ในที่สุดวันนี้ (12 มีนาคม) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเอกฉันท์เสนอเรื่องพร้อมความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยสั่งยุบพรรคก้าวไกลและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าการกระทำของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล ที่เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แล้วใช้เป็นนโยบายในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
THE STANDARD ชวนย้อนไทม์ไลน์ตั้งแต่พรรคก้าวไกลเสนอนโยบายแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ถึงคำวินิจฉัย ‘ล้มล้างการปกครอง’ และนำมาสู่การเสนอให้ศาลพิจารณายุบพรรคพร้อมตัดสิทธิกรรมการบริหาร
10 ก.พ. 2564
- พิธา หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ขณะนั้น) เสนอร่างแก้ ม.112 ต่อประธานรัฐสภา
30 พ.ค. 2566
- ธีรยุทธ สุวรรณเกษร (อดีตทนายความของอดีตพระพุทธะอิสระ) ร้องอัยการสูงสุด การกระทำของพิธา-ก้าวไกลอาจเข้าข่ายปฏิปักษ์ต่อการปกครอง
16 มิ.ย. 2566
- ธีรยุทธร้องศาล รธน. ให้พิธา-ก้าวไกลเลิกการกระทำที่อาจจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครอง
12 ก.ค. 2566
- ศาล รธน. รับคำร้องธีรยุทธ ให้พิธา-ก้าวไกลชี้แจงภายใน 15 วัน
26 ม.ค. 2567
- พิธาตอบสื่อถึงการผลักดันแก้ ม.112 ว่าทำอะไรไม่ได้ ต้องรอศาล รธน. วินิจฉัย
27 ม.ค. 2567
- ก้าวไกลปล่อยคลิปพร้อมข้อความ ‘แก้ไข ม.112 ไม่เท่ากับล้มล้างสถาบัน แต่คือหน้าที่ตามระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา’
28 ม.ค. 2567
- ธีรยุทธให้สัมภาษณ์กับไทยโพสต์ ระบุว่าไม่ได้ขอให้ยุบก้าวไกล แต่ขอให้ศาลสั่งหยุดนำนโยบายแก้ ม.112 มาหาเสียง + แสดงความเห็น
31 ม.ค. 2567
- ศาล รธน. วินิจฉัยว่าการเสนอแก้ ม.112 เป็นการล้มล้างการปกครอง และสั่งให้หยุดการกระทำ
12 มี.ค. 2567
- กกต. มีมติส่งเรื่องพร้อมความเห็นให้ศาล รธน. วินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล พร้อมตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ชมคลิป: ทำไมต้องนิรโทษกรรมคดี ม.112 กับทนายแจม-ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์
- ธนกรเตือนชัยธวัช คนจาบจ้วงผิด ม.112 ไม่สมควรได้นิรโทษกรรม หยุดอ้างเป็นเรื่องการเมือง
- การเมืองไทย(อาจ)ไม่เหมือนเดิม 3 เกมเสี่ยงก้าวไกล หลังคดีล้มล้างการปกครอง