×

เปิดแนวคิด Well-to-Wheel ของมาสด้าที่มองปัญหาสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นจนจบ

โดย THE STANDARD TEAM
31.07.2019
  • LOADING...
Mazda

HIGHLIGHTS

5 Mins. Read
  • จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กลายเป็นประเด็นใหญ่ของโลก สู่ความพยายามของบริษัทผลิตรถยนต์ที่พยายามหาทางออกด้วยวิธีการต่างๆ หนึ่งในแบรนด์ที่ ‘เอาจริง’ ในเรื่องนี้คือมาสด้า ที่ผลักดันแนวคิด Well-to-Wheel เพื่อโลกที่ดีกว่า
  • แนวคิด Well-to-Wheel คือการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทางของแหล่งกำเนิดพลังงาน ตั้งแต่การขุดเจาะ การผลิต และการขนส่งเชื้อเพลิง ไปจนถึงการขับเคลื่อนรถยนต์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
  • มาสด้าตั้งเป้าว่า จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่ขุดเจาะเชื้อเพลิงไปจนถึงการขับขี่ให้เหลือ 50% ภายในปี 2030 และภายในปี 2050 เป้าหมายของมาสด้าคือ ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้เหลือเพียง 10% จากปัจจุบันเท่านั้น 
  • นอกจากนี้มาสด้ายังคิดเผื่อไปถึงสังคมที่อยู่รายล้อม การพยายามพัฒนาเทคโนโลยี Co-Pilot ในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่จะทำหน้าที่เป็นเหมือน ‘นักบินผู้ช่วย’ บนเครื่องบิน รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในหลายๆ ประเทศ โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัยสูงสุดของทั้งผู้ขับ คนเดินถนน และชุมชน

ในปี 2019 ที่โลกถูกรุมเร้าด้วยปัญหาหลากหลายด้าน ปัญหาสิ่งแวดล้อมดูจะเป็นประเด็นใหญ่ที่ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในมุมไหนของโลกก็สามารถสัมผัสและรู้สึกได้ถึงผล กระทบในด้านต่างๆ โดยเฉพาะปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สะสมอยู่บนชั้นบรรยากาศ และส่งผลกระทบด้านสุขภาพต่อผู้คนทั่วโลก

 

เพื่ออยู่ร่วมกับโลกโดยไม่ทำร้ายกันไปมากกว่านี้ บรรดาบริษัทรถยนต์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการก่อมลพิษในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ต่างพยายามคิดค้นวิธีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากปล่องท่อไอเสียให้เหลือน้อยที่สุด หรือเหลือเป็นศูนย์ หากเป็นไปได้ 

 

หนึ่งในบริษัทรถยนต์ขนาดใหญ่ที่กำลังพยายามหาทางออกในเรื่องนี้อย่างจริงจังคือ มาสด้า ที่ถอยหลังกลับมามองปัญหาสิ่งแวดล้อมในมุมมองที่กว้างขึ้น และตกตะกอน เป็นวิธีแก้ปัญหาอย่างรอบด้าน โดยพิจารณาจากทางเลือกที่หลากหลายในการนำพลังงานจากแหล่งต่างๆ มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยนำเสนอแนวคิด Well-to-Wheel เพื่อสร้างโลกในอนาคตที่ดียิ่งขึ้นสำหรับทุกคน

 

mazda Well-to-Wheel

 

Well-to-Wheel วิสัยทัศน์ของมาสด้าสู่หนทางเยียวยาโลกอย่างยั่งยืน

“มาสด้าเคยประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามแนวคิดเก่า Tank-to-Wheel ที่พิจารณาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขณะขับขี่รถยนต์เท่านั้น แต่กลับไม่ได้มองว่าไฟฟ้าที่ใช้ในการขับเคลื่อนรถยนต์ถูกผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งนับว่ามีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในขณะผลิตพลังงาน”

 

นี่คือวิสัยทัศน์ของ ฟูจิวาระ คิโยชิ ผู้บริหารมาสด้าในตำแหน่ง Executive Vice President ที่มองว่าการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมต้องมองออกไปให้ไกลกว่าแค่ภายในรถยนต์

 

จากแนวคิด Tank-to-Wheel ที่จำกัดกรอบคิดให้ผู้ผลิตรถยนต์หาวิธีที่จะทำให้รถยนต์ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศให้เหลือน้อยที่สุด มาสด้าพัฒนากรอบคิดไปสู่ Well-to-Wheel ที่มองปัญหาตั้งแต่ต้นทางของแหล่งกำเนิดพลังงาน ตั้งแต่การขุดเจาะ การผลิต และการขนส่งเชื้อเพลิง ไปจนถึงการขับเคลื่อนรถยนต์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด

 

นอกจากจะมองปัญหาอย่างรอบด้านแล้ว แนวคิด Well-to-Wheel ของมาสด้ายังประเมินปัญหาด้วยมุมมองแห่งความเป็นจริง ที่สำคัญคือ สามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยแผนขับเคลื่อนที่ชัดเจน เป็นขั้นเป็นตอน ทำให้เห็นว่าแนวคิดนี้ไม่ใช่เป็นเพียงสโลแกนตามกระแสเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้

 

mazda Well-to-Wheel

 

แนวคิด Well-to-Wheel ที่มาสด้าประกาศออกมาตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว มีเป้าหมายในระยะสั้นคือ ภายในปี 2030 จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่ขุดเจาะเชื้อเพลิงไปจนถึงการขับขี่ให้เหลือ 50% และภายในปี 2050 เป้าหมายของมาสด้าคือ ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้เหลือเพียง 10% จากปัจจุบันเท่านั้น 

 

mazda Well-to-Wheel

 

ด้วยสถานการณ์ด้านพลังงาน โครงสร้างการผลิตไฟฟ้า และแหล่งพลังงานที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคที่รถยนต์ของมาสด้าวางจำหน่าย มาสด้าจึงมีวิถีทางแก้ปัญหาที่เรียกว่า Multi-Solution โดยประเมินที่ผลลัพธ์ในบรรทัดสุดท้ายที่จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยที่สุด 

 

อย่างเช่นในพื้นที่ที่ไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังคงต้องพึ่งพาพลังงานฟอสซิล การผสมผสานระหว่างเครื่องยนต์สันดาปภายใน และการใช้พลังงานไฟฟ้า ถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ส่วนพื้นที่ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาดได้ รถยนต์ไฟฟ้าถือเป็นทางออกที่ตอบโจทย์ปัญหาได้ดีที่สุด ซึ่งที่ผ่านมา มาสด้าพยายามร่วมมือกับสถาบันการศึกษา บริษัทเอกชน รวมถึงรัฐบาล เพื่อค้นหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการได้มาซึ่งแหล่งเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

หนึ่งในตัวอย่างความพยายามของมาสด้าคือ การวิจัยเชื้อเพลิงชีวภาพเหลวที่มีค่าคาร์บอนเป็นกลาง โดยนำสาหร่ายมาแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน เพราะมาสด้ารู้ดีว่า วันหนึ่งเชื้อเพลิงฟอสซิลสำหรับเครื่องยนต์สันดาปจะค่อยๆ ร่อยหรอหมดไปจากโลกนี้ในท้ายที่สุด 

mazda Well-to-Wheel

 

นอกจากนี้มาสด้ายังพยายามพัฒนาเครื่องยนต์ SKYACTIV ที่อยู่ภายในรถยนต์มาสด้าทุกรุ่นในปัจจุบันให้ใช้เชื้อเพลิงต่ำที่สุด ขณะที่ระบบการเผาไหม้หมดจดยังคงเป็นสิ่งที่มาสด้าพยายามโฟกัส เมื่อรวมกับการออกแบบโครงสร้างรถทั้งคันด้วยเทคโนโลยี SKYACTIV ตั้งแต่ระบบเกียร์ โครงสร้างตัวถัง ไปจนถึงช่วงล่างที่จะทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ผู้ขับและรถเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น ก็ยิ่งเป็นการช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

 

จุดหมายปลายทางคือความสุขของทุกคน

สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากแนวคิด Well-to-Wheel ของมาสด้าคือ การพยายามมองปัญหาให้รอบด้านตั้งแต่ต้นจนจบ โดยมีจุดหมายปลายทางที่ไม่ใช่แค่ความสุขของผู้ขับขี่รถยนต์มาสด้าเท่านั้น แต่ยัง ‘คิดเผื่อ’ ไปถึงสังคมที่อยู่รายล้อมอย่างครบถ้วนด้วย 

mazda Well-to-Wheel

โดยมาสด้ามองว่า ในฐานะผู้ผลิตรถยนต์ บริษัทมีสองภารกิจหลักที่ต้องทำ ภารกิจแรกคือ การลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนให้หมดไป โดยให้ความสำคัญในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่ของผู้สูงอายุ และอุบัติเหตุที่เกิดจากปัญหาสุขภาพที่คาดไม่ถึง ภารกิจที่สองคือ การจัดการเรื่องสังคมผู้สูงอายุ จำนวนประชากรที่ลดลงในหัวเมืองต่างจังหวัด และการขาดแคลนสาธารณูปโภคด้านการคมนาคมสาธารณะ 

 

สำหรับภารกิจแรกคือ การพยายามพัฒนาเทคโนโลยี Co-Pilot ในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่จะทำหน้าที่เป็นเหมือน ‘นักบินผู้ช่วย’ บนเครื่องบิน รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในหลายๆ ประเทศ โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัยสูงสุดของทั้งผู้ขับ คนเดินถนน และชุมชน เช่น เมื่อรถตรวจพบว่าเกิดความผิดปกติบางอย่างกับผู้ขับขี่ ทำให้ไม่สามารถควบคุมรถได้ ระบบก็จะเข้าควบคุมการขับขี่แทนโดยอัตโนมัติ เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุอันตรายบนท้องถนน ก่อนจะนำรถเข้าจอดในสถานที่ที่ปลอดภัย ซึ่งมาสด้าตั้งเป้าว่าจะเริ่มต้นทดสอบจริงภายในปี 2020 และตั้งเป้าว่า จะสร้างเทคโนโลยีนี้ให้เป็นมาตรฐานของรถยนต์มาสด้าทุกคันภายในปี 2025 

 

ส่วนภารกิจที่สองคือ การใช้แนวคิด Mazda Co-Pilot เพื่อให้ผู้คนรู้สึกผ่อนคลาย และเดินทางได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะอายุมากเพียงใด ยิ่งไปกว่านั้น มาสด้ายังต้องการพัฒนา Ride Share System แม้ในพื้นที่ที่มีประชากรน้อย เจ้าของรถก็สามารถช่วยให้ผู้อื่นเดินทางไปได้ เช่น มาสด้ากำลังวางแผนสาธิตการทดสอบบริการคมนาคมในเขตที่มีภูเขามากในเมืองฮิโรชิมา เมื่อมีการเชื่อมต่อกัน ก็จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและชุมชน และช่วยเติมเต็มสังคม โดยเอื้อให้คนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

 

จุดหมายปลายทางสำคัญของมาสด้าตั้งแต่การใช้แนวคิด Well-to-Wheel ไปจนถึงการพัฒนาเทคโนโลยี Co-Pilot คงไม่ใช่แค่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว เพราะท้ายที่สุด พวกเขายังคงพยายามรักษาแก่นแท้ในการทำธุรกิจตั้งแต่แรกเริ่มเมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา คือการสร้างสรรค์รถยนต์ที่ขับสนุก เพิ่มชีวิตชีวาให้กับผู้คนผ่านรถยนต์ที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง และพยายามมีส่วนร่วมในการทำให้โลกและสังคมอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน 

 

ภาพ: www.mazda.com/en/notification/20190225

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising