×

คุยกับทายาทพะเนียงเวทย์ ส่งต่อความใฝ่รู้คือมรดกที่มีค่าที่สุด [ADVERTORIAL]

18.03.2024
  • LOADING...
พะเนียงเวทย์

HIGHLIGHTS

  • “ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด เราต้องเรียนรู้ในทุกๆ วัน ไม่มีใครที่เรียนจบปริญญาหลายปีก่อนแล้วจะไม่ต้องเรียนรู้อะไรอีกเพิ่มเติม ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง โลกหมุนไปข้างหน้า ถ้าเราหยุดอยู่กับที่ คิดว่าสำเร็จแล้ว เราจะถอยหลังทันที เพราะคนอื่นกำลังเคลื่อนไปข้างหน้า” พจนา พะเนียงเวทย์ 
  • วิธีคิดในการสอนลูกเรื่องการศึกษาคือ เราจะสอนให้เป็นพลเมืองโลก (Global Citizen) ซึ่งนอกจากจะช่วยเรื่องการโอบรับความแตกต่างและหลากหลายแล้ว ยังช่วยเปิดโอกาสให้เราเข้าถึงความรู้ใหม่ๆ
  • “เราพยายามทำตัวเองให้เหมือนฟองน้ำ คุณแม่จะสอนตลอดว่าให้ฟังเยอะๆ ถ้าเรายังเรียนรู้ไม่พอแล้วปิดกั้นตัวเอง จะทำให้เราไม่เติบโต เพราะฉะนั้นเราต้องออกไปเรียนรู้ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของคนอื่นหรือประสบการณ์ของตัวเอง” กมลพรรณ เลิศประภาพงศ์
  • เมื่อถามว่า อะไรคือมรดกที่อยากจะส่งต่อให้ลูกมากที่สุด พจนาตอบอย่างชัดเจนว่า ‘วิธีการใช้ชีวิต’ อย่างเช่น เรื่องของการทำงาน “เราไม่ได้เป็นคนเก่ง แต่เป็นคนทำเต็มที่ ทำด้วยจิตและวิญญาณ”

ถ้าต้องเลือกมรดกเพียง 1 อย่างเพื่อส่งต่อให้ลูกหลาน คุณจะเลือกอะไร?

 

เมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา THE STANDARD WEALTH มีโอกาสได้สนทนากับทายาทของตระกูล ‘พะเนียงเวทย์’ ผ่านคำชวนของ KRUNGSRI PRIVATE BANKING จนได้ค้นพบว่า มรดกที่ทรงคุณค่าที่สุดอย่างหนึ่งคือ ความใฝ่รู้

 

“ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด เราต้องเรียนรู้ในทุกๆ วัน ไม่มีใครที่เรียนจบปริญญาหลายปีก่อนแล้วจะไม่ต้องเรียนรู้อะไรอีก ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง โลกหมุนไปข้างหน้า ถ้าเราหยุดอยู่กับที่ คิดว่าสำเร็จแล้ว เราจะถอยหลังทันที เพราะคนอื่นกำลังเคลื่อนไปข้างหน้า”

 

คำพูดของ พจนา พะเนียงเวทย์ เป็นเหมือนบทสรุปที่ช่วยย่อยเรื่องราวของการสนทนาในครั้งนี้ ขณะที่นิสัยของความใฝ่รู้ที่ถูกปลูกฝังจากรุ่นสู่รุ่นของตระกูลพะเนียงเวทย์ก็สะท้อนออกมาอย่างชัดเจนผ่าน กมลพรรณ เลิศประภาพงศ์ ลูกสาวคนโตที่เป็นอีกหนึ่งคู่สนทนาของพวกเรา

 

พจนาและกมลพรรณเป็นลูกสาวและหลานสาวของ พิพัฒ พะเนียงเวทย์ ผู้ร่วมบุกเบิกแบรนด์มาม่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในเมืองไทย แต่จุดโฟกัสของพวกเราในครั้งนี้ไม่ได้อยู่ที่ธุรกิจของมาม่า

 

บทสนทนาระหว่างเราเริ่มต้นด้วยการเล่าย้อนไปถึงชีวิตในวัยเด็กของคุณแม่พจนา ซึ่งเติบโตขึ้นมาในครอบครัวใหญ่ ชีวิตประจำวันมีระเบียบแบบแผนพอสมควร มีตารางเวลาชัดเจนว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ทั้งเรื่องของกีฬา ดนตรี และการเรียน

 

“ตอนนั้นก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องบังคับให้เรียนดนตรี เล่นกีฬา และต้องเรียนให้ดีด้วย ก่อนที่จะมาเข้าใจตอนหลัง” อย่างเช่น การเรียนดนตรีเป็นสิ่งที่ช่วยฝึกสมาธิ ฝึกความจำ และสร้างความรับผิดชอบไปพร้อมๆ กัน พจนาบอกว่า “เมื่อความจำดีและมีวินัยในตัวเอง เท่านั้นแหละการเรียนหนังสือก็จะดีตามมาเอง”

 

นอกจากเรื่องวินัยแล้ว สิ่งที่ติดตัวพจนามาตั้งแต่เด็กคือ การเรียนรู้จากสิ่งรอบตัว

 

“สมัยก่อนที่คุณพ่อเคยพาไปเที่ยวก็มักจะสอดแทรกเรื่องการเรียนรู้อยู่ตลอด แม้แต่การอ่านหลักกิโลเมตรระหว่างทาง” 

 

เมื่อมาถึงรุ่นลูก กมลพรรณบอกว่าแนวทางเหล่านี้ก็ยังคงถูกใช้อยู่ ตอนเด็กๆ เธอและน้องๆ ก็เล่นกีฬา ฝึกดนตรี และมีตารางเวลาการอ่านหนังสือไม่ต่างกัน เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่จะย้ำเสมอว่า การทำทุกอย่างอย่างเต็มที่ ท้ายที่สุดแล้วผลลัพธ์จะย้อนกลับมาหาตัวเราเอง

 

ครอบครัวพะเนียงเวทย์ให้ความสำคัญกับเรื่องของการศึกษาเป็นอย่างมาก มากจนถึงขนาดที่ว่าพจนาเคยคิดจะย้ายครอบครัวไปอยู่ต่างประเทศ

 

“เคยอยากย้ายครอบครัวไปอยู่ต่างประเทศ ส่วนตัวเคยไปเรียนที่สหรัฐอเมริกาแล้วรู้สึกว่าเขาล้ำหน้าเราไปเยอะมาก”

  

พจนาเล่าว่า ตอนที่ไปเรียน Computer Graphic ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1989 ตอนนั้นอินเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลายแล้วในสหรัฐฯ อาจารย์บอกว่าไม่ต้องมาโรงเรียนก็ได้ สามารถซื้อคอมพิวเตอร์แล้วเรียนจากที่บ้านได้เลย

 

“ถ้าพูดถึงเมื่อ 35 ปีที่แล้วมันเทียบกันไม่ได้ ก็เลยคิดว่าอยากให้ลูกมีการศึกษาที่ล้ำหน้า”

 

วิธีคิดในการสอนลูกเรื่องการศึกษาคือ เราจะสอนให้เป็นพลเมืองโลก (Global Citizen) ซึ่งนอกจากจะช่วยเรื่องการโอบรับความแตกต่างและหลากหลายแล้ว ยังช่วยเปิดโอกาสให้เราเข้าถึงความรู้ใหม่ๆ ที่นอกเหนือไปจากที่มีอยู่ในเมืองไทย 

 

ความใฝ่รู้ที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นทำให้ทายาทรุ่นที่ 3 อย่างกมลพรรณเชื่อว่า เธอยังต้องเรียนรู้อะไรอีกมากมายหากหวังจะสร้างมรดกของตัวเองขึ้นมา

 

“เราพยายามทำตัวเองให้เหมือนฟองน้ำ คุณแม่จะสอนตลอดว่าให้ฟังเยอะๆ ถ้าเรายังเรียนรู้ไม่พอแล้วปิดกั้นตัวเอง จะทำให้เราไม่เติบโต เพราะฉะนั้นเราต้องออกไปเรียนรู้ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของคนอื่นหรือประสบการณ์ของตัวเอง” 

 

เมื่อถามถึงเคล็ดลับในการพัฒนาตัวเอง กมลพรรณตอบว่า “คือการเคารพตัวเอง หมายความว่าถ้าเราอยากเป็นคนเก่ง ทำอย่างไรให้เราเก่ง ถ้าอยากเป็นคนสุขภาพดี เราควรเคารพตัวเองให้ใช้ชีวิตอย่างไรเพื่อที่จะมีสุขภาพดี”

 

อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจเกี่ยวกับกมลพรรณคือ เธอจะแบ่งเงิน 10-20% มาลงทุนเพื่อการเรียนรู้ของตัวเอง เช่น การลงคอร์สเรียนต่างๆ และการเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในห้องเรียน

 

การรู้จักใช้เงินเป็นเหมือนนิสัยติดตัวของคนในครอบครัวพะเนียงเวทย์ เพราะในรุ่นคุณแม่พจนาก็ได้รับการสอนให้แบ่งเงิน 10% เพื่อเก็บออม อีก 10% ให้พ่อแม่ และอีก 10% ใช้เป็นค่าผ่อนซื้อบ้าน ก่อนที่จะใช้จ่ายส่วนตัว

 

“ไม่ว่าเรามีเท่าไร ถ้าเราใช้ได้น้อยกว่า ทุกคนมี Wealth หมดเลย ไม่ว่าจะระดับไหนก็ตาม คนส่วนมากที่มีปัญหาคือ เงินมีน้อยแต่ต้องการจะใช้เยอะ ถ้าเรามีเงิน 100 บาท แล้วใช้ 101 บาท เราจนทันที พื้นฐานของการสร้าง Wealth คือการเข้าใจระหว่างการใช้เงินในสิ่งที่จำเป็นและไม่จำเป็น” นี่คือสิ่งที่พจนาพยายามบอกกับพนักงานทุกๆ คน ไม่ใช่แค่กับลูกๆ

 

เมื่อถามว่า อะไรคือมรดกที่อยากจะส่งต่อให้ลูกมากที่สุด พจนาตอบอย่างชัดเจนว่า ‘วิธีการใช้ชีวิต’ อย่างเช่น เรื่องของการทำงาน “เราไม่ได้เป็นคนเก่ง แต่เป็นคนทำเต็มที่ ทำด้วยจิตและวิญญาณ” 

 

มาม่าทุกวันนี้ไม่ใช่ Family Business แต่เป็น Family in Business เพราะที่ผ่านมาเป็นจังหวะที่พี่น้องเกือบทุกคนเข้ามาช่วยกันทำธุรกิจ แต่ปัจจุบันมาม่าเป็นบริษัทมหาชน ซึ่งคนที่จะมารับช่วงต่อไม่ได้จำกัดแค่คนในตระกูลเท่านั้น แต่ต้องเป็นคนที่เหมาะกับธุรกิจนี้จริงๆ

 

การเป็นคนใฝ่รู้และคอยเติมความสามารถให้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา หากต้องการเข้ามาสานต่อธุรกิจมาม่าก็ย่อมทำได้ หรือหากต้องไปเติบโตในเส้นทางอื่นก็ย่อมเป็นไปได้เช่นกัน 

 

อย่างเช่น กรณีของกมลพรรณที่เริ่มเข้ามาช่วยงานที่มาม่า แต่ใครจะนึกว่าสิ่งที่ทำคือ การสร้างและบริหารกองทุน Venture Capital (VC) 

 

เมื่อความสามารถมีมากพอและสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวย การต่อยอดสิ่งใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นมาได้เสมอ 

 

 

Wealth Management

 

การสนทนาในครั้งนี้คงจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่ได้รับความช่วยเหลือจาก KRUNGSRI PRIVATE BANKING จริงๆ แล้วคอนเซปต์ที่กรุงศรีตั้งไว้ตั้งแต่ต้น เพื่อเป็นกรอบของการพูดคุยในครั้งนี้เป็นอะไรที่น่าสนใจมาก

 

‘LIVE YOUR LEGACY’ ต่อยอดสิ่งที่คุณสร้างให้งอกงามไม่สิ้นสุด

 

เมื่อพูดถึงคำว่า Legacy หรือมรดก เราก็มักจะนึกถึงเรื่องเงินและความมั่งคั่งเป็นสิ่งแรก แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำว่า Legacy ยังครอบคลุมไปถึงผลจากการกระทำหรือเหตุการณ์ที่จะส่งผลต่อไปไม่สิ้นสุด 

 

 

ระหว่างการสนทนาคุณพจนาย้ำเสมอว่า เธอไม่ใช่คนเก่งไปทั้งหมด อะไรที่เราไม่ถนัดก็ต้องเปิดให้คนอื่นเข้ามาช่วย ซึ่งก็รวมถึงเรื่องการบริหารความมั่งคั่งส่วนตัว ทำให้ครอบครัวเลือกใช้บริการ Wealth Management ของ KRUNGSRI PRIVATE BANKING

 

กมลพรรณบอกว่า การใช้บริการ Wealth Management จริงๆ แล้วไม่ใช่แค่เรื่องการบริหารพอร์ตลงทุนเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการบริหารจัดการเงินในทุกๆ ด้านที่ออกแบบตามความต้องการของเรา โดยอาจครอบคลุมทั้งเรื่องประกัน ภาษี หรือแม้แต่การเสริมไอเดียการลงทุนใหม่ๆ

 

โดยส่วนตัวเริ่มรู้จักกับกรุงศรีเพราะสนใจและเข้าร่วมลงทุนในกองทุน Finnoventure Private Equity Trust I ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในสตาร์ทอัพ

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X