×

เฟ้นหาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจและการใช้ชีวิตของผู้คนในงาน ‘Krungsri Tech Day 2024: Technology for People’ [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
30.09.2024
  • LOADING...
Krungsri Tech Day 2024

HIGHLIGHTS

4 min read
  • Krungsri Tech Day 2024 เวทีแสดงศักยภาพของกรุงศรีในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีทางการเงิน จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 จับมือพันธมิตรสายเทคนำเสนอความก้าวหน้าและการใช้งานเทคโนโลยีที่ช่วยให้ทั้งชีวิตและการทำธุรกิจง่ายขึ้นในทุกมิติ ภายใต้แนวคิด ‘Technology for People’
  • เผยทิศทางและกลยุทธ์ในการพัฒนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงศรี โดยมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมผ่าน 4 แกนหลัก ได้แก่ Transformation, Embedded Finance, Krungsri AI และ Social Impact  
  • ค้นหาคำตอบจากผู้นำสายเทคในประเด็นที่น่าสนใจ เช่น จะสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างผ่านนวัตกรรมอย่างไร, AI และ Quantum จะทำให้โลกใบนี้ดีขึ้นได้จริงหรือไม่ และ ลงทุนสร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนต้องเริ่มต้นอย่างไร

จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 สำหรับงาน ‘Krungsri Tech Day 2024’ เวทีแสดงศักยภาพของกรุงศรีในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีทางการเงิน และยังเป็นเวทีแห่งโอกาสให้กับคนสายเทค สายธุรกิจ และบุคคลทั่วไปที่สนใจเทคโนโลยีได้มาสัมผัสนวัตกรรมสุดล้ำ อัปเดตเทรนด์การพัฒนาเทคโนโลยี อัปเลเวลการทำธุรกิจด้วยโซลูชันพร้อมใช้ และอัปสกิลความสามารถด้านเทคโนโลยีแบบเข้มข้นผ่านเวทีสัมมนาและกิจกรรมเวิร์กช็อปที่น่าสนใจมากมายกว่า 40 หัวข้อ โดยผู้เชี่ยวชาญจากทั้งธนาคารกรุงศรีและพันธมิตรกว่า 70 ท่าน 

 

 

ปีนี้กรุงศรีจับมือพันธมิตรสายเทคระดับแนวหน้า ไม่ว่าจะเป็น Accenture, AWS, Dynatrace, G-Able, HPE, IBM, Kyndryl, MFEC, Microsoft, NUTANIX, PagerDuty, Stream I.T. และ True Digital Park นำเสนอความก้าวหน้าและการใช้งานเทคโนโลยีที่ช่วยให้ทั้งชีวิตและการทำธุรกิจง่ายขึ้นในทุกมิติ ภายใต้แนวคิด ‘Technology for People’ ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีหรือโซลูชันทางการเงินที่เข้าไปอยู่ในทุกๆ ไลฟ์สไตล์ของผู้คน ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะมีพฤติกรรมความต้องการทางการเงินในรูปแบบใด 

 

เคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

 

“งาน Krungsri Tech Day 2024 ไม่เพียงสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินของกรุงศรี เพื่อส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินที่พร้อมตอบโจทย์ความต้องการและช่วยให้การใช้ชีวิตและการทำธุรกิจของลูกค้าง่ายยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็หวังว่างานดังกล่าวจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเติบโตและความยั่งยืน” เคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าว

 

สยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานกลุ่มสนับสนุนธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เชื่อว่าการลงทุนในเทคโนโลยีไม่ใช่การลงทุนเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด ทันสมัยที่สุด หรือแพงที่สุด แต่ควรลงทุนเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด  

 

สยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานกลุ่มสนับสนุนธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

 

จึงเป็นที่มาของการทุ่มงบกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ในปี 2024 เพื่อพัฒนาด้านไอทีและดิจิทัลโซลูชัน พร้อมเสริมศักยภาพการพัฒนาอย่างเข้มข้นด้วยทีม Krungsri AI ที่จะช่วยผลักดันการพัฒนาในด้าน AI, Machine Learning และ Data Analytics รวมทั้งการพัฒนาด้านบุคลากร ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจกรุงศรีในภาพรวม พร้อมส่งเสริมความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีแบบองค์รวมครอบคลุมทั้งระบบนิเวศ

 

“สำหรับธนาคารกรุงศรี ทุกครั้งที่จะลงทุนสร้างเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ โจทย์แรกที่เราจะถามคือ ลูกค้าได้อะไร ลูกค้ามี Pain Point อะไร และเทคโนโลยีอะไรที่เราจะนำมาสร้างโซลูชันเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าเหล่านี้” สยามกล่าว 

 

คลี่กลยุทธ์การพัฒนานวัตกรรมการเงินและเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจและความยั่งยืนของกรุงศรี 

จากคำถามข้างต้นนำไปสู่การวางทิศทางและกลยุทธ์ในการพัฒนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงศรี โดยมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมผ่าน 4 แกนหลัก ได้แก่ Transformation, Embedded Finance, Krungsri AI และ Social Impact  

 

 

พชร วันรัตน์เศรษฐ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ภารกิจ Transformation ของกรุงศรี ไม่ได้ Transformation เฉพาะไอที แต่ต้องขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทั้งองค์กร” 

 

พร้อมฉายภาพให้เห็นใน 4 แกนหลัก คือ ‘New Core Foundation’ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น ลดความซับซ้อนให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นภายใต้โครงการ ‘Jupiter by Krungsri’ 

 

“Jupiter by Krungsri เป็น Core Banking Transformation Program ที่เป็นแกนหนึ่งในการทรานส์ฟอร์มทั้งระบบไอทีและธุรกิจ นอกจากจะมองเรื่องการทำองค์กรให้ลีน ยังต้องยึดเรื่องของบริการและประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นตัวตั้ง ทำอย่างไรจึงจะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้เร็วขึ้น โดยให้บริการต่างๆ ของธนาคารเร็วขึ้นตามไปด้วย” 

 

 

พชร วันรัตน์เศรษฐ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

 

“แกนต่อมาคือ ‘Modernize Solutions’ นอกจากความเสถียรของระบบต้องมองหาเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยทำให้โซลูชันลีนและเร็วขึ้น รวมถึงการ ‘Optimize & Efficient’ ทรานส์ฟอร์ม Legacy Application จำนวนมากมายให้ลีนและเร็วขึ้นเช่นกัน สุดท้ายคือแกนของ Green IT เป็นเรื่องที่กรุงศรีโฟกัสมานานเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายด้านความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงระบบปฏิบัติการหรือการย้าย Data Center” 

 

ด้าน สายสุนีย์ หาญประเทืองศิลป์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านนวัตกรรมดิจิทัลและข้อมูล ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ฉายภาพ ‘Embedded Finance’ แกนที่พูดถึงการนำจุดแข็งและความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและโซลูชันทางการเงินของกรุงศรีต่อยอดบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ จากเดิมที่กรุงศรีนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการผ่านช่องทางของธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นสาขา ATM หรือ Mobile Banking แต่ Embedded Finance จะเป็นการนำบริการทางการเงินไปฝังไว้ในแพลตฟอร์มหรือบริการอื่นๆ ที่ไม่ใช่ธนาคาร เช่น แอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียหรือการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันร้านค้าออนไลน์  

 

สายสุนีย์ หาญประเทืองศิลป์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านนวัตกรรมดิจิทัลและข้อมูล
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

 

“ตัวอย่างของ Embedded Finance เช่น การเปิด API ที่ช่วยให้การทำธุรกรรมมีความถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น ระบบการชำระเงินออนไลน์ การขอสินเชื่อ และบริการประกันภัยต่างๆ ที่จะถูกฝังเข้าไปในแพลตฟอร์มหรือบริการอื่นๆ ทำให้ผู้บริโภคสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องออกจากแพลตฟอร์มที่กำลังใช้งานอยู่” 

 

สายสุนีย์มองว่า Embedded Finance จะสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับลูกค้ากลุ่มธุรกิจและคู่ค้าให้ดีขึ้นกว่าเดิม “เราอาจได้เห็นบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างกรุงศรีกับพันธมิตรธุรกิจ ซึ่งจะช่วยยกระดับประสบการณ์การใช้บริการทางการเงินของผู้บริโภคให้สะดวกสบายและตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลมากยิ่งขึ้น”  

 

 

ที่น่าจับตาที่สุดคือการรุกหนักด้าน AI ด้วยการเสริมทัพทีม Krungsri AI โดยมี ตุลย์ โรจน์เสรี ผู้บริหารสายงานข้อมูลและการวิเคราะห์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เป็นหัวเรือใหญ่ในการขับเคลื่อนภารกิจ

 

“Krungsri AI เหมือนเป็นการรวมตัวกันของเหล่าอเวนเจอร์จากทุกหน่วยภายในกรุงศรี” ตุลย์กล่าว พร้อมอธิบายเพิ่มเติมว่า “หัวใจหลักในการทำงานของทีมคือ ไม่ทำงานทับซ้อนกันและไม่จำเป็นต้องเก่งทุกเรื่อง ใครเชี่ยวชาญเรื่องอะไรก็โฟกัสเฉพาะเรื่องนั้น และนำองค์ความรู้ที่ได้มาแบ่งปันกัน” 

 

ภารกิจของทีม Krungsri AI คือพัฒนา AI โดยเน้นการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อเร่งเครื่องการพัฒนาดิจิทัลโซลูชันเพื่อการใช้ชีวิตและการทำธุรกิจ โดยมีเป้าหมายหลักคือ ยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าให้ดีขึ้น เร็วขึ้น และง่ายยิ่งขึ้น 

“เวลาที่เราเลือก Use Case ต้องเป็นเรื่องที่ตอบโจทย์กับชีวิตผู้คน เช่น การใช้ AI เพิ่มประสิทธิภาพการเติมเงินสดสำหรับตู้ ATM หรือการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ หรือเรื่องของ Converstional AI ทีมก็พัฒนา Chatbot ต่างๆ ส่วน GenAI ยกตัวอย่างระบบ Knowledge Management สำหรับพนักงานภายในองค์กร รวมถึงระบบที่เราเรียกกันภายในว่า ‘Data ปุ๊บปั๊บ’ เราต้องการให้พนักงานสามารถเข้าถึงและใช้งานข้อมูลภายในองค์กรได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการเขียนโค้ด สื่อสารกับระบบด้วยภาษาธรรมชาติ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการให้บริการลูกค้าอย่างมาก” ตุลย์กล่าว 

 

ตุลย์ โรจน์เสรี ผู้บริหารสายงานข้อมูลและการวิเคราะห์
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

 

แต่เทคโนโลยีจะเดินหน้าต่อไม่ได้ถ้าขาดทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถ สยามเล่าแผนการ Upskill-Reskill ของกรุงศรีที่จะมาเสริมทัพคนทำงานสายเทคให้กับประเทศไทยว่า “กรุงศรีพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างศักยภาพให้กับบุคลากรสายเทค รวมถึงพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจแม้ไม่ได้เรียนจบหรือมีประสบการณ์การทำงานในสายเทค”  

ไม่ว่าจะเป็น โครงการ Krungsri Universe Collaboration โดย Stellar by Krungsri ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พัฒนาโปรแกรมให้กับนักศึกษาที่เรียนในสายเทคผ่านโปรเจกต์ Hackathon เพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้เห็นภาพการทำงานจริง สร้างความพร้อมในการทำงานในสายเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว หรือ QA Program by Nimble โครงการที่เปิดรับให้คนนอกสายเทคโนโลยีเข้ามาอัปสกิลและทดลองทำงานจริงกับกรุงศรีในสายงานเทคโนโลยี ต่อยอดไปสู่โครงการใหม่ Krungsri Upskill & TITAN Programเปิดโอกาสให้บุคลากรในสายงานอื่นๆ ได้พัฒนาทักษะและปรับเปลี่ยนสายอาชีพเข้าสู่งานด้านเทคโนโลยี ที่ได้พาร์ตเนอร์อย่าง IBM นำหลักสูตร Project Management ให้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาด้วยตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงตำแหน่งงานที่เหมาะสม

 

“วันนี้ตลาดแรงงานประเทศไทยไม่บาลานซ์ เราขาดแคลนแรงงานสายเทคโนโลยี แต่สถาบันการศึกษาไม่สามารถป้อนบัณฑิตออกมาได้ทันกับความต้องการของตลาด ในขณะที่บางสายงานกลับมีความต้องการลดลง โครงการเหล่านี้ไม่เพียงตอบโจทย์การเติมเต็มบุคลากรให้กับกรุงศรี แต่ยังช่วยสร้างทักษะให้กับทรัพยากรในตลาดแรงงานเพื่อเพิ่มโอกาสและความเท่าเทียมในการเข้าถึงตำแหน่งงานสายเทคโนโลยีให้กับผู้คนอีกเป็นจำนวนมาก แม้จะเป็นก้าวเล็กๆ แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการปูทางเพื่อช่วยตลาดแรงงานของไทยให้กลับเข้าสู่บาลานซ์” สยามกล่าว 

 

สร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมผ่านนวัตกรรม 


คงไม่มีใครตอบคำถามนี้ได้ดีเท่า ปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย เธอหยิบผลการสำรวจองค์กรกว่า 2,000 องค์กรทั่วโลกที่สัมภาษณ์ลูกค้ากลุ่ม C-suite กว่า 40,000 คน เพื่อจะถามว่า วันนี้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตอบโจทย์ประสบการณ์ของลูกค้าหรือยัง  

 

ปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย

 

“กว่า 95% บอกว่า วันนี้ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนเร็วมากกว่าองค์กรจะปรับตัวได้ทัน ไม่มีคำว่า New Normal อีกต่อไป จะมีแต่คำว่า Never Normal ต่อให้เทคโนโลยีออกมาดีแค่ไหน การปรับยังทำได้ไม่เร็วพอตามความต้องการ จากยุคของ Customer Centricity วันนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็น Life Centricity 

 

“จากลูกค้าต้องมาก่อน สู่การใส่ใจทุกสิ่งคือหัวใจสำคัญ จากนี้ไปไม่ใช่แค่เห็นแต่จะต้องหาวิธีแก้ปัญหาให้ลูกค้าและทำให้ประสบการณ์ง่ายขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ไม่ใช่แค่สิ่งที่ต้องทำ แต่ทำอย่างไรจึงจะนำเทคโนโลยีเข้ามาและปรับใช้ไปกับกลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจ”

 

ปฐมายก Case Study ขององค์กรอายุเก่าแก่ในหลากธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทรานส์ฟอร์มประสบการณ์ของลูกค้า เริ่มจากองค์กรอายุกว่า 100 ปี อย่าง Harley-Davidson ที่ปรับแบรนด์พร้อมสร้างประสบการณ์ผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ ทำให้ Harley-Davidson สามารถดึงดูดลูกค้าใหม่ได้กว่า 2 ล้านคน 

 

ด้านกลุ่มธุรกิจเพชรอย่างแบรนด์ ‘De Beers’ องค์กรเก่าแก่อายุ 121 ปี นำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาช่วยสร้างความโปร่งใสในการซื้อขายเพชร และทำให้การเข้าถึงแหล่งที่มาของเพชรเป็นเรื่องง่าย ลูกค้าสามารถตรวจสอบที่มาของเพชรได้อย่างมั่นใจ และสร้างประสบการณ์การซื้อที่สะดวกสบายผ่านช่องทางออนไลน์

 

หรือธุรกิจสายการบิน Saudia Airlines ตั้งเป้าทรานส์ฟอร์มองค์กรภายใน 2 ปี เพื่อก้าวสู่ผู้นำการบินที่มอบประสบการณ์การเดินทางที่ยอดเยี่ยมที่สุดให้กับลูกค้า จึงนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ สามารถลดเวลาในการจองตั๋วเหลือเพียง 90 วินาที รวมไปถึงสร้างประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับ Travel Ecosystem ให้สอดคล้องไปกับกลุ่มลูกค้า เช่น การเดินทางกับครอบครัว ค้นหาร้านอาหาร  

 

และแบรนด์ที่คนไทยคุ้นเคยอย่าง ‘ไก่ย่างห้าดาว’ ก็นำเทคโนโลยี Metaverse มาสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในวงกว้างผ่านภาพยนตร์โฆษณาที่สะท้อนตัวตนของแบรนด์ได้ชัดเจน   

 

 

ปฐมาแนะ 5 แนวทางที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างผ่านนวัตกรรม ได้แก่

1. Gain a profound understanding of people: ต้องเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งทั้งความต้องการและพฤติกรรม และมองไปถึงการสร้างประสบการณ์ที่ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
2. Broaden your canvas for value creation: นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างคุณค่าที่หลากหลาย ไม่จำกัดแค่ผลิตภัณฑ์หรือบริการ แต่ต้องรวมถึงประสบการณ์โดยรวมที่ลูกค้าได้รับ
3. Creatively transcend industry norms: ต้องสร้างสรรค์สิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนในอุตสาหกรรม
4. Embrace technology to drive transformation: กล้าที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้
5. Foster sustainable experiences: สร้างประสบการณ์ที่ยั่งยืน คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในการสร้างประสบการณ์ลูกค้าด้วย 

 

AI และ Quantum จะทำให้โลกใบนี้ดีขึ้นได้จริงหรือไม่ 


คำถามสำคัญที่คนทำสายเทคต้องฉุกคิด อโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้บริหารส่วนงานเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด บอกว่า ในฐานะที่เราทำงานในสายเทค ต้องคิดเสมอว่าจะนำศักยภาพ AI และ Quantum มาแก้ปัญหาทางสังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตที่ดีของโลกใบนี้ได้อย่างไร 

 

“AI ไม่ใช่เรื่องใหม่ มันเกิดขึ้นมากว่า 72 ปี และ Quantum Computing ก็เป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่มีศักยภาพในการประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนและค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปไม่สามารถทำได้ อาร์วินด์ กฤษณะ ผู้บริหาร IBM เผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Transaction ขององค์กรทั่วโลกที่เข้ามาศึกษางานวิจัยต่างๆ บน Quantum Computing ในรอบ 3 ปี สูงขึ้น 3 ล้านล้าน Transaction เท่ากับว่าเราเข้าใกล้การนำ Quantum Computing จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์มาสู่ยุคของการใช้งานจริง” 

 

อโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้บริหารส่วนงานเทคโนโลยี
บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด

 

อโณทัยคาดการณ์ว่า อีก 15 ปีข้างหน้า Quantum Computing จะเข้าสู่ยุคของการใช้งานจริง โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็น 3 ยุค ได้แก่ Horizon 1 (3-5 ปี), Horizon 2 (5-10 ปี) และ Horizon 3 (15 ปี) 

 

“วิทยาการด้าน Quantum Computing จะสร้างอิมแพ็กต์มากมายในหลายๆ อุตสาหกรรม ถ้าเจาะลึกเข้าไปใน Horizon 1 จะพบว่า Quantum Computing มีความสามารถในการจำลองปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือความสามารถประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อน รวมถึงค้นหาและปรับแต่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง

 

“แต่ยังมีความท้าทายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี IBM จึงขับเคลื่อนการพัฒนา Quantum Computing ไปพร้อมกันการสร้าง IBM Quantum Safe™ technology” 

 

เพื่อให้เห็นภาพการใช้งานจริงมากขึ้น อโณทัยยกตัวอย่าง Use Case การประยุกต์ใช้ AI และ Quantum Computing ในบริบทต่างๆ เช่น ด้านการแพทย์และสุขภาพ การพัฒนายาและวัคซีน mRNA ของ Moderna ที่ร่วมมือกับ IBM ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือ Cleveland Clinic ซึ่งเป็นสถาบันด้านการแพทย์แห่งแรกที่ติดตั้ง Quantum Computing และทำงานวิจัยโดยการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันก็วิเคราะห์ระดับโมเลกุลของมนุษย์ที่เรียกว่า Micro Marker สามารถทำเรื่องของ Personalizes Medicine ตัวอย่างเคสที่กำลังใช้อยู่คือ การผ่าตัดผู้ป่วยที่เป็นลมบ้าหมู เพื่อคุณภาพชีวิตของคนที่ดีขึ้น หรือ ExxonMobil ที่มองหาพลังงานสะอาดมาทดแทนพลังงานอย่างยั่งยืน ก็จับมือกับ IBM เพื่อค้นหาวัตถุดิบใหม่ๆ และพัฒนาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด แม้แต่ Daimler บริษัทแม่ของ Mercedes-Benz ก็จับมือกับ IBM พัฒนา Lithium-sulfur battery ซึ่งจะเป็นธาตุใหม่ที่จะถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมรถไฟฟ้า  

 

 

ล่าสุด IBM จับมือกับองค์การบริหารการบินและอวกาศ (NASA) นำเทคโนโลยี AI ที่เรียกว่า Foundation Model หรือ AI ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากข้อมูลจำนวนมหาศาลที่คนทั่วไปเข้าถึงไม่ได้มาใช้ในการสำรวจและวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของโลก คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ วงจรผลผลิตการเกษตร ถิ่นอาศัยของสัตว์ป่า รวมไปถึงวางแผนใช้ AI สร้างคลังข้อมูลงานวิจัยด้าน Earth Science จากวารสารวิทยาศาสตร์หลายแสนฉบับ เป็นแหล่งข้อมูลให้นักวิทยาศาสตร์ค้นคว้าข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น 

 

“เห็นได้ว่าความก้าวหน้าของ AI และ Quantum Computing ไม่ใช่เครื่องมือสำหรับการทำธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือในการสร้างโลกที่ดีขึ้นได้เช่นกัน” อโณทัยกล่าว 

 

เริ่มต้นลงทุนสร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนอย่างไร


คงน่าเสียดายหากนวัตกรรมดีๆ จะเป็นเพียงภาพร่างในกระดาษ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) กล่าวว่า “หน้าที่ของ NIA คือการให้ทุนกับผู้ประกอบการนวัตกรรมไม่ว่าจะเป็น SMEs, สตาร์ทอัพ หรือ SE ภายใต้แนวคิด Groom – Grant – Growth – Global เพราะการที่ประเทศไทยจะก้าวสู่ Net Zero ในปี 2030 ต้องมีเครื่องมือและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์” 

 

 

Groom หรือการบ่มเพาะผู้ประกอบการผ่านโครงการต่างๆ อาทิ การส่งเสริมมหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ (Entrepreneurial University) ในโครงการ Startup Thailand League เพื่อสร้างทักษะความเป็นผู้นำประกอบการในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ 48 แห่ง ในรูปแบบการแข่งขันประกวดโมเดลธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup Business Model) สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอก 

 

“ความสำเร็จของโครงการสามารถผลักดันจากไอเดียนวัตกรรมต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ได้จริง สะท้อนผ่านจำนวนบริษัทที่จดทะเบียนถึง 80 แห่ง และสามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจกว่า 100 ล้านบาท ความน่าสนใจคือเราเห็นโมเดลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง Climate มากขึ้น” ดร.กริชผกา กล่าว

Grant กลไกการสนับสนุนทางการเงิน หรือ ‘การให้ทุน’  อาทิ Mandatory Innovation Business Platform หรือทุนให้เปล่า (Grant) แบบอุดหนุนบางส่วน (Matching Fund) สำหรับสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมเพื่อพัฒนาและนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบเชิงพาณิชย์มาทดสอบประสิทธิภาพการใช้งาน ประกอบไปด้วย กลไกทุนโครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า (Thematic Innovation) กลไกการสนับสนุนที่ปรึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรม (MIND) กลไกการสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานสำหรับธุรกิจนวัตกรรม (Standard Testing) กลไกการขยายธุรกิจนวัตกรรม (Market Expansion) กลไกสนับสนุนดอกเบี้ยบางส่วนเพื่อเสริมสภาพคล่อง (Matching Interest for Working Capital) กลไกการสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้มีโอกาสเติบโตและขยายตลาดโดยการร่วมมือจากแหล่งทุนภาครัฐและเอกชน (Corporate Co-funding) และกลไกนวัตกรรมดี…ไม่มีดอกเบี้ย (Zero Loan Interest) 

 

“นอกจากนี้ยังจับมือกับ SME D Bank ส่งเสริมผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมดีให้เข้าถึงแหล่งทุน และยังมีทุนนวัตกรรมเพื่อสังคมแบบให้เปล่า ในการพัฒนาต้นแบบหรือนำร่องนวัตกรรมเพื่อสังคม ที่ช่วยแก้ไขปัญหาสังคมไทยในมิติต่างๆ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนและสิ่งแวดล้อมใน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการนวัตกรรมเพื่อสังคมรายสาขา (Sectoral Social Innovation Project) โครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน (City and Community Innovation Challenge)โครงการหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Village) และหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving Unit: SID) 

 

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน)

 

Growth เมื่อบ่มเพาะ ให้ทุน ก็ต้องช่วยเร่งสร้างการเติบโตของธุรกิจนวัตกรรมผ่าน ‘Accelerator Program’ ใน 4 สาขา ได้แก่ เทคโนโลยีอาหาร (FoodTech) โครงการ SPACE-F, เทคโนโลยีเกษตร (AgTech) โครงการ AGrowth, เทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health Tech) โครงการ Health Tech Acceleration Program และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Tech) โครงการ Climate Tech Acceleration Program 

 

Global ส่งเสริมนวัตกรรมสู่ต่างประเทศผ่านความร่วมมือ (MOU) กับหน่วยงานระดับประเทศในแต่ละภูมิภาคทั่วโลก ทั้งยุโรป เอเชีย และอเมริกา เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่แข็งแกร่งในการสนับสนุนองค์ความรู้ เงินทุน และสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมศักยภาพของทั้งสตาร์ทอัพไทยและสตาร์ทอัพต่างชาติ


เปลี่ยนกลยุทธ์ในกระดาษสู่การใช้งานจริง

 

นอกจากนวัตกรรมสุดล้ำ เทรนด์การพัฒนาเทคโนโลยี และแนวทางการทำธุรกิจด้วยนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญภายในเวทีสัมมนาหลัก ภายในงานยังมีห้องเวิร์กช็อปติวเข้มและเวที Solutions Stage ที่ได้พันธมิตรสายเทคมาอัปเดตเทคโนโลยีและโซลูชันเพื่อช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็น People-Centric Banking โดย IBM, Unlock AI ambitions โดย Hewlett Packard Enterprise, Fighting the Giants – Thinking Beyond Impossible โดย Accenture Song, Power of Embedded Financial Solution โดยกรุงศรี 

 

กำธน สุทธิรักษ์ศิริ Customer Technology Advisor-Digital Workplace
บริษัท คินดริล (ประเทศไทย) จำกัด

 

ซึ่งหัวข้อที่ THE STANDARD มีโอกาสเข้าร่วมฟังคือ ‘Leveraging AI and Data Analytic to Improve Operation Efficiency’ โดย Kyndryl ผู้ให้บริการระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก 

 

กำธน สุทธิรักษ์ศิริ Customer Technology Advisor-Digital Workplace บริษัท คินดริล (ประเทศไทย) จำกัด เผยตัวเลขที่น่าสนใจในเรื่องการ Adopt ใช้ AI จากผลสำรวจของ Gartner พบว่า ภายในปี 2025 จะมีผู้ใช้งาน GenAI เพิ่มขึ้น 75% และในปี 2032 GenAI จะมีมูลค่าตลาด 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 

 

“จากการสำรวจลูกค้าระดับผู้บริหารของลูกค้า Kyndryl พบว่า มากกว่า 42% กลยุทธ์การนำนวัตกรรมมาใช้ในธุรกิจยังเป็นเพียงแผนงาน มีเพียงแค่ 10% เท่านั้นที่เริ่มใช้งาน ซึ่งในความเป็นจริงการจะเปลี่ยนจากแผนมาเป็นการใช้งานจริงต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปี”

 

กำธนบอกว่าปัญหาหลักๆ ที่เจอคือ เรื่องของ Data และ AI “ปัญหาที่เจอบ่อยคือ Siloed Data ข้อมูลกระจัดกระจายและยังอยู่ในระบบเก่า จะบริหารจัดการข้อมูลภายในองค์กรอย่างเป็นระบบอย่างไร และข้อมูลที่มีตอบโจทย์เรื่อง ESG หรือไม่ ทาง Kyndryl จะเข้ามาช่วยวางแผนจัดการโครงสร้าง Data ให้เป็นระบบ พร้อมเครื่องมือที่ช่วยเรื่อง Data Observability” 

 

“อีก Pain Point คือ เมื่อคนที่ใช้ GenAI คือพนักงานทุกคน จะทำอย่างไรให้เขาสามารถใช้ GenAI ที่เร็วและถูกต้อง จึงเกิดการทำโปรโตไทป์ที่ชื่อ ‘Kyndryl GenAI Navigator’ แพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์เรื่องการสร้างโปรโตไทป์ เรามีเทมเพลตตั้งต้นและพื้นที่ที่สามารถแชร์ข้อมูลกันได้ และยังสามารถต่อยอดไปใช้งานจริงในองค์กร” 

 

กำธนมองว่าเทรนด์และ Use Case ในการนำ AI ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร ปัจจุบันมีตัวอย่างให้ศึกษามากมาย แม้จะต่างธุรกิจแต่สิ่งที่เหมือนกันคือเป้าหมายในการใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้มากที่สุด และต้องเปลี่ยนจากแผนงานให้กลายเป็นตัวอย่างแรกขององค์กรให้ได้ 

 

“ปัญหาด้านความซับซ้อนของระบบ รวมถึงการขาดแคลนทักษะที่จำเป็นจะทำให้องค์กรเคลื่อนที่ได้ช้า แต่การจัดการกับเรื่องซับซ้อนเป็นสิ่งที่ Kyndryl ถนัดที่สุด” กำธนกล่าวทิ้งท้าย 

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X