×

ยอดขายแบรนด์เนมหรูเริ่มซบเซา หลังชาวจีนและชาวอเมริกันเริ่มระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น

01.08.2023
  • LOADING...
ยอดขายแบรนด์เนม

จากการฟื้นตัวหลังการระบาดของโรคโควิด กระตุ้นให้ผู้บริโภคออกมาใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้สินค้ากลุ่มแบรนด์เนมหรูได้รับอานิสงส์ดังกล่าวด้วยเช่นกัน แต่ในปัจจุบันความนิยมดังกล่าวเริ่มถดถอย เมื่อผู้คนเริ่มใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะในจีนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่สำหรับกลุ่มสินค้าหรูหราจำนวนมาก

 

แบรนด์เนมชื่อดังอย่าง Hermès และ LVMH ต่างมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งภายในปีนี้ ตามหลัง Kering เจ้าของ Gucci ซึ่งประสบปัญหาในการรีแบรนด์เรือธงของตน อย่างไรก็ตาม บริษัทต่างๆ เช่น LVMH, Prada รวมทั้ง Richemont เจ้าของแบรนด์ Cartier รายงานการเติบโตของยอดขายที่ลดลงในสหรัฐอเมริกา ขณะที่การฟื้นตัวในจีนหลังมาตรการล็อกดาวน์ที่รุนแรงเมื่อปีที่แล้วยังคงดำเนินต่อไป แต่ช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้

 

ฌอง ฌากส์ กีโอนี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ LVMH กล่าวว่า สภาพตลาดทั่วโลกในปัจจุบันไม่ใช่การซื้อเพื่อปลดปล่อยภาวะทางอารมณ์หลังโควิดอย่างที่เราเห็นในปี 2021 และ 2022 อีกต่อไป แต่เป็นการปรับสภาพเข้าสู่ภาวะปกติก่อนการเกิดโรคระบาด

 

จากข้อมูลของบริษัทที่ปรึกษา Bain และ Altagamma พบการเติบโตเป็นประวัติการณ์ของอุตสาหกรรมแบรนด์เนมในปี 2022 โดยเพิ่มขึ้นถึง 25% กลายเป็น 3.45 แสนล้านยูโร เนื่องจากความต้องการในสินค้าหรูหราตั้งแต่กระเป๋าถือ Birkin ไปจนถึงการเดินทางสุดหรูพุ่งสูงขึ้น กระแสความหรูหรายังคงมีขนาดเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าภายในปี 2030 แต่การเติบโตภายในปีนี้คาดว่าจะต่ำลงประมาณ 5-12%

 

การใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ดีขึ้นจนสร้างความประหลาดใจให้แก่ภาครัฐและนักเศรษฐศาสตร์เป็นอย่างมาก แม้ว่าธนาคารกลางทั่วโลกจะยังคงเพิ่มอัตราดอกเบี้ยต่อไป แต่เมื่อตลาดแรงงานเริ่มชะลอความรุนแรงลง การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างจึงเริ่มช้าลง และภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็ปรากฏให้เห็นได้ชัดขึ้น 

 

ทั้งนี้ การใช้จ่ายสำหรับการโดยสารเรือ เครื่องบิน และการซื้อเครื่องประดับ มีแนวโน้มอ่อนตัวลงและลดลงสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาด 

 

นักลงทุนมีปฏิกิริยาอย่างมากต่อผลประกอบการล่าสุด หุ้น Richemont ร่วงลง 9% ในสัปดาห์ที่แล้ว ฉุดแบรนด์เนมยี่ห้ออื่นๆ ในกลุ่มลงตามไปด้วย หลังจากรายงานยอดขายในไตรมาสล่าสุดที่ซบเซาของสหรัฐฯ LVMH ผู้นำในอุตสาหกรรมมียอดขายเพิ่มขึ้น 17% เป็น 4.22 หมื่นล้านยูโรในช่วงครึ่งแรกของปี แต่ในไตรมาสที่ 2 ยอดขายหดตัวลง 1% ในสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้หุ้นลดลงเกือบ 4% 

 

อย่างไรก็ตาม Hermès ยังเป็นข้อยกเว้น เนื่องจากยังคงเป็นสินค้าที่นักช้อปต่างรอคอยและยังพึ่งพาการใช้จ่ายจากนักท่องเที่ยวน้อยลง อีกทั้งยังหันไปสนับสนุนลูกค้าในท้องถิ่น พร้อมวางตำแหน่งแบรนด์ระดับพรีเมียมเป็นพิเศษ ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่องกันอีกครั้ง โดยที่ยอดขายไม่ลดลงในสหรัฐฯ ด้านการตกต่ำในจีนเนื่องจากการจำกัดการล็อกดาวน์เมื่อต้นปียังส่งผลต่อบริษัทน้อยกว่าแบรนด์คู่แข่ง

 

Kering ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ต่างๆ เช่น Saint Laurent, Gucci และ Bottega Veneta ได้รายงานยอดขายครึ่งปีแรกเติบโตเพียง 2% เป็น 1.01 หมื่นล้านยูโร ในขณะที่ยอดขายของ Gucci ซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของรายได้ของกลุ่มหดตัวลง

 

เฟเดริกา เลวาโต หุ้นส่วนของ Bain กล่าวว่า ในสหรัฐฯ ประสิทธิภาพของแบรนด์มีการแยกส่วนและกระจัดกระจายอย่างมาก มีแบรนด์ที่เติบโต 30% แต่ก็มีแบรนด์ที่หดตัว 30% เช่นกัน โดยหมวดหมู่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือเสื้อผ้าแนวสตรีท กระเป๋าใบเล็ก และรองเท้าผ้าใบระดับเริ่มต้น ซึ่งทุกหมวดหมู่นั้นเป็นสินค้าสำหรับผู้บริโภคที่มีแรงบันดาลใจเริ่มต้นในการเข้าถึงสินค้าหรูหรา ซึ่งได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อมากกว่า

 

อ้างอิง:

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising