วานนี้ (11 กุมภาพันธ์) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง รถเมล์ชาวกรุง โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการให้บริการของรถเมล์ในกรุงเทพมหานคร
จากการสำรวจเมื่อถามถึงการใช้บริการรถเมล์ในกรุงเทพมหานครในปีที่ผ่านมา พบว่า
– ร้อยละ 45.95 ระบุว่า ไม่เคยใช้บริการเลย
– ร้อยละ 22.60 ระบุว่า ใช้บริการรถเมล์เป็นบางครั้ง
– ร้อยละ 21.83 ระบุว่า เคยใช้บริการ แต่ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาไม่ได้ใช้บริการเลย
– ร้อยละ 9.62 ระบุว่า ใช้บริการรถเมล์อยู่เป็นประจำ
เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า ใช้บริการรถเมล์อยู่เป็นประจำ และใช้บริการรถเมล์เป็นบางครั้ง (จำนวน 422 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับการให้บริการของรถเมล์ในกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน พบว่า
– ร้อยละ 38.15 ระบุว่า การให้บริการไม่แย่ลงและไม่ดีขึ้น แค่พอยอมรับได้
– ร้อยละ 24.41 ระบุว่า การให้บริการดีเหมือนเดิม
– ร้อยละ 22.51 ระบุว่า การให้บริการดีขึ้น
– ร้อยละ 10.43 ระบุว่า การให้บริการแย่เหมือนเดิม
– ร้อยละ 4.50 ระบุว่า การให้บริการแย่ลง
เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า ใช้บริการรถเมล์อยู่เป็นประจำ ใช้บริการรถเมล์เป็นบางครั้ง และเคยใช้บริการ แต่ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาไม่ได้ใช้บริการเลย (จำนวน 708 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับการปรับเลขสายรถเมล์ใหม่ พบว่า
– ร้อยละ 63.98 ระบุว่า ควรใช้เลขสายรถเมล์แบบเดิมที่เคยเป็นมาในอดีต เช่น สาย 150 เป็นต้น
– ร้อยละ 20.20 ระบุว่า เห็นด้วยกับเลขสายรถเมล์ใหม่ที่ไม่มีขีด แต่ยังคงวงเล็บเลขสายรถเมล์เดิม เช่น สาย 115 (150 เดิม)
– ร้อยละ 8.48 ระบุว่า เห็นด้วยกับเลขสายรถเมล์ใหม่ที่มีขีด เช่น สาย 1-15
– ร้อยละ 7.34 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อพฤติกรรมการขับขี่ของรถเมล์บนท้องถนนในกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน พบว่า
– ร้อยละ 36.18 ระบุว่า ส่วนใหญ่การขับขี่ไร้วินัยเหมือนเดิม
– ร้อยละ 27.33 ระบุว่า ส่วนใหญ่การขับขี่มีวินัยดีเหมือนเดิม
– ร้อยละ 23.05 ระบุว่า ส่วนใหญ่การขับขี่มีวินัยที่ดีขึ้น
– ร้อยละ 9.55 ระบุว่า ส่วนใหญ่การขับขี่ไร้วินัยมากขึ้น
– ร้อยละ 3.89 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
อ้างอิง: