×

‘ทีม Pacer นมเย็น’ กลุ่มนักวิ่งที่เชื่อว่า ‘วิ่งด้วยกัน วิ่งได้ไกล’ และร่วมกันสร้างให้ #ทุกหยดเหงื่อมีเรื่องเรา [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
15.05.2024
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

  • คุยกับ ‘ทีม Pacer นมเย็น’ กลุ่มนักวิ่งที่ขออาสาเป็น Pacer พานักวิ่งเข้าเส้นชัยตามระยะที่พวกเขารับผิดชอบ พร้อมสวมบทเป็นหน่วย Cheer Up ที่คอยเติมพลังใจและวิ่งเคียงข้างไปกับทุกคนในสนาม
  • ต่างเรื่องราว ต่างที่มา แต่การฝึกซ้อมร่วมกันเพื่อพิชิตเป้าหมายเดียวกัน ทำให้ทุกหยดเหงื่อของพวกเขาไม่ได้มีแค่เรื่องราว แต่ #ทุกหยดเหงื่อมีเรื่องเรา

นักวิ่งที่มีลูกโป่งผูกอยู่กับตัวในสนามมาราธอน คนในวงการเรียกพวกเขาว่า ‘Pacer’ เปรียบง่ายๆ ก็เหมือนกับนาฬิกาเคลื่อนที่ให้นักวิ่งรู้ว่าจะต้องวิ่งตามใครถ้าอยากเข้าเส้นชัยตามเวลานั้น หน้าที่หลักคือ พานักวิ่งเข้าเส้นชัยตามระยะที่พวกเขารับผิดชอบ ส่วนหน้าที่รองแต่สำคัญไม่น้อยกว่ากันคือ การสวมบทเป็นหน่วย Cheer Up ที่คอยเติมพลังใจและวิ่งเคียงข้างไปกับทุกคนในสนาม 

 

ถึง Pacer จะดูเหมือนมนุษย์ที่มีโหมดเติมพลังใจเต็มหลอด แต่พวกเขาก็เป็นเพียง ‘นักวิ่ง’ คนหนึ่งที่ต้องฝึกซ้อมอย่างหนัก ต้องส่ง ‘การบ้าน’ หรือที่ในวงการเปรียบเปรยว่าเหมือนสนามสอบย่อมๆ ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์ก็อาจไม่ได้เป็น Pacer ในสนามนั้น พอมีงานวิ่งสนามใหม่ก็ต้องส่ง ‘การบ้าน’ ใหม่ 

 

ทุกหยดเหงื่อของเหล่า Pacer จึงเต็มไปด้วยเรื่องราว บททดสอบ โดยมีมิตรภาพและพลังใจของคนในทีมที่คอยเติมให้กันและกัน กลายเป็นความเป็นประทับใจ ทุกหยดเหงื่อจึงไม่ได้มีแค่เรื่องราว แต่ #ทุกหยดเหงื่อมีเรื่องเรา

 

เรียงจากซ้ายไปขวา 

ปอ-ชนิกา สันติวัฒนธรรม / อ้อ-ภัทรา พงษ์การุณ / ขุม-สุขุม เกียรติอุ้มสม /
แพรวชมพู-ชมพูนุท แผ่รุ่งเรือง / อุ้ย-ณรงค์ ทมวิรัตน์ 

ถ้าเราวิ่งคนเดียวเราจะวิ่งได้ไม่นาน แต่ถ้าวิ่งกับเพื่อนเราจะวิ่งได้ไกลกว่าเดิม

ต่างเรื่องราว สู่เรื่อง (ระหว่าง) เรา

 

“วิ่งคนเดียวก็ได้ แต่วิ่งกับเพื่อนสนุกกว่า” อุ้ย-ณรงค์ ทมวิรัตน์ ผู้ก่อตั้ง ‘ทีม Pacer นมเย็น’ บอกว่า นี่เป็นเหตุผลที่หลายคนตัดสินใจมาเป็น Pacer 

 

อุ้ยเล่าว่า ‘ทีม Pacer นมเย็น’ รายล้อมไปด้วยกลุ่มคนหลากหลายอาชีพ สกิลการวิ่งต่างกัน พื้นฐานไม่เหมือนกัน แต่พอมาอยู่รวมกัน มีเป้าหมายเดียวกัน ก่อให้เกิดเป็นมิตรภาพและภาพของการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 

 

“เวลาได้ช่วยให้เพื่อนนักวิ่งเข้าเส้นชัยตามเวลาที่อยากได้ รู้สึกภูมิใจ เพราะเราเคยเป็นคนที่เกือบถอดใจ แต่ก็เข้าเส้นชัยได้เพราะมีคนเหล่านี้คอยให้กำลังใจและวิ่งเข้าเส้นชัยพร้อมกับเรา ทำให้ผมเข้าใจว่า ถ้าเราวิ่งคนเดียวเราจะวิ่งได้ไม่นาน แต่ถ้าวิ่งกับเพื่อนเราจะวิ่งได้ไกลกว่าเดิม” 

 

แพรวชมพู-ชมพูนุท แผ่รุ่งเรือง ก็เป็นคนหนึ่งที่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการวิ่งคนเดียวกับการมีเพื่อนวิ่ง “การวิ่งคนเดียวมันฝึกให้เราอยู่กับตัวเอง อยู่กับปัจจุบัน แต่การซ้อมวิ่งกับเพื่อน ข้อดีคือมันมีแรงบิลด์มากขึ้น ยิ่งถ้าสัญญาหรือนัดแล้ว ขี้เกียจขนาดไหนก็ต้องงัดตัวเองออกไปซ้อมให้ได้ ซึ่งแพรวว่าดีนะ เป็นไปไม่ได้หรอกที่เราจะมีวินัยกับตัวเองทุกวัน มันจะมีวันที่เหนื่อยจนอยากตามใจตัวเอง แต่เพื่อนๆ นี่แหละที่ทำให้เราไม่มีข้ออ้างในการออกมาซ้อมวิ่ง และทำให้การซ้อมวิ่งสำหรับแพรวสนุกขึ้น ได้แลกเปลี่ยนเรื่องราวในแต่ละวันที่ไปเจอมา กลายเป็นมิตรภาพที่ได้มากกว่าแค่การซ้อมวิ่งเพื่อพิชิตเป้าหมาย” 

 

สำหรับ ปอ-ชนิกา สันติวัฒนธรรม การวิ่งเป็นเครื่องมือท้าทายตัวเองให้ออกจากคอมฟอร์ตโซน “อุปสรรคในการวิ่งสำหรับปอคือใจเราเอง เราจะมีเหตุผลสารพัดในการบอกให้ตัวเองหยุด แต่พอวิ่งรวมกลุ่มกับเพื่อน เวลาที่เหนื่อย ท้อ อยากหยุด จะมีคนคอยให้กำลังใจตลอดเวลา เหมือนเป็นพลังที่คอยผลักดันให้เราไปได้ไกลขึ้น” 

 

 

เช่นเดียวกับ อ้อ-ภัทรา พงษ์การุณ เธอบอกว่าเป็นคนโลกส่วนตัวสูง แต่การมาวิ่งกับเพื่อนทำให้มุมมองหลายอย่างเปลี่ยนไป “ที่เห็นได้ชัดคือ เรายอมเปิดใจให้คนอื่นๆ เข้ามาในโลกของเรามากขึ้น พอได้เจอคนเยอะขึ้นก็พบว่าจริงๆ เราได้มิตรภาพจากการวิ่งเยอะมาก มันเป็นสังคมที่แวดล้อมไปด้วยคนที่มีเป้าหมายเดียวกัน ทุกคนอยากพัฒนาตัวเอง ทำให้เรามีความมุ่งมั่น แรงผลักดัน แรงบันดาลใจให้ทำตามเป้าหมายของตัวเอง” 

 

สำหรับ ขุม-สุขุม เกียรติอุ้มสม การซ้อมวิ่งคนเดียวไม่ใช่อุปสรรค แต่เริ่มท้อและหมดพลังเมื่อเพื่อนรอบตัวเริ่มถอนตัวจากวงการ “พอเหลือแค่เรา พลังใจมันเริ่มหมด จนวันหนึ่งได้มาวิ่งสนามศุภชลาศัย เริ่มเจอเพื่อนนักวิ่งใหม่ๆ และมาเจอพี่อุ้ย ได้คุยแลกเปลี่ยนเป้าหมาย เหมือนมีคนมาเติมพลังใจ ตอนนั้นแหละที่เข้าใจว่าการซ้อมวิ่งกับเพื่อนๆ มันดีกว่ามากๆ เพราะแต่ละคนพื้นฐานต่างกัน ความเร็วต่างกัน แต่ทุกคนมาแชร์เทคนิค แชร์ความรู้กัน กลายเป็นว่าช่วยให้เราพัฒนาการวิ่งได้เร็วขึ้น”

ก่อนหน้านี้คิดว่าก็แค่ซ้อมวิ่งตามโจทย์ก็พอ แต่เอาเข้าจริงมันไม่ใช่แค่เรา
แต่ต้องช่วยให้ทุกคนในทีมที่วิ่งระยะเดียวกันสำเร็จไปด้วยกัน

 

1 สนามซ้อม 100 เรื่องเรา

 

จะเป็น Pacer ได้ นอกจากร่างกายต้องฟิตเต็มร้อย จิตใจต้องเกินร้อยด้วย เพราะนั่นหมายถึงการซ้อมที่หนักขึ้น ความรับผิดชอบต่อตัวเอง เพื่อนร่วมทีม และเพื่อนนักวิ่งในสนามก็เพิ่มตามไปด้วย 

 

การซ้อมที่ว่าหนัก มันขนาดไหน? อุ้ยบอกว่า ขึ้นอยู่กับว่าเป็น Pacer สนามไหน และใจคุณพร้อมขนาดไหน “ถ้าซ้อมเป็น Pacer มาราธอน 42 กิโลเมตร ผมจะให้ซ้อมส่งการบ้าน 30 กิโลเมตร หรือถ้าดูเส้นทางแล้วค่อนข้างยาก อาจจะให้ส่งการบ้าน 30 กิโลเมตร 2 ครั้ง แปลว่าคุณต้องซ้อมหนักขึ้น” 

 

ขุมบอกว่า การซ้อมก่อนลงสนามจริงทำให้เขาได้เห็นเรื่องราวระหว่างทางมากมาย “ก่อนหน้านี้คิดว่าก็แค่ซ้อมวิ่งเฉยๆ วิ่งให้ได้ตามโจทย์ก็พอ แต่เอาเข้าจริงมันไม่ใช่แค่เรา แต่ต้องช่วยให้ทุกคนในทีมที่วิ่งระยะเดียวกันสำเร็จไปด้วยกัน กลายเป็นว่าทุกคนต้องช่วยกันวางแผนการซ้อม ต้องรับผิดชอบร่วมกัน เพิ่งเข้าใจว่าการวิ่งเพื่อคนอื่นมันคือความสุขเป็นแบบนี้ เราอยากช่วยให้ทุกคนที่วิ่งกับพวกเราเข้าเส้นชัย ชอบรอยยิ้มเวลาที่คนวิ่งเข้าเส้นชัย และรอยยิ้มของเพื่อนในทีมที่เขาสามารถพาทุกคนเข้าเส้นชัยได้ และเราก็มีความสุขที่ได้อยู่ในโมเมนต์นั้น” 

 

“ใครก็บอกว่าช่วงซ้อมโหดมาก แต่แพรวชอบนะ” แพรวบอกว่า เวลาที่ได้มาซ้อมวิ่งเพื่อเตรียมตัวเป็น Pacer เหมือนได้ทำภารกิจพร้อมกับเพื่อน “ในตารางเวลาจะรู้ว่าระยะที่เราลงมีใครต้องซ้อมกับเราบ้าง มันเป็นแรงผลักดันให้เราต้องมีวินัยในการมาซ้อมมากขึ้น เพราะมันไม่ใช่การวิ่งเพื่อตัวเองแล้ว แต่เป็นการวิ่งเพื่อคนอื่น วิ่งเพื่อทีม วิ่งเพื่อนักวิ่งในสนามที่เราจะต้องดูแลพวกเขา จะรู้สึกภูมิใจทุกครั้งที่ได้นำนักวิ่งเข้าเส้นชัยไปพร้อมกับเวลาที่เขาอยากได้” 

 

 

ปอบอกว่า ก่อนจะมาเป็น Pacer คิดว่าใครก็เป็นได้ แค่วิ่งให้ได้ตามเวลา แต่เอาเข้าจริงไม่ง่าย “ความท้าทายคือ เราไม่ได้ซ้อมเพื่อตัวเองเท่านั้น มันเป็นเรื่องของเพื่อนร่วมทีม ถ้าเกิดเราไม่พร้อมแล้วไปบาดเจ็บในสนาม กลายเป็นเราไปเพิ่มภาระให้กับเพื่อนอีก ปอเลยให้ความสำคัญกับการซ้อมกับเพื่อนมากๆ ตอนวิ่งคนเดียวเราจะเร่งจะผ่อนตรงไหนก็ได้ แต่พอมีเพื่อนวิ่งมันต้องรักษาระยะและความเร็วไปพร้อมกัน ถึงตอนซ้อมจะกดดัน แต่ทุกครั้งที่ผ่านมันมาได้ เพราะมีคนคอยเชียร์ มีเพื่อนซ้อมอย่างไรก็สนุกกว่าซ้อมคนเดียว”

บางทีเราไม่รู้เลยว่าคำพูดไม่กี่คำ เช่น อีกนิด สู้ๆ นะ
มันทำให้เขาสามารถฮึดสู้และทำมันสำเร็จ

ในขณะที่อ้อมองว่า Pacer เป็นเหมือนนาฬิกาที่มีชีวิต “คนที่วิ่งตามเรามั่นใจได้เลยว่าเราจะพานักวิ่งไปถึงเป้าหมายของเขา และเป็นนาฬิกาที่มีชีวิตให้กับเพื่อนในทีมด้วย เชื่อว่าทุกคนที่มาเป็น Pacer เรามีเป้าหมายเดียวกันคือ พานักวิ่งเข้าเส้นชัย ไม่มีใครสามารถทำงานนี้คนเดียวให้สำเร็จได้ ต้องซ้อมด้วยกัน เหนื่อยด้วยกัน และทำงานนี้ให้สำเร็จด้วยกัน มันถึงจะเป็นความสำเร็จที่แท้จริงในฐานะ Pacer” 

 

แพรวเล่าเสริมว่า “นักวิ่งด้วยกันจะดูออกว่าใครบาดเจ็บ ใครไม่ไหว ทุกคนจะให้กำลังใจกันทันที ตอนซ้อมมันมีวันที่ทำได้ดีและทำได้ไม่ดี มันอดไม่ได้ที่จะเฟลกับตัวเอง แต่ได้เพื่อนๆ มาคอยให้กำลังใจ บอกว่าพรุ่งนี้เอาใหม่ แพรวว่าสังคมที่เราอยู่เป็นสังคมของการให้กำลังใจ ความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดา” 

เริ่มต้นด้วยกัน ต้องจบด้วยกัน มันเป็นอะไรที่ประทับใจมากๆ
ว่ายังมีคนที่วิ่งข้างๆ เรา สู้ไปกับเรา

 

ทุกหยดเหงื่อมีเรื่อง (ระหว่าง) เรา

 

แพรว: อยากขอบคุณพี่อุ้ยที่ทำให้แพรวเข้าใจว่า การมีใครสักคนที่วิ่งไปกับเรา ซ้อมด้วยกัน ทำกิจกรรมด้วยกัน ทำให้แรงจูงใจในการวิ่งดีขึ้น จากคนรู้จักทางโซเชียล วันนี้เหมือนเราได้พี่ชายเพิ่มมาอีกคน ที่รู้ว่าเขาจะคอยให้กำลังใจทั้งเรื่องวิ่งและเรื่องอื่นๆ 

 

ขุม: พี่ปออาจไม่รู้ว่ามีอยู่วันหนึ่ง พี่ทำให้ผมสามารถซ้อมจนจบ คือปกติผมกับพี่ปอจะซ้อมกันคนละความเร็ว วันนั้นร่างกายไม่พร้อม วิ่งอยู่ต้องหยุดอาเจียนข้างสนาม เขาก็หยุดวิ่งแล้วรีบเข้ามาดูผมทันทีว่าไหวไหม คือมันดูเป็นเรื่องเล็กน้อยนะ แต่สำหรับผมมันรู้สึกว่าในทุกเวลาที่อยู่ในสนามจะมีคนที่พร้อมจะช่วยเหลือเราเสมอ 

 

อ้อ: ถึงเราจะนัดรวมตัวซ้อมกันสัปดาห์ละครั้ง แต่ก็ติดตามความเคลื่อนไหวในโซเชียลตลอด บางทีเราเห็นเพื่อนตั้งใจซ้อม มันส่งพลังมาถึงเรานะ อย่างตอนที่น้องแพรวไปวิ่ง ‘Chicago Marathon’ เราส่งกำลังใจเชียร์เขาตลอด อ่านทุกโพสต์ เห็นความมุ่งมั่นของเขา แม้เราจะไม่ได้อยู่ในสนามกับเขา แต่ก็อยากส่งกำลังใจให้เขาเสมอ เพราะอยากให้เขาทำได้ตามเป้าหมาย 

 

อุ้ย: มีอยู่งานหนึ่งวิ่งกับอ้อ ช่วงนั้นผมไม่ฟิต อ้อวิ่งเร็วกว่า แต่เขาลดสปีดเพื่อมาวิ่งกับผม บอกให้ไปก่อนก็ไม่ไป ก็วิ่งคู่กับผมจนจบ ถ้าไม่มีเขา ผมน่าจะหยุดวิ่งไปแล้ว 

 

ปอ: ประทับใจอ้อตอนไปวิ่งระยะ 42 กิโลเมตร วันนั้นบาดเจ็บ เหลืออีก 10 กิโลเมตรจะเข้าเส้นชัย รู้เลยว่าไม่ไหว แล้วใกล้เวลา Cut off แล้ว เขาบอกว่า ไม่เป็นไร ไม่ทันก็ไม่ทันด้วยกัน คอนเซปต์เขาคือ เริ่มต้นด้วยกัน ต้องจบด้วยกัน มันเป็นอะไรที่ประทับใจมากๆ ว่ายังมีคนที่วิ่งข้างๆ เรา สู้ไปกับเรา 

 

นี่เป็นเพียงเรื่องราวส่วนหนึ่งของทีม Pacer นมเย็น ที่พวกเขาอยากเล่าให้เราฟัง ยังมีเรื่องราวและ ‘เรื่องเรา’ อีกมากที่เกิดขึ้นระหว่างวิ่ง ไม่ว่าจะในสนามซ้อมหรือตอนลงสนามจริง 

 

แล้วคุณล่ะ? มีเรื่องราวและเรื่องเราอะไรที่นึกถึงเมื่อไรก็ประทับใจไม่รู้ลืมบ้าง แต่ถ้ายังไม่มีหรือนึกไม่ออก เรียกรวมพลเพื่อนรู้ใจไปออกกำลังกายเรียกเหงื่อเพื่อสร้าง

 

#ทุกหยดเหงื่อมีเรื่องเรา ด้วยกัน 

FYI
  • Sweat Unites Us: ทุกหยดเหงื่อมีเรื่องเรา’ คือแคมเปญล่าสุดของ ‘เกเตอเรด’ แบรนด์เครื่องดื่มเกลือแร่ที่เชื่อว่า การได้ไปออกกำลังกายเสียเหงื่อร่วมกันกับเพื่อน ไม่ว่าจะซ้อมหนักด้วยกันหรือสนุกไปด้วยกัน จะเติมเต็มให้ช่วงเวลาดีๆ ระหว่างเพื่อนมีความหมาย และเรื่องราวที่น่าจดจำยิ่งขึ้น ไม่ใช่แค่ร่างกายที่แข็งแรง แต่มิตรภาพความสัมพันธ์ก็แข็งแกร่งไม่แพ้กัน
  • และทุกครั้งที่ออกไปเสียเหงื่อ ร่างกายเราไม่ได้เสียแค่น้ำ แต่ยังเสียเกลือแร่ด้วย ดังนั้นจึงควรเติมกลับด้วยเครื่องดื่มเกลือแร่อย่าง ‘เกเตอเรด’ ที่มี ‘TRI-ACTIVE’ ช่วยคืนความสดชื่น คืนเกลือแร่ที่เสียไปด้วย Electrolytes และคืนพลังงานด้วยน้ำตาล 6% ซึ่งเป็นระดับที่พอเหมาะที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ทันที ให้ร่างกายพร้อมลุยต่อ
  • เกเตอเรด ถือว่าเป็นแบรนด์เครื่องดื่มเกลือแร่ที่นักกีฬาชื่อดังแนวหน้าของโลกให้การยอมรับ ผ่านการวิจัยและพัฒนาโดยสถาบัน GSSI หรือ Gatorade Sports Science Institute สหรัฐอเมริกา ที่รวมสุดยอดผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการอาหารและวิทยาศาสตร์การกีฬา การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1 ของโลก 
  • ดูข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/GatoradeThailand/  
  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X