×

ยอดสินเชื่อธนาคารเดือนกรกฎาคม เติบโตแบบ ‘ชะลอลง’ คาดแนวโน้มผลประกอบการฟื้นตัวแบบ U-Shape

โดย SCB WEALTH
25.08.2020
  • LOADING...
ตู้ธนาคาร กลุ่มธนาคาร การเติบโต ชะลอตัว

เกิดอะไรขึ้น:

SCBS ได้รวบรวมข้อมูลสินเชื่อของกลุ่มธนาคารพาณิชย์เดือนกรกฎาคม 2563 ซึ่งพบว่าโดยรวมยอดสินเชื่อของกลุ่มธนาคารเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง 0.1% MoM และเติบโต 5.3% YoY โดยธนาคารที่ยอดสินเชื่อยังเติบโต MoM ประกอบด้วย

 

บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) สินเชื่อเพิ่มขึ้น 0.7% MoM

บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) สินเชื่อเพิ่มขึ้น 1% MoM

บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) สินเชื่อเพิ่มขึ้น 0.1% MoM

บมจ.ธนาคารทหารไทย (TMB) สินเชื่อเพิ่มขึ้น 0.3% MoM

บมจ.ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) สินเชื่อเพิ่มขึ้น 2.1% MoM

 

ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ที่ยอดสินเชื่อหดตัว MoM ประกอบด้วย

บมจ.ธนาคารกรุงเทพ (BBL) สินเชื่อหดตัว 0.7%

บมจ.ธนาคารกรุงไทย (KTB) สินเชื่อหดตัว 0.2%

บมจ.ทุนธนชาต (TCAP) สินเชื่อหดตัว 1.3%

บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (TISCO) สินเชื่อหดตัว 0.6%

บมจ.แอล แอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป (LHFG) สินเชื่อหดตัว 0.6%

 

กระทบอย่างไร:

ช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาหุ้นกลุ่มธนาคาร (SETBANK) ปรับตัวลง 2.75% WoW จากความกังวลด้านทิศทาง NPL ขณะที่ SET Index ปรับตัวลง 1.06% WoW (ข้อมูล ราคาปิด ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2563)

 

มุมมองระยะสั้น:

SCBS มองว่าสาเหตุที่สินเชื่อของกลุ่มธนาคารพาณิชย์เดือนกรกฎาคม เติบโตชะลอตัวลงหลักๆ เกิดจากสินเชื่อธุรกิจ ขณะที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรถยนต์ยังคงเติบโตเล็กน้อย นอกจากนี้การเติบโตในระดับต่ำของเดือนกรกฎาคม ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฤดูกาล ทั้งนี้ SCBS คาดว่าสินเชื่อกลุ่มธนาคารตลอดทั้งปี 2563 จะเติบโต 6% และคาดว่าใน 2H63 อัตราการเติบโตจะชะลอตัวลง HoH เนื่องจากมาตรการพักชำระหนี้จะสิ้นสุดลงในเดือนตุลาคม 2563

 

มุมมองระยะยาว:

SCBS คาดว่าแนวโน้มผลประกอบการของกลุ่มธนาคารจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในลักษณะ U-Shape โดยคาดว่าปี 2563 กำไรของกลุ่มธนาคารจะลดลง 35% ซึ่งเกิดจากการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นอย่างมากเพิ่มซึมซับความเสี่ยงของคุณภาพสินทรัพย์ที่ปรับตัวแย่ลงเนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 โดยกำไรใน 2H63

จะยังคงปรับตัวลงจากการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

 

สำหรับกำไรปี 2564 ยังคงทรงตัวเนื่องจากการตั้งสำรองยังคงอยู่ในระดับสูง และ Credit Cost จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2563 และจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในปี 2565 จากการลดการตั้งสำรองที่ลดลง แต่จะยังไม่ฟื้นตัวสู่ระดับก่อนโควิด-19 เนื่องจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจะลดลง เพราะอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ จะปรับขึ้น

 

สำหรับปี 2566 SCBS คาดว่าจะเป็นช่วงที่กำไรของกลุ่มธนาคารฟื้นตัวสู่ระดับก่อนโควิด-19 (ปี 2562) โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการตั้งสำรองที่ลดลงอีกเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว

 

ข้อมูลพื้นฐาน:

WoW คือการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า

MoM คือการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

HoH คือการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับครึ่งปีก่อนหน้า

YoY คือการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาเดียวกันเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

 

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X