×

สมคิดมอบนโยบายกระทรวงพลังงานให้ ปตท. เป็นหัวหอกช่วยเศรษฐกิจฐานราก

โดย THE STANDARD TEAM
15.08.2019
  • LOADING...
นโยบายกระทรวงพลังงาน

วันที่ 15 สิงหาคม ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมและมอบนโยบาย ด้านพลังงานแก่กระทรวงพลังงาน โดยมี สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมผู้บริหารและเจ้าหน้าท่ีของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงานให้การต้อนรับ และร่วมรับมอบนโยบาย โดยรองนายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญโดยสรุป ดังนี้

 

1. เรื่องการจัดหาพลังงานมีความสำคัญ เพราะไม่ใช่เพียงการบริหารพลังงานแหล่งปิโตรเลียมในประเทศเท่าน้ัน ในเชิงยุทธศาสตร์ต้องมองระดับภูมิภาคด้วย เพราะไทยอยู่ในตำแหน่งภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญ สามารถเป็นศูนย์กลางเป็นผู้นำด้านพลังงานอาเซียนได้

 

2. กองทุนด้านพลังงานท่ีมีอยู่ เช่น กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งอดีตเคยแบกหน้ีนับแสนล้านบาท ปัจจุบันราคาน้ำมันอยู่ในช่วงขาลง มีเงินสะสมอยู่ในกองทุนน้ำมันฯ ซึ่งรวมถึงกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ก็น่าจะใช้เวลาช่วงน้ี เป็นโอกาสนำงบที่มีอยู่ตามกองทุนพลังงานต่างๆ ไปพัฒนานโยบายด้านพลังงานทางเลือก เพื่อให้เกิดความยั่งยืน เพราะการพึ่งพาฟอสซิลคงอยู่ไม่ได้นานถึง 20 ปี

 

3. เรื่องการดูแลค่าครองชีพด้านพลังงาน เป็นมิติด้านเศรษฐกิจที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มอบเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะเรื่องค่าพลังงาน หรือแม้แต่ระบบภาษีจะใช้มาตรฐานเดียวกันระหว่างคนมีรายได้น้อย กับคนรวยเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เราจะใช้มาตรฐานแบบต่างชาติกำหนดไม่ได้ ควรดูให้เหมาะกับทางปฏิบัติกับสังคมไทยมากกว่า 

 

พร้อมมอบภารกิจให้ ปตท. และรัฐวิสาหกิจในเครือเป็นหัวหอกด้านการจัดทำโมเดลธุรกิจให้ชาวบ้านหรือชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เช่น ผ่านช่องทางปั๊มน้ำมันของ ปตท. โดยเปิดให้เป็นสถานท่ีกลางในการซื้อขายสินค้าของชาวบ้าน ซึ่งรวมถึงเรื่องปุ๋ยท่ีเป็นต้นทุนหลักของเกษตรกรด้วย หรือโมเดลการทำธุรกิจห้องเย็นสำหรับเก็บรักษาผลไม้ในแหล่งท่ีเป็นศูนย์กลาง เช่น ท่ีจังหวัดระยอง, อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยมองว่า ปตท. และรัฐวิสาหกิจในเครือจะต้องมีบทบาท เป็นหน่วยงานที่จรรโลงสังคมด้วย ไม่ใช่องค์กรเพื่อแสวงกำไรอย่างเดียว ซึ่งหากได้ดำเนินการในเรื่องเหล่านี้คืนกลับสู่สังคม ปตท. ก็จะถูกโจมตีน้อยลงแน่นอน

 

4. การสนับสนุน Start Up ด้านพลังงาน ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะตัวอย่างในจีนก็เติบโตมาได้ด้วย Start Up ท่ีมีนับแสนราย ซึ่งคนรุ่นใหม่จะมีส่วนช่วยคิดค้น มองศักยภาพการพัฒนาไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ ควรนำ Smart Farmer ท่ี ธกส. มีข้อมูลอยู่ประมาณหมื่นกว่ารายมาร่วมงาน เพื่อสานต่อให้เกิดรูปธรรมต่อไป

 

5. เรื่อง Big Data ท่ีผ่านมาทุกรัฐบาลเหมือนตาบอดคลำช้าง มีข้อมูลต่างๆ ที่ยังไม่เชื่อมโยงอย่างจริงจัง ประกอบกับมีผู้เชี่ยวชาญด้านน้ีจำนวนน้อย แต่ปัจจุบันมีกลไกต่างๆ ในการเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น ท้ังระบบพร้อมเพย์ที่กำลังพัฒนาได้ทั้งรับและจ่าย บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ฯลฯ ซึ่งเหล่าน้ีจะเริ่มเชื่อมโยงกันได้มากข้ึน จะทำให้การวางนโยบายตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ตรงจุดมากขึ้น

 

ด้าน สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวสรุปภาพรวมนโยบายท่ีรองนายกรัฐมนตรีมอบให้กระทรวงพลังงานดำเนินการ ว่ามี 2 ประเด็นหลัก คือ 1. การลดความเหลื่อมล้ำ 2. การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 

 

โดยใช้กลไกด้านพลังงานไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนผ่านโครงสร้างพลังงานชุมชน จากความร่วมมือของชุมชนและผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือ SMEs เพื่อช่วยลดภาระพี่น้องประชาชน โดยดำเนินการให้สอดรับกับแผนและนโยบายของกระทรวงพลังงาน รวมถึงการยกระดับชุมชนที่นอกเหนือจากเรื่องพลังงาน ซึ่งกระทรวงพลังงานจะร่วมกับ ปตท. ในการศึกษาเรื่องการเป็นโคออฟและการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าชุมชน ยกระดับท้ังแพ็กเกจจิ้ง แบรนดิ้งจากมาร์เก็ตเพลสเป็นระดับอีคอมเมิร์ซ

 

ด้าน กุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้รายงานในที่ประชุมฯ ถึงวิสัยทัศน์ของกระทรวงพลังงานท่ีสำคัญ 3 ประการ คือ 1. พลังงานเพื่อประชาชนทุกคน (Energy For All) 2. บริหารจัดการพลังงานด้วยเทคโนโลยี Big Data และ AI (Artificial Intelligence) และ 3. เป็นผู้นำด้านพลังงานอาเซียน ซึ่งในการเดินไปสู่วิสัยทัศน์ดังกล่าวจะต้องดำเนินการในด้านต่างๆ ทั้งการสร้างสมดุลด้านเชื้อเพลิง การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเป็นศูนย์กลางไฟฟ้าอาเซียน การสร้างรายได้ให้ชุมชน การช่วยเหลือประชาชนรอบโรงไฟฟ้า การจัดหาพลังงานอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริม พลังงานหมุนเวียน การดูแลค่าครองชีพด้านพลังงาน รวมถึงการมีนวัตกรรมรองรับพลังงานรูปแบบใหม่

 

สำหรับภารกิจเร่งด่วนเฉพาะหน้าด้านพลังงานมี 6 ประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย การกำหนดรูปแบบ การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยด้าน LPG และ NGV การระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการรื้อถอนสิ่งติดต้ังในกิจการปิโตรเลียม การชี้แจงต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน กรณีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้า การกำหนด Road Map ของน้ำมันเชื้อเพลิงในกลุ่มดีเซล B10 และ B20 การจัดประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน (AMEM) 2-6 กันยายน และการหาข้อยุติการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) 1.5 ล้านตันของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising