×

‘วิจัยกรุงศรี’ คาด กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตลอดปีหน้า แต่มีโอกาสลดได้ หากเศรษฐกิจเผชิญแรงกดดันจากโควิด-19 รอบใหม่

25.12.2020
  • LOADING...
‘วิจัยกรุงศรี’ คาด กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตลอดปีหน้า แต่มีโอกาสลดได้ หากเศรษฐกิจเผชิญแรงกดดันจากโควิด-19 รอบใหม่

สืบเนื่องจากการประชุมวันที่ 23 ธันวาคม 2563 ที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% ต่ำเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นไปตามที่วิจัยกรุงศรีคาดการณ์ไว้  โดย กนง. มีมติดังกล่าวเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และเพื่อไว้ใช้นโยบายทางการเงินกับจังหวะที่เหมาะสม เพื่อให้การดำเนินนโยบายมีประสิทธิผลสูงสุด

 

วิจัยกรุงศรี มีมุมมองว่า ธปท. ประเมินการเติบโตของ GDP แทบจะไม่มีการเติบโต หรือโต 0% ในไตรมาสสุดท้ายของปี และมีมุมมองเชิงลบมากขึ้นต่อแนวโน้มปี 2564

 

โดย ธปท. ปรับประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2563 จาก -7.8% เป็น -6.6% เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชน (-1.4% เทียบกับ -3.5% ในประมาณการเดือนกันยายน) และการส่งออกสินค้า (-7.4% เทียบกับ -8.2%) ที่ดีเกินคาด รวมถึงผลกระทบด้านลบจากการฟื้นตัวของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศเมื่อเร็วๆ นี้เนื่องจากการคาดการณ์ GDP ปี 2563 ล่าสุดของ ธปท. บ่งชี้ว่ามองการเติบโตในไตรมาส 4/63 อาจใกล้เคียงกับ 0% เทียบกับไตรมาส 3 

 

สำหรับปี 2564 ธปท. ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แม้จะปรับลดแนวโน้ม GDP จาก 3.6% เป็น 3.2% จากคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงเหลือ 5.5 ล้านคน (จากคาดการณ์เดิม 9 ล้านคน) เนื่องจากความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นจากโควิด-19 ขณะเดียวกัน ธปท. ยังเห็นความไม่แน่นอนสูง ทั้งจากปัจจัยระยะสั้นเรื่องการฟื้นตัวของผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ในประเทศ และปัจจัยในระยะยาว เช่นการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ความครอบคลุมของการฉีดวัคซีน และภาคแรงงานที่อ่อนแอลง 

 

โดยการคาดการณ์ล่าสุดภายใต้ตามสมมติฐานที่ว่า ประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมาไทยเป็นหลักจะได้รับวัคซีนมากกว่า 30% ในไตรมาส 3/64 ส่วนในประเทศไทยจะมีผู้ได้รับวัคซีนราว 20% ในไตรมาส 4/64 และเมื่อมองไปข้างหน้า ธปท. คาดว่า GDP ของไทยจะไม่กลับสู่ระดับก่อนการระบาดจนกว่าจะถึงครึ่งหลังของปี 2565 ซึ่งสอดคล้องกับที่วิจัยกรุงศรีประเมินไว้

 

ทั้งนี้ วิจัยกรุงศรีคาด กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิมในปีหน้า จากเหตุผลดังต่อไปนี้

 

  1. เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และ ธปท. ยังได้เพิ่มประมาณการการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกสินค้าในปี 2564 นอกจากนี้ การตัดสินใจของ กนง. ครั้งล่าสุดแสดงให้เห็นถึงแรงส่งออกของไทยในเชิงบวก (-3.7%YoY ในเดือนพฤศจิกายน เทียบกับ -6.7% ในเดือนตุลาคม) โดยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ไม่เคยมีมาก่อนของประเทศเศรษฐกิจหลักของโลก สินค้าส่งออกสำคัญของไทยทำได้ดีขึ้น โดยเฉพาะรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง 

 

  1. คำแถลงของ กนง. อ้างถึงสภาพคล่องที่เพียงพอในระบบการเงินและต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ ซึ่งหมายความว่าไม่จำเป็นต้องผ่อนคลายทางการเงินในวงกว้าง (รวมถึงการลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม) ในอนาคตอันใกล้

 

  1. เพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ไม่สม่ำเสมอ วิจัยกรุงศรีประเมินว่า มาตรการทางการคลัง นโยบายด้านอุปทาน และนโยบายการเงินที่กำหนดเป้าหมาย มีความเหมาะสมมากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

 

ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่สูงมากของการแพร่ระบาดของโควิด-19 วิจัยกรุงศรีเห็นว่า มีโอกาสลดอัตราสูงขึ้นในกรณีที่การกลับมาของการติดเชื้อในประเทศระลอกใหม่ส่งผลกระทบในวงกว้าง และส่งผลกระทบต่อการบริโภค การลงทุน และการจ้างงานในท้ายที่สุด 

 

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X