ด้วยความผันผวนสูงของตลาดหุ้นทั่วโลก การเพิ่ม Derivative Warrants หรือ DW เข้าไปในพอร์ต ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่นักลงทุนสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงได้
นอกจากจะเป็นเครื่องมือทางการเงินที่เปิดโอกาสการลงทุนในตลาดหุ้นทั้งไทยและต่างประเทศ ด้วยจำนวนเงินลงทุนที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการซื้อหุ้นรายตัว ทศพล เกิดผล ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจตราสารอนุพันธ์ บริษัทหลักทรัพย์ เจพีมอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด มองว่า DW เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในวันที่ตลาดหุ้นผันผวน เพราะ DW สามารถเปิดโอกาสการลงทุนได้ในทุกสภาวะตลาด และที่สำคัญ DW จำกัดผลขาดทุนเท่ากับเงินลงทุนเริ่มต้น และไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับข้อกำหนดในการวางหลักประกัน
“เมื่อพูดถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนเมื่อราคาหลักทรัพย์อ้างอิงลดลง ในเมืองไทยยังมีตัวเลือกค่อนข้างน้อย หากเปรียบเทียบกันระหว่าง DW (ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์) และ Futures (สัญญาซื้อ-ขายล่วงหน้า) จะพบว่า Futures มีโอกาสขาดทุนมากกว่าเงินลงทุนเริ่มต้น ในขณะที่ DW จะจำกัดผลขาดทุนเท่ากับเงินลงทุนเริ่มต้น และ DW ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดการพอร์ตการลงทุนในช่วงที่ตลาดผันผวนได้ทั้งตลาดขาขึ้นและขาลง ซึ่งถือเป็นการปิด Gap ที่สำคัญ สุดท้ายคือเรื่องการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ นักลงทุนที่มีบัญชีซื้อ-ขายหลักทรัพย์ในประเทศอยู่แล้วสามารถลงทุนได้ทันทีโดยไม่ต้องเปิดบัญชีใหม่”
ส่วนด้านของโอกาสในการกระจายการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ ทศพลกล่าวว่า “ก่อนหน้านี้ DW ในประเทศไทยมีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นไทยและดัชนีหุ้นไทย ก่อนที่กฎระเบียบต่างๆ จะมีพัฒนาการที่เอื้อต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ DW ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ และเป็นจังหวะเดียวกับที่ J.P. Morgan เริ่มเข้ามาเป็นผู้ออกผลิตภัณฑ์ DW ในไทย”
ก่อนที่ J.P. Morgan จะเปิดตัวธุรกิจใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หรือ DW ในประเทศไทยเมื่อปี 2561 ธุรกิจใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ของ J.P. Morgan ในตลาดฮ่องกงครองส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ติดต่อกันเป็นเวลา 11 ปี โดยพิจารณาจากปริมาณการซื้อ-ขาย และหากพิจารณาจากมูลค่าการซื้อ-ขายสะสมของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ฮ่องกงถือเป็นตลาด DW ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
มูลค่าตลาด DW ในเมืองไทยจัดว่าอยู่ในอันดับต้นๆ ในโลก ประกอบกับกฎระเบียบและความสนใจของนักลงทุนที่เอื้อให้ตลาด DW ของไทยมีศักยภาพในการเติบโตสูง ทำให้ J.P. Morgan ตัดสินใจเปิดธุรกิจผลิตภัณฑ์นี้ในเมืองไทย
ในช่วง 7 ปีนับจากการเปิดตัวธุรกิจ J.P. Morgan ได้จดทะเบียน DW มากกว่า 3,000 หลักทรัพย์ โดยวาง Position เป็นผู้นำในการออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์อ้างอิงหลักทรัพย์ต่างประเทศในประเทศไทย โดยปัจจุบัน J.P. Morgan เป็นผู้ออก DW ที่มีตลาดหลักทรัพย์อ้างอิงครอบคลุมมากที่สุด ได้แก่ ตลาดหุ้นไทย ฮ่องกง สหรัฐฯ และล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2567 คือ ‘NIKKEI 41’ อ้างอิงดัชนี NIKKEI 225 จากตลาดหุ้นญี่ปุ่นรายแรกของไทย
ทศพลเผยว่า J.P. Morgan วางกลยุทธ์ในตลาด DW ด้วยการเพิ่มทางเลือกให้กับนักลงทุนไทยด้วยความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ จนทำให้ J.P. Morgan ได้ชื่อว่าเป็นผู้ออก DW ในไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงครอบคลุมตลาดมากที่สุด
“จุดเด่นของ J.P. Morgan DW41 คือความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบโจทย์นักลงทุนที่มีระดับในการยอมรับความเสี่ยงที่ต่างกัน และรองรับสภาวะตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา”
Pain Point ของ DW ที่นักลงทุนมองเป็นปัจจัยเสี่ยงคือเรื่อง ‘ระยะเวลาถือครอง’ โดยทั่วไป DW จะมีอายุประมาณ 4-6 เดือน อายุยิ่งสั้นความเสี่ยงยิ่งสูง J.P. Morgan ตระหนักถึงประเด็นดังกล่าว จึงมีการนำเสนอ DW รุ่นอายุยาว 2 ปีที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ DW ที่มีอายุสั้น
“การลงทุนใน DW รุ่นอายุ 2 ปี ทำให้นักลงทุนสามารถเทรดได้บนความเสี่ยงที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ DW อายุสั้น โดยอาศัยคุณสมบัติของระยะเวลาครบกำหนดอายุที่ยาวกว่าปกติ เพื่อลดปัญหาค่าเสื่อมทางเวลา (Time Decay) อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนโดยตรงในหุ้น
“ในตลาดปัจจุบัน DW รุ่นอายุสั้น (ราว 2-6 เดือน) มีอัตราทด หรือ Effective Gearing ประมาณ 7-8 เท่าสำหรับหลักทรัพย์อ้างอิงที่เป็นหุ้น และสูงถึง 10-20 เท่ากรณีเป็นดัชนี ซึ่งหมายความว่า หากหลักทรัพย์อ้างอิงเคลื่อนไหว 1% ใน 1 วัน DW อาจมีราคาที่เปลี่ยนแปลงสูงถึง 7-20% ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ DW รุ่นอายุ 2 ปีมีความเสี่ยงต่ำกว่าด้วย Effective Gearing เพียง 2-4 เท่า”
รู้จัก ‘NIKKEI 41 DW’ ตัวล่าสุด อ้างอิงดัชนี NIKKEI 225 ตัวแรกของไทย
เพื่อตอบโจทย์ความต้องการอันหลากหลายของนักลงทุน และเปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถมีส่วนร่วมกับการเคลื่อนไหวของดัชนีหลักทรัพย์ญี่ปุ่น บริษัทหลักทรัพย์ เจพีมอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด จึงเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่อ้างอิงดัชนี NIKKEI 225 โดยจดทะเบียนซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วยชื่อที่ขึ้นต้นด้วย ‘NIKKEI 41’ เริ่มการซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 14 มิถุนายนที่ผ่านมา
ดัชนี NIKKEI 225 เป็นดัชนีที่สะท้อนการเคลื่อนไหวราคาหุ้นของบริษัทชั้นนำในญี่ปุ่นจำนวน 225 บริษัทที่จดทะเบียนอยู่ใน Tokyo Stock Exchange (TSE) โดยมีสัดส่วนของหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีประกอบอยู่ประมาณ 50% ของดัชนี
ทศพลยังกล่าวถึงปัจจัยหลักที่ J.P. Morgan พิจารณาเสนอขาย DW อ้างอิงดัชนีหุ้น NIKKEI 225 ว่า หากพิจารณาข้อมูลย้อนหลังของยอดคงค้างเงินลงทุนในต่างประเทศจากธนาคารแห่งประเทศไทยจะพบว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในจุดหมายการลงทุนที่สำคัญของนักลงทุนไทย อีกทั้งการที่ดัชนีหุ้นญี่ปุ่น Rebound กลับมาหลังจากลดลงลึกมานานกว่า 35 ปี ส่งผลให้ดัชนี NIKKEI 225 ทำระดับ All Time High ต่อเนื่อง และเพิ่งแตะ 41,000 จุดเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
อีกแง่มุมหนึ่งคือ หุ้นที่อยู่ใน NIKKEI 225 เป็นแบรนด์ที่คนไทยรู้จักดี เช่น UNIQLO, Toyota, Sony, Nintendo นอกจากนี้ความหลากหลายของอุตสาหกรรมยังทำให้ผู้ลงทุนในไทยเข้าถึงกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ๆ อันเป็นการช่วยให้สามารถกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนั้นตัวอย่างหนึ่งของเหตุการณ์ที่นักลงทุนสามารถใช้ประโยชน์จาก DW ได้ก็คือ เหตุการณ์ Black Monday เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2567 ที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเคลื่อนไหวผันผวนอย่างมาก ทศพลมองการเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นโอกาสที่นักลงทุนสามารถใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ DW ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
เนื่องจาก DW อ้างอิงดัชนี NIKKEI 225 จะเปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถลงทุนในผลิตภัณฑ์ 2 ประเภท ได้แก่ Call DW (NIKKEI 41C) ที่จะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับหลักทรัพย์อ้างอิง และมีอัตราทด หรือ Effective Gearing ที่ส่งผลให้สามารถลงทุนด้วยมูลค่าเงินที่น้อยลงผ่าน DW แต่ยังคงมี Exposure เทียบเท่าการลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์อ้างอิง
และผลิตภัณฑ์อีกประเภทคือ Put DW (NIKKEI 41P) ซึ่งมีราคาที่เคลื่อนไหวสวนทางกับราคาของหลักทรัพย์อ้างอิง จึงสามารถใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงในตลาดขาลงเมื่อถือควบคู่กับหลักทรัพย์อ้างอิง เปรียบเสมือนการครอบครอง ‘กรมธรรม์ประกัน’ นอกจากนี้ Put DW ยังสามารถเปิดโอกาสการลงทุนในสภาวะตลาดขาลงได้อีกด้วย
“หลักทรัพย์ที่เสนอขายทั้งสองประเภทนี้มีอัตราทดประมาณ 5-20 เท่า และช่วงราคาใช้สิทธิ์อยู่ระหว่างระดับดัชนี 29,000-45,000 จุด” ทศพลกล่าว
ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง แล้วข้อมูลใดที่ผู้ลงทุนควรศึกษาก่อนตัดสินใจลงทุนใน DW
สำหรับตลาดญี่ปุ่น ทศพลกล่าวว่า ปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนผลักดันตลาดหุ้นญี่ปุ่นคือ ความผันผวนของค่าเงินเยน เมื่อไรก็ตามที่ค่าเงินเยนถูกมองว่ามีความผันผวน ไม่ว่าจะแข็งค่าหรืออ่อนค่าอย่างรวดเร็ว จะสะท้อนให้เห็นในดัชนี NIKKEI 225 ดังนั้นการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนจึงเป็นข้อมูลที่สำคัญประการหนึ่งที่ต้องพิจารณาในการลงทุน
ในส่วนของข้อมูลที่ควรศึกษาก่อนลงทุนใน DW ทศพลกล่าวว่า สิ่งที่สำคัญคือการทำความคุ้นเคยกับระดับดัชนีต่างๆ ที่จะลงทุน
“ต้องมีความคุ้นเคยก่อนว่าระดับของแต่ละดัชนีแตกต่างกันอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น ดัชนี SET อยู่ที่ระดับ 1,300-1,400 จุด หากดัชนีมีการเคลื่อนไหว 10 จุดในวันใด ถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่มีนัยสำคัญ แต่สำหรับดัชนี NIKKEI 225 ที่มีระดับความผันผวนในช่วง 35,000-45,000 จุด การขยับ 50 จุดต่อวัน ถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมากของดัชนี
“อีกปัจจัยหนึ่งที่ควรศึกษาก่อนการลงทุนคือ องค์ประกอบพื้นฐานของดัชนีว่าประกอบไปด้วยหุ้นใดบ้าง ตัวอย่างเช่น ดัชนี NIKKEI 225 แม้ว่ามีหุ้นบริษัท Fast Retailing ที่เป็นหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุด แต่องค์ประกอบของดัชนีมากกว่า 50% เป็นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ข้อสังเกตหนึ่งคือ การเคลื่อนไหวของดัชนี NIKKEI 225 มีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นสหรัฐฯ ที่ค่อนข้างสูง หากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวแรง ตลาดหุ้นญี่ปุ่นอาจมีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน
“ปัจจัยสุดท้ายที่ควรพิจารณาคือ การเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปัจจุบันนี้มีหลากหลายรุ่น นักลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับตลาด DW และข้อแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นของ DW41 ทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ https://jpmorgandw41.com และ LINE Official Account @DW41 ซึ่งมีตารางราคาและเครื่องมือต่างๆ ที่นักลงทุนสามารถใช้เพื่อช่วยวิเคราะห์การลงทุน และข้อมูลข่าวสารตลาดหลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึง Live Session ของเหตุการณ์ที่สำคัญของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเป็นข้อมูลให้นักลงทุนในการศึกษาและพิจารณาวางแผนการลงทุนใน DW” ทศพลกล่าวเสริม
เริ่มต้นลงทุนใน DW อย่างไร
ตามที่ทศพลได้กล่าวไว้ สำหรับนักลงทุนที่มีบัญชีซื้อ-ขายหลักทรัพย์ในประเทศอยู่แล้ว สามารถเริ่มต้นลงทุนได้โดยไม่ต้องเปิดบัญชีเพิ่มเติม
“สิ่งสำคัญคือ ต้องพิจารณาหลักทรัพย์ที่นักลงทุนคุ้นเคย หุ้นที่สนใจมีลักษณะแบบใด เหมาะกับสไตล์การลงทุนของตนหรือไม่ รวมถึงการอ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมหรือปรึกษากับที่ปรึกษาการลงทุน”
สำหรับนักลงทุนที่สนใจการลงทุนใน DW ควรพิจารณาบริษัทผู้ออก DW ที่มีความน่าเชื่อถือและมีสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ เจพีมอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด มีผู้ค้ำประกันการเสนอขาย DW คือ ธนาคาร J.P. Morgan Chase N.A. ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชั้นนำจากสหรัฐอเมริกาที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการความเสี่ยง นักลงทุนจึงมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ DW ที่ออกโดย J.P. Morgan มีความปลอดภัยไม่ว่าสภาวะตลาดโลกจะเป็นอย่างไร
“เรานำองค์ความรู้จากตลาดฮ่องกงมาใช้ในประเทศไทย เพื่อทำให้ประสบการณ์การเทรดสะดวกและโปร่งใส ขณะเดียวกันการที่เรามี Ecosystem ของผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมตลาดที่หลากหลาย และมีกิจกรรมที่ให้ความรู้เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจพื้นฐาน DW จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน” ทศพลกล่าวสรุป
ศึกษารายละเอียดผลิตภัณฑ์ DW อ้างอิงดัชนี NIKKEI 225 ได้ที่เว็บไซต์ https://jpmorgandw41.com/nikkei หรือโทรสายด่วน DW41 ที่ 0 2684 2999 สามารถซื้อ-ขายได้ในช่วงเวลาที่มีการดูแลสภาพคล่อง (ตามเวลาประเทศไทย) คือเวลา 10.00-13.15 น. และเวลา 14.30-16.30 น.
- นักลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
- เครื่องหมายการค้าและดัชนีต่างๆ ที่ระบุไว้ในเอกสารนี้เป็นทรัพย์สินของผู้ที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าและดัชนีนั้นๆ โดยใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์มิได้ออกโดยหรือได้รับการสนับสนุน การอนุมัติ จำหน่าย หรือประชาสัมพันธ์โดยผู้รวบรวมดัชนีใดๆ หรือบริษัทในเครือของผู้รวบรวมดัชนี
- Nikkei Inc. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าต่างๆ ใน Nikkei Stock Average (NIKKEI 225) แต่เพียงผู้เดียว โดย Nikkei Inc. มิได้เป็นผู้สนับสนุนการออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ และมิได้มีความรับผิดหรือความรับผิดชอบใดๆ ในการจัดการและธุรกรรมต่างๆ เกี่ยวกับใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
- Nikkei Inc. is the sole exclusive owner of the copyright and other intellectual property rights in the Nikkei Stock Average (NIKKEI 225). Nikkei Inc. does not sponsor the Derivative Warrants and shall assume no obligation or responsibility for management and transactions of the Derivative Warrants.
อ่าน Disclaimer การลงทุนฉบับเต็มได้ที่: https://jpmorgandw41.com/nikkei