×

ปรัชญา

Burnout
8 พฤศจิกายน 2024

Burnout Society ถ้าไม่ประสบความสำเร็จก็จงหมดไฟไปซะ!

ทำไมเราถึงรู้สึกหมดไฟ?   เป็นเพราะเราเองที่เหนื่อยล้าเกินไป ไม่แข็งแกร่งมากพอสำหรับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน หรือเป็นเพราะสังคมยุคนี้กำลังเชื้อเชิญให้เราเดินไปสู่กรงขังอันใหม่ที่มีชื่อว่า ‘ความสำเร็จ’ มากเกินควร จนนำเราไปสู่ภาวะของ ‘การหมดไฟ’   Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ชวนอ่านหนังสือ The Burnout Society ของนักปรัชญาเยอรมันเชื้อสา...
1 พฤศจิกายน 2024

วะบิ ซะบิ และคินสึงิ ใจดีกับตัวเองบ้าง ใจดีกับคนอื่นด้วย

“ไม่เป็นไรนะ” “คุณดีพอแล้ว” “ไม่ต้องพิสูจน์ตัวเองกับใครอีก”   Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ขอปลอบโยนทุกคนด้วยปรัชญาวะบิ ซะบิ และคินสึงิ หนทางรับมือกับการเป็น Perfectionist ด้วยมุมมองที่บอกว่าความไม่สมบูรณ์คือธรรมชาติของชีวิต และชีวิตมีคุณค่าและความงามได้ต่อให้มันไม่สมบูรณ์ พร้อมชวนมองต่อว่าเราจะนำแนวคิดนี้มาปรับใช้กับตัวเองและสังคมได...
25 ตุลาคม 2024

Perfectionism ความสมบูรณ์แบบทำร้ายเราอย่างไร?

“ยังไม่ดีพอ”  “ยังไม่เก่งพอ”   มีใครเคยถูกคำพูดแบบนี้ทำร้ายอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นตัวเราที่พูดกับตัวเอง หรือเป็นคนอื่นพูดให้เราฟัง    Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ขออยู่เป็นเพื่อนคนที่กำลังรู้สึกว่าตัวเองไม่สมบูรณ์แบบ ยังไม่เก่งพอ หรือยังไม่ดีพอ    ความรู้สึกแบบนี้ไม่ผิดโดยตัวมันเอง ถ้าทำให้เราอยากพัฒน...
11 ตุลาคม 2024

Absurdism รู้แล้วว่าชีวิตเฮงซวย แต่จะอยู่ทั้งที่มันเฮงซวยนี่แหละ!

หลังชวนทำความรู้จักกับแนวคิดแบบ Nihilism และ Existentialism กันไปแล้ว   Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้อยากแนะนำ ‘Absurdism’ อีกหนึ่งแนวคิดทางปรัชญาที่บอกเราว่า ‘ชีวิตมันเฮงซวย ไร้ความหมาย และฉันจะไม่พยายามหาความหมายอะไรให้มันหรอก’   ผ่านเรื่องราวของซิซีฟัส ชายผู้ถูกเทพเจ้าสาปให้ต้องเข็นหินขึ้นภูเขาทุกวัน   ทำไมซิซีฟัสถึ...
16 สิงหาคม 2024

‘Stoic’ เป็นตัวเองในเวอร์ชันที่ดีที่สุดเพื่อส่วนรวม

สโตอิกคืออะไร    ถ้าลองเสิร์ชเราอาจพบข้อความทำนองว่า คือปรัชญาแห่งชีวิตที่ดี ปล่อยวางสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ใช้ชีวิตเอาชนะอุปสรรค และเป็นตัวเองในแบบที่ดีที่สุด   ทั้งหมดที่กล่าวมาคือหลักสำคัญของแนวคิดแบบสโตอิก แต่กลับมีอีกหลักสำคัญหนึ่งที่ไม่ค่อยถูกพูดถึง หรือพูดถึงแต่ก็เป็นเพียงความหมายแบบแคบเท่านั้น สิ่งนั้นคืออะไร แล้วทำไ...
2 สิงหาคม 2024

‘ชาติ’ ทรงพลัง เพราะมันอยู่มานานกว่าชีวิตเรา คุยกับ ธงชัย วินิจจะกูล (2/2)

Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ต่อเนื่องจากเอพิโสดที่แล้ว อยู่กับ ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับคำถามที่ค้างไว้ว่า แล้วชาติเกิดขึ้นเมื่อไร    พ่วงกับคำถามสำคัญว่าทำไมชาติจึงทรงพลัง รวมถึงแง่มุมความรู้สึก Sense of Belonging หรือความรู้สึกยึดโยงของมนุษย์ที่อาจทำให้เราไม่อาจไม่มี ‘ชาติ’  &nbs...
26 กรกฎาคม 2024

“บ้านผมไม่ใช่ชาติไทย แต่คือสังคมไทย” คุยเรื่องชาติกับ ธงชัย วินิจจะกูล (1/2)

Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนแขกพิเศษ ธงชัย วินิจจะกูล นักประวัติศาสตร์ผู้เขียนหนังสือ ‘Siam Mapped กำเนิดสยามจากแผนที่’ มาคุยเรื่อง ‘ชาติ’ แบบครบรส     ‘ชาติ’ สร้างปัญหาแบบไหน นิยามของชาติเป็นอะไรได้บ้าง ทำไมชาติอาจไม่ใช่บ้าน และทำไมพอเป็นเรื่องชาติ ความรู้สึกรักหรือไม่รักที่ควรเป็นของเรากลับไม่ใช่ของเราอีกต่อไป?   ...
29 มิถุนายน 2024

สำรวจความรัก 4 แบบในมุมมองของปรัชญา

‘รักคืออะไร ทำไมเราจึงเจ็บปวดเพราะความรัก’   บางคนอาจเคยถามตัวเองแบบนี้ เพราะเมื่อเป็นเรื่องความรัก เราต่างกลายเป็นนักปรัชญาผู้ครุ่นคิดอย่างลึกซึ้งได้เสมอ    แล้วทำไมเราล้วนแต่เป็น ‘เม่น’ ในความรัก?   Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้มีเฉลย และอยากพาผู้ชมไปสำรวจนิยามความรัก 4 รูปแบบ เพื่อทำความเข้าใจว่ารักคืออะไร รักท...
7 มิถุนายน 2024

เพื่อนที่ดีเป็นแบบไหน ทำไมเราไม่สนิทกับเพื่อนที่เคยสนิท?

เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม เราจึงต้องการ ‘เพื่อน’   เพื่อนในชีวิตเราอาจมีได้หลายรูปแบบ เป็นได้ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ หรือกระทั่ง AI   เราอาจมีเพื่อนที่ไปแฮงเอาต์ด้วย เพื่อนที่ให้ลอกการบ้าน หรือเพื่อนที่เราเคยคิดว่าสนิทกันมากๆ จนวันหนึ่งเรากลับห่างกันไป   Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนคุยถึงความหมายของคำว่า ‘เพื่อน’ เพื...
31 พฤษภาคม 2024

ความเหงาคืออะไร มีเพื่อนทำไมยังเหงา?

‘ความเหงา’ เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลก อันตรายเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่วันละ 15 มวน คือสิ่งที่องค์การอนามัยโลกเคยประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2023   ความเหงาคือเรื่องสากล ไม่ว่าใครก็อาจรู้สึกเหงาได้ในบางเวลา ยิ่งในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป วิถีชีวิตก็อาจทำให้เรายิ่งเหงาโดยไม่รู้ตัว   ทำไมเราจึงเหงา แล้วทำไมบางครั้งการมีเพื่อนหรือครอบครัวก็ไม่...


Close Advertising
X