×

‘ราคาน้ำมันปาล์ม’ พุ่งหลังอินโดนีเซียงดส่งออก หวังแก้วิกฤตสินค้าขาดแคลนในประเทศ หวั่นกดดันเงินเฟ้อโลกยิ่งพุ่งแรง

25.04.2022
  • LOADING...
ราคา น้ำมันปาล์ม

‘ราคาน้ำมันปาล์ม’ พุ่งสูงขึ้นหลังจากที่รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม รวมถึงน้ำมันสำหรับปรุงอาหารทั้งหมดจนกว่าวิกฤตขาดแคลนสินค้าในประเทศจะได้รับการแก้ไข ซึ่งการที่ราคาน้ำมันปาล์มปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากในครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบไปถึงซัพพลายเชนอาหารทั่วโลก ทั้งปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหาร และปัญหาเงินเฟ้อที่น่าจะเพิ่มขึ้นอีกระลอกจากต้นทุนน้ำมันปาล์มพุ่งสูงขึ้น

 

ทั้งนี้ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับการส่งมอบเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นมากถึง 6% ที่ 6,738 ริงกิต (1,550 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อตันในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 

 


 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 


 

โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (22 เมษายน) รัฐบาลอินโดนีเซียระบุว่า จะเริ่มหยุดการขนส่งตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน และดำเนินการเช่นนี้ต่อไปจนกว่ารัฐบาลจะยอมรับว่าวิกฤตขาดแคลนสินค้าภายในประเทศได้รับการแก้ไขแล้ว 

 

การประกาศงดส่งออกน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มหลักของโลก คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 60% ทำให้เกิดการกักตุนพืชผลทั่วโลก ซึ่งจุดเริ่มต้นของภาวะการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่สงครามปะทุขึ้นในยูเครน ขณะที่รัฐบาลพยายามปกป้องแหล่งทรัพยากรด้านอาหารของตนเองด้วยการผลักดันราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น การดำเนินการเช่นนี้ได้กระตุ้นอัตราเงินเฟ้อของราคาอาหารทั่วโลกที่เร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และเพิ่มความเสี่ยงต่อวิกฤตความหิวโหย

 

Avtar Sandu ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายสินค้าโภคภัณฑ์ของ Phillip Nova กล่าวว่า การหยุดจัดส่งน้ำมันสำหรับประกอบอาหารและวัตถุดิบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตั้งแต่เค้กไปจนถึงเครื่องสำอาง อาจเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ผลิตอาหารและบรรจุภัณฑ์ทั่วโลก

 

“การเคลื่อนไหวของอินโดนีเซียครั้งนี้ทำให้เกิดคำถามมากมายที่ยังไม่ได้คำตอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อน้ำมันที่บริโภคได้อื่นๆ เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน กำลังประสบปัญหาอันเนื่องมาจากความรุนแรงใน Black Sea” 

 

แม้การจำกัดอุปทานและราคาสินค้าที่พุ่งสูงขึ้นจะทำให้อัตราเงินเฟ้อด้านอาหารของประเทศร่ำรวยอย่างสหรัฐฯ เช่น น้ำสลัดและมายองเนส เผชิญกับสถานการณ์ที่ย่ำแย่ลง แต่ประเทศกำลังพัฒนาอย่างอินเดียก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน และดูเหมือนจะเลวร้ายยิ่งกว่า เนื่องจากอินเดียต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันปาล์มซึ่งเป็นทางเลือกที่ถูกกว่าสำหรับน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน และน้ำมันคาโนลาที่มีราคาแพงกว่า

 

อ้างอิง: 

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X