วันนี้ (4 มกราคม) ช่างภาพ THE STANDARD ชวนแหงนหน้าขึ้นมองฟ้า สำรวจท้องฟ้ายามค่ำคืน จะพบ ‘ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน’ ดวงจันทร์ข้างขึ้น 3 ค่ำ เคียงดาวเสาร์ เกิดจากแสงอาทิตย์สะท้อนผิวโลกไปยังดวงจันทร์ และสะท้อนกลับมายังผู้สังเกตบนโลกอีกต่อหนึ่ง ทำให้เห็นแสงจางๆ จากด้านมืดของดวงจันทร์
ถือเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เนื่องจากดวงจันทร์และดาวเคราะห์เปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ ตามคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดังนั้นการที่ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ปรากฏบนท้องฟ้าในทิศเดียวกันหรือเคลื่อนที่มาอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกันจึงถือเป็นเรื่องปกติ
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) รายงานว่า ในปี 2568 มีปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนและดาวเคราะห์ชุมนุมให้ชมตลอดทั้งปี
- 4 มกราคม ดวงจันทร์เคียงดาวเสาร์
- 18 มกราคม ดาวศุกร์เคียงดาวเสาร์
- 1 กุมภาพันธ์ ดวงจันทร์เคียงดาวเสาร์
- 11 เมษายน ดาวพุธเคียงดาวเสาร์
- 25 เมษายน ดวงจันทร์เคียงดาวศุกร์และดาวเสาร์
- 26 เมษายน ดวงจันทร์เคียงดาวพุธ
- 29 เมษายน ดาวศุกร์เคียงดาวเสาร์
- 2 พฤษภาคม ดวงจันทร์เคียงดาวพอลลักซ์และคาสเตอร์ (ปรากฏคล้ายพระจันทร์ยิ้ม)
- 23 พฤษภาคม ดวงจันทร์เคียงดาวเสาร์
- 24 พฤษภาคม ดวงจันทร์เคียงดาวศุกร์
- 1 มิถุนายน ดวงจันทร์เคียงดาวอังคาร
- 12 สิงหาคม ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี