วันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะโฆษกสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเบิกจ่ายและใช้งบในมาตรการเงินเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19 จำนวน 1 ล้านล้านบาท (วงเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท) ที่เบิกจ่ายล่าช้าจากปี 2563
ทั้งนี้ส่วน 1. แผนงานด้านสาธารณสุข วงเงิน 45,000 ล้านบาท อนุมัติรวม 25,825 ล้านบาท แต่เบิกจ่ายเพียง 27.50% หรือราว 7,102 ล้านบาท เพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่ระหว่างจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
ขณะที่ 2. แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจ 355,000 ล้านบาท อนุมัติ 138,700 ล้านบาท แต่เบิกจ่ายไปเพียง 70,600 ล้านบาท เพราะหน่วยงานอยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์ รวมถึงการชะลอกิจกรรมลงพื้นที่
โดยวันที่ 9 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีพบว่ามีโครงการที่เบิกจ่ายต่ำกว่า 10% ราว 141 โครงการ (จาก 209 โครงการ) จึงระบุว่า หากหน่วยงานที่ได้อนุมัติแล้วแต่ยังไม่มีแผนการเบิกชัดเจนภายในวันที่ 30 เมษายน 2564 จะให้ยุติโครงการ ขณะนี้มี 11 โครงการ (64 ล้านบาท) ใน 5 จังหวัดที่ขอยกเลิกโครงการแล้ว รวมถึงกรมจัดหางานกำลังเสนอลดวงเงินโครงการจ้างเด็กจบใหม่ลงจากวงเงินเดิมที่ 19,462 ล้านบาท
ส่วนกรณีข้อสงสัยว่าเม็ดเงินมาตรการช่วงเหลือเพิ่มเติมในโควิด-19 ระลอก 3 เพียง 235,500 ล้านบาทนั้น (เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564) ไม่เพียงพอกับผลกระทบที่รุนแรงกว่ารอบที่ผ่านมาๆ มา ทางสภาพพัฒน์ชี้แจงว่า
ทั้งนี้ปัจจุบัน (ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2564) คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการที่เสนอขอใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดตามที่คณะกรรมการเสนอแล้ว 283 โครงการ รวมกรอบวงเงินกู้ 762,902 ล้านบาท คงเหลือวงเงินกู้ 237,097 ล้านบาท ซึ่งยังพอเพียงสาหรับการดำเนินการตามมาตรการที่เสนอไปแล้ว ได้แก่
- ในระยะเร่งด่วนเดือนพฤษภาคม 2564 มาตรการเพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน เช่น ลดค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ และมาตรการเพื่อช่วยเหลือเยียวยา รวม 43 ล้านคน วงเงินรวม 85,500 ล้านบาท
- ขณะที่ช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2564 ตั้งวงเงินมาตรการฟื้นฟูไว้ที่ 140,000 ล้านบาท
พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า