×

OCCURA ร้านแว่นที่มองการตัดแว่นเป็นงานศิลปะที่ผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์ และแว่นที่ดีคือแว่นที่ตัดมาเพื่อคุณโดยเฉพาะ [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
18.02.2020
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

5 MINS. READ
  • OCCURA ร้านแว่นตาที่วางตัวเองเป็นโซลูชันของผู้มีปัญหาสายตา มุ่งเน้นแก้ปัญหามากกว่าขายของ และเชื่อว่าการตัดแว่นที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลเป็นงานศิลปะที่ต้องผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์
  • แว่นตาที่ดีในมุมมองของ OCCURA จึงไม่ใช่แว่นตาที่มีแค่กรอบสวย แต่ต้องเป็นแว่นที่วัดค่าได้ถูกต้อง แก้ปัญหาได้ถูกจุด และออกแบบเลนส์เฉพาะบุคคลให้คุณสวมใส่สบายตา

“เราเคยมองว่าร้านแว่นก็คือร้านที่ขายแว่น วัดค่าสายตา เลือกกรอบแว่นก็จบ แต่ตอนนี้เราอยากวางตัวเองให้เป็นที่ปรึกษาทางด้านสายตาที่ช่วยแก้ปัญหาสายตาให้กับลูกค้าจริงๆ”


นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ กันต์-ธนัฐณ์ วิทย์ภิรมย์ เจ้าของร้านแว่นตาโอคูระ (OCCURA) ศูนย์แว่นตาและเลนส์เฉพาะบุคคลแบบครบวงจร ที่เน้นแก้ปัญหามากกว่าขายของ และเขายังเชื่อว่าการตัดแว่นที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลเป็นงานศิลปะที่ต้องผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์

 

“ทุกอย่างคืองานศิลปะ การวัดสายตาต้องใช้ทักษะอย่างมาก กรอบแว่นก็คืองานศิลปะ หรือแม้แต่การออกแบบเลนส์ ยิ่งเป็นการออกแบบเลนส์แว่นตาเฉพาะบุคคลด้วยแล้ว ยิ่งต้องใช้ความพิถีพิถันมากเป็นพิเศษ”


วันที่กันต์ตัดสินใจรับช่วงธุรกิจแว่นตาของครอบครัว เขามองเห็นคุณค่าบางอย่างในธุรกิจ และเชื่อว่าคนที่มีปัญหาสายตาทุกคนคู่ควรที่จะได้เห็น นั่นคือ ‘ประสบการณ์การตัดแว่นเฉพาะบุคคล’


“ตอนนั้นเรามองเห็นช่องว่างระหว่างร้านแว่นตา ระหว่างมุมของผู้เชี่ยวชาญ คือคนเดินเข้าร้านแว่นเพราะมีปัญหาสายตา กับคนที่มองแว่นตาเป็นแฟชั่น มันยังไม่มีธุรกิจที่บาลานซ์ระหว่างความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาสายตาและแฟชั่นไว้ด้วยกัน”

 

กันต์-ธนัฐณ์ วิทย์ภิรมย์ เจ้าของร้านแว่นตาโอคูระ (OCCURA) 

 

ค่อยๆ วัดระยะความใช่และตัดสิ่งที่ไม่ชอบจนได้คาแรกเตอร์ที่เหมาะสมกับตัวเอง
“เริ่มจากหาว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้ธุรกิจแว่นตาอยู่ได้ ก็พบว่างานดีไซน์กรอบแว่นเป็นส่วนสำคัญ เลยตัดสินใจเรียนศิลปะ เรียนรู้วิธีการคิดงานและทำงานของศิลปิน เรียนแฟชั่นเพื่อศึกษาว่าแบรนด์อื่นๆ เขามีวิธีคิดคอลเล็กชันอย่างไร ระหว่างทางก็เรียนเทคนิคไปด้วย ลงเรียนอินทีเรียร์และโปรดักต์ดีไซน์ กันต์ชอบ เพราะถ้าแฟชั่นฟุ้งไปมันก็จับต้องไม่ได้ แต่พอเป็นโปรดักต์ มันมีกฎเกณฑ์ให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น ทุกอย่างมีเหตุและผล เช่น ขาแว่นมันต้องยาวเท่านี้ เพราะสัดส่วนโครงหน้าคือเท่านี้ ทำให้เราออกแบบง่ายขึ้น ระหว่างที่เรียนนี่แหละคือช่วงที่เราค้นหาตัวตนไปเรื่อยๆ เริ่มถามตัวเองว่าเราชอบงานศิลปะแนวไหน อะไรคือแรงบันดาลใจ

“ตอนที่ลงเรียนแฟชั่นมาร์เก็ตติ้งนี่แหละที่เขาสอนเรื่องไลฟ์สไตล์มาร์เก็ตติ้ง เป็นวิธีการทำมาร์เก็ตติ้งในแบบศิลปิน ให้ดูไปที่ไลฟ์สไตล์ของคนที่จะเป็นลูกค้าเรา เขาจะมีบุคลิกแบบไหน ถ้าเขาจะซื้อของแต่งบ้าน เขาจะซื้อแบบไหน เขาจะคบคนแบบไหน แต่งตัวอย่างไร เวลาเราจะดีไซน์ร้าน เลือกสินค้า หรือจะพูดกับลูกค้าอย่างไร เราก็จะนึกถึงคนคนนี้แหละว่าเขาจะชอบไหม”

 

ดิสเพลย์แว่นตาหาดูยากบริเวณโถงทางเดิน

 

“ถ้าเปรียบ OCCURA เป็นคนคนหนึ่ง ก็น่าจะเป็นสถาปนิกที่มีความละเอียด ชอบคัดสรรของดีๆ เลือกของจากคุณค่า เป็นคนรู้จริง รู้ลึก เสพสื่อที่มีสาระ ทำอะไรต้องมีเหตุและผล ตอนเริ่มทำแบรนด์เราวางโพสิชันไว้แบบนี้ ดังนั้นสิ่งที่ OCCURA เป็นคือสิ่งที่เราคัดสรรแล้วว่าดี อาจจะไม่ได้ดีที่สุด แต่คือสิ่งที่เหมาะกับคุณ

“อย่างการเลือกแบรนด์กรอบแว่น เราเลือกแบรนด์ที่เขามีแนวคิดคล้ายๆ กับเรา มองการผลิตชิ้นงานคืองานศิลปะ ให้ความสำคัญกับคุณภาพและให้คุณค่ากับคนที่ผลิตงานราวกับเป็นงานศิลปะ ซึ่งวิธีการทำงานของเราอาจจะต่างจากรุ่นคุณพ่อ ท่านจะเน้นการสร้างสาขา แต่เรามองแค่สาขาเดียว เป็นร้านที่เราเลือกทุกอย่างด้วยตัวเองไม่ว่าจะเป็นเลนส์หรือกรอบแว่น”

 

บรรยากาศภายในร้าน OCCURA ที่ให้ความรู้สึกราวกับกำลังเดินชมงานศิลปะ

 

งานศิลปะที่สัมผัสได้ตั้งแต่เปิดประตู
“เลือกใช้ออฟฟิศเก่าชั้น 23 ของอาคารว่องวานิชคอมเพล็กซ์ มารีโนเวตใหม่ ลงดีเทลเองทุกอย่าง ตอนนั้นคิดว่าจะทำอย่างไรให้ร้านแว่นมันใช่สำหรับเรา ถ้าจะทำร้านให้ดูเป็นลักชัวรีแบรนด์จะวางแว่นได้น้อย มันถึงจะดูสวย ดูแพง ดูเหมือนโชว์งานศิลปะ แต่พอมาทำเป็นธุรกิจ เราคิดว่าจริงๆ แล้วโครงหน้าคนมีส่วนสำคัญกับสินค้าเรา แว่นสวยมากแต่ใส่แล้วไม่ขึ้นหน้ามันก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นจะต้องมีแว่นให้ลูกค้าเลือกเยอะ แต่เราก็ไม่อยากให้ดูเป็นร้านแว่นตู้ๆ เลยจับสองสิ่งนี้มาไว้ด้วยกัน จนไปเดินห้างที่ญี่ปุ่น ทุกอย่างถึงไม้ถึงมือหมด แม้สินค้าบางตัวราคาจะสูง แต่เขาทำให้เรารู้สึกว่ามันเข้าถึงง่าย และมีตู้รังผึ้งที่ขายนาฬิกา นี่แหละ เราอยากได้แบบนี้ อยากให้ลูกค้ามาร้านแล้วรู้สึกว่าแว่นร้านเราเข้าถึงง่าย ไม่ว่าจะราคาเท่าไร ไม่ต้องขอเปิดตู้หยิบ เราเองเวลาเดินเข้าร้านแบรนด์เนมยังไม่กล้าขอดูสินค้าในตู้เลย ถ้าขอดูแล้วไม่ซื้อก็รู้สึกไม่ดี เลยส่งโจทย์นี้กับทางอินทีเรียร์

“การดีไซน์ดิสเพลย์แบบนี้เหมือนเราช่วยจัดเรียงข้อมูลให้ลูกค้าเลือกแว่นได้ง่ายขึ้น คนหนึ่งอาจมีแว่นสองอัน อันหนึ่งใส่เวลาทำงาน อีกอันไว้ใช้ในวันหยุด ซึ่งเรามีลูกค้าแบบนี้เยอะเหมือนกัน”

 

ห้องตรวจวัดระยะสายตา

 

ประสบการณ์เฉพาะบุคคลคือสิ่งล้ำค่า
“สิ่งที่ทำให้เราต่างจากที่อื่นคือประสบการณ์เฉพาะบุคคลที่ลูกค้าจะได้รับ เราเริ่มสร้างประสบการณ์ให้เขาได้ตั้งแต่การพูดคุยกับนักทัศนมาตรว่ามีปัญหาอะไร แพ้แสงไหม ขับรถกลางคืนมีปัญหาไหม เหล่านี้เป็นคำถามเบื้องต้นให้เราเข้าใจลูกค้ามากขึ้น เราพยายามสร้างบทสนทนาระหว่างนักทัศนมาตรกับลูกค้า เหมือนเป็นการละลายพฤติกรรม เพราะการเข้าร้านแว่นเมื่อก่อนจะไม่มีบทสนทนาแบบนี้ แต่จะเปิดเรื่องกันด้วยราคา ตอนนี้เราอยากให้เขามาแล้วได้รับความรู้เกี่ยวสุขภาพตาของเขา

“ประสบการณ์ที่เขาจะได้รับจึงไม่ใช่แค่เข้ามาวัดสายตา ตัดแว่น แล้วกลับบ้าน แต่จะนำเสนอวิธีแก้ปัญหาสายตาเฉพาะบุคคล อธิบายเชิงลึก เราจะใช้เวลากับลูกค้าแต่ละคนประมาณ 1-2 ชั่วโมง อยากให้เขาเดินเข้ามาแล้วสบายใจว่าเราช่วยค้นพบและแก้ปัญหาให้เขาได้ แนะนำสิ่งที่ดีที่สุดให้เขา และตอนจบให้เขาเลือกเองว่าเขาต้องการแบบไหน”

 

เครื่อง Wave Analyzer Medica สามารถตรวจวัดสุขภาพตาเบื้องต้นได้อย่างละเอียด

 

“เรามีเครื่อง Wave Analyzer Medica ที่สามารถตรวจวัดสุขภาพสายตาเบื้องต้นได้ จากนั้นค่อยพาเขาไปวัดที่ห้องสายตา 6 เมตร ที่ต้องระยะ 6 เมตร เพราะเป็นระยะที่กล้ามเนื้อตาได้ผ่อนคลาย ทำให้วัดสายตาได้ดี พอได้ค่าสายตาออกมา เราก็เริ่มให้คำปรึกษาเรื่องเลนส์ พรีเซนต์ผ่าน Interactive Application บน iPad เป็นภาพแสดงให้ทราบถึงมุมมอง การใช้งาน และคุณสมบัติต่างๆ ของเลนส์แต่ละรุ่น เพื่อให้ลูกค้าเห็นภาพมากขึ้น พอได้เลนส์แล้วค่อยมาเลือกกรอบแว่น”

วิธีเลือกแว่นที่ถูกต้อง คุณต้องเลือกเลนส์ก่อนแล้วค่อยเลือกกรอบแว่น
“นี่เป็นเรื่องที่หลายคนเข้าใจผิดมาตลอด เวลาเดินเข้าร้านแว่น เรามักเลือกกรอบแว่นก่อน แต่จริงๆ แล้วเลนส์มีผลกับกรอบแว่นมาก เช่น บางคนสายตา 700 เลนส์จะหนา ถ้าเลือกกรอบเล็กๆ เลนส์ทะลักออกมาเยอะ เขาก็จะดูแก่เรียน ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องผิดถ้าคุณจะเลือกกรอบแว่นก่อน แต่ถ้าคุณอยากได้แว่นตาที่เหมาะกับคุณจริงๆ คุณควรจะโฟกัสที่เลนส์ก่อน

“ความใส่ใจอีกเรื่องคือ ระหว่างที่เราวัดสายตา เป็นช่วงที่เราได้ทำความรู้จักกับลูกค้าไปด้วย จะพอเห็นแล้วว่าเขามีบุคลิกแบบไหน หรือมีไลฟ์สไตล์อย่างไร อย่างลูกค้าเราท่านหนึ่งเป็นโปรดิวเซอร์ สายตา 500 เอียง 200 ตัดแว่นมาเยอะมาก เลนส์ที่ได้มีความหนานิดหนึ่ง เวลาแนะนำกรอบ เราก็ต้องแนะนำกรอบที่ด้านหน้ามีความหนา  และตัวเขาเป็นคนที่ชอบงานคราฟต์ ถ้าแนะนำแบบเดิมก็ดูไม่ตื่นเต้น เลยลองแนะนำกรอบแว่นที่ยังมีความคราฟต์ แต่ดีไซน์คือมีความหนาของกรอบ เพื่อให้เลนส์ไม่ทะลัก เราดูหุ่นลูกค้าด้วยนะครับ ถ้าอยากให้หุ่นดูเพรียวขึ้น ต้องเลือกขาแว่นที่ดูหนาหน่อย จะช่วยบาลานซ์ระหว่างหน้ากับโททัลลุคทั้งหมด ดูบุคลิก โครงหน้า รูปร่าง และไลฟ์สไตล์ ทุกอย่างมันต้องทำให้ภาพรวมเขาดูดี เรียกว่าเราแก้ปัญหาให้เขาได้ทั้งหมด”

 

 

ความต่างที่ชัดเจนระหว่าง ‘โลกธุรกิจแว่นตาตอนสวมเลนส์นักการเงิน’ กับ ‘โลกธุรกิจแว่นตาตอนสวมเลนส์นักออกแบบ’
“ในมุมนักการเงิน เวลาเรามองธุรกิจ เราจะมองถึงโอกาสในการเติบโต มองผลกำไรขาดทุน ความเสี่ยงในเรื่อง Cash Flow ตอนนี้สิ่งที่เกิดขึ้นในธุรกิจแว่นตาคือ เมื่อก่อนสูตรการทำธุรกิจแว่นตาจะต้องไปเปิดในทำเลที่ทราฟฟิกดี และขายแบรนด์แว่นตาที่คนรู้จักกันเป็นอย่างดี ตอนนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือราคาค่าเช่าทำเลสูงขึ้น แต่ราคาขายแว่นเท่าเดิม เราเลยเลือกที่จะไม่ทำเป็น Traditional Model ก็เลยต้องมองวิธีการเซฟค่าใช้จ่าย คราวนี้ถ้ามองแบบนักการเงิน การสร้างแบรนด์ร้านขึ้นมาเอง เพื่อให้คนสนใจและอยากที่จะมาใช้บริการกับเรา นอกจากนั้นเรายังดีลกับผู้ผลิตเองเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีและต้นทุนที่ไม่สูงเกินจับต้องได้

“คราวนี้ถ้าเราเปลี่ยนมาสวมเลนส์นักออกแบบ การตลาดในโลกออนไลน์คือโอกาสของเราเลย พอเรามีออนไลน์ ทุกอย่างเชื่อมกันหมด เราสร้างผลงานและโชว์ผลงานให้ทุกคนเห็นได้ในต้นทุนที่เหมาะสม นั่นทำให้เรามองเห็นโอกาสในธุรกิจแว่นตา ถ้าเกิดเรามีแบรนดิ้งที่ชัด เราสามารถสื่อสารกับลูกค้าเราได้ ก็มีโอกาสที่จะเติบโต และเราก็ใช้วิธีลดต้นทุนจากมุมนักการเงินว่าจะเอาต้นทุนเหล่านี้ไปเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าอย่างไรดี ซึ่งมูลค่าที่เราคืนให้กับลูกค้าคือเราลงทุนกับประสบการณ์ลูกค้า ทั้งการออกแบบร้าน การเลือกกรอบแว่นที่มีวัสดุที่ดีและเลนส์คุณภาพ

“มูลค่าที่ว่าผมเปรียบเทียบเหมือนกับสถาปนิก คือต่อให้คุณมีดีไซเนอร์หรือสถาปนิกที่เก่ง แต่วัสดุไม่ได้คุณภาพ มันก็สร้างงานที่ดีไม่ได้ เราคิดว่าทุกอย่างมันเกื้อหนุนกัน ไม่ว่าจะเป็นกรอบแว่น เลนส์ บุคลากร หรือเทคโนโลยี ต่อให้เลนส์ดีแต่กรอบไม่ดีเลย ก็ไม่ได้ หรือเครื่องมือล้ำสมัยมากแต่คนวัดไม่เก่ง ก็อาจจะได้ค่าที่ไม่แม่นยำ นั่นทำให้ผมต้องคัดสรรทุกอย่างที่มีคุณภาพจริงๆ ให้กับลูกค้า”

 

เลนส์แว่นตาสายตา Nikon เลนส์แว่นตาสายตาที่ออกแบบเฉพาะบุคคล

 

เลนส์ที่ดีคือเลนส์ที่ออกแบบมาให้คุณมองโลกได้สบายตาอย่างสบายใจ
“เรามุ่งหวังว่าสิ่งที่เลือกคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า ดังนั้นเราจะเลือกเลนส์จากแล็บที่มีคุณภาพ ด้วยการอ่านงานวิจัยและลองสัมผัสกับบุคลากรของเขาว่าเป็นแบบไหน สิ่งที่สำคัญคือกาลเวลาพิสูจน์เลนส์ เพราะไม่ใช่เราคนเดียวที่จะบอกได้ว่าเลนส์ของแบรนด์ไหนดี แต่ลูกค้าที่ใช้บริการจริงๆ เขาจะเป็นคนรีวิวว่าเลนส์มีปัญหาหรือไม่ ฟีดแบ็กลูกค้าคือสิ่งที่ชัดเจนที่สุด

“ซึ่งเลนส์เดี๋ยวนี้มีเทคโนโลยีสำหรับออกแบบเลนส์แว่นตาเฉพาะบุคคลได้ เพราะแต่ละคนอาจจะเห็นภาพไม่เหมือนกัน เท่าที่ดูในตลาดตอนนี้มีเลนส์ของ Nikon ที่พิถีพิถันกับการออกแบบเลนส์สายตาเฉพาะบุคคล สะท้อนวัฒนธรรมแนวคิดและการใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายของคนญี่ปุ่น ที่มีความพิถีพิถันในทุกรายละเอียด กลายเป็นจุดเด่นของเลนส์แว่นตาสายตา Nikon ที่หันมาให้ความสำคัญกับความรู้สึกของผู้สวมใส่มากขึ้นว่าคนนี้ชอบภาพประมาณไหน เช่น ภาพคมชัด ภาพนุ่มนวล”

 

 

เมื่อศาสตร์และศิลป์กลายเป็นงานศิลปะที่เรียกว่า ‘แว่นตา’
“ผมว่ามันเป็นเรื่องของความใส่ใจ Nikon ไม่ได้ออกแบบเลนส์เพื่อให้คุณเห็นภาพที่ชัดเท่านั้น แต่คุณต้องรู้สึกสบายใจกับภาพที่เห็น ซึ่ง Nikon จะมีแอปฯ ที่สามารถวัดค่าความเซนสิทีฟแต่ละบุคคล เป็นการวัดตามกิจกรรม เช่น อ่านหนังสือ ขับรถ ดูทีวี เมื่อได้ค่าความเซนสิทีฟออกมา ก็จะส่งค่าที่ได้ไปที่ญี่ปุ่นเพื่อคำนวณโครงสร้างเลนส์ด้วย Nikon Optical Design Engine ลิขสิทธิ์ของ Nikon ก่อนส่งไปผลิตเพื่อให้ได้เลนส์แว่นสายตาเฉพาะบุคคล

“สำหรับผม เรื่องนี้สำคัญมาก พาร์ตเนอร์ที่ดีและมองเห็นสิ่งเดียวกันจะช่วยให้ภาพธุรกิจเราชัดขึ้นว่าแบรนด์เราต้องการจะไปทิศทางไหน และต้องการมอบสิ่งที่เหมาะสมที่สุดให้กับเขา Nikon กับ OCCURA เหมือนกันตรงที่เราไม่ได้เน้นโฆษณาจ๋า แต่เลือกให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและคุณภาพมากกว่า ถ้าให้เปรียบ Nikon เหมือนจิตรกรรมที่มีภาพในหัวและสามารถถ่ายทอดออกมาเป็นชิ้นงานที่มีคุณค่าต่อผู้อื่น OCCURA เองก็ทำธุรกิจด้วยการผสมผสานระหว่างความเชี่ยวชาญของช่าง กรอบแว่นที่เหมาะกับบุคลิกและเลนส์ที่เหมาะสม เพื่อออกแบบแว่นตาเฉพาะบุคคลให้เป็นแว่นที่คุณได้เห็นโลกในแบบที่คุณอยากเห็น”

 

OCCURA
Open: วันจันทร์ถึงอาทิตย์ เวลา 10.00-19.00 น.
Address: 100/74 อาคารว่องวานิชคอมเพล็กซ์ ชั้น 23 ถนนพระราม 9 กรุงเทพฯ
Contact: 0 2645 0192
Website: www.occuravision.com
Map:

 

 

 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X