด้วยสัดส่วนถึง 8% ของการใช้น้ำมันของโลก 

 

ขณะที่ขาอุปทานน้ำมัน (Supply) ยังต้องจับตาดูความเคลื่อนไหวของกลุ่ม OPEC และพันธมิตร เรื่องนโยบายการปรับลดหรือเพิ่มปริมาณการผลิต รวมถึงการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ จะฟื้นตัวอย่างไร เพราะเมื่อประเมินปริมาณอุปสงค์และอุปทานน้ำมันที่จะออกมาในตลาดช่วงครึ่งปีหลัง นักวิเคราะห์ยังเชื่อว่า ระดับสต๊อกน้ำมันทั่วโลกจะยังคงลดลงต่อเนื่อง แต่หากสถานการณ์กลายเป็นขั้วตรงข้าม จะกลายเป็นความเสี่ยงที่ราคาอาจโดนเทขายอีกครั้ง  

 

สุดท้ายต้องจับตามองการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ที่นโยบายด้านพลังงานทั้งสองพรรคแตกต่างกันอย่างชัดเจน หากฝั่งเดโมแครตชนะ อาจกดดันราคาน้ำมันจากกรณีที่รัฐบาลสหรัฐฯ อาจมีเป้าหมายที่จะเร่งการพัฒนาพลังงานสะอาดมากขึ้น และต้องติดตามนโยบายต่างประเทศว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดหรือไม่ โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับจีน หรือแม้แต่ประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง 

 

ไม่ว่าจะต้องเจอกับพายุหรือมรสุมอีกกี่ระลอก ด้วย Strong Trading Foundation ที่เราสร้างและสั่งสมกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เรือใหญ่ลำนี้จะสามารถแล่นต่อไปได้อย่างสง่างามเสมอ

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising