×

หนึ่งปี MAKE โดย KBTG ก้าวต่อไปในวันที่ขอเป็นผู้ช่วยจัดระเบียบการใช้จ่ายให้สะดวก เป็นมิตรขึ้น [ADVERTORIAL]

29.10.2021
  • LOADING...
MAKE by KBank

HIGHLIGHTS

7 Mins. Read
  • จุดเริ่มต้นของ MAKE หรือเมฆในชื่อเวอร์ชันไทย มาจากความตั้งใจที่อยากจะชวนคนรุ่นใหม่มาใช้งานกระเป๋าสตางค์ (บัญชีธนาคาร) รูปแบบใหม่ที่มีความสะดวกมากขึ้น ใช้งานง่ายมากขึ้น
  • ปัจจุบัน MAKE มีผู้ใช้งานหลักแสนรายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีจำนวนการเปิดกระเป๋าแบบ Cloud Pocket ประมาณ 250,000 ใบ ซึ่งโดยมากเป็นกระเป๋า Cloud Pocket ที่มีการแอ็กทีฟหรือใช้งานเป็นประจำเสียด้วย
  • ล่าสุดเพิ่งเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่บนแพลตฟอร์ม Expense Summary ออกมา ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถแจกแจงรายละเอียดการใช้จ่ายของพวกเขาได้ตามแต่ละประเภทการใช้งานควบคู่ไปกับ Cloud Pocket แต่ละใบ

เผลอไม่นาน แพลตฟอร์มการเงินรูปแบบใหม่ ‘MAKE by KBank’ ที่ KBTG หรือ บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป เปิดตัวออกมาเพื่อเจาะตลาดผู้ใช้งานกลุ่มคนรุ่นใหม่ ผ่านการออกแบบฟีเจอร์และ UX/UI อินเทอร์เฟซต่างๆ ให้สามารถใช้งานแอปฯ โมบายล์แบงกิ้งแอปฯ นี้ได้อย่างเป็นมิตร ใช้งานง่าย เพิ่มความสะดวกสบายในเรื่องการจัดการเงินๆ ทองๆ มากขึ้น ก็มีอายุครบ 1 ปีไปเป็นที่เรียบร้อย

 

แม้จุดเริ่มต้นของ MAKE หรือเมฆในชื่อเวอร์ชันไทย มาจากความตั้งใจที่อยากจะชวนคนรุ่นใหม่มาใช้งานกระเป๋าสตางค์ (บัญชีธนาคาร) รูปแบบใหม่ที่มีความสะดวกมากขึ้น ใช้งานง่ายมากขึ้น แต่วันนี้ความสามารถของ MAKE กลับเริ่มลอยไปไกลขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังคงมองเห็นและจับต้องได้ง่ายเหมือนเคย

 

อย่างล่าสุด เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ พวกเขาเพิ่งโหมข่าวเปิดตัวฟีเจอร์การใช้งาน การสรุปบัญชีการใช้จ่ายรูปแบบใหม่ หรือ ‘Expense Summary’ ออกมา ซึ่งก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญในการพัฒนาแพลตฟอร์มการเงินให้ครบ จบ เก่ง และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้ถูกจุด ถูกจังหวะเหมือนเคย

 

THE STANDARD WEALTH จึงอยากชวนคุณมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันว่า ตลอดเส้นทางการเดินทางลอยละล่องเป็นกระเป๋าสตางค์ออนไลน์บนคลาวด์ให้กับผู้ใช้งานจำนวนมาก ทีมผู้พัฒนาผู้อยู่เบื้องหลัง MAKE พบแง่มุมอะไรที่น่าสนใจบ้าง เบื้องหลังการเปิดตัวฟีเจอร์ Expense Summary คืออะไร

 

แล้วเส้นทางต่อจากนี้ของก้อนเมฆก้อนนี้จะมุ่งหน้าไปยังทิศทางใด?

MAKE by KBank

 

หนึ่งปีผ่านไป MAKE ให้ผู้ใช้งานคนรุ่นใหม่จัดการการเงินได้ดีขึ้น สะดวก สบาย และไร้ข้อจำกัด

วิทวัส พาณิชวทัญญู Senior Growth Engineer ประจำทีม MAKE เริ่มต้นกล่าวถึงภาพรวมของ MAKE ในการให้บริการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเอาไว้ว่า ก่อนหน้านี้ในช่วงปลายปีที่แล้ว พวกเขาได้เริ่มทดลองให้บริการ MAKE แบบทดลองกับเฉพาะพนักงานในบริษัทเท่านั้น ก่อนที่จะเริ่มขยายขอบเขตการให้บริการกับผู้ใช้งานทั่วไปตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

 

จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงเดือนตุลาคม ปัจจุบัน MAKE มีผู้ใช้งานหลักแสนรายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีจำนวนการเปิดกระเป๋าแบบ Cloud Pocket ประมาณ 250,000 ใบ (บัญชีธนาคารกสิกรไทยที่เปิดการใช้งานกับ MAKE สามารถแยกกระเป๋า Cloud Pocket ตามแต่ละวัตถุประสงค์การใช้งาน และความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างสะดวก) และโดยมากเป็นกระเป๋า Cloud Pocket ที่มีการแอ็กทีฟหรือใช้งานเป็นประจำเสียด้วย

 

ที่สำคัญ ผู้ใช้งานหลักแสนรายที่ว่ายังมีพฤติกรรมการใช้งานที่ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ โดยมีอัตราการล็อกอินเข้าใช้งานแพลตฟอร์มสูงถึง 80% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่สูงเป็นอย่างมากหากเทียบกับแพลตฟอร์มโมบายล์แบงกิ้งที่เพิ่งตัดสายสะดือคลอดออกมาสู่ตลาด

 

ด้าน ชนาพร ธรรมสิทธิ์บูรณ์ Innovation Product Manager ประจำทีม MAKE เล่าเสริมว่า อินไซด์ที่น่าสนใจที่ทีม MAKE พบจากพฤติกรรมผู้ใช้งาน คือการที่ผู้ใช้แต่ละคนมีรูปแบบ หรือจุดประสงค์การใช้กระเป๋า Cloud Pocket ในบัญชีที่ค่อนข้างแตกต่างกันออกไปอยู่พอสมควร

 

“ผู้ใช้งานในแต่ละช่วงอายุก็จะมีแพตเทิร์นของการใช้งาน Cloud Pocket ที่แตกต่างกันไป อย่างที่เราชอบมากๆ เลยคือมีผู้ใช้งานคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เขาเก็บเงินซื้อ iPad ได้ เพราะเขามีแอปฯ MAKE

 

“โดยใช้วิธีแยกกระเป๋า Cloud Pocket สำหรับเก็บเงินซื้อ iPad แยกออกมาจากกระเป๋าสตางค์ Cloud Pocket ใบอื่นไปเลย ทีนี้พอเขาเก็บไปเรื่อยๆ เมื่อถึงเป้าหมายที่วางไว้มันก็จะมีเหรียญทองปรากฏออกมา เขาก็จะเห็นแล้วว่านี่คือเงินที่เขาแบ่งไว้ซื้อ iPad เขาเก็บได้ครบแล้วนะ หรืออย่างผู้ใช้งานกลุ่มสาวๆ ก็สามารถสร้างกระเป๋าขึ้นมาใหม่สำหรับเก็บเงินค่าเลเซอร์ โบท็อกซ์ ซึ่งที่ผ่านมาพวกเขาหรือเธอไม่สามารถทำได้เลยกับการสะสมเงินรวมไว้ที่บัญชีเดียว และก็คงไม่ไปเปิดบัญชีใหม่ขึ้นมาเพื่อเก็บเงินซื้อของอย่างเดียว”

 

สิ่งที่ Innovation Product Manager ประจำทีม MAKE ต้องการจะสื่อก็คือ ความสามารถของ Cloud Pocket กลายเป็นการกลบช่องโหว่ของบัญชีธนาคารแบบเดิมๆ ที่เราจะเห็นกระเป๋าสตางค์ของเรา เห็นเงินในบัญชีเป็นแบบ Flat แบบแบนๆ อยู่ใบเดียว

 

ในขณะที่เมื่อ MAKE เกิดขึ้นมา ก็เข้ามาแก้ปัญหานี้ได้อย่างถูกจุด ทำการ Visualize ให้คนได้เห็นว่า พวกเขาสามารถแยกกระเป๋าสตางค์ใบใหม่ๆ ออกมาได้อย่างไม่รู้จบ ตามแต่ละวัตถุประสงค์การใช้งานของแต่ละคน เพื่อให้เห็นภาพกระเป๋าสตางค์และเงินในบัญชีธนาคารของตัวเองได้อย่างชัดเจน และจับต้องได้มากขึ้น

 

ทั้งนี้ ปัจจุบันกลุ่มผู้ใช้งานหลักของ MAKE ในสัดส่วนราวๆ 80% จะครอบคลุมในกลุ่มคนรุ่นใหม่ในช่วงอายุ 18-30 ปีเป็นหลัก มีตั้งแต่ช่วงมัธยมศึกษาตอนปลาย ไปจนถึงคนทำงานกลุ่ม First Jobber ซึ่งเป็นช่องว่างในตลาดที่เมื่อ MAKE เกิดขึ้นมาแล้วก็สามารถเติมเต็มให้กับกสิกรไทยได้เป็นอย่างดี

MAKE by KBank

 

Expense Summary ไปต่อด้วยฟีเจอร์ใหม่สุดปัง ผู้ช่วยสรุปการใช้จ่ายแบบอัจฉริยะ

อย่างที่ได้บอกไปในตอนต้นว่า MAKE เพิ่งเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่บนแพลตฟอร์ม Expense Summary ออกมา ซึ่งหลักๆ แล้วความสามารถของฟีเจอร์นี้คือการช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถแจกแจงรายละเอียดการใช้จ่ายของพวกเขาได้ตามแต่ละประเภทการใช้งานควบคู่ไปกับ Cloud Pocket แต่ละใบ ซึ่งหัวใจและจุดประสงค์หลักๆ ของการพัฒนาฟีเจอร์นี้ออกมาก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถบริหารการเงินของตัวเองได้อย่างสะดวก ฉลาด และง่ายกว่าที่เคย

 

ชนาพรเล่าถึงจุดตั้งต้นของฟีเจอร์ใหม่ Expense Summary ว่า ตั้งแต่เปิดตัวแอปฯ MAKE ไปเมื่อต้นปี เราก็เห็นว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่ชอบ Cloud Pocket มากๆ และแอปฯ MAKE ก็เป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้เราพยายามที่จะลงไปคุยกับผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นช่องทางใดก็ตาม 

 

“ตอนนั้นเราเริ่มเรียกผู้ใช้งานจำนวนหนึ่งที่ใช้งาน MAKE เป็นประจำมาพูดคุยและสอบถามว่า สิ่งที่เขาชอบมากที่สุดสำหรับแพลตฟอร์มเราคืออะไร และเขาอยากเห็นการต่อยอดอะไร 

 

“สิ่งที่เราพบก็คือ เขาเห็นแล้วว่า MAKE เป็นตัวช่วยในการจัดการเงินของเขา แต่มันน่าจะดีกว่านี้อีก หาก MAKE มีตัวช่วยบางอย่างที่สามารถสรุปค่าใช้จ่ายที่เขาใช้จ่ายไปได้ เพราะถ้าเกิดเขาแบ่งเงินเป็นกองๆ ไว้ใน MAKE แล้ว เวลาที่เขาใช้จ่ายอะไรอาจจะต้องไปจดไว้ข้างนอก (แอปฯ อื่นๆ) เพื่อที่จะดูว่าเขาจ่ายเดือนนี้ไปเท่าไร เมื่อเราได้สารตั้งต้นจากจุดนี้ เราก็เลยลองมาเริ่มต้นพัฒนา UX/UI ของฟีเจอร์การใช้งาน Expense Summary สำหรับลูกค้า MAKE หรือลูกค้าที่ชอบใช้ Cloud Pocket ว่ามันควรจะออกมาในหน้าตาแบบไหน 

 

“เราไปหยิบเพนพอยต์ของลูกค้ามาว่า ลูกค้าอยากรู้ว่าเขามีค่าใช้จ่ายของตัวเองเท่าไร เราก็หยิบส่วนนั้นมาสรุปให้เขา เขาอยากจะรู้ว่ารายจ่ายจริงๆ ของเขาคือเท่าไร ซึ่งไม่รวมกับรายการที่เขาโอนเข้าไปเก็บในบัญชีเงินเก็บ เราจึงเอาเรื่องการซ่อนรายการเข้ามาทำ และเป็นจุดเริ่มต้นของฟีเจอร์นี้ขึ้นมา”

MAKE by KBank

 

ฟีเจอร์ Expense Summary นอกจากจะช่วยให้ผู้ใช้งานเห็นรายจ่ายของแต่ละ Cloud Pocket ได้ชัด ผ่านการแจกแจงประเภทการใช้งานแล้ว จุดเด่นอีกจุดคือการที่ MAKE นั้นรวมศูนย์เอาทุกอย่าง รวมทุกความสะดวกการใช้จ่ายให้จบลงในแอปฯ เดียวไว้แล้ว นั่นหมายความว่า ไม่ว่าจะจ่ายหรือจด ก็สามารถจัดการให้จบได้ในแอปฯ เดียวนั่นเอง

 

นอกเหนือจาก Expense Summary อชิรญา กุณฑลจินดา Advanced Growth Engineer ทีม MAKE ยังแย้มเป็นนัยไว้ด้วยว่า ในอนาคตเธอและทีมมุ่งมั่นที่จะพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ ให้ออกมาตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ซึ่งหนึ่งในน้ันจะโฟกัสฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนแน่นอน

 

สำหรับใครที่อยากเริ่มจัดการเงิน สำหรับ 2,500 ท่านแรกที่สมัครใช้งานและโอนเงินเข้าแพลตฟอร์มขั้นต่ำ 100 บาท จะได้รับเงินคืนทันที 50 บาทตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 (ดาวน์โหลดแอปฯ MAKE by KBank ได้ที่ App Store/ Play Store ใช้งานฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม https://kbank.co/3oeIg6E)

 

หัวใจและเป้าหมายที่แท้จริงของ MAKE กับอนาคตที่จะมุ่งไปต่อจากนี้

วิทวัสบอกกับเราว่า เป้าหมายและความตั้งใจของทีม MAKE แยกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกในมุมมองของฝั่งผู้ใช้งาน เขาและทีมตั้งเป้าที่จะแก้เพนพอยต์การจัดการด้านบัญชี กระเป๋าสตางค์ย่อยๆ ในบัญชี และการบริหารจัดการด้านการเงินให้กับผู้ใช้ให้ได้

 

ส่วนถัดมาในมุมธุรกิจหรือ KBTG น้ัน Senior Growth Engineer ประจำทีม MAKE บอกว่าเขาตั้งเป้าจะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาพัฒนาเป็นฟีเจอร์ใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมองไปถึงปลายทางการในการสเกลฟีเจอร์นั้นๆ ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพให้ได้

 

“พูดในฝั่งผู้ใช้งานก่อน เราต้องการจะแก้เพนพอยต์ของเขา นั่นก็คือปัญหาที่คนใช้เงินปนกันในบัญชีเดียว โดย MAKE ทำให้พวกเขาสามารถใช้เงินในบัญชีเดียวกันได้ แต่แยกกระเป๋าได้หลากหลายตามจุดประสงค์ แล้วถ้าแพลตฟอร์มของเราสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้จริงๆ ลูกค้าก็จะสามารถใช้งานกับเราได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตรงนี้ทำให้เหมือนเราต้องพัฒนาตัวเองตลอด พัฒนาแอปฯ ตลอด เพื่อให้ลูกค้ายังอยู่กับเราต่อไป 

 

“ในมุมของฝั่ง KBTG เราพยายามจะใช้เทคโนโลยีใหม่ ลองอะไรหลายๆ อย่างเพื่อให้การทำเทคฯ มันสเกลได้มากกว่า ซึ่งโดยปกติในการทำครั้งหนึ่งค่อนข้างที่จะใช้เวลานาน ถ้าเราไม่ได้มีนวัตกรรม ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ที่ดี 

 

“ส่วน KBank ซึ่งในที่นี้คือแอปฯ K PLUS เราเข้าใจกันอยู่แล้วว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีการใช้งานกันทุกวัน ดังนั้นถ้าคนจะทำธุรกรรมก็ต้องมุ่งมาที่ K PLUS อยู่แล้ว แต่ในบางมุม K PLUS อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ทุกคน การมี MAKE จะช่วยเติมเต็มให้กับผู้ใช้งานอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความต้องการด้านการจัดการการเงิน เพราะไม่ว่าอย่างไรในท้ายที่สุด ปลายทางลูกค้าก็จะเอ็นเกจกับกสิกรมากขึ้นอยู่ดี ลูกค้าที่ใช้แอปฯ MAKE ก็ไม่ได้ใช้แอปฯ K PLUS น้อยลงไปกว่าเดิมเลย”

 

ก้องภพ รุ่งเดช Advanced Innovation Product Manager ทีม MAKE เสริมว่า “เป้าหมายในระยะกลางจนถึงระยะยาว วิสัยทัศน์ของ MAKE คืออยากจะเป็นจุดเริ่มต้นให้กับน้องๆ หรือเด็กที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่เริ่มจัดการเรื่องการเงินของตัวเองได้ เพราะจากที่เรามีโอกาสไปพูดคุยมา ก็จะเห็นแล้วว่าเด็กๆ เขาเริ่มหาความรู้ เรื่องของการจัดการเงินการลงทุนอะไรแบบนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่มลงมือทำสักที เพราะเขารู้สึกว่าอาจจะต้องเรียนจบก่อน หรือรอ Trigger Point (จุดปลดล็อก) บางอย่างที่ทำให้เขาเริ่มได้ ซึ่งเราเชื่อว่า MAKE จะทำให้เขาเริ่มได้เร็วที่สุด 

 

“โดยเฉพาะตัวอย่างการแบ่งกระเป๋าเงินแบบ Cloud Pocket ที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ง่ายที่สุด เราอยากจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้คนไทยเข้ามาบริหารจัดการเงินได้ง่ายที่สุด”

 

ทีม MAKE ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมทิ้งท้ายอีกด้วยว่า นอกเหนือจากการศึกษาการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการการเงินได้ง่ายขึ้น ฉลาดขึ้น และสะดวกกว่าเดิม ทีมงานอยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนา UX ที่จะทำให้ K PLUS และ MAKE อยู่แยกกันได้อย่างดีที่สุด 

 

หรือหากจะอยู่ร่วมกัน ก็จะต้องทำให้ UX และ UI ของท้ัง K PLUS และ MAKE มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกตะขิดตะขวงใจระหว่างที่ใช้งาน

 

“เราไม่ได้มองว่าใช้ MAKE แล้วจะไม่ต้องใช้ K PLUS หรือใช้ K PLUS แล้วจะไม่ต้องใช้ MAKE อย่างที่บอกว่า MAKE เป็นตัวช่วยในการบริหารจัดการเงิน เราอาจจะไม่ได้ต้องการขยายการใช้งานให้เต็มเท่า K PLUS แต่โจทย์ของเราก็คือทำอย่างไรก็ได้ให้คนจัดการเงินง่ายขึ้น เราจะเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ จากโจทย์ตรงนี้ออกไปเรื่อยๆ มากกว่า” ชนาพรกล่าวปิดท้าย

 

น่าจับตาเหลือเกินว่า เส้นทางต่อจากนี้ของ MAKE จะมุ่งหน้าไปยังทิศทางใด แต่สิ่งหนึ่งที่มั่นใจได้เลยก็คือ ความคล่องตัวในการใช้งานตัวช่วยการจัดการด้านการเงินบนแพลตฟอร์มของพวกเขา ที่จะยังคงคอนเซปต์ความง่าย ความสะดวก และความคล่องตัวต่อไปยาวๆ ไม่ต่างจากคุณลักษณะของ ‘เมฆ’ ชื่อในเวอร์ชันภาษาไทยของพวกเขานั่นเอง

 

MAKE by KBank

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising