×

เขื่อน ภัทรดนัย มนุษย์ที่เชื่อว่าความเท่าเทียมคือความหลากหลาย [Advertorial]

08.09.2021
  • LOADING...
เขื่อน ภัทรดนัย

ถ้าจะให้เอ่ยชื่อบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ลุกขึ้นมาพูดถึงเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อของ เขื่อน-ภัทรดนัย เสตสุวรรณ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ ‘เขื่อน K-OTIC’ อดีตหนึ่งในสมาชิกวงบอยแบนด์ขวัญใจวัยรุ่นยุค 2000 อย่างแน่นอน 

 

แม้ว่าปัจจุบันเขาได้ถอยห่างจากวงการเพลงและวงการบันเทิง เพื่อมาเป็นนักจิตบำบัดมืออาชีพอย่างเต็มตัว ควบคู่ไปกับนักขับเคลื่อนด้านความเท่าเทียมทางเพศที่นิยามตัวเองว่าเป็น Queer และ Asexual นอกจากนี้เขาคือหนึ่งในคนที่ใช้พื้นที่และเสียงของตัวเองเพื่อเรื่องสุขภาพจิตในกลุ่ม LGBTQ+ แถมยังสร้างการมองเห็นและพื้นที่ปลอยภัยให้คนรุ่นใหม่แบบที่ไม่สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง ผ่านแฟชั่นและบิวตี้ 

 

จนล่าสุดเขาได้มีโอกาสร่วมงานกับแบรนด์รองเท้าอย่าง Converse กับแคมเปญที่มีชื่อว่า Breaking Down Barriers ร่วมกับกลุ่มศิลปินสมาชิก Converse All Stars จากหลากหลายอาชีพ ทั้ง ปูนปั้น (@_poonpun) ฟรีแลนซ์กราฟิกดีไซเนอร์, ปัด (@xedleopard) กราฟิกและแฟชั่นดีไซเนอร์, เกิร์ล (@lafynagirl) นักวาดภาพประกอบ และ ฟิล (@phillhead) ศิลปินแนวสตรีท ร่วมด้วยผลงานศิลปะบนกำแพงจาก Juli Baker เจ้าของลายเส้นและสีสันเฉพาะตัว

 

ในวันนี้เรามีโอกาสได้สัมภาษณ์เขื่อนถึงชีวิตที่ถูกปิดกั้นโดยกำแพงที่มองไม่เห็น อย่างเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ความหลากหลาย และการทลายกรอบของสังคมที่ทำให้เขาเป็นตัวเองได้อย่างภาคภูมิใจอย่างทุกวันนี้

 

Pataradanai Setsuwan

 

เราขอเริ่มที่ภาพรวมก่อน คิดว่ากรอบสังคมในปัจจุบันทุกวันนี้มีผลต่อการแสดงออกในเรื่องของตัวตนของเราอย่างไร และก่อให้เกิดปัญหาอะไรบ้าง

เขื่อนว่าเยอะมากเลยนะครับ เยอะกว่าที่จะสามารถคลุมได้หมด เพราะว่ากรอบของสังคมมันคลุมทั้งหมดเลย เช่น ผู้หญิงจะต้องเป็นอย่างไร ผู้ชายจะต้องเป็นอย่างไร LGBTQ+ จะต้องเป็นอย่างไร จนมันไม่ยืดหยุ่นและไม่มีพื้นที่ให้ค้นหาตัวตนเลย ฉะนั้นถามว่าในกรอบบริบทของสังคมครอบเยอะไหม ครอบเยอะมาก 

 

ถ้าถามว่าก่อให้เกิดปัญหาไหม แน่นอนว่ามันก่อให้เกิดปัญหา เพราะกลายเป็นว่าเมื่อมีกรอบมาครอบ คนที่รู้สึกว่าไม่เชื่อมโยงกับกรอบนี้จริงๆ หรือไม่อยากอยู่ในกรอบ หรือว่าอยู่ในกรอบนี้ไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม มันทำให้เขาเป็นในสิ่งที่เขาอยากเป็นไม่ได้ เขาจะรู้สึกผิดและคิดว่าปัญหาอยู่ที่ตัวเขา ซึ่งพอเราดึงกลับมาที่ความเป็นมนุษย์ ถ้าเราพูดเรื่องความเท่าเทียม สุดท้ายมันต้องกลับมาว่าความเท่าเทียมคือทุกคนมีสิทธิ์ที่จะสำรวจและเป็นตัวของตัวเอง 

 

ตอนเราเติบโตมา มีโมเมนต์ที่รู้สึกว่าตัวตนและเพศของเราเป็นอุปสรรคในการทำงานและการทำตามความฝันของเราไหม เช่น เรื่องการเป็นศิลปิน 

โดยรวมทั้งชีวิตแล้วคือเยอะมาก เช่น ตอนเป็นศิลปินก็ค่อนข้างเยอะ เพราะว่า หนึ่ง รู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะค้นหาคำตอบเลยว่าการเป็นเกย์คืออะไร การเป็น Queer คืออะไร LGBTQ+ คืออะไร เพราะเขื่อนโดนระบุมาเลยว่าห้าม เขาไม่พูดนะว่าอะไร แต่เขาบอกว่าห้ามเป็นแบบนี้ และบอกว่าสิ่งที่เขื่อนทำอยู่มันเยอะเกินไป แล้วมันไม่ถูกต้อง มันไม่คู่ควร เขื่อนไม่ได้เป็นศิลปินเดี่ยว เรากลัวมากว่าเราจะทำผิด เพราะถ้าเขื่อนทำพลาดรุ่นพี่อีก 4 คนต้องโดนด้วยแน่นอน ดังนั้นการเป็น LGBTQ+ ในบริบทศิลปินค่อนข้างหนักเลย

 

แล้วหลังจากที่เรา Come out และพ้นช่วงการเป็นศิลปินแล้วล่ะครับ เป็นอย่างไร

พอดึงมาบริบทใน LGBTQIA+ Community ก็เจอเช่นกัน ตอนแรกนิยามตัวเองเป็นเกย์ เพราะต้นแบบเรายังมีไม่มากพอว่า LGBTQIA+ มีอะไรบ้าง นึกแค่ว่า อ๋อ เกย์ก็คือเกย์ เกย์ต้องเป็นแบบนี้ ต้องชอบแบบนี้ มีเซ็กซ์แบบนี้ อารมณ์ทางเพศเยอะแน่ๆ แต่เวลาผ่านไปปรากฏว่าเราไม่อินกับสิ่งนั้น มันไม่ใช่แค่ใจเราไม่ชอบ แต่ร่างกายเราก็ไม่ชอบด้วย แต่ถ้าบอกไปคนก็หาว่าเราโกหก จนมาเจอกลุ่ม Queer และ Asexual (กลุ่มหรือคนที่ไม่ฝักใฝ่ทางเพศ) ถึงค่อยๆ ได้เรียนรู้ว่าในสังคมเรามันมีความหลากหลายมากกว่าแค่กรอบความคิดแบบชายหญิงทั่วไป (Heteronormativity) 

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

A post shared by Pataradanai Setsuwan (@koendanai)

 

ตั้งแต่ที่เราเติบโตมา มีคำพูดคำไหนที่รู้สึกว่าดูถูกศักยภาพของเรา เพียงเพราะว่าเราเป็นแบบนี้ 

เขื่อนว่าคำที่น่าจะมีผลกับเขื่อนที่สุดคือคำว่าทุเรศ ตอนนั้นเขื่อนโดนผู้ใหญ่เรียกไปคุย เป็นช่วงที่เราเริ่มใช้ Instagram ใหม่ๆ แล้วก็ลงรูปกับกลุ่ม Queer ซึ่งตอนนั้นเรายังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคืออะไร รู้แค่ว่าเราชอบ ชอบบรรยากาศแบบนี้ อยากใส่เสื้อผ้าแนวนี้ อยากแสดงออกแบบนี้ เราจำได้เลยว่าเขาพิมพ์รูปมาแล้วบอกเขื่อนว่าแบบนี้ทุเรศ ทำไมทำแบบนี้

 

วันนั้นเขื่อนอายุประมาณ 16-17 ปี ยังเด็กมาก มันก็ตกใจ และมันฝังใจว่า เออว่ะ ถ้าผู้ใหญ่เขาบอกเรา แปลว่ามันคงทุเรศจริงๆ แหละ แต่สำหรับเรามันดูไม่ทุเรศเลยด้วยซ้ำ หลังจากเหตุการณ์นี้คำว่าทุเรศก็จะขึ้นมาบ่อยๆ ในข่าวและทางโซเชียลมีเดีย แต่กับทุกวันนี้ คำพวกนี้แทบจะทำอะไรเขื่อนไม่ได้แล้ว

 

จากวันนั้นเรามีวิธีการจัดการและก้าวข้ามมันมาได้อย่างไร 

ทุกวันนี้ก็ยังไม่คิดว่าก้าวข้ามได้ร้อยเปอร์เซ็นต์นะ แต่เราสามารถอยู่กับมันได้ มันไม่ทำให้เรารู้สึกตกใจหรือรู้สึกโดนกดขี่อีกต่อไปแล้ว แต่ก็ยังเป็นกระบวนการที่ต้องเดินต่อไปอีก มันไม่ใช่คำว่าทุเรศที่มีผลกับเรา แต่มันคือความสัมพันธ์ของเขื่อนกับคำคำนี้ที่มันไม่ดี เมื่อก่อนเราแปลมันว่า ผิดแปลก อกตัญญู แปลกนะ มันมีคำว่าอกตัญญูขึ้นมาด้วย เพราะเราทำให้คนผิดหวัง เราไม่ดีพอ ซึ่งพอเราดึงกลับมา แล้วเราดึงกลับมามองปัญหาว่าจริงๆ มันไม่ได้อยู่ที่คำ มันอยู่ที่ความรู้สึกและความสัมพันธ์ของเรากับคำนี้ แต่พอเรารู้จักตัวเองกับคำนี้มากขึ้น เราก็อยู่กับมันได้มากขึ้น ค่อยๆ แกะได้ทีละนิด

 

Pataradanai Setsuwan

 

พี่เขื่อนเป็นหนึ่งในคนที่จุดกระแสเรื่องความหลากหลายทางเพศในบ้านเรา แต่ก่อนหน้านี้มีใครที่เป็นต้นแบบให้เราได้ยึดเหนี่ยวจิตใจ ทั้งการเติบโต การใช้ชีวิต และแสดงให้เราเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงมันเกิดขึ้นได้ 

เขื่อนโตมากับโรงเรียนประจำ ไม่ค่อยได้ดูทีวี เพราะฉะนั้นการเสพสื่อจะน้อย ตอนเด็กๆ ก็จะมี Britney Spears ที่ดังมากๆ จนเริ่มโตและมีกำลังซื้อ เริ่มได้ไปคอนเสิร์ตได้ ก็จะเริ่มจาก Lady Gaga เขื่อนชื่นชมเขามากๆ ในความที่เขาสนับสนุนกลุ่ม LGBTQIA+ และเพลงในอัลบั้มเขาในหลายๆ เพลง อย่างเช่น Born This Way หรือ Hair ที่เราเพิ่งมาเข้าใจความหมายตอนโต เขาสู้เพื่อสิทธิความเท่าเทียมของผู้หญิงและเราด้วย เราเลยชอบ Lady Gaga มากจากสิ่งที่เขาทำ  

 

พี่เขื่อนพูดถึงคำว่าพื้นที่ปลอดภัยอยู่บ่อยครั้งในหลายๆ บทสัมภาษณ์ ในเรื่องเสื้อผ้าหรือว่าเรื่องแฟชั่นได้มอบพื้นที่ปลอดภัยให้พี่เขื่อนอย่างไรบ้าง

เสื้อผ้าสำหรับเขื่อนแล้วเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์แบบหนึ่งครับ เสื้อผ้าเป็นอะไรที่คนเห็นชัดสุดด้วย เพราะมันเป็นอะไรที่คนเห็นก่อนที่เขาจะรู้จักเขื่อน เพราะฉะนั้นสำหรับเขื่อนแล้ว เสื้อผ้าคือแน่นอน เขื่อนแต่งตัวแบบให้เกียรติตัวเอง โดยที่ก้าวข้ามขีดจำกัดเต็มๆ เลย คือวันนี้ฉันรู้สึกแบบนี้ แล้วฉันให้เกียรติตัวเอง เพราะฉะนั้นฉันจะใส่แบบนี้ ฉันใส่แบบนี้เพราะฉันอยากใส่ ฉันไม่ได้อยากใส่เพราะสังคมบอกให้ใส่ เขื่อนไม่เห็นเสื้อผ้ามีเพศ นี่คือการทลายข้อจำกัดในแบบของเขื่อน แล้วมันก็สะท้อนผ่านพฤติกรรมอื่นๆ ของเขื่อนด้วยนะครับ ว่าสุดท้ายสิ่งนี้ที่ฉันอยากทำ ฉันอยากทำจริงๆ หรือสังคมบอกว่าฉันต้องทำ ทั้งหมดมันเริ่มจากการตั้งคำถาม และเสื้อผ้าก็เป็นหนึ่งในนั้น

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

A post shared by Pataradanai Setsuwan (@koendanai)

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

A post shared by Pataradanai Setsuwan (@koendanai)

 

 

แล้วรู้สึกอย่างไรบ้างที่ได้มาร่วมงานกับ Converse ครั้งนี้ครับ เป็นแคมเปญ Breaking Down Barriers นี้

มีความสุขมากเลยครับ เพราะว่าหนึ่งคือเขื่อนรู้จักน้องๆ บางคนใน All Stars อยู่แล้ว คนทั่วไปจะรู้ว่าเราใส่ Converse ตั้งแต่ก่อนมาร่วมงานกับ Converse ด้วยซ้ำ แล้วก็ชอบสิ่งที่เขานำเสนอ พอมาร่วมงาน ตั้งแต่วันประชุม PR เจอคุณป่าน, คุณ Juli Baker ได้คุยกับพี่ๆ ทีมงานทุกอย่าง เขาสนใจมุมมองของเราเราทุกอย่าง เขาให้ความเคารพไอเดียเราว่าเราอยากทำมันออกมาในทิศทางไหน เราอยากนำเสนออะไร ตั้งแต่เสื้อผ้าที่เราเลือกใส่ เมกอัพเรา หรือว่ามู้ดแอนด์โทน เขาไม่เคยเบรกหรือว่าห้ามเขื่อนเลย เรารู้สึกได้ถึงความให้เกียรติกันและกัน

 

พี่เขื่อนเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงแรกๆ ที่นำเสนอเรื่องความหลากหลายว่ามันมีความเป็นไปได้อีกเยอะมาก มีด้านไหนที่อยากดันเพดานที่มองไม่เห็นอีกไหม

เขื่อนอยากให้คนเข้าใจกลุ่มคนอื่นๆ ใน LGBTQIA+ หรือกลุ่มรสนิยมความชอบทางเพศอื่นๆ ที่เขายังไม่มีที่ยืนมากพอด้วย เช่นกลุ่ม BDSM มันคือพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเขา คือที่ที่เขาสามารถค้นหาตัวตนผ่านความต้องการทางเพศ แบบมีข้อตกลงกันและปลอดภัย จากที่เราเคยเจอในอังกฤษ ที่นี่มีความหลากหลายและคนก็เปิดกว้างมาก มันไม่ใช่เรื่องทุเรศ ไม่ใช่เรื่องวิปริต พวกเขาสมควรได้รับการยอมรับเช่นกัน 

 

สุดท้ายพี่เขื่อนอยากเห็นอะไรเกิดขึ้นในบ้านเราบ้าง และมีความหวังในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศที่ไม่ใช่แค่แบบเพศเรา แต่อีกหลายๆ เพศที่ต้องการอย่างไร

ความหวังที่เขื่อนอยากได้ คือความหวังที่อยากได้จริงๆ นะ แต่ไม่รู้ว่าในชีวิตอายุขัยที่เขื่อนมีพอหรือเปล่า คืออยากให้กลุ่ม LGBTQIA+ ทุกคนมีมีสิทธิ์แบบทุกสิทธิ์ จริงๆ ครับ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิ์สมรสจริงๆ กู้บ้านก็มีบ้าง หลังๆ มันดีนะ มันดีขึ้น มันเป็นสิ่งที่ดีแต่ยังไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ มีสิทธิ์ที่มนุษย์ทุกคนควรจะมี เขื่อนอยากจะให้มันไปถึงวันที่ไม่มีคำว่า Closeted (ปิดบังตัวตน) เพราะสุดท้ายแล้วเราควรมีความสุขกับชีวิต อยากให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยกันและกัน แล้วก็อย่างที่อธิบายไป ไม่ต้องหลบซ่อนแม้จะอยู่ในกลุ่ม LGBTQ+ ของเราเอง 

 

สำหรับแคมเปญ Breaking Down Barriers ของ Converse นับเป็นอีกหนึ่งแคมเปญที่สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ ที่ไม่เพียงแค่ออกสินค้าประดับธงสีรุ้ง แต่ยังสะท้อนถึงความเชื่อที่แบรนด์มีต่อความหลากหลาย ผ่านตัวแทนที่มาจากต่างเส้นทางชีวิต ต่างเพศ ต่างอาชีพ ที่มาบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขาแต่ละคน 

 

ไม่ว่าจะเป็น ปัด (@xedleopard) แฟชั่นดีไซเนอร์ กราฟิกดีไซเนอร์ สไตลิสต์ นางแบบ ครีเอทีฟคอนเทนต์ หนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม Converse All Stars ที่เชื่อเรื่องความเท่าเทียมขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เจ้าของโปรเจกต์ Chance Change และผลงานที่มีชื่อว่า No. 0.00 รูปหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ไร้ความคิดและวิญญาณ สื่อให้เห็นถึงกรอบของสังคมที่มาครอบผู้คนให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตในแบบของตัวเอง 

 

นอกจากนั้นยังมี ปูนปั้น (@_poonpun) ฟรีแลนซ์กราฟิกดีไซเนอร์, เกิร์ล (@lafynagirl) นักวาดภาพประกอบ และ ฟิล (@phillhead) ศิลปินแนวสตรีท

 

รวมไปถึงอีกหนึ่งโปรเจกต์พิเศษที่ได้ Juli Baker ศิลปินเจ้าของลายเส้นและสีสันเฉพาะตัวมาสร้างสรรค์งานศิลปะบนกําแพงที่สื่อถึงความเท่าเทียมทางเพศเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เฉลิมฉลองความเป็นตัวของตัวเอง และพร้อมแสดงให้โลกเห็นว่ายังมีความเป็นไปได้อีกมากมายที่รอคอยพวกเขาอยู่หลังกำแพงลวงตาที่ปิดกั้นพวกเขาไว้

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

A post shared by Juli Baker (@julibakerandsummer)

 

สามารถติดตามรายละเอียดผลงานและเรื่องราวของ Converse Breaking Down Barriers เพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3iidAy1

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X