×

เปิดแผน ‘ณุศาศิริ’ หลังทุ่ม 850 ล้านบาท ซื้อหุ้น ‘เด็มโก้’ 23.27% ขึ้นแท่นหุ้นใหญ่ เดินหน้าปรับกลยุทธ์กระจายพอร์ตกำไรสู่พลังงานทดแทนเพิ่ม

28.11.2022
  • LOADING...
ณุศาศิริ

บมจ.ณุศาศิริ ปรับกลยุทธ์ธุรกิจใช้เงินลงทุน 850 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้นบิ๊กล็อตของ บมจ.เด็มโก้ สัดส่วน 23.27% ขึ้นเป็นผู้ถือใหญ่อันดับ 1 รายใหม่ เพื่อรุกขยายธุรกิจพลังงานทดแทนเต็มที่ หลังต้นปีที่ผ่านประเดิมซื้อหุ้น บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ มาแล้ว สัดส่วน 8% ระบุเป็นการกระจายความเสี่ยง ลดการพึ่งพอร์ตธุรกิจอสังหา พร้อมเดินหน้าหาดีลใหม่ลงทุนต่อเนื่อง เน้นโครงการผลแทนดี หวังพลิกผลงานปีหน้ากลับมามีกำไร

 

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา บมจ.ณุศาศิริ หรือ NUSA ได้ทำรายการซื้อขายหุ้นขนาดใหญ่ (Big Lot) โดยเข้าซื้อหุ้นของ บมจ. เด็มโก้ (DEMCO) จำนวน 170 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 23.27% ของหุ้นทั้งหมดที่ ราคาหุ้นละ 5 บาท เป็นเงินลงทุนรวม 850 ล้านบาท ทำให้ NUSA จะมีสถานะขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ของ DEMCO ทันที


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


วิษณุ เทพเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ณุศาศิริ (NUSA) เปิดเผยกับ THE STANDARD WEALTH ว่า สาเหตุที่บริษัทตัดสินเจ้าลงทุนในครั้งนี้ เนื่องจากธุรกิจหลักของ DEMCO มีการลงทุนในธุรรกิจที่บริษัทมีความสนใจอยู่แล้วคือ ธุรกิจพลังงานทดแทนในกลุ่มพลังงานลม อีกทั้ง DEMCO ยังเป็นถือหุ้นใน บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) สัดส่วน 4% โดยก่อนหน้านี้ในช่วงต้นปี 2565 ที่ผ่านมา NUSA ได้เข้าไปลงทุนถือหุ้นใน บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด แล้ว สัดส่วน 8% โดยชำระค่าทำรายการด้วยการหุ้นเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (PP) ของ NUSA เพื่อนำไปแลกหุ้นกับหุ้นของ WEH

 

“นโยบายการลงซื้อหุ้น DEMCO คิดว่ายังคงถือไว้ที่สัดส่วนปัจจุบันไว้ก่อนเพื่อไม่ให้เข้าเกณฑ์ต้องไปทำเทนเดอร์หุ้น เพราะหากถือหุ้นเกิน 25 % ต้องทำเทนเดอร์”

 

ทั้งนี้ หลังจากบริษัทได้ลงทุน WEH เห็นโอกาสว่าการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนช่วยสร้างตอบแทนในรูปแบบกำไรและรายได้กลับมาในระดับที่ดี เพราะ WEH มีผลประกอบการที่มีกำไรสูงในระดับ 4-5 พันล้านบาทต่อปี จากธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว (PPA) ทำให้มีกำไรและรายได้ที่สม่ำเสมอในระยะยาว อีกทั้งการลงทุนซื้อ DEMCO ยังส่งผลดีทำให้บริษัทจะมีฐานะความเป็นเจ้าของและมีสัดส่วนการถือหุ้นของ WEH เพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

วิษณุกล่าวว่า ปีนี้ถือเป็นปีแรกที่บริษัทปรับกลยุทธ์ธุรกิจเข้าไปลงทุนธุรกิจใหม่ๆ คือธุรกิจพลังงานเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงจากธุรกิจเดิมที่มีอยู่ คือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการท่องเที่ยว ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2563-2564) ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดจนมีผลประกอบการที่ขาดทุน

 

“ปีนี้เป็นปีแรกที่ NUSA เริ่มลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน มี วินด์ เอนเนอร์ยี่ เป็นบริษัทแรก และมี DEMCO เป็นบริษัทที่สองซึ่งมีการลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ อีกทั้งยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้งงานก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่จะเข้ามาช่วยสร้าง Synergy ธุรกิจได้เพิ่มขึ้นในอนาคตด้วย

 

ขณะเดียวกัน ประเมินว่า หลังจากในปีนี้บริษัทจะเริ่มทยอยรับรู้กำไรบางส่วนการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน แต่ยังเป็นตัวเลขที่ยังไม่มาก ส่วนในปี 2566 จะเป็นปีแรกที่บริษัทรับรู้กำไรเต็มปีเป็นปีแรกจากธุรกิจพลังงานทดแทนจากการลงทุนใน บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด กับ บมจ.เด็มโก้ (DEMCO) ส่งผลให้ในปี 2566 จะมีสัดส่วนกำไรจากธุรกิจพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นมาขึ้นมาใกล้เคียงกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ประมาณ 30% โดยยังไม่นับรวมกับที่มีการขยายเพิ่มการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนใหม่ๆ เพิ่มเติมอีกในอนาคต โดยเปลี่ยนแปลงจากปีนี้อสังหาริมทรัพย์ยังเป็นธุรกิจที่ยังสร้างกำไรหลัก

 

นอกจากนี้ บริษัทยังวางเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนกำไรจากธุรกิจพลังงานทดแทนเพิ่มเป็น 35-40% ของกำไรในปีหน้า โดยมาจากการเติบโตของกำไรของ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด กับ DEMCO ที่มีการขยายการลงทุนในโครงการใหม่ๆ รวมถึง NUSA การขยายการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนใหม่ หรือเข้าลงทุนดีลในบริษัทด้านพลังงานทดแทนที่เน้นบริษัทที่มีผลประกอบการและผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงเพิ่มอีกด้วย

 

วิษณุกล่าวต่อว่า ใน 2565 คาดว่าบริษัทจะรายได้รวมเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 3 พันล้านบาท เติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด จากปีก่อนที่มีรายได้ 1.65 พันล้านบาท หลังธุรกิจเริ่มทยอยฟื้นตัวดีขึ้นซึ่งในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้บริษัทสามารถทำรายได้รวมแล้วอยู่ที่ 1.42 พันล้านบาท อีกทั้งปัจจุบันยังมียอดขายโครงการอสังหาริมทรัพย์รอโอน (Backlog) ที่มีมูลค่าราว 700-800 ล้านบาท จะทยอยโอนรับรู้เป็นรายทั้งหมดในช่วงปลายปีนี้และต้นปี 2566 และจะเริ่มรับรู้รายได้บางส่วนจากธุรกิจพลังงานทดแทน

 

อย่างไรก็ดี ยอมรับว่าผลประกอบการรวมของ NUSA ทั้งปี 2565 จะยังมีผลการขาดทุนอยู่เล็กน้อยเพราะธุรกิจอสังทรัพย์กับ Wellness กำลังอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบโควิด แต่ในธุรกิจการท่องเที่ยวคือ โครงการเลเจนด์ สยาม (Regend Siam) ธีมพาร์กเชิงวัฒนธรรม เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ยังไม่สามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้ปกติ ซึ่งดำเนินธุรกิจผ่านบริษัทย่อย บริษัท ณุศา เลเจนด์ สยาม 

 

ทั้งนี้ บริษัทได้มีการปรับแผนธุรกิจแบ่งขายหุ้น บริษัท ณุศา เลเจนด์ สยาม ออกไปในช่วงต้นปีนี้ให้กับพาร์ตเนอร์สัดส่วน 50% จากเดิมที่บริษัทถือหุ้นเองสัดส่วน 100% ส่งผลให้มีเงินกลับเข้ามาบางส่วนและรับรู้ผลการขาดทุนที่ลดลง

 

อีกทั้งบริษัทยังมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเริ่มลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน แต่เชื่อว่าธุรกิจพลังงานทดแทนจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ผลประกอบการโดยรวมในปี 2566 มีโอกาสจะเริ่มพลิกกลับมามีกำไร รวมทั้งจะช่วยให้รายได้รวมของบริษัทในปีหน้าจะเติบโตได้อีก 25-30% จากปีนี้ที่คาดว่าจะมีรายได้รวมที่ 3 พันล้านบาท 

 

ส่วนแผนการลงทุนธุรกิจหลัก ปัจจุบันคือการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ของปี 2566 เบื้องต้นมีแผนทยอยลงทุนพัฒนา 2 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 4 พันล้านบาท มีที่ตั้งอยู่ในโครงการ ณุศา มายโอโซน บนพื้นที่กว่า 1,200 ไร่ ที่เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยโครงการประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งบ้าน โรงแรม และรีสอร์ต รวมทั้งยังบริการด้านสุภาพกับศูนย์สถาบันสุขภาพพานาซี สปอร์ตคลับ

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising