เพราะเหตุใดการเติบโตของ SMEs จึงเป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
หากอิงข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ของตัวเลข SMEs ทั่วประเทศ ปัจจุบันมี 3,176,055 ราย แบ่งเป็น กลุ่มวิสาหกิจรายย่อยมากถึง 85.47% รองลงมาคือวิสาหกิจขนาดย่อม คิดเป็น 13.18% และวิสาหกิจขนาดกลาง 1.35% ถือเป็นสัดส่วนที่สร้างผลกระทบอย่างมากต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เชื่อมโยงไปถึงเรื่องการจ้างงาน การกระจายรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจ SMEs ถือเป็นธุรกิจที่อยู่ในระบบนิเวศเศรษฐกิจครอบคลุมตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงหน้าร้าน เท่ากับว่าหาก SMEs เติบโตอย่างยั่งยืนจะเพิ่มศัยกภาพและความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ
ที่ผ่านมาแม้จะมีมาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงที่เกิดวิกฤตจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั้งมาตรการเยียวยาและนโยบายของภาครัฐเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเดินหน้าต่อได้ หรือสถาบันการเงินต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อยเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น แต่ยังมีอีกหลายปัญหาที่แก้ไขไม่ตรงจุด ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถสร้างการเติบโตได้อย่างยั่งยืน
จุดนี้เองที่ ‘โลตัส’ ในฐานะธุรกิจค้าปลีกซึ่งเป็นกลไกสำคัญในระบบนิเวศของอุตสาหกรรมอาหารไทย เล็งเห็นถึงแนวทางการช่วยเหลือ SMEs และเกษตรกรไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ผ่านการสร้าง ‘แพลทฟอร์มแห่งโอกาส’ เพื่อผลักดันผู้ประกอบการไทยกว่า 7,000 ราย ผ่านโครงการต่างๆ ตลอดปี 2564
‘แพลทฟอร์มแห่งโอกาส’ ฟันเฟืองสำคัญของการพลิกโฉมเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน
‘แพลทฟอร์มแห่งโอกาส’ ที่ว่านี้เป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs และเกษตรกรให้สามารถสร้างรายได้ผ่านการสร้างเครือข่าย เพิ่มช่องทางการจำหน่าย กระจายสินค้าสู่ตลาดทั่วประเทศ ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ พัฒนาระบบนิเวศออนไลน์ของการค้าปลีกรูปแบบใหม่ ผ่านโครงการต่างๆ มากมาย ตั้งแต่การเจรจาทางธุรกิจออนไลน์ นำไปสู่การเพิ่มสินค้า SMEs กว่า 1,000 รายการที่จำหน่ายในสาขาทั่วประเทศและช่องทางออนไลน์ รับซื้อสินค้าเกษตรกรโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางในทุกภูมิภาค ไปจนถึงการเปิดพื้นที่ในศูนย์การค้าให้คนตัวเล็กฟรีท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการรอบด้าน โดยอิงตามความเหมาะสมกับศักยภาพและความพร้อมของผู้ประกอบการแต่ละราย ดังนี้
- ผู้ประกอบการในระดับเริ่มต้น
โลตัสสร้างฐานรากที่เข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการที่เพิ่มเริ่มต้นธุรกิจด้วยการจัดอบรมให้ความรู้เบื้องต้น ผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อบรมอาชีพเพื่อพัฒนาศักยภาพผ่านเสวนา Smart SME EXPO 2021 นอกจากนั้นยังมอบพื้นที่ในศูนย์การค้าฟรีให้กับผู้ประกอบการรายย่อยกว่า 1,670 ราย ได้เปิดบูธจำหน่ายสินค้า ทดลองตลาด และขยายฐานลูกค้าผ่านสาขาของโลตัสทั่วประเทศ ผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ Food and Art Free Market ที่โลตัส 119 สาขาทั่วประเทศ
- ผู้ประกอบการในระดับกลาง
เสริมสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม พัฒนาศักยภาพ ยกระดับมาตรฐานสินค้า มาตรฐานคุณภาพ และมาตรฐานการผลิต รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เชื่อถือได้ ให้กับผู้ประกอบการ เพื่อเตรียมความพร้อมในการวางจำหน่ายสินค้าในโลตัส โลตัสได้จัดงาน SME Online Business Matching ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 ต่อเนื่องทุกเดือน เปิดโอกาสให้กับธุรกิจที่มีศักยภาพได้เจรจาทางการค้าโดยตรงกับทีมจัดซื้อของโลตัส เพื่อคัดเลือกสินค้าทุกหมวดหมู่มาจำหน่ายในสาขาและแพลทฟอร์มออนไลน์
- ผู้ประกอบการที่มีความพร้อมสูง
โลตัสเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถวางจำหน่ายสินค้า SMEs กว่า 2,100 สาขา และช่องทางออนไลน์ของโลตัส เพื่อเข้าถึงฐานลูกค้าทั่วประเทศ พร้อมโอกาสในการส่งออก
สมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย กล่าวว่า โลตัส ในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจค้าปลีก ได้ให้การสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการ SMEs มาอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นทั้งช่องทางการจำหน่ายสินค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์ในกว่า 2,100 สาขาทั่วประเทศ และเป็นพันธมิตรที่คอยสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการ SMEs ให้มีรากฐานที่มั่นคงและสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ที่ผ่านมาโลตัสทำงานร่วมกับพันธมิตรหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเป็น ‘แพลทฟอร์มแห่งโอกาส’ ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และเกษตรกรไทย”
ผลงานสนับสนุน SMEs และเกษตรกรเกือบ 7,000 รายตลอดทั้งปี 2564
จากแผนการดำเนินงานข้างต้นตลอดปี 2564 ส่งผลให้โลตัสสามารถพัฒนาและเพิ่มคู่ค้ารายใหม่ที่เป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพมากถึง 724 ราย และเพิ่มสินค้า SMEs คุณภาพกว่า 1,125 รายการ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากกิจกรรม SME Online Business Matching ที่จัดต่อเนื่องตลอดทั้งปี
ในช่วงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โลตัสได้สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพไปแล้วกว่า 1,600 ราย รวมถึงลดค่าเช่าในศูนย์การค้าให้กับผู้ประกอบการกว่า 1,500 ราย
ทางด้านโครงการรับซื้อผลผลิตตรงจากเกษตรกร (Direct Sourcing) ในปี 2564 สามารถรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรตรงจากเกษตรกรกว่า 1,400 ครัวเรือนจากทั้ง 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ รวมผลผลิตที่รับซื้อตรงจากเกษตรกรกว่า 1,820 ตัน เพื่อส่งมอบผักสดคุณภาพสูง ปลอดภัย ในราคาที่เอื้อมถึงให้กับผู้บริโภค ไม่เพียงแต่ช่วยรับซื้อ แต่โลตัสยังทำงานร่วมกับเกษตรกรอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การวางแผนการเพาะปลูก การควบคุมคุณภาพผลิตผล ตลอดจนการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง โดยใช้หลักการการตลาดนำการผลิต สนับสนุนให้เกษตรกรทั่วประเทศมีอาชีพที่มั่นคงและรายได้ที่เป็นธรรม ยั่งยืน และสามารถวางแผนได้
นอกเหนือจากกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย โลตัสยังสนับสนุน SMEs ในรูปแบบอื่นๆ เช่น จัดทำนโยบายข้อกำหนดสินเชื่อทางการค้า (Credit Term) เพื่อช่วยลดปัญหาสภาพคล่องสำหรับผู้ประกอบการขนาดย่อย ขนาดเล็ก และขนาดกลาง
ต่อยอดการเป็น ‘แพลทฟอร์มแห่งโอกาส’ สร้างรากฐานที่มั่นคงเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
เป้าหมายต่อไปของโลตัส คือการเดินหน้าต่อเนื่องจากแผนงานของปี 2564 เพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงและสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการ SMEs และเกษตรกรไทยผ่าน ‘แพลทฟอร์มแห่งโอกาส’ อาทิ การเพิ่มปริมาณการรับซื้อสินค้าเกษตรและสินค้า SMEs อย่างน้อย 10% ทุกปี เป็นระยะเวลา 5 ปี พร้อมสนับสนุน SMEs และเกษตรกรไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยทำงานจะร่วมกันกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมองค์ความรู้และนวัตกรรม การยกระดับมาตรฐานการผลิต เพิ่มมูลค่าของสินค้า และบริการด้านการเงิน
สำคัญอย่างยิ่งคือการส่งเสริมให้เกษตรกรและผู้ประกอบการได้พัฒนาศักยภาพตนเองอย่างเต็มที่ ภายใต้การสนับสนุนและผลักดันของ ‘โลตัส’ ตามพันธกิจ ดูแลลูกค้าให้ ‘รู้สึกดีดี ทุกวันที่โลตัส’ ไปพร้อมกับดูแลชุมชนและสังคม รวมถึงการสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นรากฐานและหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อ้างอิง: