×

ชาวอิสลามในอินโดนีเซียถูกห้ามใช้คริปโตฯ ในฐานะสกุลเงิน เหตุผิดหลักศาสนา

13.11.2021
  • LOADING...
Muslims

อัสลอลุน เนียม โชเลห์ หัวหน้ากลุ่มของ Indonesian Ulema Council (MUI) หรือสภาทางศาสนาของชาวอิสลามในอินโดนีเซียชี้ว่า ห้ามใช้คริปโตฯ ในการใช้จ่ายในฐานะสกุลเงิน เหตุเป็นเรื่องผิดกฎหมายตามหลักของศาสนาอิสลาม แต่ยังสามารถเทรดคริปโตฯ เหรียญบางชนิดได้อยู่เช่นเดิม

 

อินโดนีเซียถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีชาวมุสลิมมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก แม้ข้อจำกัดจาก MUI จะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกฎหมายของประเทศ แต่การออกกฎหรือข้อห้ามภายในชาวมุสลิมว่า ห้ามใช้คริปโตฯ ในฐานะสกุลเงิน นับว่าส่งผลทางใดทางหนึ่งต่อชาวมุสลิมที่ลงทุนในตลาดคริปโตฯ ได้อย่างแน่นอน

 

โดยอัสลอลุนกล่าวกับ Reuters ถึงประเด็นดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับคริปโตฯ ว่า ผิดต่อหลักกฎหมายชารีอะห์ของชาวอิสลาม เนื่องจากคริปโตฯ เป็นหน่วยเงินที่มีความไม่แน่นอนและมีอันตราย (มีเงินสีเทาในระบบ) ทั้งยังผิดต่อกฎหมายรัฐบางประการอีกเช่นกัน จึงไม่สามารถนำมาเป็นสกุลเงินจริงๆ ได้

 

ถึงอย่างนั้นเอง ตามหลักศาสนากลับยังคงมองว่าการเทรดคริปโตฯ ก็ยังไม่บริสุทธิ์ทีเดียว เนื่องจากหลายฝ่ายมีมุมมองไปในเชิงการพนัน และไม่สามารถระบุมูลค่าที่แท้จริงได้ แต่ก็ยังถือเป็นเรื่องที่อะลุ่มอล่วยได้สำหรับสินทรัพย์คริปโตฯ ใดๆ ที่เป็นประโยชน์ (มีพื้นฐานด้านการลงทุน) ทั้งยังสามารถประเมินมูลค่าได้ และสอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม ย่อมทำให้ภาวะตลาดคริปโตฯ อาจจะไม่ได้รับผลกระทบที่รุนแรง

 

จากข้อมูลของกระทรวงการค้าอินโดนีเซียเผยว่า ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานี้ ปริมาณการเทรดคริปโตฯ ของอินโดนีเซียมีสูงถึง 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ (7.5 แสนล้านบาท) ซึ่งเติบโตจากปี 2020 ราว 6 เท่า จากมูลค่าการซื้อ-ขายในปีก่อนหน้าที่ราว 4.5 พันล้านดอลลาร์ (1.3 แสนล้านบาท)

 

นอกจากนี้ ในปี 2021 จำนวนผู้ใช้งานยังเติบโตมาที่ระดับ 6.5 ล้านราย จากเพียงแค่ 4 ล้านรายในปีก่อนหน้า

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising