ชาวนากับงูเห่า เป็นนิทานอีสปที่ใครๆ ก็รู้จัก นัยคือการเปรียบเปรยถึงคนไม่ดีที่ทำให้ผู้มีพระคุณหรือคนที่ช่วยเหลือต้องเดือดร้อน ซึ่งถูกใช้เป็นคำกล่าวทางการเมือง โดยเฉพาะ ‘งูเห่า’ ที่หมายถึงนักการเมืองที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อพรรคหรืออุดมการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะกับประชาชน
เปิดตำนานชาวนากับงูเห่าและผีไม่เผาเงาไม่เหยียบระหว่าง สมัคร สุนทรเวช หัวหน้าประชากรไทยในเวลานั้น กับ วัฒนา อัศวเหม แกนนำกลุ่มปากน้ำ สมุทปราการ และเครือข่ายซึ่งสังกัดพรรคเดียวกัน
ด้วยการเดินเกมของ เสธหนั่น-พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ได้ไปชักชวน ส.ส. กลุ่มปากน้ำของวัฒนา 13 คน ให้ยกมือสนับสนุน ชวน หลีกภัย เป็นนายกฯ ทั้งที่มติประชากรไทยสนับสนุน พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
ปีนั้นศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยคดียุบพลังประชาชน ที่มี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นรักษาการหัวหน้าพรรค และเป็นนายกฯ ส.ส. ของพลังประชาชน ที่ถูกยุบส่วนหนึ่งย้ายไปสังกัดเพื่อไทย ขณะที่ ส.ส. ของอดีตพลังประชาชนกลุ่มเพื่อนเนวินย้ายไปร่วมกับภูมิใจไทย
ด้วยความสัมพันธ์ของ เนวิน ชิดชอบ กับ ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่า สนิทสนมในฐานะเจ้านาย-ลูกน้องอย่างมาก ทำให้ไม่มีใครเชื่อว่า วันหนึ่งทั้งคู่จะแตกหักกันได้ ท้ายที่สุดกลุ่มเพื่อนเนวินยกมือสนับสุนนให้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าประชาธิปัตย์ ได้เป็นนายกฯ โดยมีคีย์แมนคนสำคัญชื่อ สุเทพ เทือกสุบรรณ
รัฐบาลพลังประชารัฐมีเสียงปริ่มน้ำ ทำให้นวัตกรรมทางการเมืองอย่าง ‘งูเห่า’ ถูกพูดถึงมาโดยตลอด เพราะการเมืองหนนี้เริ่มต้นที่พลังดึง-ดูด โยกขั้ว ย้ายค่าย ทำให้การเมืองแบบเดิมๆ ถูกยกขึ้นมาเป็นโมเดลคำถามว่า จะเป็นไปได้ไหม
อนาคตใหม่เป็นพรรคการเมืองน้องใหม่ที่นำโดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ ปิยบุตร แสงกนกกุล ประกาศทำการเมืองแห่งความหวัง ปฏิรูปนักการเมืองไม่ให้ซ้ำรอยเดิม การเดินทางของอนาคตใหม่ถูกท้าทายมาโดยตลอด แต่สุดท้าย 4 ส.ส. อนาคตใหม่ก็เอาใจออกห่างพรรค สวนมติหลายหน และมีข่าวปันใจให้รัฐบาล จนถูกขับออกจากสมาชิกพรรค
ภาพประกอบ: เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล