วันนี้ (11 กุมภาพันธ์) นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงแผนการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประเทศไทย โดยระบุว่า พื้นที่เป้าหมายการฉีดในระยะเร่งด่วน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายนนี้ กระจายใน 10 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ที่เคยเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ที่มีการพบการติดเชื้อต่อเนื่อง โดยจะให้บริการในสถานพยาบาลที่มีแพทย์และห้องฉุกเฉินทั้งรัฐและเอกชน ได้แก่ สมุทรสาคร 10 แห่ง, กรุงเทพมหานคร (กทม.) 62 แห่ง, สมุทรปราการ 30 แห่ง, นนทบุรี 21 แห่ง, ปทุมธานี 22 แห่ง, ระยอง 13 แห่ง, ชลบุรี 32 แห่ง, จันทบุรี 14 แห่ง, ตราด 8 แห่ง และตาก 11 แห่ง
สำหรับแผนการกระจายวัคซีนโควิด-19 จำนวน 2 ล้านโดส ที่จะเข้ามาในประเทศไทย แต่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ ณ ช่วงเวลานั้น โดย 1 คนจะฉีด 2 เข็ม ใน 10 จังหวัด ประกอบด้วย
- สมุทรสาคร 8.2 แสนโดส จำนวน 4.1 แสนคน แบ่งเป็น
- บุคลากรทางการแพทย์ 8,000 คน
- เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 6,000 คน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว 36,000 คน
- ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 1.5 แสนคน
- ประชาชนทั่วไปและแรงงาน 2.1 แสนคน
- กทม. 8 แสนโดส จำนวน 4 แสนคน แบ่งเป็น
- เป็นบุคลากรทางการแพทย์ 32,000 คน
- เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 8,000 คน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว 1 แสน คน
- ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 1 แสนคน
- ประชาชนทั่วไปและแรงงาน 1.6 แสนคน
- นนทบุรี 26,000 โดส จำนวน 13,000 คน แบ่งเป็น
- บุคลากรทางการแพทย์ 9,000 คน
- เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 4,000 คน
- ปทุมธานี 26,000 โดส จำนวน 13,000 คน แบ่งเป็น
- บุคลากรทางการแพทย์ 9,000 คน
- เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 4,000 คน
- สมุทรปราการ 28,000 โดส จำนวน 14,000 คน แบ่งเป็น
- บุคลากรทางการแพทย์ 9,000 คน
- เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 5,000 คน
- ระยอง 18,000 โดส จำนวน 9,000 คน แบ่งเป็น
- เป็นบุคลากรทางการแพทย์ 5,000 คน
- เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 4,000 คน
- ชลบุรี 28,000 โดส จำนวน 14,000 คน แบ่งเป็น
- บุคลากรทางการแพทย์ 10,000 คน
- เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 4,000
- จันทบุรี 16,000 โดส จำนวน 8,000 คน แบ่งเป็น
- บุคลากรทางการแพทย์ 6,000 คน
- เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 2,000 คน
- ตราด 12,000 โดส จำนวน 6,000 คน แบ่งเป็น
- บุคลากรทางการแพทย์ 5,000 คน
- เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 1,000 คน
- ตาก 1.6 แสนโดส จำนวน 80,000 คน แบ่งเป็น
- บุคลากรทางการแพทย์ 8,000 คน
- เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 2,000 คน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว 10,000 คน
- ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 10,000 คน
- ประชาชนทั่วไปและแรงงาน 50,000 คน
“ทั้งหมดรวม 1,934,000 โดส จำนวน 967,000 คน ส่วนอีก 66,000 โดสสำหรับ 33,000 คนนั้นจะสำรองไว้เผื่อมีพื้นที่อื่นระบาดเกิดขึ้น โดยจะให้กับพื้นที่ที่อยู่โดยรอบพื้นที่ระบาดเพื่อเป็นการสกัดวงการแพร่เชื้อ” นพ.โสภณกล่าว
นพ.โสภณกล่าวต่อไปว่า ส่วนระยะที่ 2 จำนวน 61 ล้านโดส จะดำเนินการกระจายในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ และให้แล้วเสร็จภายในปี 2564 มีอัตราการฉีดในโรงพยาบาลที่แพทย์และห้องฉุกเฉินทั่วประเทศ 1,000 แห่ง วันละ 500 โดส 20 วันต่อเดือน เฉลี่ย 10 ล้านโดสต่อเดือน แต่หากในอนาคตเมื่อวัคซีนมีความปลอดภัยมากขึ้น อาจพิจารณาขยายการให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำล (รพ.สต.) บางแห่งที่มีอุปกรณ์ฟื้นคืนชีพ
พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล