×

ย่านิต สโมสรผึ้งน้อย นักสร้างสรรค์ที่เชื่อมั่นในพลังของคนตัวเล็ก “ไม่ต้องรอให้โตก็เปลี่ยนโลกได้” [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
27.12.2019
  • LOADING...
ย่านิต สโมสรผึ้งน้อย

HIGHLIGHTS

6 Mins. Read
  • ถ้าเด็กยุคนี้อยากมีนามสกุล BNK เด็กยุค 90 ต้องเคยฝันอยากเป็นสมาชิกสโมสรผึ้งน้อย รายการเด็กที่สร้างเด็กเก่ง เด็กดี ด้วยการปลุกปั้นของ ภัทรจารีย์ อัยศิริ หรือน้านิตแห่งสโมสรผึ้งน้อย หรือที่เด็กๆ เรียกว่า ‘ย่านิต’ ในวันนี้
  • อุดมการณ์ที่หมายมั่นจะสร้างเมล็ดพันธุ์ที่ดีเพื่อจะได้เห็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้ายังคงดำเนินมาจนถึงวันนี้ เพราะเชื่อว่าเด็กเปลี่ยนโลกได้จริงๆ ขอแค่เขามีโอกาสและมีพื้นที่ได้แสดงความคิดเห็นหรือความสามารถ
  • SCG เองก็มีอุดมการณ์และความเชื่อเดียวกันในการที่จะสร้างต้นน้ำที่แข็งแกร่ง เห็นได้จากกิจกรรมและโครงการตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่ปลูกฝัง Growth Mindset โดยเฉพาะ SCG Circular Way แนวทางปฏิบัติง่ายๆ สำหรับเด็กและชุมชน 

เกรตา ธันเบิร์ก นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมชาวสวีเดน คงไม่ใช่เด็กวัย 16 ปีคนแรกและคนเดียวที่อยากลุกขึ้นมาปกป้องโลกของพวกเขา ยังมีเด็กอีกมากบนโลกใบนี้ที่ต้องการปกป้องโลกที่พวกเขาไม่ได้เป็นคนทำร้าย โลกที่มาพร้อมปัญหาขยะล้นโลก

 

ฟังดูเหมือนผู้ใหญ่กำลังปลดระวางโลกป่วยๆ ให้เด็กรุ่นหลังรับผิดชอบ อย่างดีก็แค่พร่ำบอกว่ามันสายเกินแก้ ยังดีที่สังคมไทยไม่โหดร้ายเกินไปนัก เพราะยังมีคนจำนวนหนึ่งที่เชื่อว่าโลกป่วยๆ ใบนี้ยังพอแก้เกมทัน แต่อาจจะต้องเปลี่ยนตัวผู้เล่นใหม่ ผู้ใหญ่อย่างเราต้องถอยมาเป็นผู้สนับสนุนหลัก คอยผลักดันและฟังเสียงจากคนตัวเล็กอย่างตั้งใจ เชื่อมั่นในศักยภาพเด็กรุ่นใหม่เหมือนอย่างที่ ย่านิต-ภัทรจารีย์ อัยศิริ เชื่อและทำมาตลอด 40 ปี

 

เด็กรุ่นหลังอาจจะรู้จักย่านิตในฐานะนักสร้างสรรค์ผู้ปลุกปั้นสวนศึกษาผึ้งน้อยนักสู้ แต่เด็กยุค 90 จำนวนไม่น้อยต้องเคยฝันอยากเป็นหนึ่งในสมาชิกสโมสรผึ้งน้อย รายการสำหรับเด็กที่โด่งดังที่สุด ออกอากาศครั้งแรกในปี 2521 รายการที่ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นกระบอกเสียงแทนเด็ก แต่ต้องการสร้างเด็กให้เป็นกระบอกเสียงให้กับตัวเด็กเอง  

จะมาบอกว่าเป็นเด็กแล้วรอให้โตก่อนค่อยรับผิดชอบ…ไม่ได้

“เมื่อ 40 ปีที่แล้ว แค่บอกว่าจะทำรายการเด็กคนก็หัวเราะกันทั้งเมือง เขาคิดว่ารายการเด็กจะตัน แต่เราไม่คิดแบบนั้น เพราะโลกของเด็กคือโลกของการเรียนรู้ มีสิ่งที่ต้องเรียนรู้มากมายและต้องเรียนรู้ทุกวัน   

 

ย่านิต สโมสรผึ้งน้อย

 

“ยุคนั้นเด็กขี้อาย เด็กไม่ได้รับความสำคัญ มีหน้าที่กิน นอน เรียนหนังสือ และเชื่อฟัง อย่าดื้อ อย่าซน ซึ่งมันไม่ใช่ สโมสรผึ้งน้อยต้องการสร้างเด็กที่มีความรับผิดชอบ รู้สิทธิและหน้าที่ของพลเมืองไทย เริ่มจากให้เขาร่วมกันรับผิดชอบ เอาใจใส่ประเทศของเรา ย่านิตจะบอกเด็กเสมอว่าถ้าเธอไม่เอาใจใส่แล้วใครจะทำ มันเป็นหน้าที่ของทุกคน จะมาบอกว่าเป็นเด็กแล้วรอให้โตก่อนค่อยรับผิดชอบ…ไม่ได้”

 

จนถึงวันนี้ปณิธานที่ต้องการสร้างเด็กดีมีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อประเทศยังคงอยู่ แม้รายการสโมสรผึ้งน้อยที่ทำมา 16 ปีจะไม่ได้ทำแล้ว แต่ตอนนี้ก็เปลี่ยนรูปแบบจากการทำรายการทีวีมาเป็น ‘สวนศึกษาผึ้งน้อยนักสู้

 

“วัตถุประสงค์ของสวนศึกษาผึ้งน้อยนักสู้คือถ้าจะสร้างสำนึกพลเมือง เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี เขาต้องเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง ผึ้งน้อยนักสู้จึงเริ่มจาก ‘การกิน การใช้ การให้ และตัวเรา’ การกินสร้างจิตสำนึกได้ สร้างการเผื่อแผ่ก็ได้ การใช้ก็ต้องใช้อย่างมีความรับผิดชอบ อย่าโลภมาก เรื่องของ Circular Economy หรือการรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่กำลังสร้างจิตสำนึกให้เด็กๆ เช่นกัน”

 

ย่านิตบอกว่าสอนด้วยการ ‘สั่ง’ ใช้ไม่ได้กับเด็กรุ่นใหม่ ต้องสอน ‘ผ่านกิจกรรม’ ให้เขาลงมือทำจนเกิดการเรียนรู้ “เริ่มจากโครงการง่ายๆ ที่เด็กทำได้ทุกคนคือเรื่องของการใช้และต้องรู้จักรับผิดชอบต่อสังคม จนมาเจอกับ Eco Bricks อันนี้ใช่เลย ทำง่ายมาก ขยะอะไรที่ไม่บูด ไม่เน่า ไม่ย่อยสลาย ใส่ลงไปได้เลย แล้วเด็กทุกคนทำได้ นี่คือสิ่งที่เด็กจะได้รับผิดชอบตัวเอง มีโอกาสไปคุยกับ คุณหมึก-ศักดาเดช สุดแสวง เพจ Trash Hero สิ่งที่เขาพูดแล้วรู้สึกโดนใจมากคือ “ผมไม่บ่น ผมไม่ว่าใคร แต่ผมทำเลย ไปที่หาดแล้วก็เก็บ พอเขารู้ว่าผมไปเก็บเขาก็มากัน” เออ ใช่ ทำไมเราต้องบ่น เราต้องลงมือทำสิ

 

“และต้องไม่ลืมว่าหน้าที่เราไม่ใช่สั่งสอนนะ หน้าที่เราคือให้โอกาส ดึงพลังความคิดสร้างสรรค์ของเขาออกมา คนทำงานกับเด็กต้องหูไวตาไว เขาคิดอย่างไร เขากำลังทำอะไรอยู่ แล้วค่อยผลักดันส่งเสริม หรือเขากำลังร่วงลงมา เราจะหนุนเขาอย่างไร”  

ถ้าเราต้องการประเทศที่ดี ต้องการสังคมที่ดี เราก็ต้องสร้างคนที่จะมาอยู่ในสังคมที่ดี การสร้างเด็กที่ดีจึงสำคัญมาก 

ย่านิต สโมสรผึ้งน้อย

 

“ย่าเชื่อในศักยภาพของเด็ก” นี่คือประโยคที่ย่านิตเอ่ยออกมาตลอดการพูดคุย “พวกเขาเป็นแค่คนตัวเล็ก แต่จิตใจและสมองเขาไม่เล็กนะ มันใหญ่และมีพลังเท่าเราเลย เด็กต้องการอิสรภาพ เขาต้องการการยอมรับ ลองมอบหมายหน้าที่ให้เขา เมื่อมอบหมายแล้วต้องเคารพเขา ฟังเขา เหมือนอย่างเด็กๆ เวลามาที่สวนศึกษาผึ้งน้อยนักสู้ เราไม่ได้สอนอะไรเขามาก ปล่อยให้เขาคิด ให้เขาทำเอง เราแค่ไกด์ เขาจึงได้ทำจริง ได้คิดจริง ได้สร้างทักษะที่แท้จริง

 

“ถ้าเราต้องการประเทศที่ดี สังคมที่ดี ก็ต้องสร้างคนที่จะมาอยู่ในสังคมที่ดี การสร้างเด็กที่ดีจึงสำคัญมาก เราไม่ได้สร้างเด็กเรียนเก่ง แต่เราสร้างเด็กดี ดีคือเขาต้องมีความสุข แม้เราจะเล่าให้เขาฟังตรงๆ ว่าอีก 10 ปีข้างหน้าพวกหนูจะอยู่กันลำบาก แต่เขาก็มีความสุข เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกัน ยังไงเขาก็สนุกกับชีวิตได้ และเราต้องไม่ให้เขาลืมใช้ชีวิตให้มีความสุขทุกวินาที ความสุขของเขาเกิดจากอะไร เกิดจากการทำเพื่อผู้อื่น ต้องเป็นผู้ให้ พอให้แล้วเห็นคนอื่นมีความสุข ความสุขจะส่งกลับมา มันสุขยิ่งกว่าที่เราได้ ไม่เชื่อลองทำดู ก็ท้าทายให้เขาลงมือทำ” 

เด็กต้องการประสบการณ์ และการปลูกฝังสิ่งที่ดีก็ต้องสร้างผ่านกิจกรรม 

เรียนรู้ผ่านการลงมือทำจะทำให้เด็กจำได้มากกว่า นอกจากกิจกรรมที่เด็กๆ ได้เรียนและค่อยๆ รู้ด้วยตัวเอง ณ สวนศึกษาผึ้งน้อยนักสู้ เรายังเห็นรูปแบบการปลูกฝัง Growth Mindset ในเรื่องสิ่งแวดล้อมให้กับเด็กจากองค์กรขนาดใหญ่อย่าง SCG “ย่าไม่เคยรู้ว่า SCG ทำกิจกรรมและมีโครงการต่างๆ ที่ทำให้เด็กมาหลายสิบปี แล้ว SCG ทำให้เรารู้สึกว่าไม่ได้ต่อสู้เพื่อเด็กเพียงลำพังอีกต่อไป เพราะเรามีความเชื่อเหมือนกันว่าเด็กต้องการประสบการณ์ และการปลูกฝังสิ่งที่ดีก็ต้องสร้างผ่านกิจกรรม 

 

“กิจกรรมที่ SCG จัดขึ้นมาอย่างโครงการ KIDS The Circular Changer ที่ราชบุรี เด็กๆ ตกใจมากที่รับรู้ว่าขยะที่เขาสร้างใน 1 ปีเท่ากับช้าง 5.5 ล้านเชือก เขาไม่รู้เลยว่าเรามีเกาะขยะที่ยาวหลายร้อยไมล์ และลึกลงไปอีกหลายร้อยกิโลเมตร เขานึกไม่ออกว่ามีจริงเหรอ เด็กไม่รู้เลยว่าเขามีส่วนในการสร้างขยะ เรามองว่าค่ายนี้ทำขึ้นเพื่อให้เด็กมี Growth Mindset และเป็นผู้นำ ให้เขาส่งไม้ต่อให้กับคนใกล้ตัว เขาจะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปพัฒนาต่อ ไปบอกเพื่อน บอกครู บอกพ่อแม่ เวลาบอกว่าเขาจะได้เป็นผู้นำ แม้เขายังไม่รู้ว่าจะนำอย่างไร แต่มันมีพลังออกมาจากสายตาเขาทันที ถ้า SCG ไม่ให้โอกาสแล้วเขาจะไปหาโอกาสแบบนี้จากที่ไหน เพราะฉะนั้นสนับสนุนโครงการแบบนี้เถอะ เพราะเรื่องบางอย่างพูดให้รู้สึกไม่ได้ ต้องให้เขาลงมาสัมผัส

 

 

“หรือ SCG Web Film หนังสั้นที่ SCG ทำเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและช่วยกันเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้โลกนี้ดีขึ้นเพื่อลูกหลานในอนาคต มันควรจะมีอะไรแบบนี้ออกมาให้เด็กๆ ตั้งนานแล้ว เพลงเนื้อหาดี สื่อสารดี และเอาไปเชื่อมโยงกับเด็กได้ง่ายมากเลย สมมติเอาหนังสั้นไปเปิดให้เด็กดูแล้วพูดคุยกับเขา เขาดูแล้วคิดว่ามีอะไรที่ทำได้บ้าง ผู้ใหญ่อย่างเราเป็นแค่นักเชื่อมโยงก็พอ เพราะชี้แนะนิดเดียวเด็กเขาก็ได้เลย  

 

“SCG เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมาก โดยเฉพาะการปลูกฝังแนวคิด Circular Economy หรือการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์มากที่สุดและสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ก็เป็นการคิดตั้งแต่ต้นทางแล้วสร้างระบบให้เกิดสิ่งดีๆ ต่อทรัพยากรอย่างยั่งยืน ที่ SCG ให้ความสำคัญกับเด็กเพราะเชื่อว่าจะต้องเริ่มสร้างที่ต้นน้ำ ซึ่งก็คือเด็กที่จะเติบโตไปเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค จึงต้องสร้างผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ดี นี่คือสิ่งที่ควรทำ อยากให้เป็นนโยบายของทุกองค์กร ให้คิดกันแบบนี้ ไม่ใช่แก้ที่ปลายเหตุ มีขยะก็ไปช่วยกันเก็บขยะ มันไม่ใช่

 

ย่านิต สโมสรผึ้งน้อย

ย่านิต สโมสรผึ้งน้อย 

                                                            

“สิ่งที่ SCG ทำคือการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เพราะเขาคือผู้ผลิตจากต้นทาง ถ้าคนคิดและคนผลิตคิดตั้งแต่ต้นทางว่าทุกอย่างที่ผลิตออกมาต้องใช้อย่างคุ้มค่า นี่คือสิ่งที่เราพยายามพูดมานานแล้ว พอเราเห็นผู้ผลิตมีสำนึก ผู้ผลิตลงมือจัดการก็จบ พวกเราก็มีหน้าที่ร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวและช่วยกันผลักดัน อย่าแค่บ่น อย่าแค่พูด ลงมือทำเถอะ คนละเล็กละน้อย”

 

คงจะจริงอย่างที่ย่านิตบอก “รู้สึกว่าไม่ได้ต่อสู้เพื่อเด็กเพียงลำพังอีกต่อไป” เพราะการบ่มเพาะต้นกล้าให้เติบโตเป็นคนดีเพียงลำพังคงทำได้เพียงน้อยนิด แต่หากองค์กรใหญ่เดินไปพร้อมกัน ความฝันที่จะเห็นต้นกล้าเติบใหญ่และใช้ชีวิตในวิถี SCG Circular Way ที่เป็นแนวปฏิบัติตามหลัก Circular Economy คงไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันอีกต่อไป

 

หรืออาจไม่ต้องรอให้ถึงวันที่ต้นกล้ากลายเป็นต้นไม้สูงใหญ่ก็เป็นได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ตอนนี้ “เด็กเปลี่ยนโลกได้จริงๆ ขอแค่เขามีโอกาสและมีพื้นที่ เขาต้องการการเรียนรู้ เราต้องให้ทักษะเด็กเยอะๆ ให้โอกาสให้เขาได้คิด ได้ทำ ส่งเสริมเขา ผู้ใหญ่มีหน้าที่ทำทาง แต่ไม่ต้องถึงกับทำให้ทางมันราบรื่นหรอก ปล่อยให้เขาเจอปัญหาบ้าง ต้องไม่ลืมเชื่อมั่นในพลังของเด็กว่าเด็กทำได้ และอย่ามองเห็นว่าเขาเป็นเด็ก เขาก็เป็นแค่คนตัวเล็กที่เริ่มต้นทำสิ่งเล็กๆ เช่น เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เป็นแบบ SCG Circular Way ตามที่เราปลูกฝังเขา”  


“เมื่อเด็กเปลี่ยน ผู้ใหญ่ที่อยู่รอบตัวเขาจะไม่เปลี่ยนบ้างหรือ”


เรียนรู้และค้นหาวิธีปฏิบัติตามวิถี SCG Circular Way เพื่อช่วยโลกของเราไปด้วยกัน คลิก http://bit.ly/2rsnTrP

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

FYI
  • Eco Bricks เป็นการนำขวดพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ โดยนำขวดพลาสติกไปล้างแล้วตากให้แห้ง เอาขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เช่น กระดาษ, ถุงขนม, เปลือกลูกอม, พลาสติก, ฟิล์ม, โฟม, ถุง, หลอด มาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อใส่ลงไปในขวด ใส่จนกว่าจะเต็ม แล้วใช้ไม้ช่วยดันเพื่ออัดให้ขยะแน่น Eco Bricks ที่มีประสิทธิภาพจะแข็งจนไม่สามารถบิดขวดได้ สุดท้ายจะสามารถนำ Eco Bricks มาใช้แทนอิฐก่อสร้างได้
  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X