×

เสี้ยววินาทีชี้ชัยชนะ! ย้อนดูประวัติศาสตร์ชัยชนะในโอลิมปิกที่ตัดสินกันด้วยเครื่องจับเวลา [Advertorial]

16.02.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

7 Mins. Read
  • สำหรับการแข่งขัน ไม่ว่าจะในแวดวงธุรกิจหรือกีฬา เวลาเพียงเสี้ยววินาทีก็สร้างความแตกต่างระหว่างความสำเร็จหรือความล้มเหลวได้
  • ครั้งแรกที่มีการใช้นาฬิกามาตรฐานมาช่วยในการตัดสินคือการแข่งขันโอลิมปิก ปี 1932 ที่นครลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้นาฬิกาจับเวลาแบบความเที่ยงตรงสูงที่ผ่านการทดสอบในระดับโครโนมิเตอร์โดยหอดูดาวแห่งเมืองเนอชาแตล ที่จับเวลาได้ละเอียดถึง ⅕ และ 1/10 วินาที
  • นอกจากนาฬิกาจับเวลามาตรฐานสูงแล้ว ในโอลิมปิกหลายๆ ครั้งยังมีการนำเทคโนโลยีที่หลากหลายมาใช้ร่วมกับนาฬิกา ทั้งปืนออกสตาร์ทสุดล้ำ กล้องบันทึกวินาทีเข้าเส้นชัย หรือแผ่นสัมผัสเพื่อหยุดเวลาของนักว่ายน้ำ

‘จงเห็นคุณค่าของเวลา’ เป็นสิ่งที่หลายๆ คนเคยได้ยินกันมาตั้งแต่เด็กว่าเวลาเป็นสิ่งสำคัญ จงเลือกใช้มันให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะเวลามีแต่จะเดินไปข้างหน้า และเมื่อมันเลยไปแล้ว ไม่มีใครที่สามารถย้อนกลับมาแก้ไขอะไรก็ตามในอดีตได้

 

แต่สำหรับการแข่งขัน ไม่ว่าจะในแวดวงธุรกิจหรือกีฬา เวลาเพียงเสี้ยววินาทีก็สร้างความแตกต่างระหว่างความสำเร็จหรือความล้มเหลวได้

 

เช่นเดียวกับมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ครั้งที่ 23 ที่จัดขึ้นที่ประเทศเกาหลีใต้ โดยในครั้งนี้มี 92 ประเทศเข้าร่วมแข่งขันเพื่อชิงความเป็นหนึ่งของ 7 ชนิดกีฬาใน 15 ประเภทการแข่งขันของกีฬาฤดูหนาว แน่นอนว่านอกจากจำนวนเหรียญรางวัลที่สามารถบ่งบอกความเป็นที่สุดของแต่ละชนิดกีฬา สิ่งที่มักเกิดขึ้นในการแข่งขันมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกทุกครั้งคือนักกีฬาคนใหม่ที่ทำลาย ‘สถิติ’ เก่า และก้าวขึ้นเป็นนักกีฬาที่เป็นที่สุดของโลก

 

เนื่องในโอกาสสำคัญนี้ THE STANDARD จะพาคุณย้อนไปดูประวัติศาสตร์ของการจดบันทึกสถิติในการแข่งขันกีฬาต่างๆ และความสำคัญของการจดบันทึกเวลา ที่ในบางครั้งเพียงแค่เสี้ยววินาทีก็สามารถเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลกได้เลยทีเดียว

 

ตำนานเวลามาตรฐานในมหกรรมกีฬาระดับโลก

แน่นอนว่าในมหกรรมกีฬาระดับโลกย่อมมีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยยกระดับมาตรฐานของการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทอดสดการแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรกที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ในปี 1936

 

หรือการเริ่มต้นใช้นาฬิกาจับเวลาในการแข่งขัน ซึ่ง Omega แบรนด์นาฬิกาสวิสที่กำเนิดขึ้นเมื่อปี 1848 ได้ทำหน้าที่เป็นผู้จับเวลาอย่างเป็นทางการให้กับมหกรรมกีฬาโอลิมปิกมาแล้ว 27 ครั้งตั้งแต่ปี 1932

 

Photo: Omega

 

1932 จุดเริ่มต้นของการร่วมมือระหว่างโอลิมปิกกับ Omega  

หากหมุนเข็มนาฬิกาย้อนกลับไปในครั้งแรกที่นาฬิกามาตรฐานเริ่มเข้ามามีบทบาทในการช่วยตัดสินการแข่งขันด้วยเวลา เราต้องกลับไปที่การแข่งขันโอลิมปิก ปี 1932 ที่นครลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

ในการแข่งขันครั้งนั้นได้มีการใช้นาฬิกาจับเวลาแบบความเที่ยงตรงสูงจำนวน 30 เรือนที่ผ่านการทดสอบในระดับโครโนมิเตอร์โดยหอดูดาวแห่งเมืองเนอชาแตล เพื่อการใช้จับเวลากีฬาทุกประเภทได้ละเอียดถึง ⅕ และ 1/10 วินาที

 

โดยในปีแรกของการเข้ามามีส่วนในการตัดสินการแข่งขันกีฬาหลายชนิด นอกจากสื่อกลางที่เรียกว่า ‘เวลา’ แล้ว โอลิมปิกครั้งนั้นยังมีการนำโพเดียมมาใช้มอบรางวัลให้กับผู้ที่ทำเวลาและผลงานดีที่สุด รวมถึงเริ่มต้นจัดตั้งหมู่บ้านนักกีฬาเป็นครั้งแรกอีกด้วย

 

Photo: Omega

 

1936 กับการบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 4 เหรียญทองของ เจสซี โอเวนส์

การแข่งขันกรีฑาในโอลิมปิก ปี 1936 ภายในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ได้เกิดเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ขึ้น เมื่อหนุ่มผิวสีชาวอเมริกัน เจสซี โอเวนส์ ได้สร้างประวัติศาสตร์คว้าเหรียญทองโอลิมปิกถึง 4 เหรียญจากการแข่งขันวิ่ง 100 เมตร, 200 เมตร, วิ่งผลัด 4×100 เมตร และ กระโดดไกล ซึ่งเขาเอาชนะนักกีฬาจากเยอรมนีที่มีชื่อว่า ลุซ ลอง ที่เข้ามาช่วยให้คำแนะนำเขาในระหว่างการกระโดดครั้งที่ 2 เพื่อให้ทำได้ตามกติกาแข่งขัน ผลของการแข่งขันในครั้งนั้น เจสซี โอเวนส์ ได้ทั้งเหรียญทองและมิตรภาพที่เขายอมรับภายหลังการแข่งขันว่ายิ่งใหญ่กว่าชัยชนะที่เขาได้รับเสียอีก

 

 

โดยความสำเร็จของเจสซีในวันนั้นถูกบันทึกสถิติด้วยนาฬิกาจับเวลาทั้งหมด 185 เรือนจากบีลไปยังกรุงเบอร์ลิน โดยทั้งหมดบรรจุในกระเป๋าเดินทางของ พอล หลุยส์ กุยนาด์ ช่างนาฬิกาอายุ 29 ปี ซึ่งทำหน้าที่บันทึกเวลาที่เจสซีวิ่งเข้าเส้นชัยและคว้า 3 ใน 4 เหรียญทองของโอลิมปิกในปี 1936

 

 

1948 กับการใช้กล้องถ่ายภาพแบบโฟโตอิเล็กทริกเป็นครั้งแรก

โอลิมปิกในปี 1948 จัดขึ้นที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ นอกจากจะเป็นโอลิมปิกแรกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดการผลักดันให้เกิดการบันทึกภาพวิดีโอแบบสีที่ช่วยสร้างสีสันให้กับผู้ที่รับชมไฮไลต์การแข่งขันในเวลานั้นจนถึงปัจจุบันแล้ว โอลิมปิกครั้งนี้ยังมีการนำเอากล้องถ่ายภาพแบบโฟโต้อิเล็กทริกมาใช้เป็นครั้งแรกในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวที่เซนต์มอริตซ์

 

 

กล้องถ่ายภาพนี้มีความพิเศษตรงที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ และทำงานโดยไม่ต้องอาศัยไฟฟ้าจากระบบปกติ นอกจากนี้ยังกันน้ำ และสามารถปรับแต่งให้เหมาะกับสภาพอุณหภูมิที่แตกต่างกัน

 

เทคโนโลยีอินฟราเรดของกล้องชนิดนี้ทำงานโดยไม่ได้รับผลกระทบจากแสงสะท้อนของดวงอาทิตย์และไฟแฟลช ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ระบบจับเวลาเริ่มต้นทำงานได้โดยอัตโนมัติทันทีที่มีการเปิดประตูปล่อยตัวนักกีฬา

 

นอกจากนี้ บริษัท British Race Finish Recording ได้พัฒนากล้องประจำเส้นชัยที่มีชื่อเรียกว่า Magic Eye ขึ้น ซึ่งเจ้ากล้องตัวนี้สามารถถ่ายภาพได้อย่างต่อเนื่องในระดับความเร็วที่ปรับเปลี่ยนได้ตามความจำเป็นในกีฬาแต่ละประเภท ตั้งแต่การแข่งขันเรือพายถึงจักรยาน ซึ่งกล้องตัวนี้ทำงานคู่กับอุปกรณ์จับเวลา โดยนับเป็นครั้งแรกที่เครื่องจักรทำงานได้แม่นยำกว่ามนุษย์

 

1952 รางวัล Croix du Merite Olympique กับเครื่องจับเวลาที่ละเอียดถึง 1/100 วินาที

โอลิมปิกที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ปี 1952 เป็นปีที่เข้าสู่ยุคของอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีควอตซ์ ซึ่งเครื่อง Omega Time Recorder เข้ามามีบทบาทในการจับเวลาบันทึกสถิติผู้ชนะ และเจ้าเครื่องดังกล่าวได้รับรางวัล Croix du Merite Olympique จากการสร้างประโยชน์ให้กับวงการกีฬาโลก เพราะสามารถจับเวลาได้ละเอียดถึง 1/100 วินาที

 

1968 ครั้งแรกกับการใช้แผ่นสัมผัสหยุดเวลาอัตโนมัติกับกีฬาว่ายน้ำ

ในระหว่างโอลิมปิก ปี 1956, 1960 และ 1964 ได้มีการพัฒนาอุปกรณ์การจับเวลาไปตามยุคสมัยของเทคโนโลยี ตั้งแต่ Swim Eight-O-Matic Timer ที่เมลเบิร์น ในปี 1956 ที่เป็นเครื่องจับเวลากึ่งอัตโนมัติของกีฬาว่ายน้ำเครื่องแรกที่แสดงผลแบบดิจิทัล

 

ก่อนจะเริ่มพัฒนาระบบแผ่นสัมผัสหยุดเวลาอัตโนมัติกับกีฬาว่ายน้ำที่ทำให้นักกีฬาสามารถหยุดเวลาได้ด้วยมือของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องใช้ผู้จับเวลาอยู่ริมสระน้ำอีกต่อไป และเริ่มต้นใช้งานกับโอลิมปิกครั้งแรกในปี 1968 ที่ประเทศเม็กซิโก

 

นอกจากนี้ในปี 1964 ยังมีการนำอุปกรณ์ Omegascope ที่ช่วยให้ผู้ชมสามารถรับชมสถิติที่เป็นตัวเลขเรืองแสงด้านล่างของหน้าจอพร้อมกับสัญญาณถ่ายทอดสดการแข่งขัน ซึ่งนับเป็นการปฏิวัติวงการจับเวลาให้ไม่มีข้อผิดพลาด เนื่องจากทุกอย่างจะแสดงให้ผู้ชมทางบ้านทุกคนเห็นพร้อมๆ กัน

 

1972 ผลการแข่งขันที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎ

การแข่งขันว่ายน้ำผสม 400 เมตร กุนาร์ ลาร์สัน แชมป์ยุโรปสองสมัยจากสวีเดน และทิม แมคคี จากสหรัฐฯ หยุดเวลาพร้อมกันที่ 4 นาที 31.98 วินาที แต่เจ้าหน้าที่ประกาศให้ลาร์สันเป็นแชมป์ไปด้วยเวลา 4 นาที 31.981 วินาที ชนะแมคคีที่เวลา 4 นาที 31.983 วินาที ส่งผลให้สหพันธ์ว่ายน้ำระหว่างประเทศต้องออกมาแก้ไขกฎ โดยระบุให้ใช้ความละเอียดในระดับพิเศษที่ 1/100 วินาทีเพื่อการตัดสินผู้ชนะ  

 

1976 โอลิมปิกฤดูหนาวกับเครื่องจับเวลาในกระเป๋าเอกสาร

โอลิมปิกฤดูหนาวที่เลกพลาซิด มีการนำเอา Omega Game-O-Matic ซึ่งมีความพิเศษตรงที่เครื่องนี้สามารถคำนวณและแสดงลำดับของนักกีฬาได้ทันทีที่นักกีฬาคนนั้นเข้าเส้นชัยมาใช้เป็นครั้งแรกในการแข่งขันโอลิมปิก

 

ขณะเดียวกัน อุปกรณ์ Swim-O-Matic รุ่นใหม่ได้ถูกนำมาใช้ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนที่มอสโกเช่นกัน โดยเครื่องโครโนมิเตอร์มาในรูปแบบกระเป๋าเอกสารที่มีน้ำหนักเพียง 1.2 กิโลกรัม ซึ่งพัฒนามาจากรุ่นก่อนเมื่อปี 1976 ซึ่งหนักถึง 150 กิโลกรัม

 

 

1992 บันทึกผู้ชนะด้วยภาพนิ่ง

นี่เป็นเวลาของสิ่งที่เรียกว่า Photo Finish ที่เข้ามามีบทบาทในการตัดสินผู้ชนะ โดยเฉพาะในการแข่งขันที่ใช้ความเร็วตัดสิน ซึ่งเครื่อง Scan’O’Vision สามารถวัดเวลาเข้าเส้นชัยได้ละเอียดถึง 1/1,000 วินาที พร้อมกับทำหน้าที่ผสานตัวเลขเวลาลงในภาพเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งเป็นก้าวสำคัญของศาสตร์แห่งการจับเวลาหาผู้ชนะที่แท้จริง

 

 

2010 Electronic Start System ปืนจากอนาคต

สิ่งที่คนพูดถึงมากที่สุดในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวที่แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา คือปืนออกสตาร์ทรูปแบบใหม่ที่เรียกกันว่า Electronic Start System ซึ่งเวลาที่เจ้าหน้าที่เหนี่ยวไกปืนนี้ 3 อย่างจะเกิดขึ้นคือ สัญญาณออกสตาร์ทจะดังขึ้นผ่านลำโพง แสงไฟจากปลายกระบอกปืน และการส่งสัญญาณให้อุปกรณ์จับเวลาเริ่มทำงาน ในปีเดียวกันนี้ยังมีการนำเอาระบบจีพีเอสติดตามตัวสำหรับนักกีฬาประเภทครอสคันทรี และระบบติดตามตัวแบบใหม่สำหรับกีฬาสเกตความเร็วที่ใช้เสาสัญญาณและอุปกรณ์ติดตัวหลายชิ้นมาประกอบกันอีกด้วย

 

 

2014 Scan’O’Vision นวัตกรรมการจับภาพที่ 10,000 เฟรมต่อวินาที

ปี 2014 เป็นครั้งแรกที่เริ่มใช้ระบบ IH Whistle Detection System ในการแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งที่ตรวจพบเสียงนกหวีดของกรรมการ ทำให้การจับเวลาที่หยุดเล่นและทดเวลาเป็นไปอย่างแม่นยำ นอกจากนี้ในช่วงฤดูร้อนปีเดียว ภายในการแข่งขันกรีฑายุโรปที่ซูริกยังมีการเปิดตัวกล้องถ่ายภาพเส้นชัย Scan’O’Vision Myria เวอร์ชันใหม่ที่สามารถถ่ายภาพด้วยความเร็ว 10,000 เฟรมต่อวินาที และสามารถบันทึกและพิมพ์ภาพลำดับการเข้าเส้นชัยได้อย่างแม่นยำ ไม่ว่าจังหวะที่นักกีฬาจะวิ่งมาเป็นกลุ่มในจังหวะที่เข้าเส้นชัยก็ตาม  

 

2018 โอลิมปิกฤดูหนาวที่พย็องชัง เกาหลีใต้

อีกหนึ่งมหกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่ประเทศเกาหลีใต้ Omega ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของผู้บันทึกสถิติการแข่งขัน เพื่อตอกย้ำความสำเร็จของนักกีฬาในแต่ประเภท

 

เนื่องในโอกาสพิเศษนี้ ได้มีเปิดตัวนาฬิการุ่น Seamaster Planet Ocean ‘Pyeongchang 2018’ เป็นสัญลักษณ์แห่งความเที่ยงตรงระดับโลกที่ยังคงเป็นสักขีพยานแห่งเกมกีฬาอันยิ่งใหญ่ในครั้งนี้สืบเนื่องไปเมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลงแล้ว

 

 

โดย Seamaster Planet Ocean ‘Pyeongchang 2018’ ตัวเรือนทำจากสเตนเลสสตีลรุ่นพิเศษ จำนวนจำกัด 2,018 เรือน ส่วนตัวนาฬิกาใช้สีน้ำเงินและสีแดงเหมือนธงชาติของเกาหลี นอกจากนี้ยังเปี่ยมไปด้วยเทคโนโลยีที่น่าสนใจมากมาย

หน้าปัดเซรามิก Zr02 สีน้ำเงินขัดเงา ประดับหลักชั่วโมงแบบผลึกติดชุบโรเดียม และเคลือบด้วยสารเรืองแสงซูเปอร์ลูมิโนวาสีขาวที่จะเรืองแสงเป็นสีฟ้าในที่มืด ขอบตัวเรือนหมุนได้ทิศทางเดียวแบบที่ใช้ในการดำน้ำ นาฬิการุ่นนี้มีวงแหวนเซรามิกสีน้ำเงินขัดเงา และเป็นนวัตกรรมแรกของโลกที่มีการใช้ทั้งยางสีแดงในช่วง 15 นาทีแรก ประกอบกับวัสดุชื่อลิควิดเมทัลของ Omega ตามสเกลนาที และจุดที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกา

เม็ดมะยมแบบขันเกลียวพร้อมโลโก้ Omega อยู่ทางขวามือของหน้าต่างวันที่ที่ตำแหน่ง 3 นาฬิกา และมีวาล์วปล่อยก๊าซฮีเลียมที่ตำแหน่ง 10 นาฬิกา ซึ่งมีอักษร He เป็นตัวนูนกำกับไว้อยู่

 

ส่วนฝาด้านหลังของนาฬิกาซึ่งเป็นแบบขันเกลียวลวดลายอัลวีโอลแบบใหม่จะมีการแกะสลักคำว่า Planet Ocean และ Limited Edition รวมถึงหมายเลขประจำตัวเรือนเป็นสีน้ำเงิน บนแซฟไฟร์คริสตัลของฝาหลังจะมีการพิมพ์ชื่อ PyeongChang 2018 และโลโก้ของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวอีกด้วย

 

หัวใจในการขับเคลื่อนเวลาของนาฬิการุ่นนี้คือเครื่องโคแอ็กเซียลมาสเตอร์โครโนมิเตอร์ รุ่นคาลิเบอร์ 8900 ของ Omega ที่ผ่านการทดสอบในระดับสูงมาแล้ว

นาฬิกา Seamaster Planet Ocean ‘PyeongChang 2018’ รุ่นนี้สวมใส่ด้วยสายยางสีน้ำเงินแบบมีโครง เดินด้ายและรองพื้นสีแดงสลับกับสีน้ำเงิน และบรรจุในกล่องแบบพิเศษเพื่อการวางตั้งแสดงโดยเฉพาะ ในชุดมีสายสเตนเลสสตีลมาพร้อมอีกหนึ่งเส้น และมีอุปกรณ์เปลี่ยนสายเพื่อความสะดวกในการสับเปลี่ยนไปมาโดยตัวเจ้าของนาฬิกาเอง ถือเป็นเรือนเวลาสุดพิเศษสำหรับนักสะสมที่เป็นสื่อแทนถึงเกมกีฬาระดับโลกอันยิ่งใหญ่นี้อย่างเต็มภาคภูมิแห่งแบรนด์นาฬิการะดับ Omega อย่างแท้จริง

 

ชาร์ลส์ ดาร์วิน ผู้ให้กำเนิดทฤษฎีวิวัฒนาการอันโด่งดังเคยกล่าวไว้ว่า “ไม่ใช่เผ่าพันธุ์ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุดที่จะอยู่รอด แต่เป็นเผ่าพันธุ์ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุด” เช่นเดียวกันการแข่งขันกีฬาที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์ผ่านการฝึกซ้อม งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์กีฬา โภชนาการอาหาร ซึ่งทุกเสี้ยววินาทีที่เร็วขึ้นในสนามเท่ากับการก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมของร่างกายมนุษย์

 

นั่นคือความสำคัญของการจดบันทึก ‘เวลา’ ในการแข่งขันมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่างโอลิมปิก ซึ่งที่ผ่านมาทั้ง 27 ครั้ง ผลการแข่งขันได้ถูกชี้วัดด้วยอุปกรณ์การบันทึกเวลาที่แม่นยำจาก Omega แบรนด์นาฬิกาชื่อดังจากสวิตเซอร์​แลนด์มาโดยตลอด

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X