×

เจาะลึกทุกแง่มุม เมื่อ Makro และ Lotus’s มาอยู่ภายใต้ชายคาเดียว ใครได้ประโยชน์จากเรื่องนี้บ้าง [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
07.10.2021
  • LOADING...
Makro and Lotus

HIGHLIGHTS

5 Mins. Read
  • เมื่อ Makro และ Lotus’s มารวมอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกัน สิ่งแรกที่จะเห็นได้ชัดเจนคือ ผลการดำเนินงานของ Makro ที่จะเติบโตและแข็งแกร่งขึ้น โดยคาดว่ารายได้รวมจะก้าวกระโดดจาก 2 แสนล้านบาท มาเป็น 4 แสนล้านบาท ส่วนกำไรก็จะกระโดดมาสู่หลัก 8 พันล้านบาทในทันที
  • การปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจค้าปลีกค้าส่งครั้งนี้ คือการเข้ามาช่วยเพิ่มความคล่องตัว ลดความซับซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และเพิ่มศักยภาพการขยายธุรกิจโดยเฉพาะใน ‘ตลาดต่างประเทศ’ เพื่อรองรับโอกาสฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ภายหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย
  • โอกาสที่สำคัญมาจากเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีประชากรกว่า 2,000 ล้านคน ซึ่งไม่เพียงเป็นโอกาสของ Makro และ Lotus’s เท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสให้กับ SMEs และผู้ผลิตสินค้ารายย่อยของไทย ซึ่งจะสามารถร่วมเติบโตไปด้วยกันในตลาดต่างประเทศผ่าน ‘แพลตฟอร์มแห่งโอกาส’
  • อีกหนึ่งผลประโยชน์ข้อใหญ่จากการรวมกันในครั้งนี้คือ จะช่วยเพิ่มสัดส่วนหุ้นหมุนเวียนในตลาดหลักทรัพย์ (Free Float) ของ Makro เป็นไม่ต่ำกว่า 15% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้หุ้นของ Makro มีโอกาสถูกนำไปคำนวณในดัชนีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น SET50 หรือแม้แต่ดัชนีระดับโลกอย่าง MSCI และ FTSE ซึ่งจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับนักลงทุนสถาบันทั้งไทยและต่างประเทศในทันที

การมารวมอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกันของของ Makro และ Lotus’s นับเป็นการปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งครั้งสำคัญของเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือเครือ CP ที่ทุกคนกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

 

เครือ CP กำลังมองเห็นอะไรอยู่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะได้อะไรจากเรื่องนี้ นับว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

 

เมื่อ Makro และ Lotus’s มารวมอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกัน

จุดเริ่มต้นของการมาอยู่ร่วมกันในครั้งนี้คือ การที่ Makro จะรับโอนกิจการของกลุ่ม Lotus’s ภายใต้ชื่อ บริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (CPRD) จากบริษัท ซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด (CPRH) ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือหุ้นใน CPRD อยู่อีกที

 

CPRH มีผู้ถือหุ้น 3 ราย ประกอบไปด้วย บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) ถือหุ้น 40% บมจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (CPH) ถือหุ้น 40% และบริษัท ซี.พี. เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด (CPM) ถือหุ้น 20% 

 

สิ่งที่น่าสนใจคือ การโอนกิจการครั้งนี้ไม่ต้องใช้กระแสเงินสด เพราะ Makro จะออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement หรือ PP) ให้กับเจ้าของเดิมทั้ง 3 ราย ประมาณ 5 พันล้านหุ้น ที่ราคา 43.50 บาท รวมมูลค่ากว่า 2.17 แสนล้านบาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนการรับโอนกิจการ

 

แน่นอนว่าเมื่อ Makro และ Lotus’s มารวมอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกัน สิ่งแรกที่จะเห็นได้ชัดเจนคือ ผลการดำเนินงานของ Makro ที่จะเติบโตและแข็งแกร่งขึ้น 

 

สุทธาทิพย์ พีรทรัพย์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัย บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ประเมินว่า รายได้ของ Makro จะเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว จาก 2 แสนกว่าล้านบาท เป็นประมาณ 4 แสนล้านบาท ขณะที่กำไรก็จะเพิ่มเป็น 8 พันกว่าล้านบาท โดยเป็นกำไรจาก Makro ราว 6.5 พันล้านบาท และ Lotus’s ประมาณ 2 พันล้านบาท

 

แต่ที่มองข้ามไม่ได้คือ Lotus’s นั้นมีพื้นที่ให้เช่ากว่า 1 ล้านตารางเมตร ถือเป็นพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ ซึ่งแม้ช่วงสถานการณ์โควิด Lotus’s จะได้รับผลกระทบจากการปิดศูนย์การค้าและการให้ส่วนลดแก่ผู้เช่า แต่เมื่อไรก็ตามที่สถานการณ์คลี่คลาย รายได้ค่าเช่าพื้นที่มีแนวโน้มจะกลับมา ซึ่งอย่างที่รู้กันว่ากำไรจากการให้เช่าพื้นที่ดีกว่ากำไรจากการขายสินค้า จุดนี้เองจะเป็นส่วนเสริมที่ทำให้กำไรของ Makro เติบโตแบบก้าวกระโดด

 

ขณะที่ข้อมูลจากบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หยวนต้า ระบุว่า ก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด ทาง Lotus’s นั้นมีกำไรกว่า 8 พันล้านบาท

 

ด้านมุมมองของ บล.เอเชีย เวลท์ ประเมินว่า ดีลการปรับโครงสร้างภายในเครือ CP ครั้งนี้ ช่วยให้กระแสเงินสดในกลุ่มเพิ่มขึ้น และยังช่วยลดหนี้ลงจากการสร้างมูลค่าจากการเสริมศักยภาพซึ่งกันและกัน (Synergy) ในการขยายธุรกิจ โดยมีข้อดี 5 ด้าน ได้แก่ 

 

  1. เพิ่มโอกาสการเติบโตในธุรกิจทั้ง Makro และ Lotus’s โดยมุ่งเน้นในการขยายสินค้าประเภท Fresh Food (อาหารสด) และสินค้าอุปโภคบริโภค (Groceries) เพื่อโอกาสในการเป็นผู้นำด้านค้าปลีกและค้าส่งในระดับภูมิภาค 
  2. ตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้ง B2B (Makro) และ B2C (Lotus’s)
  3. การใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ และการสร้างมูลค่าจากการเสริมศักยภาพซึ่งกันและกัน (Synergy) ระหว่างธุรกิจในเครือ CP
  4. การพัฒนาแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและช่องทางการผสมผสานช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ (Offline and Online หรือ O2O) ทั้งในไทยและภูมิภาค
  5. การเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารพื้นที่เช่า 

 

สำหรับประโยชน์ต่อ CPALL เป็นการเพิ่มกระแสเงินสดให้กับบริษัทและลดภาระหนี้สิน

 

Makro and Lotus

 

โอกาสจากตลาดที่มีประชากร 2,000 ล้านคน 

ดังนั้นการปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งครั้งนี้ จึงเข้ามาช่วยเพิ่มความคล่องตัว ลดความซับซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และเพิ่มศักยภาพการขยายธุรกิจโดยเฉพาะใน ‘ตลาดต่างประเทศ’ ซึ่งจะเข้ามารับโอกาสฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย

 

แม้วันนี้ทั้ง Makro และ Lotus’s ต่างขยายธุรกิจในต่างประเทศอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเปิดสาขาที่กัมพูชา อินเดีย เมียนมา และจีน ของ Makro และธุรกิจในมาเลเซียของ Lotus’s ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ประกอบการอันดับ 1 ในธุรกิจโมเดิร์นเทรดอยู่แล้ว

 

ทว่าโอกาสของ Makro และ Lotus’s ยังเปิดกว้างกว่านั้นมาก ซึ่งสิ่งที่ทั้งคู่มองไว้คือการเข้าไปบุกตลาดเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีประชากรกว่า 2,000 ล้านคน

 

ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ได้ขยายความในการให้สัมภาษณ์ในรายการ The Secret Sauce ของ THE STANDARD ว่า โอกาสในตลาดต่างประเทศของทั้ง Makro และ Lotus’s อยู่ที่กลุ่มประเทศที่อยู่ใต้เส้น S-Curve ของธุรกิจโมเดิร์นเทรด ทั้งอินเดีย เวียดนาม ศรีลังกา ลาว และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้ประชากรมีรายได้และการเข้าถึงธุรกิจโมเดิร์นเทรดยังไม่สูงนัก

 

“ที่น่าสนใจคือกลุ่มประเทศที่อยู่ใต้เส้น S-Curve นั้น เปรียบเสมือน Makro และ Lotus’s ที่เริ่มทำธุรกิจเมื่อ 20 ปีก่อน ถ้าวันนี้เราไปลงทุนในเมืองใหญ่ๆ ของประเทศเหล่านี้ อีก 10-15 ปี Makro และ Lotus’s ก็จะเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูง มีโอกาสเป็นผู้นำธุรกิจในประเทศเหล่านั้น”

 

Makro and Lotus

 

โอกาสของ ‘SMEs ไทย’ ผ่าน ‘แพลตฟอร์มแห่งโอกาส’

การขยายไปตลาดต่างประเทศไม่เพียงเป็นโอกาสให้กับทั้ง Makro และ Lotus’s แต่นี่ยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับ SMEs และผู้ผลิตสินค้าของไทย เพื่อร่วมเติบโตไปด้วยกันในตลาดต่างประเทศผ่าน ‘แพลตฟอร์มแห่งโอกาส’

 

ที่ผ่านมา หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญที่สุดสำหรับ SMEs และผู้ผลิตสินค้ารายย่อยของไทยที่ต้องเผชิญในการขยายเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ คือความยากลำบากในการเข้าสู่ระบบการจัดจำหน่ายของประเทศอื่นๆ ซึ่งระบบเหล่านั้นอาจจะให้ความสนใจเฉพาะแบรนด์ผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายสินค้ารายเดิมๆ นอกจากนั้นการอาศัยพ่อค้าคนกลางจำนวนมากอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยด้วย

 

ดังนั้น ‘แพลตฟอร์มแห่งโอกาส’ จึงจะเข้ามาเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระบบเศรษฐกิจโลกยุคหลังวิกฤตโควิด โดยทั้ง Makro และ Lotus’s จะช่วยสร้างแพลตฟอร์มให้กับบริษัทอื่นๆ จากประเทศไทย โดยเฉพาะผู้ผลิตสินค้ารายย่อยหรือ SMEs ไทยนับหมื่นๆ ราย เพิ่มศักยภาพการทำธุรกิจของพวกเขาให้ได้มากที่สุด สามารถนำผลผลิตและสินค้าไปขายในต่างประเทศ พร้อมทั้งยกระดับผลิตภัณฑ์ของคนไทยให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

 

“การขยายช่องทางค้าปลีกในตลาดโลกให้มากขึ้นสำหรับสินค้าไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลผลิตทางการเกษตรแปรรูปและอาหารสด คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยสานฝันของประเทศไทยในการเป็นฮับของอาหารสดและสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงเป็น ‘ครัวของโลก (Kitchen of the World)’ โดยร้านค้าของเครือ CP จะทำหน้าที่เสมือนท่อธุรกิจที่ลำเลียงนำธุรกิจขนาดเล็กๆ จากประเทศไทยให้เข้าสู่ตลาดใหม่ได้ พร้อมกับนำผลผลิตและสินค้าของไทยไปนำเสนอ สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจของเขาเอง ตลอดจนเสริมสร้างความแข็งแกร่งในทุกสถานการณ์ (Resilience) ให้กับธุรกิจของเรา” ศุภชัยกล่าว

 

Makro and Lotus

 

เสริมศักยภาพธุรกิจ O2O

อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจ คือการเข้ามาตอบสนองต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและการผสมผสานช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ (Offline and Online หรือ O2O) 

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การระบาดของโรคโควิดได้ก่อให้เกิด New Normal ซึ่งหลายคนเริ่มมีการปรับตัว และเปิดใจใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบายมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การช้อปปิ้งออนไลน์ เรื่องนี้ยืนยันได้จากผลสำรวจของ Facebook และ Bain จากการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้คนจำนวน 16,000 คนใน 6 ประเทศ อย่าง ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม

 

ข้อมูลดังกล่าวได้ประมาณการออกมาได้ว่า ตั้งแต่ที่มีการเริ่มต้นระบาดของโควิดที่ผ่านมามีจำนวนนักช้อปออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ต่ำกว่า 70 ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงคาดการณ์ว่าจำนวนของนักช้อปออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะสูงถึง 350 ล้านคนภายในสิ้นปีนี้ และจะขยายไปถึง 380 ล้านคนภายในปี 2026

 

ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่ตอบว่า “ส่วนใหญ่แล้วจะช้อปปิ้งทางออนไลน์เป็นหลัก” เพิ่มขึ้นจาก 33% ในปี 2020 เป็น 45% ในปีนี้ โดยคำตอบส่วนมากจะมาจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

 

ในด้านค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของการช้อปปิ้งออนไลน์ เพิ่มขึ้นถึง 60% จาก 238 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน (หรือราว 7,911 บาทต่อคนในปี 2020 เป็น 381 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน หรือราว 12,664 บาทต่อคนในปีนี้

 

ซึ่งเรื่องการขับเคลื่อนเข้าสู่โลกออนไลน์มากขึ้นนั้น ศุภชัยได้พูดถึงในรายการ The Secret Sauce เพิ่มเติมเอาไว้ว่าทั้ง Makro และ Lotus’s ต้องปรับตัวเข้ากับอีคอมเมิร์ซ การเดินหน้าจากออฟไลน์ไปสู่ออนไลน์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะดิสรัปชัน (Disruption) ที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมค้าปลีกทุกวันนี้คือ ‘อีคอมเมิร์ซ’

 

“เพราะฉะนั้นเมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลง การก้าวสู่ออนไลน์เลยกลายเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญ (Transformation) ที่ทำให้เกิดการเติบโตและความยั่งยืนต่อธุรกิจ” ศุภชัยกล่าว

 

ตัว Makro เองก็มีแผนเชิงกลยุทธ์ใหม่หลายโครงการ เช่น 

 

  1. การลงทุนในแพลตฟอร์มตลาดซื้อขายแบบ Business to Business หรือ B2B เพื่อให้บริการการจับจ่ายที่ครบครันและตอบโจทย์ลูกค้าในที่เดียว (One-stop Shopping and Supply Solutions) 
  2. การพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อรองรับการทำการตลาดแบบ Business to Customer หรือ B2C ที่ให้บริการต่างๆ แก่ลูกค้า เช่น การจับจ่ายที่แสนสะดวกสบายเพียงคลิกเดียวแก่ลูกค้า (One-click Shopping) และการบริการจัดส่งสินค้าอาหารสดที่รวดเร็ว 
  3. การจัดทำระบบนิเวศ Business-to-Business-to-Customer หรือ B2B2C ซึ่งจะมีการร่วมดำเนินงานกับคู่ค้าทางธุรกิจที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อปรับใช้ระบบงานที่ทันสมัยและเข้าถึงได้ด้วยระบบดิจิทัลสำหรับช่องทางการขายของกลุ่มคู่ค้าดังกล่าว นอกเหนือไปจากการนำเสนอกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจของคู่ค้าดังกล่าวต่อไป 

 

โครงการเหล่านี้จะเข้ามาตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัลและเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลายได้ดียิ่งขึ้น

 

เพิ่มขีดความสามารถในการเติบโต

อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรับโอนกิจการของกลุ่ม Lotus’s ทั้งหมดและการจัดสรรหุ้นเสร็จสมบูรณ์ ทาง Makro จะมีการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 1.362 พันล้านหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไป (Public Offering หรือ PO) เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปร่วมลงทุนใน Makro และเพื่อเพิ่ม Free Float รวมถึงเป็นเงินทุนสำหรับการขยายธุรกิจและเติบโตในอนาคต

 

ขณะเดียวกัน บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่า การขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไป (Public Offering หรือ PO) นั้นจะทำให้ Makro มีเงินทุนเพิ่มเข้ามาประมาณ 5.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งเงินดังกล่าวส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้สำหรับชำระหนี้ ซึ่งจะช่วยลดภาระทางการเงิน ส่วน บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ได้ประเมินว่า Lotus’s มีโอกาสที่จะรีไฟแนนซ์เงินกู้จากดอกเบี้ย 4.5-4.7% ซึ่งจะทำให้ต้นทุนทางการเงินลดลง

 

อีกหนึ่งประโยชน์ที่มาพร้อมกันจากการขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไป (Public Offering หรือ PO) นั่นคือจะช่วยเพิ่มสัดส่วนหุ้นหมุนเวียนในตลาดหลักทรัพย์ (Free Float) ของ Makro ซึ่งคำนวณคร่าวๆ Free Float ของ Makro จากการขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไป (Public Offering หรือ PO) อยู่ที่ 12.2% รวมกับปัจจุบันที่ 3.4% เท่ากับว่า Free Float ของ Makro จะเพิ่มขึ้นเป็น 15.6% สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของตลาดหลักทรัพย์ฯ ไปเรียบร้อย รวมถึงผู้ถือหุ้นเดิมของ Makro คือ CPALL, CPM และ CPH จะร่วมเสนอขายหุ้นสามัญที่ตนถืออยู่ใน Makro ด้วยบางส่วน พร้อมกับเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไป (Public Offering หรือ PO) ในครั้งนี้ด้วย

 

ดังนั้นด้วย Free Float ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับ Market Capitalization ที่ใหญ่ขึ้น เท่ากับว่าหุ้น Makro มีโอกาสจะถูกนำไปคำนวณในดัชนีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น SET50 หรือแม้แต่ดัชนีระดับโลกอย่าง MSCI และ FTSE ซึ่งเมื่อเข้าคำนวณในดัชนีสำคัญต่างๆ ก็จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับหุ้น Makro โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนทั้งสถาบันไทยและต่างประเทศ

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising