×

หุ้นกลุ่มธนาคาร – สินเชื่อเติบโตต่ำในเดือนพฤษภาคม 2022

22.06.2022
  • LOADING...
หุ้นกลุ่มธนาคาร

เกิดอะไรขึ้น:

ในเดือนพฤษภาคม 2022 สินเชื่อของกลุ่มธนาคารเติบโต 0.2%MoM, 5.5%YoY และ 1.5%YTD โดยการเติบโตของสินเชื่อ MoM หลักๆ ได้แรงหนุนจากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อรายย่อย ขณะที่ KKP, TTB และ KBANK มีการเติบโตของสินเชื่อ MoM แข็งแกร่งที่สุดในแง่เปอร์เซ็นต์ 

 

ส่วน KTB และ BBL เป็นธนาคารเพียง 2 แห่งที่สินเชื่อหดตัว MoM สำหรับ KTB การหดตัว MoM ของสินเชื่อ เชื่อว่าอาจเกิดจากการชำระคืนสินเชื่อที่เกี่ยวกับภาครัฐ ขณะที่การเติบโตของสินเชื่อ YTD ของ TISCO พลิกกลับมาเป็นบวกในเดือนพฤษภาคม หลักๆ ได้แรงหนุนจากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ (กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก) และสินเชื่อ SMEs (สินเชื่อ Floor Plan สำหรับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์เป็นหลัก) 

 

อย่างไรก็ตาม SCBS ยังคงประมาณการการเติบโตของสินเชื่อปี 2022 ไว้ที่ 5.4% เทียบกับ 1.5% ใน 5M22

 

ด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มีแนวโน้มปรับขึ้นเร็วกว่าคาด SCBS ได้ปรับประมาณการผลประกอบการหุ้นกลุ่มธนาคาร เพื่อสะท้อนการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับขึ้น 50 bps เป็น 1% ใน 2H22 และปรับขึ้น 100 bps เป็น 2% ในปี 2023 เรียบร้อยแล้ว 

 

โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นบวกเล็กน้อยต่อ Net Interest Margin (NIM) ของธนาคารขนาดใหญ่ แต่จะเป็นลบต่อ NIM ของธนาคารที่มีเงินให้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยคงที่ (สินเชื่อเช่าซื้อ บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล) ในสัดส่วนสูง และเงินฝากกระแสรายวันและออมทรัพย์ (CASA) ในสัดส่วนต่ำอย่าง TISCO, KKP และ BAY

 

กระทบอย่างไร: 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาราคาหุ้นกลุ่มธนาคาร (SETBANK) ปรับตัวลดลง 0.46%MoM ขณะที่ SET Index ปรับตัวลดลง 3.64%MoM

 

มุมมองระยะสั้น:

SCBS คาดว่ากำไร 2Q22 ของกลุ่มธนาคารจะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างทรงตัว QoQ และจะฟื้นตัวต่อเนื่อง YoY ทั้งนี้เมื่อเทียบ QoQ คาดว่ากำไรจะค่อนข้างทรงตัว อันเป็นผลมาจากการเติบโตของสินเชื่อที่ค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น NIM ในระดับทรงตัว และการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 

 

ขณะที่เมื่อเทียบ YoY คาดว่าการฟื้นตัวของกำไรส่วนใหญ่จะเกิดจากการตั้งสำรองลดลง และ NII ที่เพิ่มขึ้น แต่จะถูกฉุดรั้งโดย Non-NII ที่ลดลง

 

ปัจจุบันหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ส่วนใหญ่มี Valuation ไม่แพง โดยเทรดที่ระดับ PBV ระดับ -1SD ถึง -2SD เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต ขณะที่หุ้นเด่นของกลุ่มธนาคาร SCBS เลือก BBL (มีความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่ำที่สุด และเป็นหุ้น Laggard Play) และ KBANK (ผู้นำด้านดิจิทัลแบงกิ้งและสินเชื่อเติบโตโดดเด่น)

 

มุมมองระยะยาว:

SCBS คาดว่ากำไรกลุ่มธนาคารจะฟื้นตัว 13% ในปี 2022 (17% หากตัดกำไรจากการขายหุ้น TIDLOR ของ BAY ออกไป) โดยได้รับการสนับสนุนจากการคาดการณ์ว่า Credit Cost จะลดลง 24 bps พร้อมกับคุณภาพสินทรัพย์ที่ปรับตัวแย่ลงในระดับที่สามารถจัดการได้ โดยที่ปัญหานี้จะบรรเทาลงได้ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาวแบบเบ็ดเสร็จ 

 

ส่วนสินเชื่อที่เติบโต 5%, NIM ในระดับทรงตัว (ผลกระทบเชิงลบจากการปรับโครงหนี้ระยะยาวแบบเบ็ดเสร็จ จะได้รับการชดเชยจากการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนสินเชื่อมามีสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ให้ผลตอบแทนสูงมากขึ้น), Non-NII ที่ลดลง (กำไรที่เกิดขึ้นครั้งเดียวลดลง และรายได้ค่าธรรมเนียมค่อนข้างทรงตัว) และอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่ลดลงเล็กน้อย (รายได้ดีขึ้น และสามารถควบคุม OPEX ได้)

 

อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามความเสี่ยง Downside ต่อคุณภาพสินทรัพย์ จากแรงกดดันเงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่กำลังจะเกิดขึ้น


บทความที่เกี่ยวข้อง


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X