×

หุ้นกลุ่มธนาคาร – สินเชื่อหดตัวติดต่อกัน 2 เดือน

26.06.2024
  • LOADING...

เกิดอะไรขึ้น:

 

ในเดือนพฤษภาคม 2567 สินเชื่อของกลุ่มธนาคารหดตัว 0.3%MoM หลังจากหดตัว 0.3%MoM ในเดือนเมษายน ทั้งนี้ ณ เดือนพฤษภาคม สินเชื่อหดตัว 0.7%QTD, 0.4%YTD และ 0.1%YoY ธนาคารส่วนใหญ่พบว่าสินเชื่อหดตัวติดต่อกัน 2 เดือน สะท้อนถึงนโยบายปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น ความต้องการสินเชื่อค่อนข้างน้อย และการชำระคืนสินเชื่อสูง 

 

โดย KTB เป็นธนาคารที่สินเชื่อหดตัวมากสุดที่ 1.2%MoM (สะท้อนถึงการชำระคืนสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อภาครัฐค่อนข้างสูง) และ SCB เป็นธนาคารที่มีการเติบโตของสินเชื่อสูงสุดที่ 0.6%MoM ทั้งนี้ ในกลุ่มธนาคาร SCB มีการเติบโตของสินเชื่อ YTD สูงสุดที่ 0.9% และ BAY มีการเติบโตของสินเชื่อต่ำสุดที่ -2% InnovestX Research คาดว่าการเติบโตของสินเชื่อจะเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลในเดือนมิถุนายน ขณะที่เล็งเห็นความเสี่ยงขาลงต่อประมาณการการเติบโตของสินเชื่อปี 2567 ที่ 3% โดยเฉพาะ BAY, KKP และ KBANK

 

ด้านเงินฝากและเงินกู้ยืมของกลุ่มธนาคารเพิ่มขึ้น 0.4%MoM, 1.1%YoY และ 0.7%YTD ในเดือนพฤษภาคม แซงหน้าการเติบโตของสินเชื่อ อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากและเงินกู้ยืมของกลุ่มธนาคารลดลงสู่ 88% ในเดือนพฤษภาคม จาก 89% ในเดือนเมษายน 2567

 

กระทบอย่างไร:

 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้นกลุ่มธนาคาร (SETBANK) ปรับลง 4.64%, BBL ปรับลง 5.04% และ KTB ปรับลง 1.16% ขณะที่ SET Index ปรับลง 4.70% 

 

แนวโน้มผลประกอบการปี 2567:

 

InnovestX Research คาดว่ากำไรของกลุ่มธนาคารจะเติบโต 5% ในปี 2567 โดยได้แรงหนุนจากการเติบโตของสินเชื่อที่ 3%NIM ที่ค่อนข้างทรงตัว (ใช้สมมติฐานว่าไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย) Credit Cost ที่ลดลงเล็กน้อย Non-NII ในระดับคงที่ และอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ในระดับทรงตัว

 

สำหรับ 2Q67 คาดว่ากำไรโดยรวมจะอยู่ในระดับทรงตัว YoY แต่จะลดลงเล็กน้อย QoQ ซึ่งเป็นผลมาจาก NIM ที่แคบลงจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย MRR ลง 25 bps สำหรับลูกค้ากลุ่มเปราะบาง

 

กลยุทธ์การลงทุนและคำแนะนำคือ เลือก BBL (เรตติ้ง Outperform ราคาเป้าหมาย 180 บาทต่อหุ้น) และ KTB (เรตติ้ง Outperform ราคาเป้าหมาย 22 บาทต่อหุ้น) เป็นหุ้นเด่นของกลุ่มธนาคาร เนื่องจาก Valuation น่าสนใจที่สุดและความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่ำที่สุด

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ 

 

  • ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ไม่ทั่วถึง การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์
  • การขยายสินเชื่อได้ช้ากว่าคาด เนื่องจากความต้องการสินเชื่อชะลอตัวและการแข่งขันสูง
  • ความเสี่ยงด้าน ESG จากการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรมและความเสี่ยงด้านการกำกับดูแล
  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

X
Close Advertising