หากเจ็บป่วยมนุษย์ยังบอกได้ว่าอยากเข้าโรงพยาบาลแบบไหน แต่สำหรับสัตว์เลี้ยง พวกเขาไม่สามารถบอกได้เลยว่าอยากได้รับการดูแลแบบไหน
หน้าที่นี้จึงตกเป็นของเจ้าของสัตว์เลี้ยง ที่ต้องเลือกทุกอย่างแทน ‘ลูก’ อย่างตั้งใจตั้งแต่อาหารดีๆ เตียงนุ่มๆ ห้องน้ำที่สะอาดไปจนถึงโรงพยาบาลที่เชื่อมั่นได้ว่าพร้อมดูแลพวกเขาเหมือนคนในครอบครัว เพื่อให้น้องหมา น้องแมว อยู่กับเราไปนานที่สุดเท่าที่จะนานได้
และนี่คือเหตุผลที่วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ สพ.ญ.ทัศวรินทร์ กาญจนฉายา หรือ หมอปุ้ยสัตวแพทย์หญิงผู้ก่อตั้ง ‘โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์’ โรงพยาบาลสัตว์ที่ตั้งใจออกแบบบรรยากาศให้สบาย คลายกังวลตั้งแต่ก้าวแรกเต็มไปด้วยทีมบุคลากรที่มีหัวใจรักสัตว์ พร้อมนวัตกรรมการรักษาที่ทันสมัยด้วยความเชื่อที่เรียบง่ายแต่งดงามว่า “สัตว์เลี้ยงไม่ใช่แค่คนไข้ แต่คือคนสำคัญในชีวิตของใครบางคน”
สพ.ญ.ทัศวรินทร์ กาญจนฉายา
โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์เริ่มต้นจากความตั้งใจอะไร
หมอปุ้ย: เริ่มต้นจากความเชื่ออย่างหนึ่งที่อยู่ในใจมาตลอดตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วงการสัตวแพทย์ค่ะ
เราเคยทำวิจัยเกี่ยวกับการใช้รกมนุษย์มาปลูกถ่ายกระจกตาเพื่อรักษาแผลหลุมกระจก ตาในสุนัข ตอนนั้นเราภูมิใจมากๆ เพราะเห็นชัดเลยว่าน้องทรมานน้อยลงมาก เราจึงมีความเชื่อลึกๆ ว่า ถ้าเราเอาวิทยาการที่ใช้กับมนุษย์มาใช้กับสัตว์เนี่ย จะช่วยชีวิตพวกเขาได้อีกมหาศาลเลย
หลังจากนั้นพอเริ่มทำงานทั้งในฐานะสัตวแพทย์และผู้บริหารโรงพยาบาลสัตว์ก็เริ่มมอง ภาพโรงพยาบาลสัตว์ในฝันของตัวเองไว้ในใจว่า ถ้ามีโอกาสจะสร้างโรงพยาบาลที่ใช้แนวคิด ‘Pet Humanization Through Advanced Medical Care’ หรือการยกระดับการดูแลสัตว์เลี้ยงให้ใกล้เคียงกับมนุษย์ ทั้งด้านคุณภาพชีวิตและการรักษาด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ
เลยเป็นที่มาของการสร้างโรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ เพราะรู้สึกว่าถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้ อายุมากกว่านี้ก็อาจจะไม่ได้ทำแล้ว
ชื่อ ‘อารักษ์’ มาจากอะไร
หมอปุ้ย: จริงๆ แล้วเราตั้งต้นจากภาษาอังกฤษก่อน คือคำว่า Guardian แปลว่าผู้พิทักษ์ แต่เราอยากได้ชื่อเป็นภาษาไทยมากกว่า เลยนึกถึงคำว่า ‘อารักษ์’ ในความหมายว่าการปกป้อง ดูแล และคุ้มครองให้ปลอดภัย เรามองว่าเป็นความหมายที่ดี แล้วก็เหมาะกับความตั้งใจของเรา เลยใช้ชื่อนี้ตั้งแต่เริ่มสร้างโรงพยาบาลเลย
ความแตกต่างของโรงพยาบาลสัตว์อารักษ์กับที่อื่น
หมอปุ้ย: เรามองว่าเครื่องมือทันสมัย แค่มีทุนก็ซื้อได้ แต่จะทำยังไงล่ะ ให้การรักษานั้นลึกเข้าไปถึงหัวใจของ Pet Parents หรือพ่อแม่ของสัตว์เลี้ยง
สำหรับโรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ เน้น 3 ประเด็นหลัก คือ
หนึ่ง ‘บรรยากาศ’ แค่พาสัตว์เลี้ยงมาหาหมอก็ทำให้ Pet Parents รู้สึกกังวลอยู่แล้ว เราเลยดีไซน์บรรยากาศของโรงพยาบาลให้สบายตั้งแต่ก้าวแรกที่เดินเข้ามาให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้นบ้าง ไม่ตึงเครียดเหมือนโรงพยาบาลทั่วไป บวกกับการใส่ใจเรื่องความสะอาดและกลิ่นในพื้นที่เราออกแบบระบบภายในให้ไม่มีกลิ่นสัตว์ เพื่อให้รู้สึกได้ถึงความสะอาดและโปร่งสบาย
บรรยากาศภายในโรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ สาขาทองหล่อ
ห้องพักสำหรับเฝ้าสัตว์ป่วยแอดมิต
สอง ‘คน’ สัตวแพทย์และบุคลากรทุกคนที่นี่ ถูกเทรนด์ด้วยคอนเซปต์เดียวกันคือ Pet Humanization to Advanced Medical Care ไม่ใช่แค่เรียนรู้เพื่อทำงาน แต่ลึกถึงระดับ DNA จะเห็นได้ว่าการบริการที่นี่แข็งแรงมาก ทั้งความใส่ใจ ความละเอียดอ่อน และเข้าใจหัวใจของคนรักสัตว์จริงๆ
สาม ‘นวัตกรรม’ เรามองว่าการรักษาสัตว์มันน่าจะพัฒนาไปด้วยการใช้วิทยาการของมนุษย์ได้ ที่อารักษ์มีศูนย์รักษาสัตว์เฉพาะทางถึง 13 ด้าน และมองหานวัตกรรมใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา อย่างล่าสุดก็มีเปิดตัวศูนย์รังสีวินิจฉัย (Imaging Center) มีเครื่อง MRI 1.5 Tesla ที่ใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์ด้วยนะ
บรรยากาศในศูนย์รังสีวินิจฉัย และเครื่อง MRI 1.5 Tesla
ไม่เคยคิดมาก่อนว่า MRI จะใช้ในสัตว์ได้ด้วย
หมอปุ้ย: ใช่ หมอเชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้ว่า MRI ใช้กับสัตว์ได้ ช่วยวิเคราะห์ทั้งโรคทางระบบประสาท โรคกล้ามเนื้อและกระดูก โรคตา โรคในช่องอกและช่องท้อง และอื่นๆ อีกเยอะเลย
แล้วทำไมต้องเป็น MRI 1.5 Tesla และ AI
หมอปุ้ย: จริงๆ ไปดูมาหลายโมเดลเลยค่ะ แต่ MRI 1.5 Tesla เป็นโมเดลที่น่าจะละเอียดที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
ส่วนเรื่อง AI ตอนแรกเรามองว่ามันเป็นแค่กระแสหรือเปล่า เพราะยังไม่มีความรู้เรื่องนี้มาก เลยส่งหมอไปดูงานที่ต่างประเทศทั้งทีมเลย ทั้งหมอดมยา หมอรังสีเทคนิค และหมอระบบประสาท ทุกคนตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า AI เนี่ย ช่วยย่นระยะเวลาได้ถึง 30-40% เลยนะ
ถ้าเราเคยได้ยินคนที่รู้จักเข้าอุโมงค์ MRI จะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง คิดสภาพนะ ในห้องมันเย็นมาก สัตว์เลี้ยงเข้าไปนอนในที่แคบแบบนี้ 2 ชั่วโมง มันเสี่ยงมาก ไม่ใช่เฟรมเวิร์กของเรา แต่พอมี AI เข้ามาช่วย บางตัวแค่ 30 นาที ก็ได้ผลออกมาเรียบร้อย
หลังจากเข้า MRI เสร็จแล้ว กระบวนการต่อไปคืออะไร
หมอปุ้ย: ปกติเวลาเราพาสัตว์เลี้ยงไป MRI หรือ CT Scan พอทำเสร็จก็กลับบ้าน แล้วทำนัดอีกทีเพื่อวิเคราะห์ผล ถ้ามีการผ่าตัดก็ต้องวางยาสลบอีกรอบ แต่ของอารักษ์ไม่ใช่แบบนั้น เราออกแบบ Imaging Center ที่เชื่อมต่อห้อง MRI และ CT Scan ไปสู่ห้องผ่าตัดได้โดยตรง
กระบวนการของเรา คือ เมื่อสัตว์เลี้ยงเข้าไปทำ MRI หรือ CT Scan จะรวมหมอระบบประสาท หมอดมยาและหมอผ่าตัดเพื่อวิเคราะห์ผลแบบ Real-time เมื่อพบความผิดปกติจากการตรวจ ก็สามารถพูดคุยกับเจ้าของ และพาน้องๆ ไปผ่าตัดต่อได้เลย สัตว์เลี้ยงไม่ต้องถูกวางยาสลบหลายๆ รอบ ลดความเสี่ยง และช่วยให้น้องๆ ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและปลอดภัยที่สุด
Operating room 1
ระหว่างขั้นตอนเหล่านี้ ดูแลเรื่องความรู้สึกของสัตว์เลี้ยงอย่างไรบ้าง เพราะบางครั้งการรักษาก็อาจทำให้น้องเครียดหรือหวาดกลัวเหมือนกัน
หมอปุ้ย: เรื่องนี้ไม่ต้องกังวลเลย เพราะสัตวแพทย์ทุกคนของอารักษ์จะมีความช่างสังเกต สามารถตรวจจับความรู้สึกของสัตว์เลี้ยงได้ ก็จะพอมองออกว่าเขาเครียดหรือมีพฤติกรรมที่ผิดปกติไหม หากมีส่วนนี้ ก็สามารถส่งไปพบหมอพฤติกรรมสัตว์เลี้ยงต่อได้เลย
‘มากกว่าการรักษา คือความใส่ใจ’ หมอปุ้ยมองเรื่องนี้อย่างไร
หมอปุ้ย: นี่เป็น motto ที่อารักษ์ยึดถือมาตลอด เพราะบางทีเรามุ่งแต่จะรักษาอย่างเดียว แต่ไม่มองรอบข้างเลย ไม่มองเจ้าของด้วยว่ามีความคิดเห็นอย่างไร กังวลเรื่องไหน
สำหรับอารักษ์เลยมองว่า การรักษาเราทำดีที่สุดอยู่แล้ว แต่ต้องบวกความใส่ใจเพิ่มลงไปด้วย ใส่ใจทั้ง ‘สัตว์เลี้ยง’ และ ‘เจ้าของ’ เลยนะ บางคนบอกว่าสัตว์เลี้ยงไม่เคยเจอโรคนี้มาก่อน เขาต้องเครียดมากแน่ๆ แต่ในความจริงเจ้าของก็ไม่เคยเจอใช่ไหมล่ะ ก็เป็นครั้งแรกของทั้งสัตว์และคนนั่นแหละ แล้วแนวทางการรักษามีให้เลือกมากมาย จะทำอย่างไรให้เจ้าของรู้สึกสบายใจที่สุดที่พาสัตว์เลี้ยงมารักษาที่อารักษ์
เรียกว่าได้ว่าเป็นทั้งหมอของทั้งสัตว์เลี้ยง และพ่อแม่สัตว์เลี้ยงด้วย
หมอปุ้ย: ใช่ เราเป็นสัตวแพทย์รักษาสัตว์ แต่ในอีกมุมหนึ่งก็ต้องเป็นจิตแพทย์ที่เยียวยาหัวใจของพ่อแม่สัตว์เลี้ยงด้วย เราอยากเป็นตัวเชื่อมระหว่าง bonding ของเจ้าของและสัตว์เลี้ยง ให้การรักษาดีที่สุด โดยเรายึดถือแนวทาง Patient Centric หรือคนไข้เป็นศูนย์กลาง สำหรับเราคนไข้คือทั้ง Pet Parents และ Pet เลยนะ
จากการคร่ำหวอดในวงการสัตวแพทย์กว่า 20 ปี คุณหมอมองเห็นพฤติกรรมของคนเลี้ยงสัตว์เปลี่ยนไปไหม
หมอปุ้ย: วงการคนเลี้ยงสัตว์เปลี่ยนไปมาก เรามองเห็นความสัมพันธ์หรือ bonding ระหว่างคนและสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คนเลี้ยงสัตว์เหมือน ‘ลูก’ ให้นอนบนเตียงด้วย สร้างห้องส่วนตัวให้ พาไปเที่ยวต่างจังหวัด ขนาดมีลูกจริงๆ ยังให้ลูกเรียกสัตว์เลี้ยงว่าพี่ ตอนนี้สัตว์เลี้ยงกลายเป็นคนในครอบครัวไปแล้ว
ด้านการรักษา เรามองว่ามันก้าวไปอีกขั้นนะ แต่ก่อนแค่ให้อาหาร เลี้ยงไว้เฝ้าบ้าน เจ็บป่วยก็พาไปหาหมอบ้าง แต่ตอนนี้พ่อแม่น้องหมา น้องแมว เนี่ย เขากังวลและใส่ใจทุกจุดเลย ตั้งแต่การป้องกันโรค ไปจนถึงการเลือกวิธีรักษาที่ดีที่สุด
อยากฝากอะไรถึง Pet Parents ในยุคนี้ที่กำลังอ่านบทความอยู่
หมอปุ้ย: จริงๆ แล้วหมออยากฝากถึงทั้งคนที่เลี้ยงสัตว์ และคนที่ไม่ได้เลี้ยงเลยนะคะ หมออยากให้มองว่าสัตว์ คือ ‘สิ่งมีชีวิต’ ที่มีคุณค่า มีความรู้สึกเหมือนกับมนุษย์คนหนึ่ง การที่เราดูแล หรือแม้แต่แบ่งปันความเมตตาให้กับเขาเพียงเล็กน้อย นั่นอาจเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้น ไม่ใช่แค่สำหรับเขานะแต่สำหรับเราด้วย
ส่วนในบทบาทของหมอเอง หมอรู้สึกว่าเรากำลังดูแลคนกลุ่มหนึ่งที่ผูกพันกับสัตว์เลี้ยงมากๆ เราจึงตั้งใจทำทุกอย่างให้พวกเขาได้มีช่วงเวลาร่วมกันที่ดีที่สุด และยกระดับคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยงให้ดีพอๆ กับของคน เพราะสุดท้ายแล้ว ความรักที่สัตว์เลี้ยงมีให้เจ้าของ มันคือความรักที่บริสุทธิ์มาก และควรได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ค่ะ
จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของสัตวแพทย์ผู้มีหัวใจอยากยกระดับการรักษาสัตว์ให้ดีที่สุด วันนี้โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ได้ขยายบริการครอบคลุมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด พร้อมทีมสัตวแพทย์ผู้มากประสบการณ์ และนวัตกรรมทางการแพทย์ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เพราะหมอปุ้ยเชื่อว่า “สัตว์เลี้ยงไม่ควรได้รับแค่การรักษาแต่ควรได้รับการดูแลในแบบเดียวกับคนที่เรารักที่สุด”
อารักษ์จึงไม่ใช่แค่โรงพยาบาลสัตว์แต่เป็นพื้นที่แห่งความห่วงใย ที่พ่อแม่สัตว์เลี้ยงทุกคนจะรับรู้ได้ว่า “ที่นี่ พร้อมดูแลเขาเหมือนเป็นครอบครัวของเราเอง”