×

ถอดแนวคิด ‘พญาไท พหลโยธิน’ การรีแบรนด์เพื่อก้าว ‘สู่ยุคใหม่ของสุขภาพที่ดีกว่าเพื่อทุกคน’ [PR NEWS]

โดย THE STANDARD TEAM
23.05.2024
  • LOADING...
พญาไท พหลโยธิน

HIGHLIGHTS

5 min read
  • คุยกับ ผศ.นพ.วีรยะ เภาเจริญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท พหลโยธิน ถึงการรีแบรนด์และที่มาของแนวคิดในการพลิกโฉม ‘พญาไท พหลโยธิน’ ให้เป็นมากกว่าโรงพยาบาล
  • ภาพลักษณ์ใหม่ที่อยากให้เกิดขึ้นคือไม่ต้องป่วยก็มาโรงพยาบาลได้ เพื่อช้อปปิ้งสุขภาพที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคเท่านั้น แต่เน้นโปรแกรมการดูแลสุขภาพเรื่อง Health & Wellness และเพื่อให้ตอบโจทย์ทุกกลุ่มวัย ยุคใหม่ของการดูแลสุขภาพจึงโฟกัสไปที่การดูแล Active Life ในทุกช่วงอายุ
  • การเติบโตไปพร้อมกับชุมชนรอบข้างด้วยการเป็นส่วนหนึ่งในการนำองค์ความรู้และนวัตกรรมเข้าไปช่วยพัฒนาย่าน ไม่ว่าจะเป็น ‘ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี’ หรือ ‘ย่านนวัตกรรมอารีย์’ ก็เป็นสิ่งที่พญาไท พหลโยธิน ให้ความสำคัญ

เวลาพูดถึงการ ‘รีแบรนด์’ หลักใหญ่ใจความคือการปรับโลโก้ เปลี่ยนสโลแกน ไปจนถึงเปลี่ยนชื่อแบรนด์ใหม่ ‘พญาไท พหลโยธิน’ ก็เช่นกัน ตอนนี้หากเดินลงจากบีทีเอสสถานีสะพานควาย จะเห็นป้ายโรงพยาบาล ‘พญาไท พหลโยธิน’ และโลโก้ที่คุ้นตาของเครือพญาไทมาแทนที่โลโก้และชื่อเดิม ‘เปาโล พหลโยธิน’ ภายใต้แนวคิด ‘สู่ยุคใหม่ของสุขภาพที่ดีกว่าเพื่อทุกคน’ (It’s time for the new age of holistic health care)

 

 

แต่นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการรีแบรนด์ครั้งนี้ THE STANDARD มีโอกาสพูดคุยกับ ผศ.นพ.วีรยะ เภาเจริญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท พหลโยธิน ถึงที่มาของการรีแบรนด์และที่มาของแนวคิดในการพลิกโฉม ‘พญาไท พหลโยธิน’ ให้เป็นมากกว่าโรงพยาบาล

 

นอกจากเรื่องกลยุทธ์ภายในกลุ่มโรงพยาบาลพญาไทที่ต้องการสร้างมาตรฐานเดียวกัน ร่วมบริหารทรัพยากรและแผนการดูแลผู้ป่วยร่วมกันระหว่าง พญาไท 1, พญาไท 2 และเปาโล พหลโยธิน (ปัจจุบันคือพญาไท พหลโยธิน) ผศ.นพ.วีรยะ บอกว่า บริบทของสังคมที่เปลี่ยนไปเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรงพยาบาลปรับกลยุทธ์เชิงรุกและเชิงรับ เพื่อตอบรับกลุ่มผู้ป่วยที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะกลุ่ม New Age ที่มีความสนใจเรื่องสุขภาพและมี Active Life มากขึ้น

 

พญาไท พหลโยธิน

 

การเติบโตของย่านสะพานควาย-อารีย์ก็มีผลเช่นกัน จากที่เคยเป็นย่านที่อยู่อาศัยของครอบครัวใหญ่ แต่เมื่อมีการขยายตัวของเมืองรุกคืบ ทำให้อาคารสำนักงาน ออฟฟิศ และคอนโดมิเนียมเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้จำนวนครอบครัวเดี่ยวสูงขึ้น ไปจนถึงกลุ่มคนต่างชาติหรือคนที่ย้ายถิ่นเพื่อเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ

 

“นอกจากบริบทที่กล่าวไป การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุก็มีส่วน เราพบว่าคนสูงวัยเดี๋ยวนี้สนใจเรื่องสุขภาพและการป้องกันมากขึ้น จึงเป็นที่มาของแนวคิด ‘สู่ยุคใหม่ของสุขภาพที่ดีกว่าเพื่อทุกคน’ โดยเน้นไปที่เรื่องของ Health & Well-being ไม่ว่าจะวัยไหนก็ล้วนต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดี”

 

พญาไท พหลโยธิน

 

การจะก้าวสู่ยุคใหม่ของสุขภาพที่ดีกว่าเพื่อทุกคนได้นั้นต้องส่งมอบประสบการณ์ที่ตอบโจทย์คนทุกเพศทุกวัยได้อย่างแท้จริง พญาไท พหลโยธิน จึงนำอัตลักษณ์ความเป็น ‘พญาไท’ มาใช้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศ ความเอาใจใส่ และการดูแลผู้เข้ารับบริการตั้งแต่ก้าวแรกที่เดินเข้ามา

 

 

“กลุ่ม New Age มองหาประสบการณ์การมาโรงพยาบาลที่ต่างไปจากคนยุคก่อน เขาต้องการความรวดเร็ว ทุกอย่างต้องคล่องตัวและตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคลได้ เรามีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยเสริมการให้บริการ เพิ่มความสะดวกสบายทั้งกับผู้ใช้บริการเองและบุคลากรทางการแพทย์ด้วย อย่างแอปพลิเคชัน Health Up ที่สามารถนัดและติดตามการนัดหมายด้วยตัวเองจากที่บ้าน นอกจากนั้นแอปนี้ยังรวบรวมทุกความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล พร้อมบริการ Telecare พูดคุยปรึกษาปัญหาสุขภาพ 24 ชั่วโมง”

 

หมดยุคมาโรงพยาบาลเพราะป่วย

ผศ.นพ.วีรยะ ย้ำว่าภาพลักษณ์ใหม่ที่อยากให้เกิดขึ้นกับพญาไท พหลโยธิน คือลบภาพจำว่าคนที่มาโรงพยาบาลคือคนป่วย จากนี้ไปคนมาโรงพยาบาลเพื่อมาช้อปปิ้งเรื่องของสุขภาพก็ได้

 

“หลายๆ อย่างที่ปรับเปลี่ยนพร้อมการรีแบรนด์ คือการให้ความสำคัญกับ Health & Wellness สร้างเสริมสุขภาพไม่ให้เจ็บป่วย อีกหน่อยคุณสามารถมาโรงพยาบาลเพื่อช้อปปิ้งสุขภาพของตนเองได้อย่างหลากหลาย ไม่ใช่เพียงเพื่อการรักษาโรค หรือซื้ออาหารเสริมและวิตามินเท่านั้น แต่ยังเน้นไปที่โปรแกรมและบริการที่เกี่ยวกับเรื่องของ Health & Wellness”

 

พญาไท พหลโยธิน

 

และเพื่อให้ตอบโจทย์ทุกกลุ่มวัย ยุคใหม่ของการดูแลสุขภาพจึงโฟกัสไปที่การดูแล Active Life ในทุกช่วงอายุ

 

“ยกตัวอย่างกลุ่มเด็ก เรามีศูนย์พัฒนาการเด็ก Child Development ดูแลตั้งแต่เด็กเล็กเพื่อให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีนักจิตวิทยาคลินิกและนักจิตวิทยาพัฒนาการคอยดูแล มีนักกิจกรรมบำบัด นักแก้ไขคำพูด และครูการศึกษาพิเศษ เมื่อเข้าสู่วัยทำงานก็จะมีปัญหาเรื่องของโรคที่เกิดจากการทำงาน ออฟฟิศซินโดรม หรือแม้แต่การเสริมสร้างสุขภาพจิต เรามี Let’s Talk (ศูนย์จิตเวช) ให้บริการพูดคุย รับฟัง ปรึกษาปัญหาสุขภาพใจ และมีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมบำบัดในบรรยากาศที่มีความอบอุ่น ปลอดภัย ภายใต้การดูแลจากทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางที่มากประสบการณ์ เมื่อเข้าสู่วัยชราก็เข้าสู่เรื่องของการชะลอวัย การสร้างเสริมกล้ามเนื้อ ปอด หัวใจ สุขภาพเพศ อีกอันก็คือ Weight Wellness ศูนย์ลดน้ำหนัก เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีในการดูแลผู้ป่วยโรคอ้วนในทุกกระบวนการ ยกระดับการให้บริการเพื่อส่งมอบการดูแลรักษาสุขภาพระยะยาวในทุกช่วงอายุเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคม”

 

ยังมีบริการทางการแพทย์อื่นๆ ที่ปรับโฉมการให้บริการ เพิ่มนวัตกรรมไปพร้อมกับการรีแบรนด์ อาทิ Love Space (คลินิกเติมรัก) การดูแลสุขภาพเพศ พื้นที่ Safe Zone สำหรับทุกคนไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถรับคำปรึกษาผ่าน Telecare ได้ หรือการผ่าตัดด้วยการส่องกล้องขั้นสูงในช่องท้องอื่นๆ เช่น ลำไส้ ตับอ่อน หรือท่อทางเดินน้ำดี ที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์ รวมไปถึงการบริการด้านทันตกรรม Digital Dental ซึ่งถือเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกๆ ของไทยที่นำนวัตกรรมดิจิทัลมารักษาด้านทันตกรรม

 

 

สำหรับการบริการ Platinum Service นั้น แม้จะมีให้บริการในทุกสาขาของโรงพยาบาล แต่สิ่งที่พญาไท พหลโยธิน ต่างจากที่อื่นๆ คือ ‘การรับรองการดูแลอุปัฏฐากพระสงฆ์อาพาธ’ ตามหลักพระธรรมวินัยอย่างครบวงจร ให้การรักษา ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์และสามเณรที่อาพาธตามมาตรฐานวิชาชีพ ในโครงการ ‘คุณพระช่วย’ จากกรมการแพทย์และโรงพยาบาลสงฆ์ ในฐานะโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรก และเป็นต้นแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ในเครือ

 

เติบโตอย่างยั่งยืนต้องเติบโตพร้อมชุมชน

แนวทางสำคัญของโรงพยาบาลพญาไท พหลโยธิน คือการเติบโตไปพร้อมกับชุมชนรอบข้าง ซึ่งปัจจุบันชุมชนรอบข้างเป็นลักษณะขององค์กรและบริษัทเป็นส่วนใหญ่

 

“พญาไท พหลโยธิน มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านการแพทย์และนวัตกรรม และเราตั้งอยู่ระหว่าง ‘ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี’ ซึ่งเป็นย่านที่มีจำนวนโรงพยาบาลมากที่สุดในประเทศไทยกว่า 30 แห่ง ในทุกภาคส่วน ย่านนี้จะมีการวางแผนใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อเสริมการให้บริการทางการแพทย์ให้ได้ประโยชน์สูงสุด และ ‘ย่านนวัตกรรมอารีย์’ เป็นการรวมตัวของกลุ่มองค์กรอุตสาหกรรมต่างๆ จะร่วมมือกันจัดการพัฒนานวัตกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีเชิงลึก เช่น สมาร์ทซิตี้ การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือการจัดการพลังงาน ทางพญาไท พหลโยธิน ก็นำนวัตกรรมการแพทย์ไปเข้าร่วม อย่างเรื่องของ Telemedicine หรือการจัดการฐานข้อมูลของโรงพยาบาล การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ นี่คือภาพการร่วมมือ

 

“อีกส่วนหนึ่งคือเมื่อเราอยู่ในวงล้อมขององค์กร การเติบโตร่วมกันกับองค์กรต่างๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญ ผมเชื่อว่าผู้บริหารทุกองค์กรอยากให้พนักงานอยู่ดีมีสุข ทั้งเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและการรักษา ยกตัวอย่างการมีส่วนร่วมของเรากับกลุ่มบริษัทลูกค้าองค์กร ไม่ใช่แค่ดูแลตรวจสุขภาพประจำปีให้กับพนักงาน เรานำนวัตกรรมเข้าไปศึกษาพนักงานในองค์กรว่าสัดส่วนปัญหาสุขภาพด้านไหนที่พบ แล้วจึงจัดโปรแกรมการดูแลสุขภาพเฉพาะองค์กร ทำให้ Productivity ขององค์กรดีขึ้น การขาดลามาสายลดลง รวมไปถึงสุขภาพใจด้วย เพราะเราดูไปถึงว่าพนักงานทำงานกลางวันหรือกลางคืน แนวโน้มความเครียดจากการทำงานคืออะไร การเดินร่วมกันไปแบบนี้ก็จะทำให้ความยั่งยืนเกิดขึ้นทั้งองค์กรและโรงพยาบาล”

 

พญาไท พหลโยธิน

 

ก้าวสู่ต้นแบบขององค์กรที่โดดเด่นเรื่อง Agility

เมื่อถามถึงเป้าหมายต่อไปของพญาไท พหลโยธิน ในเรื่องของการเป็นต้นแบบให้กับโรงพยาบาลอื่นๆ ในเครือ ผศ.นพ.วีรยะ บอกว่าอยากเป็นต้นแบบในเรื่องของ Agility หรือองค์กรที่แข็งแกร่ง และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็ว

 

“เราเป็นองค์กรที่พร้อมเปิดรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สำคัญคือนอกจากเราจะสร้างบุคลากรให้พร้อมปรับตัวทุกการเปลี่ยนแปลง เรายังสร้างนวัตกรที่สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อปรับใช้กับผู้ป่วยได้อีกมากมาย”

 

 

ผศ.นพ.วีรยะ ยกตัวอย่างการพัฒนา Clinical Program หรือการรักษาพยาบาลในกลุ่มโรคใหม่ๆ และกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ รวมถึง Telemedicine ที่พญาไท พหลโยธิน ถูกยกให้เป็นต้นแบบและเป็นสถานที่ในการเริ่มต้นในช่วงที่เกิดโควิด-19

 

“พญาไท พหลโยธิน ต่อจากนี้ยังคงพัฒนานวัตกรรมและบริการใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าที่เปลี่ยนไป แต่อย่างไรก็ดี ผมเชื่อว่าปัจจุบันคนตระหนักเรื่องการดูแลสุขภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้อง การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา ก็อยากให้ทุกคนดูแลสุขภาพ เพื่อที่จะได้มีสุขภาพชีวิตที่ดีตราบนานเท่านาน” ผศ.นพ.วีรยะ กล่าวทิ้งท้าย

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising