วันนี้ (5 ตุลาคม) ชัยธวัช ตุลาธน สส. บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ยื่นร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. .… หรือกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งหากกฎหมายนี้ผ่านการพิจารณาและประกาศใช้ จะทำให้ผู้ที่กระผิดโดยมีเหตุจูงใจทางการเมืองระหว่างการชุมนุมพ้นจากความผิดและความรับผิด
THE STANDARD เปิดเงื่อนไขกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับก้าวไกล
เงื่อนไขนิรโทษกรรม
คดีที่เข้าเงื่อนไข
- ร่วมชุมนุมทางการเมือง มีความผิดตามกฎหมาย
- นับวันกระทำผิดตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้
- กระทำโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง
- เป็นคดีที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ
- ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
คดีที่ไม่เข้าเงื่อนไข
- เจ้าหน้าที่สลายชุมนุมเกินกว่าเหตุ
- ความผิดต่อชีวิตตามกฎหมาย
- ผิดตาม ป.อาญา ม. 113 (กบฏ)
ผู้วินิจฉัยชี้ขาด: 9 คน
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร
- ผู้นำฝ่ายค้าน
- ตัวแทนที่เสนอโดย ครม.
- ตัวแทนที่เสนอโดย สส. 2 คน
- ผู้พิพากษาหรืออดีตผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม
- ตุลาการหรืออดีตตุลาการศาลปกครอง
- พนักงานอัยการหรืออดีตพนักงานอัยการ
- เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ภาพประกอบ: กริน วสุรัฐกร
FYI
- วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549 คือวันชุมนุมวันแรกของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- ผู้ได้รับความเสียหายจากกฎหมายฉบับนี้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้