เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ที่ชอบแชตและเล่นโซเชียลมีเดียเป็นประจำน่าจะเคยใช้อีโมจิ (Emoji) มาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่คนไทยจำนวนไม่น้อยยังไม่รู้จักสติกเกอร์ไลน์
และหากนับตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา ทุกๆ วันที่ 17 กรกฎาคมบนหน้าปฏิทินได้ถูกจัดให้กลายเป็น ‘วันอีโมจิโลก’ (Emoji) อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อเฉลิมฉลองและสนับสนุนให้ผู้คนทั่วโลกหันมาใช้อีโมจิกันมากขึ้น
เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเฉลิมฉลองวันอีโมจิ โซเชียลมีเดียยอดนิยมอย่างเฟซบุ๊กได้เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้อีโมจิรูปลักษณ์ต่างๆ บนแพลตฟอร์มของพวกเขาและพบว่า ในทุกๆ วันจะมีผู้ใช้งานอีโมจิทั่วโลกเฉลี่ยวันละ 60 ล้านตัวบนเฟซบุ๊ก ขณะที่ในเฟซบุ๊ก เมสเซนเจอร์ มีการใช้อีโมจิเฉลี่ยวันละ 5 พันล้านตัว
สำหรับอีโมจิ 10 อันดับที่ได้รับความนิยมใช้บนเฟซบุ๊กมากที่สุดอันดับแรกได้แก่
- อีโมจิหน้าหัวเราะทั้งน้ำตา ?
- อีโมจิหน้ายิ้มและดวงตาหัวใจ ?
- อีโมจิปากจุ๊บหัวใจ ?
- อีโมจิหัวเราะทั้งน้ำตา (ตาชนกัน ><) ?
- อีโมจิหน้ายิ้มดวงตากลม ?
- อีโมจิรูปหัวใจ ❤️
- อีโมจิรูปขยิบตา ?
- อีโมจิหน้าเขินแก้มแดง ?
- อีโมจิหน้าร้องไห้โฮ ?
- อีโมจิหน้ายิ้มตายิ้ม ?
นอกจากนี้เฟซบุ๊กยังได้เปิดเผยอีโมจิที่ผู้ใช้งานในแต่ละประเทศนิยมใช้มากที่สุดโดยพบว่า
- ในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรนิยมใช้นิยมใช้อีโมจิหน้าหัวเราะทั้งน้ำตา ? มากที่สุด
- อิตาลีและสเปนนิยมใช้อีโมจิปากจุ๊บหัวใจ ?
- บราซิลและเม็กซิโกนิยมใช้อีโมจิหน้ายิ้มและดวงตาหัวใจ ?
- เยอรมันนิยมใช้อีโมจิหน้ายิ้มดวงตากลม ?
- ฝรั่งเศสนิยมใช้อีโมจิรูปขยิบตา ?
- อินโดนีเซียชอบใช้อีโมจิหัวเราะทั้งน้ำตา ?
- ส่วนประเทศไทยนิยมใช้อีโมจิหน้ายิ้มตายิ้ม ? มากที่สุด
‘อีโมจิ’ หนึ่งในวัฒนธรรมป๊อปยอดนิยม
นับตั้งแต่ที่อีโมจิ สัญลักษณ์สื่ออารมณ์ในภาษายูนิโค้ดชุดแรกเริ่มใช้มาตั้งแต่ประมาณปี 1998 (ข้อมูลมีความคลาดเคลื่อนระหว่าง 1998 และ 1999) มันก็กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือการสื่อสารที่ใช้อย่างเเพร่หลายมาทั่วทุกมุมโลก
อีโมจิคือผลงานในการสร้างสรรค์ของชิเกทากะ คุริตะ (Shigetaka Kurita) อดีตพนักงานบริษัทผู้ให้บริการสัญญาณมือถือในญี่ปุ่น NTT DoCoMo โดยเขาได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างอีโมจิมาจากสัญลักษณ์พยาการณ์อากาศ, ตัวอักษรภาษาจีน, สัญลักษณ์บนท้องถนน และมังงะที่มักจะใช้สัญลักษณ์ต่างๆ แทนคำพูดของตัวละคร เช่น หลอดไฟที่สื่อแทนความรู้สึกว่าตัวละครปิ๊งไอเดียหรือคิดอะไรสักอย่างออก
หากนับจนถึงปัจจุบันหรือประมาณ 19 ปีนับตั้งแต่มีอีโมจิ พวกมันมีให้เลือกใช้งานมากกว่า 1,144 ตัว และถูกพัฒนามาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ทั้งในด้านลักษณะของตัวกราฟิก, แพลตฟอร์มที่ใช้อย่างเเพร่หลาย, จำนวนอีโมจิที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอดและอิงกับสถานการณ์ร้อนในบางครั้ง
เช่น กอริลลา ที่เชื่อว่าได้รับแรงบันดาลใจจาก Harambe หรืออีโมจิชายหญิงเพนต์หน้าสายฟ้าฟาดคล้ายเดวิด โบวี ในอัลบั้มชุดที่ 6 Aladdin Sane (1973) ในช่วงที่ศิลปินระดับตำนานผู้ล่วงลับเพิ่งจากไปได้ไม่นาน รวมถึงอีโมจิที่มีสีผิวหลากหลาย และมีความหลากหลายทางเพศ
เร็วๆ นี้ยังมีการเรียกร้องให้นักพัฒนาเพิ่มอีโมจิตัวใหม่ๆ เข้าไปมากมาย ทั้งอีโมจิที่สื่อถึงครอบครัวที่มีความหลากหลายทางสีผิวและเพศ, อีโมจิหัวล้าน, อีโมจิผมหยักศก, อีโมจิรวบนิ้วมือเข้าด้วยกันแล้วหงายขึ้น หรืออีโมจิหน้ายิ้มตายิ้มเห็นฟัน เป็นต้น
ความจริงจังของอีโมจิในโลกมนุษย์
ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ใช้อีโมจิกันจริงจังแค่ไหนคงไม่ต้องถาม เพราะถึงขนาดมีเว็บไซต์สารานุกรมของเจ้าอีโมจิโดยตรง emojipedia.org และเว็บไซต์แปลความหมายอีโมจิ emojitranslate.com มาแล้ว
และนอกจากจะถูกใช้ผ่านการแชตในโซเชียลมีเดียและชีวิตประจำวัน มันยังถูกใช้ในสื่อโฆษณาอย่างเเพร่หลายอีกด้วย เช่นครั้งหนึ่งที่ Domino’s Pizza ออกแคมเปญ ‘EMOJI ORDERING’ ให้ผู้ใช้งานได้สั่งพิซซ่าผ่านอีโมจิรูปพิซซ่าบนทวิตเตอร์ โดยแคมเปญดังกล่าวก็ประสบความสำเร็จด้วยการคว้ารางวัล Titanium & Integrated ในเทศกาล Cannes Lions ปี 2015
หรือเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจีนก็เพิ่งออกกฎเข้มห้ามผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียในประเทศใช้อีโมจิรูปเทียนหรืออีโมจิใดๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ในเชิงไว้อาลัยต่อการจากไปของ หลิวเสี่ยวโป นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวจีนและเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
ขณะที่ในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ก็กำลังจะมีภาพยนตร์แอนิเมชันที่ใช้อีโมจิเป็นตัวดำเนินเรื่องในชื่อ The Emoji Movie อีกด้วย และน่าจะยิ่งตอกย้ำให้เห็นชัดว่าอีโมจิมีอิทธิพลมากน้อยแค่ไหนต่อโลกในยุคปัจจุบัน
Photo: www.facebook.com
อ้างอิง: