บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกคำสั่งให้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งทำแผนบริหารจัดการเงินกองทุนในระยะเวลา 1-3 ปี งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานปี 2563 และห้ามซื้อหุ้นคืนหรือไถ่ถอนตราสารหนี้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้น 1 หรือชั้น 2 ก่อนกำหนด เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์รักษาระดับเงินกองทุนให้เข้มแข็งและดำเนินงานอย่างระมัดระวัง ทางบริษัทฯ มองว่า จะส่งผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์ ได้แก่
- ส่งผลกดดันตลาดหุ้นไทยในภาพรวม ส่วนหนึ่งเพราะการส่งสัญญาณของ ธปท. สะท้อนมุมมองเชิงลบต่อธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจโดยตรง ขณะที่การเข้าแทรกแซงของผู้กำหนดนโยบายเป็นปัจจัยลบที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ
- ธนาคารพาณิชย์ที่จ่ายปันผลระหว่างกาลได้รับผลกระทบเชิงลบมากกว่า ทั้งนี้ โดยปกติแล้วมีธนาคารพาณิชย์ที่จ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารเกียรตินาคิน, ธนาคารไทยพาณิชย์ ส่วน tcap ปีที่ถือหุ้น TMB ธนชาตที่ 20.4% หลังการควบรวมระหว่างธนาคารทหารไทยและธนาคารธนชาตไม่อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท.
อย่างไรก็ตาม คาดว่าปันผลระหว่างกาลโดยรวมจะหายไปรวมทั้งหมด 1.43 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนเงินปันผลปี 2563 สำหรับแชต SET Banking ลดลง 1.15% และสำหรับ SET ลดลงประมาณ 0.1%
- อาจเกิดการหมุนเปลี่ยนเซกเตอร์สู่หุ้นขนาดใหญ่ปันผลสูงกลุ่มอื่นแทนดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารปัจจุบัน (19 มิถุนายน) ปิดที่ 304.21 จุด ซึ่งปรับขึ้น 29% จากจุดต่ำสุดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ที่ 235.81 จุด ถือเป็นจุดที่นักลงทุนบางกลุ่มมีกำไร โดยเม็ดเงินที่ไหลเข้าในช่วงเวลาดังกล่าวมาจากนักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 5.8 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่คือกองทุนรวมในประเทศที่โดยปกติจำเป็นต้องปรับพอร์ตลงทุนให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุน โดยเฉพาะกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นปันผลเป็นกลุ่มที่มีโอกาสสูงที่จะสลับเข้าซื้อหุ้นที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงอื่นทดแทนเงินปันผลกลุ่มธนาคารที่หายไป โดยเงื่อนไขหุ้นที่น่าจะถูกเข้าซื้อคือ มีอัตราการจ่ายปันผลระหว่างกาลสูงใกล้ระดับ 1.1 5% ของกลุ่มธนาคาร และแนวโน้มกำไรครึ่งปีหลังไตรมาสปี 2563 ที่ฟื้นตัวหรือดีขึ้นต่อเนื่อง
พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล