×

Propaganda โฆษณาบิดเบือนชวนเชื่อผ่านสื่อภาพยนตร์ และการป้ายสีอีกฝั่งในฐานะ ‘ตัวร้าย’

08.05.2023
  • LOADING...
Propaganda

ในโลกที่เข้าสู่ยุคสมัยของเทคโนโลยี บางครั้งภาพยนตร์และสื่อต่างๆ ก็นำพาความเข้าใจแบบผิดๆ มาสู่ตัวของเรา และมันก็อาจทำให้ใครบางคนเผลอตัวตกเป็นเหยื่อของโฆษณาชวนเชื่อ หรือที่ใครหลายคนรู้จักในชื่อ Propaganda โดยที่ไม่ทันรู้ตัว ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นสื่อที่สร้างขึ้นเพื่อบิดเบือนข้อมูลและข้อเท็จจริงแก่ประชาชน โดยที่มีเป้าหมายเพื่อชี้นำให้ผู้คนรับรู้ความจริงไปในแนวทางที่ตัวเองต้องการเพื่อที่จะกำจัดคู่แข่งของตัวเอง หรือควบคุมกลุ่มคนต่างๆ

 

Propaganda

 

หากย้อนกลับไปไกลกว่านั้นที่มาขอคำดังกล่าวเดิมทีเป็นสิ่งที่ถูกใช้กันในแวดวงอุตสาหกรรมมาก่อน จนกระทั่งโลกเข้าสู่สภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 โฆษณาชวนเชื่อก็ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็น ‘เครื่องมือทางการเมือง’ อีกครั้งเพื่อใช้ในการรณรงค์ให้แก่ขั้วอำนาจคอมมิวนิสต์อย่างนาซีและโซเวียตในช่วงเวลานั้น จนท้ายที่สุดคำว่า Propaganda ก็กลายเป็นสิ่งที่เต็มไปด้วยความหมายในแง่ลบ และเป็นสิ่งที่แสดงถึงการครอบงำทางความคิดจากรัฐบาลที่ต้องการปิดหูปิดตาประชาชนจากความจริง หรือปกปิดอะไรบางอย่างที่พวกเขาไม่ต้องการจะให้ประชาชนได้รับรู้

 

Propaganda

The Fifth Horseman Is Fear (1968)

 

แน่นอนว่าโฆษณาชวนเชื่อได้กลายเป็นกลยุทธ์ในการนำเสนอ ‘ความจริง’ อีกรูปแบบหนึ่งของฝ่ายที่ต้องการจะบิดเบือนข้อมูล ยุยง ปลุกปั่นกระแสสังคม หรือกระทั่งสร้างทางเลือกลวงให้แก่บุคคลที่รับรู้ความจริงเพียงแค่ในด้านที่พวกเขาต้องการจะให้รับรู้ และบางครั้งมันได้กลายเป็นคำพูดที่ใครหลายคนคุ้นหูอย่างคำว่า ‘วาทกรรม’ ซึ่งเป็นคำพูดที่พบเห็นได้จนเป็นเรื่องปกติจากสังคมเกมการเมือง 

 

อย่างไรก็ตาม บางครั้งมันก็นำมาซึ่งความกลัวและชวนหดหู่ที่พวกเขาเชื่อว่าสิ่งที่ตนรับรู้จะกลายเป็น ‘ความจริง’ ถ้าตัดสินใจหรือไม่ทำตามที่โฆษณาชวนเชื่อบอก ยกตัวอย่างเช่น The Fifth Horseman Is Fear (1968) ภาพยนตร์ขาวดำสัญชาติเช็กว่าด้วยเรื่องเล่าสมัยนาซีที่มีการออกป้ายประกาศให้ผู้คนในชุมชนช่วยกันสอดส่องดูแลความสงบเรียบร้อยในช่วงสงคราม และหากทันทีที่พบผู้ต้องสงสัยจะต้องแจ้งตำรวจทันที จนสุดท้ายคำชวนเชื่อเหล่านั้นก็นำไปสู่ความกลัวที่กัดกินจิตใจของประชาชนในสถานที่แห่งนั้น

 

 

แม้โฆษณาชวนเชื่อจะเป็นสิ่งที่ถูกพบเห็นและเป็นเครื่องมือมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่สิ่งหนึ่งที่แน่ชัดคือ มันยังคงเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ผลเสมอมาในเกมการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการปลุกปั่นให้เกิดสถานการณ์ตามที่ตัวเองต้องการ สร้างความเกลียดชังต่ออีกฝั่ง สร้างความหวาดกลัวให้แก่ผู้ที่จะเสียผลประโยชน์ หรือแม้กระทั่งบิดเบือนข้อเท็จจริงของสังคมไปในทางที่ตัวเองต้องการ หรือเรียกง่ายๆ ว่าบทละครที่พวกเขาปูไว้มีความจริงเพียงแค่ครึ่งเดียว หรือบางครั้งไม่มีเสียด้วยซ้ำ!

 

ไม่เพียงเท่านั้น โฆษณาชวนเชื่อเหล่านี้ยังกลายเป็นสิ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับกลุ่มบุคคลที่ใช้เครื่องมือเหล่านั้นในการนำเสนอตัวเองออกมาราวกับพวกเขาเป็นซูเปอร์ฮีโร่ที่จะเข้ามาช่วยกอบกู้วิกฤตจากกลุ่มตัวร้ายที่ถูกจัดแจงและวางแผนเอาไว้ ซึ่งสิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือการที่มันทำให้คนเชื่อว่าความจริงที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมานั้นจะกลายเป็นความจริงสำหรับตัวพวกเขาจนมันนำมาซึ่งการกระทำผิดกฎหมาย และความแตกแยกอย่างที่คนปลุกระดมต้องการ

 

Propaganda

ด้วยเหตุผลนั้นเองที่ทำให้ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัยคำว่า Propaganda หรือโฆษณาชวนเชื่อ ก็ไม่มีทางหายไปจากสังคมและการเมือง เพราะตราบใดที่ยังมีคนเชื่อในความจริงที่ถูกนำเสนอเพียงแค่ด้านเดียว โฆษณาชวนเชื่อก็ยังคงเป็นเครื่องมือที่ถูกหยิบมาใช้อยู่เสมอแม้ในยุคที่สื่อโซเชียลมีเดียจะเข้าถึงทุกคนแล้วก็ตาม และเหนือสิ่งอื่นใดกลุ่มบุคคลที่หยิบยืมเครื่องมือเหล่านี้มาใช้ป้ายสีใส่อีกฝั่งจนกลายเป็นตัวร้ายในละครที่พวกเขาสร้างขึ้นมาก็เป็นการกระทำที่สมควรจะโดนประณามจากสังคมอย่างถึงที่สุดเช่นกัน

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising