×

เลือกตั้ง 2566 : โพลออนไลน์สมาคมรัฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ เผยคนเลือกอุ๊งอิ๊งเป็นนายกฯ มากสุด ตามด้วยพิธา ประวิตร และประยุทธ์

โดย THE STANDARD TEAM
29.04.2023
  • LOADING...
โพล นายก

วันนี้ (29 เมษายน) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (PSAKU Poll) ร่วมกับสถาบันวิเคราะห์การเมืองและนโยบาย (OPPS) เผยแพร่ผลการสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ เรื่องการเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 1

 

โดยการสำรวจออนไลน์ครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 18-28 เมษายน 2566 โดยศูนย์สำรวจความคิดเห็น สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (PSAKU Poll) ร่วมกับสถาบันวิเคราะห์การเมืองและนโยบาย (OPPS) บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย ธุรกิจ และการวิจัย ไวท์ ไทเกอร์ จำกัด

 

โดยข้อมูลประชากรศาสตร์ ผู้ตอบแบบสำรวจออนไลน์ประกอบด้วยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 2,897 คน ซึ่งความต้องการและความตั้งใจในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ผู้ตอบแบบสำรวจออนไลน์ต้องการให้แคนดิเดตดังมีรายชื่อต่อไปนี้ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี 

 

  1. แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) ร้อยละ 28.6
  2. พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) ร้อยละ 21.7
  3. พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) ร้อยละ 12.7
  4. พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) ร้อยละ 9 

 

ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจออนไลน์อีกราวร้อยละ 8.1 ยังตัดสินใจไม่ได้ หรือยังไม่ได้ตัดสินใจว่าอยากให้แคนดิเดตคนใดได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี

 

สำหรับผู้สมัครแบบแบ่งเขต ผู้ตอบแบบสำรวจออนไลน์ตั้งใจจะลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครในระบบเขตของพรรคการเมืองดังต่อไปนี้ 

 

  1. พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 34.4 
  2. พรรคก้าวไกล ร้อยละ 24
  3. พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 13.3 
  4. พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 8.2 

 

ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจออนไลน์อีกราวร้อยละ 7.4 ยังตัดสินใจไม่ได้ หรือยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครในระบบเขตของพรรคการเมืองใด

 

สำหรับแบบบัญชีรายชื่อ ผู้ตอบแบบสำรวจออนไลน์ตั้งใจจะลงคะแนนเสียงในระบบบัญชีรายชื่อให้กับพรรคการเมืองดังต่อไปนี้

 

  1. พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 33.2
  2. พรรคก้าวไกล ร้อยละ 24.5
  3. พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 13.6 
  4. พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 9 

 

ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจออนไลน์อีกราวร้อยละ 7.7 ยังตัดสินใจไม่ได้ หรือยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะลงคะแนนเสียงในระบบบัญชีรายชื่อให้กับพรรคการเมืองใด

 

สำหรับปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้สมัครแบบแบ่งเขต

ผู้ตอบแบบสำรวจออนไลน์ให้ความสำคัญกับปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ 

 

  1. นโยบายของพรรค 
  2. จุดยืนทางประชาธิปไตยของพรรค

 

ส่วนปัจจัยที่ผู้ตอบแบบสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ให้ความสำคัญน้อยที่สุดคือ เงิน/ผลประโยชน์ เพื่อการซื้อเสียง และความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้สมัคร

 

สำหรับปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ผู้ตอบแบบสำรวจออนไลน์ให้ความสำคัญกับปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่

 

  1. นโยบายของพรรค 
  2. จุดยืนทางประชาธิปไตยของพรรค 

 

ส่วนปัจจัยที่ผู้ตอบแบบสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ให้ความสำคัญน้อยที่สุด คือ

 

  1. เงิน/ผลประโยชน์ เพื่อการซื้อเสียง 
  2. แนวโน้มที่จะเกิดความขัดแย้งหลังการเลือกตั้ง
  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising