×

KTC ตั้งเป้ารักษาพอร์ตสินเชื่อบุคคลปีนี้ไว้ที่ 2.94 หมื่นล้าน คุมเข้มหนี้เสียไม่เกิน 3% เหตุโควิดทำความเสี่ยงในตลาดพุ่ง

02.09.2021
  • LOADING...
ktc

พิชามน จิตรเป็นธรรม ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร-ธุรกิจสินเชื่อบุคคล บริษัท บัตรกรุงไทย (KTC) เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโควิดที่ยาวนานรวมถึงการบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ในช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นความท้าทายในการทำธุรกิจสินเชื่อบุคคลในปีนี้ให้เติบโตควบคู่ไปกับการบริหารคุณภาพลูกหนี้ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะแม้ว่าผู้บริโภคจะยังมีความต้องการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องในการใช้จ่ายสิ่งจำเป็นเพื่อการดำรงชีพ แต่บริษัทเองก็มุ่งรักษาเสถียรภาพของคุณภาพพอร์ตลูกหนี้เป็นสำคัญ จึงมีการปรับเกณฑ์การอนุมัติให้รัดกุมขึ้น ส่งผลให้ยอดลูกหนี้ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาอยู่ที่ 29,480 ล้านบาท ลดลง 2.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีจำนวนสมาชิกอยู่ที่ 802,971 บัญชี ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 4.6% และ NPL เท่ากับ 3.0% 

 

“เป้าหมายสินเชื่อของ KTC ในปีนี้จะเน้นการเติบโตแบบมั่นคง เราจะไม่โตเร็วแล้วไปเจ็บตัวทีหลัง โดยเราตั้งเป้าจะรักษาพอร์ตลูกหนี้เอาไว้ที่ระดับ 29,400 ล้านบาท ขณะเดียวกันก็จะรักษาจำนวนสมาชิก ส่วนแบ่งการตลาดและ NPL ให้อยู่ในระดับเดียวกับช่วงครึ่งปีแรก” พิชามนกล่าว

 

พิชามนกล่าวว่า การดำเนินงานกลุ่มธุรกิจสินเชื่อของ KTC ในช่วงครึ่งปีหลังจะยังต้องจับตาดูสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น โดยแผนงานธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันมี 4 เป้าหมายหลัก คือ 

 

  1. มุ่งช่วยเหลือสมาชิกสินเชื่อที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิดในหลากหลายรูปแบบตามความเหมาะสม เน้นการเข้าถึงและแสดงเจตจำนงที่สะดวก โดยสามารถลงทะเบียนได้ง่ายผ่านเว็บไซต์เคทีซี www.ktc.co.th

 

ทั้งนี้มีกลุ่มลูกหนี้ทุกผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือกับ KTC ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 รวม 21,564 บัญชี ด้วยยอดหนี้คงค้างชำระที่ 1,545 ล้านบาท และมีสมาชิกทุกผลิตภัณฑ์ขอพักชำระหนี้ 2 เดือนตามมาตรการของ ธปท. รวม 13,370 ราย ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2564

 

  1. แบ่งเบาสมาชิกด้วยโครงการเคลียร์หนี้เกลี้ยงต่อเนื่อง โดยสมาชิกสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ใช้บัตรกดเงินและมีวินัยในการชำระคืนตรงเวลา จะได้รับสิทธิ์เคลียร์หนี้เกลี้ยง 100% และเคลียร์หนี้ 10% ตลอดทั้งปี”   

 

  1. มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องให้สมาชิกมีประสบการณ์ใช้สินเชื่อที่สะดวกสบาย ปลอดภัย ลดการสัมผัสเงินสด โดยพัฒนาการโอนเงินออนไลน์ผ่านแอปฯ ‘KTC Mobile’ ไปยัง 13 ธนาคารแบบเรียลไทม์ตลอด 24ชั่วโมง การขอเพิ่มวงเงินฉุกเฉินผ่านระบบอัตโนมัติ IVR ได้ง่ายๆ รวมทั้งสามารถนำบัตรกดเงินสดไปใช้งานได้ทั้ง 4 ฟังก์ชัน ‘รูด โอน กด ผ่อน’ 

 

  1. การขยายฐานสมาชิกสินเชื่อรายใหม่ โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนสมาชิกสินเชื่อ ‘เคทีซี พราว’ (KTC PROUD) ไปยังกลุ่มลูกค้าที่มีฐานรายได้สูงขึ้นและต้องการใช้เงินก้อนใหญ่ ด้วยแคมเปญแบ่งเบาภาระ ลดดอกเบี้ยเหลือเพียง 0.93% ผ่อนได้นานถึง 36 เดือน 

 

นอกจากนี้ ล่าสุด KTC ยังได้อัปเกรดผลิตภัณฑ์ ‘สินเชื่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ พร้อมบัตรกดเงิน KTC พี่เบิ้ม’ เพื่อให้คนไทยที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้มีเงินทุนหมุนเวียนในการต่อยอดใช้จ่ายสิ่งจำเป็น เหมาะสำหรับผู้มีรถมอเตอร์ไซค์และมีเล่มทะเบียนเป็นชื่อตนเอง ชูจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ‘กู้ง่าย ได้ไว อนุมัติรับเงินก้อนใหญ่พร้อมบัตรกดเงินสด’ โดยที่สมาชิกสามารถนำรถมอเตอร์ไซค์ไปใช้ต่อได้ อีกทั้งยังรับวงเงินสินเชื่อแบบหมุนเวียน และเบิกถอนวงเงินจากบัตรกดเงินสดเพื่อใช้ยามฉุกเฉินได้เพิ่มเติม เมื่อมีการชำระเงินและมีประวัติชำระที่ดี โดยสามารถใช้บัตรกดเงินรูดซื้อสินค้า โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารแบบเรียลไทม์ และกดเงินสดที่ตู้ ATM ได้ ไม่มีค่าธรรมเนียม”  

 

ด้าน เรือนแก้ว เกษมสวัสดิ์ศรี ผู้อำนวยการ-ธุรกิจสินเชื่อ ‘KTC พี่เบิ้ม’ กล่าวถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมสินเชื่อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในช่วงครึ่งปีแรกว่า ธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน (จำนำทะเบียน) สิ้นสุดไตรมาส 2 มียอดลูกหนี้ 158,493 ล้านบาท โดยสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-Bank) ถือครองตลาดเป็นหลักด้วยสัดส่วนประมาณ 82% ของยอดสินเชื่อทั้งหมด และธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (Hire Purchase) สิ้นสุดไตรมาส 2 มียอดลูกหนี้ 1,176,279 ล้านบาท โดยมีธนาคารพาณิชย์ถือครองตลาดเป็นหลักด้วยสัดส่วนประมาณ 70% ของยอดสินเชื่อทั้งหมด”  

 

“ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากวิกฤตโควิดทำให้ตลาดสินเชื่อมีความไม่แน่นอนและเปราะบางสูง ทั้งจากนโยบายภาครัฐ ประกอบกับพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไป ท้าทายให้เราต้องปรับตัว โดยในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา พอร์ตสินเชื่อ ‘KTC พี่เบิ้ม’ อาจไม่เป็นไปตามคาดด้วยปัจจัยต่างๆ แต่เชื่อว่าความต้องการสินเชื่อในตลาดยังมีอีกเป็นจำนวนมาก เราจึงต้องค้นหาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่น่าสนใจมานำเสนอให้กับลูกค้าอย่างทั่วถึงและตรงใจ โดยจะเน้นการปล่อยสินเชื่อด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้พอร์ตเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป มากกว่าที่จะโตเร็วแล้วมีความเสี่ยง โดยยังคงตั้งเป้าเติบโตสิ้นปีนี้ที่ 1,000 ล้านบาท” เรือนแก้วกล่าว

 

สำหรับแผนกลยุทธ์ของธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกันในช่วงครึ่งปีหลังนี้ เรือนแก้วระบุว่า บริษัทจะใช้จุดแข็งจากการมี บริษัท กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง (KTBL) เข้ามาเสริมทัพ ทำให้สามารถนำเสนอสินเชื่อทะเบียนรถแบบโอนเล่ม การทำรีไฟแนนซ์สินเชื่อทะเบียนรถ และการทำสินเชื่อรถยนต์มือสอง ซึ่งจะเริ่มในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ รวมถึงจะนำเทคโนโลยีการเซ็นสัญญาแบบดิจิทัลมาใช้ ซึ่งจะช่วยให้ขั้นตอนการสมัครและอนุมัติสินเชื่อ สามารถทำได้ภายใน 1.5 ชั่วโมง

 


 

เตรียมพบกับฟอรัมที่ผู้บริหารต้องดูก่อนวางแผนกลยุทธ์ปีหน้า! The Secret Sauce Strategy Forum คัมภีร์กลยุทธ์ฝ่าวิกฤตปี 2022

 

📌 เฟรมเวิร์กกลยุทธ์ใช้ได้จริง

📌 ฉากทัศน์เศรษฐกิจไทยโลก

📌 เทรนด์ผู้บริโภคการตลาด

📌 เคสจริงจากผู้บริหาร

 

พิเศษ! บัตร Early Bird 999 บาท วันนี้ถึง 27 สิงหาคมนี้เท่านั้น

ซื้อบัตรได้แล้วที่ www.zipeventapp.com/e/the-secret-sauce

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X