เกิดอะไรขึ้น:
วานนี้ (6 พฤศจิกายน) บมจ.เงินติดล้อ (TIDLOR) รายงานกำไรสุทธิ 3Q66 เพิ่มขึ้น 9%QoQ และ 12%YoY สู่ 1 พันล้านบาท สูงกว่าที่คาดการณ์ 7% หลักๆ เกิดจาก Credit Cost ที่ลดลง (เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น) และ NIM ที่ดีขึ้น (เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ว่าจะหดตัวลง)
โดยรายการที่สำคัญในผลประกอบการ 3Q66 มีดังนี้
- คุณภาพสินทรัพย์: การเร่งตัดหนี้สูญ (เพิ่มขึ้น 26%QoQ) ส่งผลทำให้ NPL เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวลงที่ 4%QoQ ใน 3Q66 จาก 8%QoQ ใน 2Q66 ถ้านำยอดตัดหนี้สูญบวกกลับเข้ามา NPL จะเพิ่มขึ้น 46%QoQ ใน 3Q66 ใกล้เคียงกับที่เพิ่มขึ้น 45%QoQ ใน 2Q66
ดังนั้นอัตราส่วน NPL จึงลดลง 3 bps QoQ สู่ 1.54% Credit Cost ลดลงอย่างค่อนข้างเซอร์ไพรส์ที่ 11 bps QoQ สู่ 3.09% เทียบกับเป้าหมายของบริษัทที่ 3-3.5% LLR Coverage ลดลงสู่ 264% จาก 266% ณ 2Q66
- การเติบโตของสินเชื่อเพิ่มขึ้น 5%QoQ, 21%YoY, 13%YTD ใน 3Q66
- NIM เพิ่มขึ้น 11 bps QoQ เนื่องจากผลตอบแทนจากการให้สินเชื่อเพิ่มขึ้น 27 bps QoQ (จำนวนวันที่ใช้คำนวณ EIR เพิ่มขึ้น 1 วัน และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง) และต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น 26 bps QoQ
- Non-NII เพิ่มขึ้น 6%QoQ และ 24%YoY โดยได้แรงหนุนส่วนใหญ่จากรายได้ค่านายหน้าประกันภัย
- อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้เพิ่มขึ้น 6 bps QoQ (เกิดจาก OPEX ที่เพิ่มขึ้น 6%QoQ) และเพิ่มขึ้น 56 bps YoY สู่ 55.38% ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเป้าหมายทั้งปีของบริษัทที่ 55%
กระทบอย่างไร:
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ณ เวลา 12.30 น. ราคาหุ้น TIDLOR ทรงตัว DoD อยู่ที่ระดับ 21.10 บาท ขณะที่ SET Index ปรับลง 0.11%DoD อยู่ที่ระดับ 1,415.62 จุด
แนวโน้มผลประกอบการปี 2566:
InnovestX Research ปรับประมาณการ Credit Cost ลดลง 10 bps สู่ 3.1% (เพิ่มขึ้น 84 bps) สำหรับปี 2566 และ 3.05% (ลดลง 5 bps) สำหรับปี 2567 การเคลียร์งบดุลครั้งใหญ่ผ่านการตัดหนี้สูญและ NPL ไหลเข้าทำจุดสูงสุดในปี 2566 ทำให้คาดว่า Credit Cost จะลดลงในปี 2567
ด้านสินเชื่อได้ปรับประมาณการการเติบโตปี 2566 เพิ่มขึ้นจาก 18% สู่ 19% และปรับประมาณการกำไรเพิ่มขึ้น 6% สำหรับปี 2566 และ 7% สำหรับปี 2567 โดยปัจจุบันคาดว่ากำไรจะเติบโต 10% (แต่ EPS Growth ลดลง 2% โดยมีสาเหตุมาจาก Dilution Effect จากหุ้นปันผล) สำหรับปี 2566 และ 20% สำหรับปี 2567 (Credit Cost ลดลง และรายได้เติบโตดี)
ส่วน 4Q66 คาดการณ์ในเบื้องต้นว่ากำไรจะเพิ่มขึ้น QoQ และ YoY โดยได้แรงหนุนจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากสินเชื่อที่เติบโตดีและรายได้ค่านายหน้าประกันภัยที่ดี
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนได้ปรับเรตติ้งขึ้นจาก Neutral สู่ Outperform ด้วยราคาเป้าหมายที่ปรับเพิ่มขึ้นสู่ 25 บาทต่อหุ้น (P/BV 2.15 เท่า หรือ P/E 15 เท่า สำหรับปี 2567) โดยได้รับการสนับสนุนจากการคาดการณ์ว่ากำไรจะฟื้นตัวได้ดีในปี 2567 จาก CreditCcost ที่ลดลงหลังจากเคลียร์งบดุลครั้งใหญ่และ NPL ไหลเข้าทำจุดสูงสุดในปี 2566
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตาม คือ 1. ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ทั่วถึง 2. ความเสี่ยงด้าน NIM จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้น 3. การแข่งขันที่สูงขึ้นจากธนาคารต่างๆ และ 4. ความเสี่ยงด้านกฎหมาย