×

บทสรุปของ ‘อนาคตธุรกิจไทย กับโอกาสใหม่ในภูมิภาคอาเซียนยุคดิจิทัล’ จากงานสัมมนา Krungsri Business Forum 2022: What’s Next for Thailand? โดยธนาคารกรุงศรี [PR NEWS]

โดย THE STANDARD TEAM
15.02.2022
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

10 Mins. Read
  • Krungsri Business Forum 2022: What’s Next for Thailand? คืองานสัมมนาออนไลน์ครั้งยิ่งใหญ่แห่งปีที่จัดขึ้นโดยธนาคารกรุงศรี เพื่อลูกค้าธุรกิจของกรุงศรีโดยเฉพาะ ภายใต้หัวข้อ ‘อนาคตธุรกิจไทย กับโอกาสใหม่ในภูมิภาคอาเซียนยุคดิจิทัล’  
  • เศรษฐกิจในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยเริ่มปรับตัวเข้าสู่โหมดฟื้นฟู แล้วเมกะเทรนด์ใดในโลกธุรกิจที่ต้องจับตามอง รวมถึงแนวคิดและกลยุทธ์ของธุรกิจไทยในการขยายตลาดสู่อาเซียนในมุมมองของผู้บริหารจากหลากหลายอุตสาหกรรมจะเป็นอย่างไร THE STANDARD สรุปทุกประเด็นที่น่าสนใจมาให้แล้วในบทความนี้ 

ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม ภาคธุรกิจ ภาคการท่องเที่ยว รวมถึงภาคอุตสาหกรรม ก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ 2565 ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยเริ่มปรับสู่โหมดการฟื้นฟู ด้วยนโยบายการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน และภาคธนาคารก็มีความพร้อมที่จะสนับสนุนอย่างเต็มที่

 

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY) จึงจัดงานสัมมนาออนไลน์ครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี Krungsri Business Forum 2022: What’s Next for Thailand? ภายใต้หัวข้อ อนาคตธุรกิจไทย กับโอกาสใหม่ในภูมิภาคอาเซียนยุคดิจิทัล เพื่อลูกค้าธุรกิจของกรุงศรีโดยเฉพาะ โดยเชิญผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำของประเทศจากหลากหลายอุตสาหกรรมมาอัปเดตเมกะเทรนด์ในโลกธุรกิจที่ต้องจับตามอง รวมถึงแนวคิดและกลยุทธ์ของธุรกิจไทยในการขยายตลาดสู่อาเซียน

 

งานสัมมนาในครั้งนี้ มีหลากหลายประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกลยุทธ์ที่เหมาะกับการเข้าสู่โหมดฟื้นฟูที่เหล่าผู้บริหารต่างมองไปในทิศทางเดียวกัน 

 

Krungsri Business Forum 2022

 

The NEXT Move on ASEAN Connectivity

โดย เซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)



ประเด็นสำคัญ (Key Takeaway)

เซอิจิโระ กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า แม้วิกฤตครั้งนี้จะทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตผู้คนทั่วโลก แต่ในวิกฤตยังมีโอกาส พบว่าเทรนด์ในโลกธุรกิจเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเรื่อง Regionalization การค้าการลงทุนระดับภูมิภาค, Digitalization การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของดิจิทัล และ Sustainability การดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นความท้าทายที่ธุรกิจต้องเร่งปรับตัวตามให้ทัน

 

“โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนในระดับมหภาค ทำให้เกิด Regionalization หรือการเชื่อมโยงสู่ภูมิภาค ทำให้เห็นเรื่องการสร้างฮับ (Hub) หรือเรื่องการสร้างแรงงานที่มีทักษะในภูมิภาคอาเซียน และจากการประชุมเศรษฐกิจโลก มีการคาดการณ์อัตราการเติบโตของภูมิภาคอาเซียนเป็นอันดัน 3 รองจากอินเดียและจีน และจะมีมูลค่าสูงขึ้นถึง 2 เท่า ภายในปี 2573 ในอนาคตอาเซียนจะเติบโตทั้งขนาดและความต้องการ”

 

“เมื่อวิถีชีวิตปรับเข้าสู่ New Normal ทำให้ผู้บริโภคเริ่มนำดิจิทัลมาใช้มากขึ้น ทั้งอุตสาหกรรมสาธารณสุข การศึกษา หรือแม้แต่การธนาคาร Digital Transformation กลายเป็นสิ่งที่ช่วยเปิดหนทางใหม่ให้กับธุรกิจต่างๆ ในโลกนี้

 

“ในขณะที่ Sustainability การลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบหรือ ESG กำลังเป็นเทรนด์ที่มาแรง ช่วงธันวาคม 2021 Reuters ประกาศว่ามีจำนวนเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาในกองทุนที่ให้ความสำคัญกับ ESG มากถึง 6.49 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนเป็นอีกความแข็งแกร่งที่กรุงศรีสามารถครองความเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดด้วยส่วนแบ่ง 29% และเรายังคงพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อการดำเนินธุรกิจด้าน ESG อย่างต่อเนื่อง ด้วยความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการเติบโตในก้าวต่อไปของธุรกิจที่มีปัจจัยเรื่องความยั่งยืนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค”

 

ปี 2564 กรุงศรีเผยแผนธุรกิจระยะกลางปี 2021-2023 ประกาศพันธกิจในการเป็นสถาบันการเงินไทยที่เป็นที่หนึ่งในใจลูกค้า พร้อมเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้าทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน เราได้ประสานความร่วมมือกับ MUFG และทำงานร่วมกับธนาคารพันธมิตรเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ทำให้กรุงศรีมีเครือข่ายธนาคารพันธมิตรครอบคลุมบริการและพื้นที่มากที่สุดในภูมิภาค

 

“ปี 2565 กรุงศรีออกบริการใหม่ในชื่อ Krungsri Business Link แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เชื่อมโยงกลุ่มนักลงทุนและกลุ่มบริษัทต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน จะช่วยให้เกิดการสร้างธุรกิจทุกที่ ทุกเวลา และยังให้การสนับสนุนกลุ่มลูกค้าให้เข้าถึงตลาดภูมิภาคอาเซียนเป็นอย่างดี

 

“กรุงศรี พร้อมที่จะให้บริการทางการเงินที่สามารถข้ามขอบเขตในภูมิภาคได้ จึงลงทุนนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้สามารถทำธุรกรรมข้ามประเทศสะดวกสบาย รวดเร็ว และทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนและ API สร้างอีโคซิสเต็มกับเหล่าผู้ค้าให้เข้าถึงบริการของธนาคาร เช่น Mobile Payment หรือการให้บริการกู้ยืมเงิน ซึ่งไม่เพียงช่วยยกระดับประสบการณ์ด้านบริการของผู้ใช้งาน แต่ยังตอกย้ำความเป็นผู้นำของกรุงศรีด้านเทคโนโลยีการเงินการธนาคารในอาเซียน ซึ่งทำให้กรุงศรีมีความพร้อมในการช่วยผลักดันการเติบโตของลูกค้าธุรกิจในอนาคต” เซอิจิโระกล่าวทิ้งท้าย

 

Krungsri Business Forum 2022

 

The NEXT Wave of FinTech

โดย สยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานกลุ่มสนับสนุนธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

 

ประเด็นสำคัญ (Key Takeaway) 

สยามกล่าวว่า “ทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมมีทั้งโอกาสและอุปสรรค จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่พวกเราทุกคนต้องศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ คืออะไร ต้องรู้ว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นมีผลกระทบอย่างไรกับธุรกิจของเรา ทำอะไรได้บ้างกับธุรกิจ สร้างโอกาสอะไรได้บ้าง” 

 

5 เทรนด์เทคโนโลยีที่จะส่งผลต่อการเงินและการธนาคารของโลก รวมถึงการดำเนินธุรกิจในอนาคต 

 

1. Biometric Authentication หรือเทคโนโลยียืนยันตัวตน ที่ธนาคารนำมาใช้ยืนยันตัวตนการเปิดบัญชี หรืออื่นๆ นอกจาก Face Recognition กรุงศรีเริ่มมองหาเทคโนโลยีทางเลือกในการยืนยันตัวตน เช่น เสียง ม่านตา ลายนิ้วมือ หรือพฤติกรรมผู้บริโภค เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้งานมากขึ้น

 

2. AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ที่นำมาช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า กรุงศรีเริ่มนำมาพัฒนา Hyper Personalization หรือเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ Smart Bot ฉลาดขึ้น และนำเอาเทคโนโลยีมาปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในธนาคารกรุงศรี ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเรื่องการเติมเงินสดเข้าเครื่อง ATM แต่ละจุดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

3. Open API ที่มีการเชื่อมโยงต่อพันธมิตรและทำให้การทำธุรกรรมง่ายและสะดวกมากขึ้นผ่าน 3 ช่องทาง ทั้งออนไลน์ ATM และสาขาธนาคาร ทำให้เกิดคำว่า Banking as a Service

 

4. Blockchain เทคโนโลยีที่สร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เช่น Cryptocurrency, DeFi หรือ NFT

 

5. Metaverse หรือโลกเสมือนจริงที่ถูกสร้างขึ้นมา และมีหลายธุรกิจนำไปใช้ในธุรกิจ

 

สยามกล่าวถึง 3 โครงการที่กรุงศรีกำลังเดินหน้า ได้แก่

 

1. SME Debt Crowdfunding ดิจิทัลแพลตฟอร์มที่นำผู้กู้คือ SMEs มาเจอกับนักลงทุน ทำให้ SMEs สามารถกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ในขณะเดียวกันนักลงทุนก็ได้ผลตอบแทนที่สูงตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยระบบนี้ SMEs จะได้ทางเลือกในการระดมทุน แทนที่จะกู้ธนาคารพานิชย์อย่างเดียว ฝั่งนักลงทุนยังได้กระจายความเสี่ยง โดยบริษัทหลักทรัพย์กรุงศรีฯ จะออก SME Debt Crowdfunding เป็นตัวแรก และเพิ่มความมั่นให้นักลงทุนโดยที่ธนาคารกรุงศรีฯ จะเข้าไปช่วยค้ำประกัน 

 

2. CBDC หรือ Central Bank Digital Currency ซึ่งเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) ที่ถูกพัฒนาโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

 

3. Smart Finance & Payment Infrastructure for Business ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และธนาคาร เป็นการปฏิรูปการชำระเงินภาคธุรกิจไปสู่ดิจิทัลโดย ธปท. ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ

 

  1. การค้าและการชำระเงินซึ่งจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทั้งการออก Invoice, Credit Note หรือการชำระบิลต่างๆ จะถูกบันทึกในรูปแบบดิจิทัล
  2. Digital Supply Finance เป็นการนำข้อมูลของคู่ค้าไปอยู่บนดิจิทัล เพื่อให้ผู้ประกอบการรายเล็กที่ไม่มีหลักประกันและต้องการสภาพคล่องมาอยู่บนแพลตฟอร์ม เพื่อให้เข้าถึงสินเชื่อได้ดีขึ้น  

 

“การลงทุนและการพัฒนาในเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลไม่ได้จำกัดอยู่แค่ประเทศไทย นี่คือจุดต่างและจุดแข็งของกรุงศรี เพราะกรุงศรีมีเครือข่าย MUFG ที่ให้ความสำคัญในการมองหาและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อนำไปสร้างผลิตภัณฑ์และบริการให้กับลูกค้าของกรุงศรี ที่ผ่านมา MUFG มีการลงทุนกับสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีระดับโลกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Grab, Coinbase และ Carsome ด้านกรุงศรีเองก็มีการลงทุนในสตาร์ทอัพผ่าน Krungsri Finnovate เช่น Zipmex, Finnomena และ Flash Express” สยามกล่าวทิ้งท้าย 

 

Krungsri Business Forum 2022

 

The FUTURE Landscape of Digital Tourism

โดย ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

 

ประเด็นสำคัญ (Key Takeaway) 

ยุทธศักดิ์ชี้ให้เห็นผลกระทบจากวิกฤต ส่งผลให้ปี 2564 มีนักท่องเที่ยวลดลงเหลือเพียง 400,000 คน เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยเกือบ 40 ล้านคน 

 

ดังนั้นบทต่อไปของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยจะพลิกโฉมไปทางไหน ยุทธศักดิ์บอกว่า รัฐบาลตั้งเป้ารายได้การท่องเที่ยวปี 2565 ไม่ต่ำกว่า 50% จากตัวเลขรายได้ของปี 2562 (3 ล้านล้านบาท คิดเป็น 20% ของ GDP ของประเทศ) และปี 2566 ตั้งเป้ารายได้ 80% นอกจากรายได้ยังตั้งเป้าตัวเลขนักท่องเที่ยวให้กลับมา 50% ของสิ่งที่ทำได้ในปี 2562 หรือประมาณ 20 ล้านคน 

 

“สิ่งที่ภาคการท่องเที่ยวต้องทำคือ พลิกโฉมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่หลังวิกฤตโควิด-19 ด้วยการเพิ่มสัดส่วนนักท่องเที่ยวคุณภาพที่มีรายได้สูง และการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวจะต้องทั่วถึงและเป็นธรรม นำ Data Driven Marketing มาเพื่อแสวงหาการท่องเที่ยวที่เน้นประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าแต่ละกลุ่ม เน้นสินค้าการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและประสบการณ์ที่แตกต่าง (Travel Experience) และนำอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสู่การเปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานของการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบและการเปลี่ยนทางดิจิทัล เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและความยั่งยืน ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยใช้หลักของ Inclusive Tourism ทุกคนควรได้ประโยชน์ มีการกระจายความมั่งคั่งอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม”

 

ยุทธศักดิ์กล่าวว่า เมื่อเปลี่ยนโหมดตั้งรับสู่โหมดบุกจะต้องบุกด้วย Triple i นั่นคือ

 

  • Digital Industry เป็นความท้าทายที่จะเปลี่ยนอุตสาหกรรมด้านบริการเป็นอุตสาหกรรมดิจิทัล ททท. จึงสนับสนุนผู้ประกอบการในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปปรับใช้ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เช่น (eService) เปลี่ยนวิธีเรียนรู้ การติดต่อสื่อสาร และทำธุรกรรม โดยคำนึงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความคาดหวังของลูกค้า
  • Digital Investment ททท. พร้อมจะลงทุนในการพลิกโฉมสู่ยุคดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ มุ่งสร้างความยืดหยุ่นทางธุรกิจและการเชื่อมต่อที่ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งมอบบริการที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย  
  • Digital Innovation ททท. พร้อมจะร่วมพัฒนานวัตกรรมบนพื้นฐานของเทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงการเพิ่มทักษะทางดิจิทัลต่างๆ เช่น AR และ VR การนำเสนอข้อมูลเชิงเสมือนที่ผสมผสานกับโลกความเป็นจริง เพื่อช่วยให้ได้เห็นก่อนตัดสินใจในการเลือกเดินทาง Blockchain ช่วยสร้างความปลอดภัยและความแม่นยำของข้อมูล Recognition เทคโนโลยีเพื่อการจดจำ ทำให้การบริการมีศักยภาพที่ดีขึ้น และ Smartphone เพื่อให้กิจกรรมต่างๆ มีความสะดวกสบาย 

 

“การเปลี่ยนจะเกิดขึ้นได้ต้องทำงานร่วมกับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เพื่อสร้าง New Tourism Ecosystem เครือข่ายของผู้มีส่วนได้เสีย ที่ทุกคนได้ประโยชน์ร่วมกัน มีการกระจายรายได้ทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน เชื่อว่าดิจิทัลสามารถทำให้เกิดความยั่งยืนได้ตามแผนของ ททท. เรามีกระบวนการที่เรียกว่า ASAP ได้แก่ (A: Accessibility) ความเท่าเทียมในการเข้าถึงเทคโนโลยี ไม่ว่าจะประกอบธุรกิจไซส์ไหน (S: Safety) ความปลอดภัยโดยเฉพาะ Cyber Security (A: Accountability) ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี และ (P: Protection) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”

 

ยุทธศักดิ์ฝากถึงผู้ประกอบการถึงสิ่งที่ต้องเร่งทำ คือการ Reskill พัฒนาคน ให้เกิดความสามารถหรือศักยภาพใหม่ๆ ให้ตอบรับการแข่งขันในยุคดิจิทัล และต้องนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างสร้างสรรค์ รวมถึงรู้เท่าทันภัยของเทคโนโลยีที่อาจมาจากผู้ไม่หวังดีในรูปแบบต่างๆ สุดท้ายคือ ต้องพร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงเสมอ  

 

Krungsri Business Forum 2022

 

The NEXT Stage of Sustainability Growth

โดย รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCG และ อัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)


ประเด็นสำคัญ (Key Takeaway)

รุ่งโรจน์เปิดประเด็นเรื่องเทรนด์การแข่งขันที่โลกให้ความสนใจในตอนนี้ ได้แก่ Digital Transformation, Climate Change และ Wellness

 

ด้านอัศวินให้ทัศนะเกี่ยวกับการมาถึงของดิจิทัลและเทรนด์สิ่งแวดล้อมในการปรับตัวของธุรกิจค้าปลีกว่า “BJC มีการนำเทคโนโลยีมาทำให้ประสบการณ์ของลูกค้าดีขึ้น เมื่อลูกค้าเดี๋ยวนี้มีทางเลือกในการเข้าถึงเทคโนโลยีในการเลือกจับจ่ายสินค้า เรายิ่งต้องปรับตัวให้ทัน ด้านสิ่งแวดล้อม BJC ทำเรื่องนี้มาตลอด เช่น แพ็กเกจจิ้ง 80% ที่ทำจากเศษแก้วสามารถนำมารีไซเคิลได้ หรืออะลูมิเนียนที่ทำเป็นกระป๋อง 90% มารีไซเคิลได้”

 

Krungsri Business Forum 2022

 

รุ่งโรจน์กล่าวเสริมว่า “ในแต่ละธุรกิจมีความต่างกัน อย่าง SCG เองมีอุตสากรรมซีเมนต์ วัสดุก่อสร้าง เคมีคอล และแพ็กเกจจิ้ง ทั้งสามอุตสากรรมมีสเตจที่จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมต่างกัน ดังนั้นหากบอกว่า SCG ให้ความสำคัญก็ถูก แต่อีกส่วนหนึ่งเราก็เป็นส่วนที่สร้างปัญหาเช่นกัน ดังนั้นในฐานะพลเมืองโลกจึงเป็นเรื่องที่เราเลี่ยงไม่ได้ ต้องมีคำมั่นสัญญาว่าจะไปทิศทางไหน อย่าง SCG ตั้งเป้าปี 2050 จะต้องเป็น Net Zero เป้าที่สั้นกว่านั้น ภายในปี 2030 จะลดลงให้ได้ 20% ภายใต้ความท้าทายคือธุรกิจจะต้องเติบโตด้วย

 

“ต่อมาคือเรื่องของสินค้าก็ต้องกรีนจริงๆ คาร์บอนฟุตพรินต์ต้องลดลง หรือเรื่องของกระบวนการนำ Industry 4.0 มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น ปรับกระบวนการทำงานให้สามารถลดปริมาณขยะลงได้มากที่สุด จากนั้นก็ต้องไปมีส่วนร่วมกับคนอื่น เพราะเราไม่สามารถทำคนเดียวได้

 

“เรื่องความโปร่งใสก็สำคัญ ไม่ว่าจะเรื่องการลดภาวะเรือนกระจก การนำสินค้าที่มีความเป็นกรีนมาใช้ หรือปรับปรุงกระบวนการผลิต จำเป็นต้องมีตัววัดและต้องเป็นตัววัดที่สามารถเปิดเผยได้”

 

ด้านแผนการรับมือกับเทรนด์ Sustainability ของ BJC ที่ผ่านมา มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยเรื่องการรีไซเคิลและทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

 

“อีกส่วนที่สำคัญคือ Big C เรามีคู่ค้ากว่าแสนราย ดังนั้นเราสามารถเลือกสินค้าที่อยู่ในกระบวนการสร้างความยั่งยืนได้ และสร้างการรับรู้และสร้างทางเลือกให้กับลูกค้า”

 

สำหรับแผนการลงทุนและโอกาสสร้างสัดส่วนรายได้นั้น ในปีนี้ SCG เน้นไปที่ตลาดอาเซียนอย่างเวียดนาม เริ่มมีการลงทุนโครงการปิโตรเคมี คาดการณ์เริ่มผลิตต้นปี 2566 และอีกประเทศคืออินโดนีเซีย มีการเข้าไปร่วมลงทุนในปิโตรเคมีและวัสดุก่อสร้างเช่นกัน  

 

Krungsri Business Forum 2022

 

ด้าน BJC มองโอกาสของธุรกิจไทยในอาเซียนว่า “สินค้ายังมีโอกาสเติบโตในต่างประเทศ ตอนนี้การค้าชายแดนมีบทบาทมากขึ้นในช่วงที่การส่งออกยังติดขัด นี่เป็นช่องทางที่ผู้ประกอบการไทยสามารถไปได้ภายใต้ความเสี่ยงต่ำ และควรจับมือกับภาคธุรกิจที่มีเครือข่ายหรือพันธมิตรเพื่อสร้างโอกาสที่มากยิ่งขึ้น”
 

 

ในประเด็นคำแนะนำด้านการลงทุน รุ่งโรจน์แนะการลงทุนในต่างประเทศอาจไม่จำเป็นต้องซื้อทั้งหมด ไปในลักษณะร่วมทุนก็ได้ เพราะสามารถเริ่มงานได้เลย แต่ถ้าหากโอกาสเช่นนั้นไม่ได้หรือเงินทุนไม่ถึงก็ร่วมเป็นซัพพลายเชนกับบริษัทที่นั่น เลือกธุรกิจที่คุ้นเคย

 

“โลกยุคใหม่เราแข่งขันด้วยคนและความรู้ สิ่งที่สำคัญคือ ทำอย่างไรจึงจะสร้างองค์ความรู้ให้กับคนของเราให้ได้”

 

อัศวินกล่าวว่า ความท้าทายในการทำธุรกิจปีนี้คือการบริหารจัดการสภาพคล่อง เพราะต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่วนทางกับยอดขายที่ไม่เพิ่มตาม และต้องมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เหมาะกับธุรกิจตัวเองเพื่อให้เติบโตทันเทรนด์โลก 

 

รุ่งโรจน์ฝากถึงผู้ประกอบการว่า ในอนาคตควรให้ความสำคัญกับ ‘ข้อมูลและลูกค้า’

 

“เมื่อมีข้อมูลแล้ว และรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร จะทำให้เราเข้าใจลูกค้ามากขึ้น นั่นคือพื้นฐานของการทำธุรกิจที่ดี”

 

Krungsri Business Forum 2022

 

Thailand Tomorrow: Finding NEXT Opportunities

โดย ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 

 

ประเด็นสำคัญ (Key Takeaway)

ดร.สมประวิณกล่าวว่า โลกกำลังเผชิญ The Great Reset ที่คนทั่วโลกปรับพฤติกรรมใหม่พร้อมๆ กับการเกิด 6 เมกะเทรนด์ที่น่าจับตามอง ได้แก่ 

 

  1. การเกิดขึ้นของประเทศที่มีกำลังซื้อ เช่น จีน อินเดีย อาเซียน ซึ่งมีความต้องการสินค้าและบริการจะไม่เหมือนเดิม
  2. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คนอายุยืนมากขึ้น ทำให้ความต้องการสินค้ามีหลากหลายเจเนอเรชัน
  3. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้การผลิตและการบริโภคคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
  4. ภัยพิบัติและโรคระบาดนำมาสู่ความไม่แน่นอนในการผลิตและการบริโภค
  5. เศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ของโลกมีการต่อสู้ ทำให้การค้าโลกแตกเป็นการค้าย่อยๆ
  6. เทคโนโลยีดิสรัปชันที่จะมีผลต่อชีวิตคนในอนาคต 

 

ดร.สมประวิณยังชี้ให้เห็นว่า โอกาสในการเข้าสู่ธุรกิจใหม่ในอนาคตมีไม่มากนัก เนื่องจากคนเริ่มคุ้นชินกับการปรับตัว และเริ่มมีการจับจองการทำธุรกิจหลังโควิด-19 แล้ว ทำให้พื้นที่ในการทำธุรกิจในอนาคตมีเหลือน้อยเต็มที แนะ 3 กลยุทธ์รีเซ็ตเพื่อเข้าสู่ธุรกิจใหม่ในการเติบโตหลังวิกฤตโควิด-19 

 

  • Reimagine จากเดิมการผลิตมีวงเดียว ต่างคนต่างมีบทบาทการผลิตเพียงด้านเดียว แต่หลังจากเศรษฐกิจเกิดใหม่ ทั้งจีน อินเดีย อาเซียน ทำให้มีการสร้างเครือข่ายการผลิตของตัวเอง เรียกว่า Regional Value Chain ทำให้การทำธุรกิจในอนาคตจะกระจายการผลิตไปในแต่ละภูมิภาคมากขึ้น ในอนาคตกระบวนการผลิตและการทำธุรกิจจะมีลักษณะ 4 ประการ คือ 1. Diversify กระจายตัวมากขึ้น 2. Shorten สายพานการผลิตสั้นลง 3. Demand Focus เทคโนโลยีเอื้อให้ผลิตสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้น และ 4. Technology เทคโนโลยีอยู่ในทุกกระบวนการผลิต  
  • Reflect ต้องผลิตสิ่งที่เราทำได้ดีมากในโลก เก่งในภูมิภาค และเก่งในประเทศ ผลิตในราคาที่ดี มีคุณภาพ และมีกำไร ซึ่งจากข้อมูล OECD พบว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทย เทียบกับขนาดโลกจากทั้งหมด 64 ประเทศ ไทยอยู่ที่อันดับที่ 35 หากมองภาคการผลิตของไทยติดอันดับท็อป 15 ของโลก และหากดูรายการผลิตมีถึง 7 อุตสาหกรรมที่ติดท็อปโลก เช่น ยาง อาหาร แต่มีหลายอุตสาหกรรมที่เราสูญเสียความสามารถการแข่งขันที่รวดเร็ว จากการเข้ามาแข่งขันบนเวทีโลกของประเทศต่างๆ มากขึ้น ทุกอุตสาหกรรมมีที่ยืนเป็นของตัวเอง ต้องหาให้เจอ  
  • Reset การรีเซ็ตธุรกิจทำไม่ได้ง่าย เราจะอยู่รอดในโลกข้างหน้าได้ จำเป็นต้องพัฒนาองค์กรของเรา พัฒนาเครื่องมือ พัฒนาองค์ความรู้ขององค์กร เหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยองค์กรได้ นอกจากนี้สิ่งที่จะช่วยคือการหาพาร์ตเนอร์ที่ดีที่จะเข้ามาช่วยในการทำธุรกิจ หาตลาดใหม่ หาองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งการหาพาร์ตเนอร์ชิปเป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องคำนึงถึง

 

“เราเก่งอะไร เรามีทรัพยากรที่ดี มีส่วนร่วม มีความยืดหยุ่นในการผลิต แต่ปัญหาคืออะไร เรามีปัญหาในการสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มได้ต่ำ อินโนเวตต่อไปไม่ได้ มาร์จิ้นต่ำเรื่อยๆ อดีตอุตสาหกรรมที่ไทยเก่ง เช่น อิเล็กทรอนิกส์ แต่เหล่านี้ตอบสนองความต้องการบนโลกเก่า แต่วันนี้ใช้ไม่ได้แล้ว ดังนั้นเราอาจต้องคิดใหม่ ว่าสินค้าที่ขายดีในอดีต แต่ไม่ได้แปลว่าในอนาคตจะขายได้

 

“การต่อยอดธุรกิจต้องผสมระหว่างการพัฒนาตัวเองและหาเพื่อนร่วมทางคือการหาพาร์ตเนอร์ชิป ท่ามกลางการอยู่บนรอยต่อสำคัญที่จะเป็นโอกาสในการรีเซ็ต รีอิมเมจิ้นของการทำธุรกิจ และการร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ เพื่อทำให้เกิดการแปลี่ยนแปลงและต่อยอดธุรกิจ โดยที่สามารถอยู่รอดได้ในโลกอนาคต” ดร.สมประวิณกล่าวทิ้งท้าย

 

สำหรับผู้ที่สนใจอยากชมงานสัมมนาออนไลน์ Krungsri Business Forum 2022: What’s Next for Thailand? ย้อนหลัง ติดตามได้ที่เพจ Krungsri Business Empowerment

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising